Provident fund ทางเลือกเงินออมสำหรับมนุษย์เงินเดือน
สำหรับมนุษย์เงินเดือนหลายคนอาจเคยได้ยินเกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ แต่อาจยังไม่เข้าใจความหมายและไม่รู้ว่าสำคัญอย่างไรต่อการทำงาน มีประโยชน์หรือไม่ ทำไมคนส่วนใหญ่ถึงนิยมทำ ซึ่งคำถามเหล่านี้อาจทำให้เกิดความคาใจสำหรับคนทำงานบางส่วนไม่น้อย รวมถึงกลุ่มคนที่พึ่งสัมภาษณ์งาน ผ่านก้าวเข้ามาเป็นมนุษย์เงินเดือนที่อาจยังไม่เข้าใจในส่วนของความสำคัญของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพดังกล่าว บทความนี้ KTC จะพาไปทำความรู้จักกับ Provident Fund หรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ฉบับเข้าใจง่ายอีกหนึ่งสิทธิประโยชน์ที่มนุษย์เงินเดือนไม่ควรละเลย แต่บางคนที่เพิ่งเริ่มชีวิตทำงานใหม่ ๆ อย่างเด็กจบใหม่อาจจะไม่เข้าใจสิทธิประโยชน์ หรือความสำคัญของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ดังนั้น เพื่อให้เข้าใจมากขึ้นเรามาทำความรู้จักกองทุนสำรองเลี้ยงชีพก่อนเป็นอันดับแรกกันเลย
เลือกอ่านตามหัวข้อ
Provident Fund คืออะไร มนุษย์เงินเดือนจำเป็นต้องมีหรือไม่?
Provident Fund หรือ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คือ กองทุนที่ลูกจ้างและนายจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้นด้วยความสมัครใจ เพื่อเป็นการออมเงินสำหรับลูกจ้างไว้ใช้ในยามเกษียณ หรือเรียกให้เข้าใจง่าย ๆ คือเงินทุนสำรองสำหรับเกษียณอายุเป็นหนึ่งในสวัสดิการที่หลายบริษัทหรือองค์กรมอบให้แก่ลูกจ้าง โดยในส่วนที่ลูกจ้างจ่ายจะเรียกว่า "เงินสะสม" และในส่วนที่นายจ้างจ่ายจะเรียกว่า “เงินสมทบ” โดยสัดส่วนในการจ่ายเงินจะขึ้นอยู่กับการตกลงว่านายจ้างจะจ่ายเงินสมทบในจำนวนที่เท่ากันกับลูกจ้างหรือมากกว่าลูกจ้าง กองทุนสำรองเลี้ยงชีพนอกเหนือจากการรับเงินหลังเกษียณอายุแล้วยังเป็นเงินที่จะได้รับหากเกิดทุพพลภาพหรือเสียชีวิต เพื่อนำเงินนี้มาเป็นหลักประกันให้กับครอบครัวของลูกจ้างนั่นเอง
เก็บออมเงินด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพประกอบด้วยอะไรบ้าง?
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะประกอบด้วยเงินจาก 2 ส่วนคือ เงินจากลูกจ้าง และเงินจากนายจ้าง โดยแบ่งรายละเอียด ดังนี้
ลูกจ้าง : จะจ่ายในส่วนของเงินสะสม ที่จะสมทบเข้ากองทุน โดยจำนวนเงินเป็นไปตามกฎหมายกำหนด คือช่วง 2 - 15% ของเงินเดือน ซึ่งเงินสะสมส่วนนี้สามารถปรับเพิ่มหรือลดอัตราสะสมได้ รวมถึงเลือกแผนการลงทุนได้ตามต้องการ
นายจ้าง : จะจ่ายในส่วนของเงินสมทบเข้ากองทุน โดยจำนวนเงินตามกฎหมายกำหนด คือในช่วง 2 - 15% ของเงินเดือนลูกจ้างและต้องไม่ต่ำกว่าเงินสะสมของลูกจ้าง ซึ่งอัตราสะสมจะขึ้นอยู่กับนโยบายของนายจ้างหรือของบริษัทที่กำหนด
**โดยแต่ละแห่งอาจมีการจ่ายเงินสมทบให้แก่ลูกจ้างที่แตกต่างกันออกไป แต่ต้องไม่ต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนด
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ได้ผลตอบแทนอะไรบ้าง?
สำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เมื่อมีการจ่ายเงินสะสมและเงินสมทบเข้าไปในกองทุนในระหว่างนั้นทางด้านบริษัทจัดการหรือบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) จะนำเงินกองทุนดังกล่าวไปลงทุนในเครื่องมือทางการเงินหรือหลักทรัพย์ประเภทต่าง ๆ เพื่อสร้างรายได้หรือดอกผลให้กับกองทุน แล้วนำรายได้หรือผลตอบแทนมาแบ่งเฉลี่ยคืนให้แก่สมาชิกตามสัดส่วนของเงินที่มีอยู่ในกองทุนนั่นเอง ซึ่งส่วนนี้จะเรียกว่าผลประโยชน์ของเงินสะสม และผลประโยชน์ของเงินสมทบ แต่อย่างไรก็ตามควรทำความเข้าใจในเรื่องของความเสี่ยงและผลตอบแทนของกองทุนเบื้องต้นเสมอ
บัตรเครดิต KTC ตอบโจทย์ทุกการใช้จ่ายของมนุษย์เงินเดือน
เช็กยอดกองทุนสำรองเลี้ยงชีพยังไง
เพราะทุกการลงทุนมีความเสี่ยงดังนั้นการหมั่นตรวจสอบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอย่างสม่ำเสมอ ถือเป็นเรื่องที่ควรปฏิบัติเช่นเดียวกันเพื่อเป็นการติดตามความเคลื่อนไหวของกองทุนว่าเป็นไปในทิศทางไหน รวมถึงมีเงินสะสมที่เท่าไร โดยการตรวจสอบผ่านใบแจ้งยอดเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund Statement) ที่จะมีการจัดส่งให้สมาชิกเป็นประจำ เพื่อแจ้งรายละเอียดทั้งหมดของการลงทุนให้ผู้ลงทุนทราบ หรือเว็บไซต์และแอปพลิเคชันของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัทนั้น ๆ
เงินที่ได้รับจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ได้เงินตอนไหน?
หนึ่งคำถามที่หลายคนอยากรู้เกี่ยวกับเงินที่จะได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพว่าจะได้รับตอนไหน ซึ่งสมาชิกจะได้รับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเมื่อสิ้นสุดการเป็นสมาชิก อาทิ การลาออกจากงาน เสียชีวิต เกษียณอายุ โอนย้ายกองทุน ซึ่งเงินที่จะได้รับจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
(1) ได้รับส่วนหนึ่งของเงินสะสมเต็มจำนวนพร้อมกับผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับเงินสะสม
(2) ได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากเงินสมทบตามเงื่อนไขที่กำหนด ซึ่งจะขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการทำงาน รวมถึงระยะเวลาในการเป็นสมาชิกกองทุน
แต่หากอยากถอนเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพออกมาเลยก็สามารถทำได้ ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องใช้เงินแต่จะเกิดในส่วนของภาระทางภาษีทันทีโดยการนำเงินก้อนนี้ไปยื่นเสียภาษีประจำปี ตามเกณฑ์ของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) และเกณฑ์ของสรรพากรที่กำหนด หากไม่ต้องการเสียภาษีจากเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ในวันถอนเงินจะต้องมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และมีอายุกองทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี ในกรณีนี้จะไม่ต้องเสียภาษี
ประโยชน์ของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ควรรู้
สำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพถือได้ว่าเป็นสวัสดิการจากบริษัทหรือองค์กรที่มีประโยชน์ในหลากหลายส่วน ดังนี้
1. มีหลักประกันทางการเงิน ทั้งยังเป็นการสนับสนุนให้มีการวางแผนเพื่อการออมในระยะยาวอย่างต่อเนื่อง
2. สามารถเป็นหลักประกันให้แก่ครอบครัวของสมาชิกว่าจะมีเงินก้อนไว้ใช้สอยในกรณีที่เกษียณอายุ ลาออกจากงานหรือเสียชีวิต
3. ได้รับเงินเพิ่มจากในส่วนของเงินสมทบจากนายจ้างเป็นประจำทุกเดือน
4. ได้รับผลประโยชน์จากการลงทุนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ ดอกเบี้ย เงินปันผล หรือ กำไรส่วนเกินทุน
5. สามารถออมเงินผ่านกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ต่อเนื่อง แม้จะมีการย้ายงานก็สามารถเก็บออมเงินไว้ที่กองทุนเดิมได้หรือหากต้องการโอนย้ายไปกองทุนใหม่ก็ได้เช่นเดียวกัน
6. เงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพสามารถนำไปใช้ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ลาออก ทุพพลภาพ เสียชีวิต หรือแม้แต่การลาออกจากการเป็นสมาชิกกองทุนจะได้รับในส่วนของเงินสะสมทั้งหมดเป็นเงินก้อนคืน ถือเป็นหนึ่งรูปแบบการวางแผนทางการเงินและการเก็บออมเงินที่น่าสนใจอีกวิธีสำหรับมนุษย์เงินเดือน นอกจากการเก็บออมแล้วการรู้จักเลือกใช้จ่ายในชีวิตประจำวันด้วยการสมัครบัตรเครดิต สำหรับเลือกซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆ ให้ได้รับความคุ้มค่าและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ได้มากมายยิ่งขึ้น ทั้งการเลือกเก็บสะสมคะแนน ส่วนลดโปรโมชั่นจากพาร์ทเนอร์ชั้นนำ รวมถึงโปรโมชั่นผ่อนชำระ 0% ให้เลือกใช้ได้อย่างหลากหลาย นอกจากนี้การมีวงเงินบัตรเครดิตก็เหมือนมีเงินสำรอง สำหรับไว้ใช้จ่ายได้ในยามฉุกเฉินได้เช่นกันทั้งยังตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์มนุษย์เงินเดือนได้อีกมากมาย รวมถึงค่าใช้จ่ายจำเป็นในชีวิตประจำวัน ให้ไม่ต้องกระทบกับเงินก้อนหรือเงินเก็บสะสม ที่สมัครได้ง่าย ๆ ผ่านช่องทางออนไลน์
สมัครบัตรเครดิต KTC เพื่อการใช้จ่ายที่คล่องตัวพร้อมมีเงินสำรอง…ที่นี่
ไม่มีค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปี