เมื่อใกล้ถึงสิ้นปีทีไร หลายคนอาจจะเป็นกังวลในการต้องยื่นเสียภาษีประจำปี สำหรับมนุษย์เงินเดือนอย่างเราที่มีเกณฑ์รายได้ถึงกำหนด ต้องมีการวางแผนที่จะยื่นภาษีล่วงหน้าว่าจะต้องเสียภาษีเท่าไหร่ แต่รู้หรือไม่? ว่ามีวิธีการลดหย่อนภาษีที่ทำให้เราสามารถประหยัดค่าใช้จ่าย และจ่ายภาษีในจำนวนที่น้อยลง เพื่อวางแผนการเงินของเราให้เป็นระบบมากขึ้น บทความนี้ได้รวบรวมรายละเอียดเกี่ยวกับการลดหย่อนภาษี 2567 กลุ่มรายการในการลดหย่อนภาษี และสาระความรู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับการยื่นภาษี 2567 ที่ควรรู้ก่อนถึงกำหนดโค้งสุดท้ายไว้ให้คุณแล้ว
สารบัญบทความ
การลดหย่อนภาษี คืออะไร?
สำหรับคนเริ่มทำงานใหม่ หรือ คนว่างงานที่เตรียมตัวหางาน แล้วยังไม่รู้ว่า การขอลดหย่อนภาษีคืออะไร? ค่าลดหย่อนภาษีคืออะไร? ที่นี่มาคำตอบ
การลดหย่อนภาษี หรือ ภาษีลดหย่อน คือ รายการค่าใช้จ่ายที่กฎหมายกำหนดไว้ ให้ผู้ที่ต้องเสียภาษีนำส่วนต่างที่สามารถทำการลดหย่อนได้ หักออกจากเงินที่ต้องเสียภาษีโดยรวม โดยหลังจากหักค่าใช้จ่ายในส่วนที่ลดหย่อนได้แล้วจะทำให้เรามีภาษีที่ต้องเสียน้อยลง ซึ่งวิธีนี้ไม่ใช่การเลี่ยงภาษี แต่เป็นรายการที่กฎหมายจากกรมสรรพากรอนุญาตให้ทุกคนทำได้ เพื่อผลประโยชน์สูงสุดของตัวเอง
สำหรับวิธีการคำนวณเงินภาษี มีดังนี้
วิธีการคำนวณเงินได้สุทธิ : (รายได้รวมต่อปี - ค่าใช้จ่าย) - ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ
วิธีการคำนวณเงินภาษีที่ต้องจ่าย : เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี = เงินภาษีที่ต้องจ่าย
รายการลดหย่อนภาษีปี 2567 มีอะไรบ้าง?
การวางแผนลดหย่อนภาษีนอกจากจะทำให้เราสามารถวางแผนการเงินได้อย่างเป็นระบบมากขึ้นแล้ว ยังทำให้เราประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากยิ่งขึ้นอีกด้วย ซึ่งรายการในการลดหย่อนภาษีในแต่ละปีอาจจะมีความแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับนโยบายต่าง ๆ ที่เข้ามาสนับสนุน และกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมในการใช้จ่ายหรือการลงทุนของประชาชนผู้เสียภาษี ดังนั้นเรามาเช็กกันให้ชัวร์ว่ารายการลดหย่อนภาษี 2567 มีอะไรบ้าง
กลุ่มค่าลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว
- ค่าลดหย่อนส่วนตัว : สามารถหักค่าลดหย่อนได้ 60,000 บาท เป็นสิทธิพื้นฐานสำหรับทุกคนที่มีรายได้สามารถนำมาใช้ลดหย่อนได้ทันที
- ค่าลดหย่อนคู่สมรส : สามารถค่าลดหย่อนได้ 60,000 บาท สำหรับคู่สมรสที่ไม่มีรายได้และต้องมีการจดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมาย หากคู่สมรสมีรายได้ต้องพิจารณาว่าจะยื่นรายได้รวมหรือแยกกัน
- ค่าลดหย่อนบุตร
- บุตรตามกฎหมาย การลดหย่อนภาษีบุตรต้องมีอายุไม่เกิน 20 ปี หรืออยู่ระหว่าง 21-25 ปี ที่กำลังศึกษาในระดับอนุปริญญา (ปวส.) ขึ้นไป
-
บุตรที่เกิดก่อนปี 2561 สามารถหักค่าลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท
-
บุตรที่เกิดหลังปี 2561 บุตรคนแรกหักค่าลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท และบุตรที่สองเป็นต้นไปหักค่าลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท
-
สามารถใช้ได้ตามจำนวนบุตรจริง และบุตรที่ใช้สิทธิต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท/ปี
-
- บุตรบุญธรรม ต้องลงทะเบียนบุตรบุญธรรมตามกฎหมาย บุตรบุญธรรมที่ใช้สิทธิต้องมีรายได้น้อยกว่า 30,000 บาท/ปี สามารถหักค่าลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 3 คน แต่หากมีบุตรชอบด้วยกฎหมายด้วยจะต้องใช้สิทธิก่อน หากใช้ครบ 3 คน จะไม่สามารถใช้สิทธิบุตรบุญธรรมได้อีก
- ค่าลดหย่อนฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร สามารถหักได้ตามจริงที่จ่ายให้สถานพยาบาลของรัฐหรือเอกชน สูงสุดไม่เกิน 60,000 บาท/การตั้งครรภ์
- ค่าลดหย่อนอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา: สามารถหักค่าลดหย่อนบิดามารดาได้คนละ 30,000 บาท สามารถหักได้ทั้งของตนเองและของคู่สมรส รวมสูงสุด 4 คน ซึ่งบิดามารดาที่ใช้สิทธิต้องมีอายุมากกว่า 60 ปี และมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท
- ในกรณีที่ครอบครัวมีบุตรหลายคน พี่น้องสามารถใช้สิทธินำบิดามารดาไปหักค่าลดหย่อนได้เพียงคนเดียว
- บุตรบุญธรรมไม่สามารถนำบิดามารดาที่เป็นผู้รับบุตรบุญธรรมมาลดหย่อนภาษีได้
- ค่าลดหย่อนอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ : สามารถหักค่าลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท ผู้พิการต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท/ปี และต้องมีบัตรประจำตัวผู้พิการหรือหนังสือรับรองการเป็นผู้อุปการะ
- ในกรณีที่ผู้พิการหรือทุพพลภาพเป็นบิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้มีรายได้ สามารถใช้สิทธิได้ทั้ง 2 ส่วน และไม่มีการจำกัดจำนวนคน
- ในกรณีที่ผู้พิการหรือทุพพลภาพไม่ได้เป็นบิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้มีรายได้ สามารถใช้สิทธิได้เพียง 1 คน
กลุ่มค่าลดหย่อนภาษีจากประกันและการลงทุน
- เงินสมทบกองทุนประกันสังคม : สามารถหักค่าลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 9,000 บาท ซึ่งเป็นเงินที่บังคับหักเข้ากองทุน 5% ของเงินเดือนทุกเดือน มีขั้นต่ำที่ 83 บาท/เดือน และสูงสุดที่ 750 บาท/เดือน
- ค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ : สามารถหักค่าลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 200,000 บาท กรมธรรม์ที่ทำต้องมีระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
- เบี้ยประกันชีวิตและเบี้ยประกันสะสมทรัพย์ : สามารถหักค่าลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง ไม่เกิน 100,000 บาท กรมธรรม์ต้องมีระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป และต้องทำกับบริษัทประกันที่ประกอบกิจการในประเทศไทยเท่านั้น
- หากคู่สมรสไม่มีรายได้ สามารถนำเบี้ยประกันของคู่สมรสมาลดหย่อนได้เพิ่มเติม สูงสsfดไม่เกิน 10,000 บาท
- ค่าเบี้ยประกันสุขภาพและประกันอุบัติเหตุ : สามารถหักค่าลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง ไม่เกิน 25,000 บาท ทั้งนี้เมื่อนำเบี้ยประกันสุขภาพ ประกันชีวิต และประกันสะสมทรัพย์มารวมกันแล้ว จะลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
- ค่าเบี้ยประกันสุขภาพของบิดามารดา : สามารถหักค่าลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง และทั้งหมดต้องไม่เกิน 15,000 บาท โดยที่บิดามารดาต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท/ปี
- เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) หรือกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน : สามารถหักค่าลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง ไม่เกิน 500,000 บาท
- เงินสะสมกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) : สามารถหักค่าลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง ไม่เกิน 30,000 บาท
- การลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) : สามารถหักค่าลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงโดยจะลดหย่อนได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้ สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
- การลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) : สามารถหักค่าลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง โดยการหักลดหย่อนไม่เกิน 30% ของเงินได้ สูงสุดที่ไม่เกิน 200,000 บาท/ปี และปัจจุบันยังมีสิทธิ์ในการลดหย่อนภาษีในช่วงเวลา 5 ปี นับตั้งแต่ปี 2563-2567 อีกด้วย
- การลงทุนในกลุ่มวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) : สามารถหักค่าลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท/ปี โดยต้องลงทุนในธุรกิจที่จดทะเบียนเป็นวิสาหกิจตามข้อกำหนดของพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม พ.ศ. 2562
ค่าลดหย่อนจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ
- โครงการลดหย่อนภาษี Easy e-Receipt ปี 2567 : โครงการลดหย่อนภาษีที่มาแทนโครงการช็อปดีมีคืนสามารถหักค่าลดหย่อนได้ เมื่อซื้อสินค้าและบริการจากร้านค้าที่ออก e Tax Invoice โดยจะต้องให้ร้านค้าออกใบกำกับภาษีในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ e-Tax Invoice & e Receipt ของกรมสรรพากร สูงสุดไม่เกิน 50,000 บาท และต้องเป็นสินค้าหรือบริการที่ซื้อในช่วงวันที่ 1 มกราคม-15 กุมภาพันธ์ 2567
- ดอกเบี้ยบ้าน : หากคุณได้ทำกู้ยืมเพื่อซื้อหรือสร้างที่อยู่อาศัย คุณสามารถหักค่าลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท/ปี
กลุ่มค่าลดหย่อนภาษีจากเงินบริจาค
- เงินบริจาคทั่วไป : ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนทั้งหมด
- เงินบริจาคลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า : ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนทั้งหมด ได้แก่ สถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน สถานพยาบาลของรัฐ การบริจาคผ่าน e-Donation ผ่านสภากาชาด กองทุนสนับสนุนการวิจัยตามกฎหมาย กองทุนเพื่อการพัฒนาระบบมาตรวิทยา บุคลากรทางการศึกษาที่กระทรวง ศึกษาธิการจัดตั้ง เป็นต้น
- เงินบริจาคแก่พรรคการเมือง : สามารถหักค่าลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท
*ทั้งนี้การลดหย่อนผ่านเงินบริจาคต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่มีผลบังคับใช้ในขณะนั้น ซึ่งผู้ที่ต้องการทำการลดหย่อนภาษีควรเซ็กข้อมูลเพื่อความถูกต้องอีกครั้ง เนื่องจากอาจมีการปรับปรุงเงื่อนไขจากภาครัฐได้
สำหรับมนุษย์เงินเดือนหรือผู้ที่ทำอาชีพอิสระไม่ต้องกังวลในการสมัครบัตรกดเงินสดครั้งแรก เพียงเตรียมเอกสารแสดงรายได้ตามคำแนะนำก็สามารถมีบัตรกดเงินสดไว้ผ่อนสินค้าในอัตราดอกเบี้ย 0% ได้ หากใครที่มองหาบัตรกดเงินสดที่สมัครง่ายและอนุมัติไว เราขอแนะนำบัตร KTC Proud อีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้กำลังมองหาสินเชื่อเงินด่วนที่รายได้ขั้นต่ำ 12,000 บาท/เดือน ก็สมัครได้ไว้เป็นตัวช่วยในยามฉุกเฉิน เสริมสภาพคล่องทางการเงิน เพียงเท่านี้ก็อุ่นใจในการใช้จ่ายมากยิ่งขึ้น
สมัครบัตรกดเงินสด KTC PROUD ไว้ใช้ยามฉุกเฉิน
ไม่มีค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปี
ข้อควรรู้ในการเตรียมตัวลดหย่อนภาษีปี 2567
การวางแผนเพื่อลดหย่อนภาษีล่วงหน้าเป็นขั้นตอนสำคัญที่จะช่วยให้คุณมีการบริหารการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้านล่างนี้คือ ข้อแนะนำที่จะช่วยในการเตรียมพร้อมก่อนลดหย่อนภาษีในอนาคต
วางแผนการเงินก่อนยื่นลดหย่อนภาษี
การวางแผนเพื่อลดหย่อนภาษีล่วงหน้าเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญในการบริหารเงินสำหรับการลดหย่อนภาษี 2567 ขั้นตอนต่อไปนี้เป็นวิธีช่วยในการวางแผนลดหย่อนภาษี
- ทำความเข้าใจกับมาตรการลดหย่อนภาษีจากกรมสรรพากร
- ตรวจสอบการอัปเดตทางภาษี
- ประเมินรายได้ทั้งหมดของตนเอง
- ตรวจสอบระยะเวลาในการยื่นภาษี
- ชำระค่าภาษีให้ตรงกำหนดเวลา
เอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นลดหย่อนภาษี
- แบบฟอร์ม ภ.ง.ด.91 หรือ ภ.ง.ด.90
- หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือ ทวิ 50
- หนังสือรับรองการจ่ายเบี้ยประกันชีวิต
- หนังสือรับรองการจ่ายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
- หนังสือรับรองการซื้อหน่วยลงทุนใน RMF (Retirement Mutual Fund)
- หนังสือรับรองการลงทุนในกองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพที่มีผลต่อการลดหย่อนภาษี
- เอกสารยืนยันสิทธิ์ค่าลดหย่อนบิดามารดา (ใบ ล.ย. 03)
- เอกสารยืนยันสิทธิ์ลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ (ใบ ล.ย. 04) หรือเอกสารยืนยันสิทธิ์ลดหย่อนภาษีสำหรับการเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ
ทั้งนี้เอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นลดหย่อนภาษีจะขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ผู้ต้องการจะยื่นลดหย่อนภาษีในแต่ละประเภทควรศึกษาและทำความเข้าใจเพิ่มเติมก่อนเตรียมเอกสาร
สถานที่สำหรับการยื่นลดหย่อนภาษี
การยื่นลดหย่อนภาษีสามารถทำได้หลายช่องทางตามความสะดวก ดังนี้
- ยื่นภาษีด้วยตัวเองที่กรมสรรพากร
- ยื่นภาษีผ่านแอปพลิเคชัน RD Smart Tax
- ยื่นภาษีออนไลน์ผ่านระบบ E-Filing ด้วยเว็บไซต์ของกรมสรรพากร
การยกเว้นภาษีบุคคลธรรมดา
ภาษีบุคคลธรรมดาลดหย่อนได้ การยกเว้นภาษีเงินได้ในกรณีของบุคคลธรรมดาในประเทศไทยสามารถแบ่งออกเป็นกรณีต่าง ๆ ดังนี้
- ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับผู้สูงอายุ : ผู้สูงอายุที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 65 ปีบริบูรณ์ จะได้รับการยกเว้นเงินได้เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 190,000 บาทในปีภาษีนั้น
- ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับผู้พิการ : ผู้พิการและมีบัตรประจำตัวคนพิการ จะได้รับการยกเว้นเงินได้เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 190,000 บาทในปีภาษีนั้น
- ยกเว้นภาษีเงินปันผลจากการลงทุน : ผู้ที่ลงทุนในหุ้นและได้รับเงินปันผลจากการลงทุน จะได้รับการยกเว้นเงินได้ตามสัดส่วนที่ได้รับจากเงินปันผล
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับลดหย่อนภาษี
ตรวจสอบสิทธิลดหย่อนภาษีต้องทำยังไง?
คุณสามารถตรวจสอบสิทธิลดหย่อนภาษีได้ด้วยการเข้าสู่เว็บไซต์กรมสรรพากร และเลือกบริการ My Tax Account (บริการตรวจสอบข้อมูลลดหย่อนและสิทธิประโยชน์ทางภาษี) จากนั้นกรอกหมายเลขผู้ใช้-รหัสผ่านที่ใช้กับระบบ e-Filing และเลือกหัวข้อเกี่ยวกับการลดหย่อน เพียงเท่านี้คุณก็สามารถตรวจสอบสิทธิลดหย่อนของตัวเองได้
กรณียกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาคืออะไร?
กรณียกเว้นภาษีเงินได้ คือ กระบวนการที่ผู้เสียภาษีได้รับการลดหย่อนหรือไม่ต้องเสียภาษีบางส่วน การยกเว้นภาษีเงินได้มีหลายประเภทแตกต่างกันไปตามประเภทและวัตถุประสงค์ ดังนี้
- 1. ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับผู้สูงอายุ
- 2. ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับผู้พิการ
- 3. ยกเว้นภาษีเงินได้จากการลงทุน
สามารถผ่อนชำระภาษีได้หรือไม่?
คุณสามารถผ่อนชำระภาษีได้ หากมียอดชำระภาษีตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นไป และสามารถเลือกผ่อนชำระภาษีได้ภายในระยะเวลา 3 เดือน โดยไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม แต่หากครบกำหนดชำระแล้ว และมีการชำระภาษีเกินเวลา จะมีการปรับค่าใช้จ่ายในอัตรา 1.5 เปอร์เซ็นต์/เดือน
สรุปเกี่ยวกับการลดหย่อนภาษี 2567
จบกันไปแล้วกับรายละเอียดเกี่ยวกับการลดหย่อนภาษี ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจกระบวนการลดหย่อนภาษีให้มากยิ่งขึ้น เนื่องจากการลดหย่อนภาษีเป็นวิธีที่สำคัญในการประหยัดค่าใช้จ่ายและวางแผนการเงินของคุณในรูปแบบที่มีประสิทธิภาพ อีกทั้งการลดหย่อนภาษียังสร้างแรงจูงใจในการลงทุน ทำธุรกิจ ทำประโยชน์แก่สังคม และส่งเสริมเศรษฐกิจในประเทศได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
ในส่วนของพนักงานเงินเดือนส่วนมากจะมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายทุกครั้งที่ได้รับเงินเดือนอยู่แล้ว แต่สำหรับคนเริ่มทำงานใหม่ (First Jobber) ควรเตรียมตัวศึกษาเรื่องภาษีตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อให้เรื่องภาษีของคุณเป็นเรื่องง่ายกับบัตรกดเงินสด ของ KTC ที่สามารถเบิกถอนเงินสดออกมาชำระค่าภาษีของคุณได้ หรือใครที่สะดวกชำระภาษีผ่านเงินสด เช็คธนาคาร ธนาณัติ หรือบัตรอิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ก็สามารถชำระได้ในหลายช่องทางเหล่านี้ได้เช่นกัน
หากใครกำลังมองหาบัตรกดเงินสดใบแรก สมัครง่าย อนุมัติผลไว เราขอแนะนำให้สมัครบัตรกดเงินสด KTC PROUD ที่ต้องถูกใจมนุษย์เงินเดือน ให้คุณผ่อนสินค้าไอทีอย่างโทรศัพท์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ สินค้าแกดเจ็ตต่าง ๆ ได้ในอัตราดอกเบี้ย 0% ได้นานสูงสุด 24 เดือน และอนุมัติวงเงินเพิ่มทันทีที่ต้องการ มีบัตรกดเงินสดของ KTC ติดกระเป๋าไว้สักใบ แล้วการใช้จ่ายของคุณจะสะดวกสบายมากขึ้น
สมัครบัตรกดเงินสด KTC PROUD ผ่อน0% สูงสุด 24 เดือน
ไม่มีค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปี