ในการดำเนินธุรกิจ ตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงหรือ C Level มีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทาง และขับเคลื่อนองค์กรให้ประสบความสำเร็จ หนึ่งในตำแหน่งสำคัญที่มักถูกพูดถึงก็คือ COO หรือ Chief Operating Officer นั่นเอง หากคุณอยากรู้ว่าแต่ตำแหน่ง Chief Operating Officer คืออะไร รวมไปถึงตำแหน่ง C Level มีอะไรบ้าง แล้วแต่ละตำแหน่งทำหน้าที่อะไรในบริษัท มาไขข้อสงสัยไปพร้อมๆ กัน
C Level มีอะไรบ้าง
C Level หรือ Chief Level Executive คือ กลุ่มผู้บริหารระดับสูงที่มีอำนาจการตัดสินใจในเรื่องสำคัญขององค์กร โดยมีตำแหน่งหลักๆ ได้แก่
- CEO (Chief Executive Officer) : ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร เป็นตำแหน่งสูงสุดในองค์กร ทำหน้าที่บริหารจัดการองค์กรโดยรวม ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนเชิงนโยบาย วางกลยุทธ์และทิศทางของบริษัท
- COO (Chief Operating Officer) : ผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการ คอยดูแลการดำเนินงานของบริษัทให้เป็นไปตามนโยบายที่ CEO วางไว้ รวมถึงคอยแก้ปัญหาระหว่างการทำงานจริงในแต่ละวัน
- CFO (Chief Financial Officer) : ผู้บริหารฝ่ายการเงิน ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลด้านการเงินและงบประมาณ คอยควบคุมต้นทุนและลดค่าใช้จ่ายของบริษัท
- CMO (Chief Marketing Officer) : ผู้บริหารฝ่ายการตลาด ทำหน้าที่วางกลยุทธ์ทางการตลาด โฆษณา และผลิตภัณฑ์ของบริษัท
- CTO (Chief Technology Officer) : ผู้บริหารฝ่ายเทคโนโลยี ทำหน้าที่ดูแลนวัตกรรมและเทคโนโลยีของบริษัท
Chief Operating Officer (COO) คือตำแหน่งอะไร ?
Chief Operating Officer คือ ตำแหน่งผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการ ถือเป็นตำแหน่งใหญ่และมีอำนาจสูงเป็นอันดับ 2 ในองค์กรรองจาก CEO มีหน้าที่หลักในการดูแลการดำเนินงานภายในองค์กรให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ที่ CEO วางไว้ รวมถึงดูแลการทำงานของทุกแผนกให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน นอกจากนี้ ยังเป็นผู้รายงานผลการดำเนินงานโดยตรงกับ CEO ด้วย ซึ่งในบริษัทขนาดใหญ่ COO มักจะดูแลหัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการต่างๆ เช่น ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด ผู้อำนวยการฝ่ายการผลิต ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคล
Chief Operating Officer (COO) มีคุณสมบัติอย่างไร ?
ผู้ที่จะดำรงตำแหน่ง Chief Operating Officer คือผู้ที่ต้องมีคุณสมบัติเบื้องต้น ดังต่อไปนี้
- มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ เช่น
- มีประสบการณ์การทำงานอย่างน้อย 10-15 ปีในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง
- มีประสบการณ์ด้านบริหารในตำแหน่งระดับสูง เช่น ผู้อำนวยการฝ่าย รองประธาน
- มีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในด้านการดำเนินธุรกิจและห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ของอุตสาหกรรม
- ทักษะด้านบริหารจัดการ
- มีความสามารถในการบริหารทีมงานขนาดใหญ่
- มีทักษะในการบริหารจัดการโครงการ (Project Management)
- มีความสามารถในการควบคุมและปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพ
- มีความสามารถในการรับมือและแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน รวมถึงตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
- มีความเข้าใจในการบริหารทรัพยากรและงบประมาณ
- มีทักษะความเป็นผู้นำ
- มีวิสัยทัศน์และความสามารถในการสร้างแรงบันดาลใจให้ทีมงาน
- มีความสามารถในการสื่อสารและถ่ายทอดวิสัยทัศน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- มีทักษะในการสร้างและรักษาความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายในและภายนอกองค์กร
- วุฒิการศึกษา
- ส่วนใหญ่มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาโทขึ้นไปในสาขาบริหารธุรกิจ (MBA) หรือสาขาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม
- อาจมีวุฒิการศึกษาหรือประกาศนียบัตรเฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการ
- คุณสมบัติส่วนบุคคล เช่น
- มีความสามารถในการทำงานภายใต้ความกดดันสูง
- มีความยืดหยุ่นและสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง
- มีความซื่อสัตย์ มีจริยธรรม และความรับผิดชอบสูง
- มีความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
- สามารถทำงานร่วมกับ CEO ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- สามารถทำงานร่วมกับทีมผู้บริหารและพนักงานในหลายแผนกได้
Chief Operating Officer (COO) มีหน้าที่อะไรบ้าง ?
หน้าที่และความรับผิดชอบของ COO มีความหลากหลายและอาจแตกต่างกันไปตามขนาดและลักษณะขององค์กร แต่โดยทั่วไปแล้ว มีหน้าที่หลักๆ เช่น
1. หน้าที่ด้านการบริหารการดำเนินงานประจำวัน
- คอยกำกับดูแลการดำเนินงานในทุกแผนกให้เป็นไปตามเป้าหมายของบริษัท
- ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของแต่ละฝ่าย
- พัฒนาและปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
2. หน้าที่ด้านการวางแผนและดำเนินกลยุทธ์
- นำวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ของ CEO มาแปลงให้เป็นแผนปฏิบัติการที่เป็นรูปธรรม
- พัฒนาแผนการดำเนินงานทั้งระยะสั้นและระยะยาว
- กำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดความสำเร็จ (KPIs) ของแต่ละฝ่าย
3. หน้าที่ด้านการบริหารทรัพยากร
- จัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางธุรกิจ
- บริหารงบประมาณการดำเนินงาน
- ดูแลการบริหารทรัพยากรบุคคลร่วมกับฝ่าย HR
4. หน้าที่ด้านการพัฒนาและปรับปรุงองค์กร
- ริเริ่มและดำเนินโครงการต่างๆ เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพขององค์กร
- นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ในการปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพ
5. หน้าที่ด้านบริหารความสัมพันธ์
- สร้างและรักษาความสัมพันธ์กับพันธมิตรทางธุรกิจ
- เป็นตัวแทนองค์กรในการเจรจาข้อตกลงทางธุรกิจที่สำคัญ
- ประสานงานระหว่างฝ่ายต่างๆ ภายในองค์กร
6. หน้าที่ด้านบริหารความเสี่ยง
- ควบคุมความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในกระบวนการทำงาน
- พัฒนาแผนรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินและแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ
- ดูแลให้องค์กรปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
7. หน้าที่ด้านการรายงานและให้คำปรึกษา
- รายงานผลการดำเนินงานต่อ CEO และคณะกรรมการบริษัท
- ให้คำปรึกษาแก่ CEO ในประเด็นสำคัญทางธุรกิจ
- เข้าร่วมประชุมและร่วใตัดสินใจเชิงกลยุทธ์กับผู้บริหารระดับสูง
chief operating office คือ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารงานและดำเนินการตามกลยุทธ์ ให้องค์กรเป็นไปตามเป้าหมายของบริษัท
Chief Operating Officer (COO) มีช่วงเงินเดือนเท่าไหร่ ?
เงินเดือนของ COO ในประเทศไทยมีความแตกต่างกันอย่างมากขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ขนาดขององค์กร อุตสาหกรรม ประสบการณ์การทำงาน และผลประกอบการของบริษัท โดยทั่วไปแล้วช่วงเงินเดือนของ COO ในประเทศไทยของปี 2568 จะอยู่ที่ประมาณ 170,000 - 800,000 บาทต่อเดือน
(อ้างอิงข้อมูลจาก https://www.thansettakij.com/business/marketing/620075)
นอกจากเงินเดือนพื้นฐานแล้ว COO มักจะได้รับผลประโยชน์เพิ่มเติม เช่น
- โบนัสประจำปีตามผลประกอบการ (อาจสูงถึง 6-12 เท่าของเงินเดือน)
- หุ้นหรือสิทธิ์ในการซื้อหุ้นของบริษัท (Stock Options)
- เงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
- ประกันสุขภาพและประกันชีวิตระดับพรีเมียม
- รถประจำตำแหน่งพร้อมคนขับ
- ค่าใช้จ่ายในการเดินทางและสันทนาการ
- สวัสดิการอื่นๆ เช่น การศึกษาต่อเนื่อง การเป็นสมาชิกสโมสร เป็นต้น
คำถามที่พบบ่อย
1. COO มีได้กี่คนในบริษัท ?
ตอบ : โดยทั่วไปแล้ว บริษัทจะมี COO เพียงหนึ่งคนที่รับผิดชอบการดำเนินงานทั้งหมดขององค์กร อย่างไรก็ตาม ในบริษัทขนาดใหญ่ที่มีธุรกิจหลากหลายประเภทหรือมีการดำเนินงานในหลายภูมิภาค อาจมีการแต่งตั้ง COO ย่อยสำหรับแต่ละหน่วยธุรกิจหรือภูมิภาค ซึ่งจะรายงานการดำเนินงานต่อ COO หลักของบริษัท
2. COO แตกต่างจาก CEO อย่างไร ?
ตอบ : CEO เป็นผู้นำสูงสุดขององค์กร ที่รับผิดชอบการกำหนดวิสัยทัศน์ กลยุทธ์ และทิศทางโดยรวม ส่วน COO เป็นผู้ดูแลการดำเนินงานประจำวันและการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติให้อยู่ในทิศทางที่ CEO วางไว้
3. COO สามารถก้าวขึ้นเป็น CEO ได้หรือไม่ ?
ตอบ : ได้ เนื่องจาก COO มีประสบการณ์ในด้านการบริหารและการดำเนินงาน คอยทำงานใกล้ชิดกับ CEO ซึ่งสามารถต่อยอดไปสู่การเป็น CEO ได้ หากมีทักษะด้านกลยุทธ์และความเป็นผู้นำที่เพียงพอ
4. COO จำเป็นต้องมีพื้นฐานด้านไหนมากที่สุด ?
ตอบ : ขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมที่ทำงานอยู่ แต่โดยทั่วไปต้องมีความเข้าใจด้านการบริหารธุรกิจ การจัดการองค์กร และกระบวนการปฏิบัติงานเป็นหลัก
5. ทุกบริษัทจำเป็นต้องมี COO หรือไม่?
ตอบ : ไม่จำเป็น เพราะบริษัทขนาดเล็กหรือบริษัท Startup อาจไม่มีตำแหน่ง COO โดย CEO อาจรับหน้าที่นี้ด้วยตัวเอง ซึ่งการตัดสินใจว่าบริษัทควรมี COO หรือไม่ ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ขนาดขององค์กร ความซับซ้อนของการดำเนินงาน และรูปแบบการบริหารของ CEO
เส้นทางสู่การเป็น COO ที่ประสบความสำเร็จ นอกจากจะต้องมีทักษะด้านการบริหารงานที่แข็งแกร่งแล้ว การบริหารค่าใช้จ่ายทั้งเรื่องงานและเรื่องส่วนตัวก็เป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเช่นกัน ไม่ว่าจะใช้จ่ายไปกับการลงทุนพัฒนาตนเอง ค่าเดินทางไปพบปะคู่ค้าทางธุรกิจ ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน หากมีเครื่องมือทางการเงินที่เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์และหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ จะช่วยให้คุณจัดการทุกอย่างได้อย่างคล่องตัวมากขึ้น
แนะนำบัตรเครดิตสำหรับผู้บริหาร
1. KTC VISA SIGNATURE
บัตรเครดิต KTC VISA SIGNATURE เป็นบัตรเครดิตที่เหมาะกับ COO ที่ต้องเดินทางต่างประเทศบ่อย เพราะสามารถใช้บริการห้องรับรองพิเศษ MIRACLE LOUNGE ได้ 2 ครั้ง/ปี เพียงแสดงบัตรเครดิต KTC VISA SIGNATURE พร้อมบัตรโดยสารระหว่างประเทศของสายการบินไทย อีกทั้งทุกการใช้จ่ายผ่านบัตรฯ เป็นสกุลเงินต่างประเทศ (ยกเว้น 31 ประเทศในเขตเศรษฐกิจยุโรป และสาธารณรัฐประชาชนจีน) จะได้รับคะแนน KTC FOREVER x2 อีกด้วย
2. KTC DIGITAL WORLD REWARDS MASTERCARD
บัตรเครดิต KTC DIGITAL WORLD REWARDS MASTERCARD เป็นบัตรเครดิตที่พร้อมกับผู้บริหารยุคใหม่ เพราะเป็นบัตรไร้หมายเลขและแถบแม่เหล็ก สามารถใช้ได้กับเครื่องรูดบัตร (EDC) และตู้เอทีเอ็ม (ATM) ที่รองรับการทำรายการด้วยชิปการ์ดและการแตะจ่าย (Contactless) เท่านั้น นอกจากนี้ ยังมาพร้อมสิทธิพิเศษมากมาย เช่น รับคะแนน KTC FOREVER x2 เมื่อใช้จ่ายเป็นสกุลเงินต่างประเทศ (ยกเว้น 31 ประเทศในเขตเศรษฐกิจยุโรป และสาธารณรัฐประชาชนจีน), สิทธิ์ใช้บริการห้องรับรองพิเศษ MIRACLE LOUNGE ได้ 2 ครั้ง/ปี เพียงแสดงบัตรเครดิต KTC DIGITAL WORLD REWARDS MASTERCARD พร้อมบัตรโดยสารระหว่างประเทศของสายการบินไทย ฯลฯ
3. KTC JCB ULTIMATE
บัตรเครดิต KTC JCB ULTIMATE เหมาะมากสำหรับผู้บริหารที่เดินทางไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นประจำ เพราะจะได้รับส่วนลดสุดคุ้มมากมายที่ประเทศญี่ปุ่น พร้อมรับคะแนน KTC FOREVER x2 แบบไม่จำกัดยอดรับคะแนนสูงสุด สำหรับทุกยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรฯ เป็นสกุลเงินต่างประเทศ อีกทั้งได้รับสิทธิ์ใช้บริการห้องรับรองในสนามบินญี่ปุ่น จีน ไต้หวัน เกาหลี สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม เยอรมนี สหราชอาณาจักร และฮาวาย รวมถึงได้รับสิทธิ์ใช้บริการห้องรับรองและบริการเลขาส่วนตัวผ่าน JCB Plaza ทั่วโลกอีกด้วย
4. KTC UNIONPAY DIAMOND
บัตรเครดิต KTC UNIONPAY DIAMOND เป็นบัตรเครดิตที่มาพร้อมสิทธิพิเศษมากมาย ไม่ว่าจะเป็น สิทธิ์ใช้บริการห้องรับรองพิเศษ MIRACLE LOUNGE 2 ครั้ง/ปี เพียงแสดงบัตรเครดิต KTC UNIONPAY DIAMOND พร้อมบัตรโดยสารระหว่างประเทศ ของสายการบินไทย, ทุกการใช้จ่ายผ่านบัตรฯ เป็นสกุลเงินต่างประเทศ จะรับคะแนน KTC FOREVER x2, รับส่วนลดและสิทธิพิเศษจากร้านค้า ร้านอาหาร โรงแรม ท่องเที่ยว ระดับพรีเมี่ยมทั้งในและต่างประเทศ, รับ e-Coupon ส่วนลดและสิทธิพิเศษต่างๆ ผ่าน U Plan Platform จากร้านค้าชั้นนำที่ร่วมรายการในประเทศไทยและต่างประเทศ ผ่าน UnionPay International WeChat Official Account และหน้าร้านค้าที่เข้าร่วมรายการ ฯลฯ
บัตรเครดิต KTC พร้อมตอบโจทย์ผู้บริหารยุคใหม่ ด้วยสิทธิพิเศษที่ช่วยจัดการค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็น สิทธิประโยชน์ ส่วนลด โปรโมชั่นมากมาย ที่พัก ร้านค้า ร้านอาหาร หรือการได้รับคะแนน KTC FOREVER 2 เท่า เมื่อใช้จ่ายตามกำหนด ซึ่งสามารถนำคะแนนไปแลกรับส่วนลดและสิทธิประโยชน์อื่นๆ ได้ อีกทั้งยังเข้า Lounge ได้อีกด้วยเมื่อต้องเดินทางไปต่างประเทศ เพื่อให้คุณได้โฟกัสกับการขับเคลื่อนธุรกิจได้อย่างเต็มที่ พร้อมบริหารการเงินได้อย่างคล่องตัว
สำหรับผู้ที่สนใจสามารถสมัครบัตรเครดิต KTC ผ่านออนไลน์ได้เลย ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง
ใช้จ่าย คุ้มค่า นึกถึงบัตรเครดิต KTC