หลายคนคงเคยรู้สึกว่าทำไมแค่กลางเดือน เงินเดือนก็ใกล้หมดแล้ว ? นั่นเพราะเราอาศัยอยู่ในยุคที่การซื้อของง่ายแสนง่าย แค่เลื่อนดูสินค้าบน Instagram แล้วเจอโปรโมชั่น ก็กดสั่งซื้อทันที หรือแค่เห็นแฟลชเซลตอนตี 3 ก็รีบกดลงตะกร้าโดยไม่ทันคิด การช้อปปิ้งออนไลน์ทำให้เราใช้เงินแบบไม่รู้สึกว่าใช้เงิน เพราะไม่ได้จับเงินสดจริง ๆ แค่กดปุ่มสั่งซื้อแล้วสินค้าก็มาถึงบ้าน พอเงินหายจากบัญชีถึงจะรู้สึกตัว แต่ก็สายเกินไปแล้ว บทความนี้จะมาแชร์เทคนิคบริหารเงินเดือน ควบคุมค่าใช้จ่าย และการช้อปปิ้งอย่างชาญฉลาด ที่จะทำให้ทุกคนซื้อของได้อย่างมีสติ ไม่ต้องเสียใจทีหลัง
ควบคุมค่าใช้จ่ายด้วยการเข้าใจพฤติกรรมการใช้จ่ายของตัวเองและวางแผนก่อนเงินเดือนออก
การวางแผนการเงินล่วงหน้าก่อนที่เงินเดือนจะเข้าบัญชีจริง ๆ เป็นหัวใจสำคัญของการควบคุมค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะจะช่วยให้เราสามารถจัดสรรเงินไปตามเป้าหมายที่วางไว้ได้ แทนที่จะรอให้เงินเข้ามาแล้วค่อยคิดว่าจะใช้อะไร ซึ่งมักจะจบลงด้วยการใช้จ่ายเกินตัวเสมอ มาดูกันว่าเราจะสามารถวางแผนก่อนเงินเดือนออกได้อย่างไรบ้าง
1. จดบันทึกรายจ่ายรายวันเพื่อควบคุมค่าใช้จ่าย
ขั้นแรกสุดของการควบคุมค่าใช้จ่ายคือการ จดบันทึกรายจ่ายทุกอย่างที่ใช้ไปในแต่ละวัน ไม่ว่าจะเป็นค่ากาแฟยามเช้า ค่าเดินทาง ค่าอาหารกลางวัน ค่าช้อปปิ้ง หรือแม้แต่ค่าขนมเล็ก ๆ น้อย ๆ เพราะการจดบันทึกจะทำให้เราเห็นภาพรวมของการใช้จ่ายทั้งหมดได้อย่างชัดเจน ซึ่งในปัจจุบันก็มีแอปบันทึกรายรับ-รายจ่ายออกมาให้ได้เลือกใช้มากมายหลายแอป สะดวกสบาย ไม่ต้องคอยมาจดทีละยอด แต่ทางที่ดีควรบันทึกทุกวัน เพราะแอปพวกนี้มักมีฟีเจอร์สรุปการใช้จ่ายและช่วยวางแผนการเงินให้เราด้วย
2. รู้จัก "รูรั่ว" ทางการเงินที่มองข้าม
ในการควบคุมค่าใช้จ่าย เรามักเห็นรูรั่วทางการเงินจากการเห็นภาพรวมการใช้จ่ายก่อน เพราะบางอย่างเราก็ไม่รู้ตัวและมองข้ามไป จนกระทั่งลองบันทึกแล้วเห็นภาพรวมในแต่ละเดือน ซึ่งมักจะเป็นค่าใช้จ่ายเล็กน้อยที่ดูเหมือนไม่สำคัญ แต่เมื่อรวมกันแล้วอาจเป็นก้อนใหญ่ได้อย่างไม่น่าเชื่อ เช่น
- ค่า Subscription ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นบริการสตรีมมิ่งหนัง เพลง ฟิแอปแต่งรูป หรือแอปอื่น ๆ ที่สมัครไว้แต่ไม่ได้ใช้เป็นประจำ แนะนำว่าให้ลองตรวจสอบว่าเราได้ประโยชน์จากสิ่งเหล่านี้ยังไงบ้าง และคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไปหรือไม่ ถ้ารู้สึกว่าไม่ค่อยได้ใช้แล้ว ไม่จำเป็น ก็ให้ยกเลิกไปดีกว่าต้องมาโดนหักทุกเดือน
- ค่าธรรมเนียมการจัดส่ง (Delivery Fees) การสั่งอาหารหรือสินค้าออนไลน์บ่อย ๆ แม้ค่าอาหารจะไม่ได้แพงมาก แต่ถ้าที่รวมกันหลายครั้งต่อเดือนอาจเป็นจำนวนไม่น้อยเลย แต่บางครั้งเราก็หลีกเลี่ยงยาก เพราะมันจำเป็นเวลาที่สั่งอาหารหรือสั่งของ แนะนำว่าเพื่อช่วยประหยัด อาจจะรอตอนมีโปรโมชั่นส่งฟรี เพื่อประหยัดค่าส่ง
3. ควบคุมวงเงินบัตรเครดิตให้เข้ากับไลฟ์สไตล์
บัตรเครดิตเป็นเครื่องมือทางการเงินที่สะดวกสบาย แต่หากใช้อย่างไม่ระมัดระวังก็อาจเป็นดาบสองคมได้ การควบคุมค่าใช้จ่ายด้วยการควบคุมวงเงิน ให้สอดคล้องกับงบประมาณและไลฟ์สไตล์การใช้จ่ายของคุณเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งบัตรเครดิต KTC ก็สามารถตั้งค่าควบคุมวงเงินเพื่อป้องกันการใช้จ่ายไม่ให้เกินจากงบที่ตั้งไว้เท่านั้น และยังสามารถช่วยป้องกันความเสี่ยงที่โดนมิจฉาชีพแฝงตัวเข้ามาทำธุรกรรมออนไลน์ หรือ ‘โดนดูดเงินจนหมด’ โดยไม่ทันรู้ตัว
โดยการตั้งค่าควบคุมวงเงินสามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเองที่แอป KTC Mobile เพียง 3 ขั้นตอน
- กดเลือกฟีเจอร์ ‘จัดการบัตร’
- เลือก ‘ควบคุมวงเงิน’
- ตั้งค่าวงเงินบัตรเครดิตที่ต้องการ จากนั้นกดยืนยัน
การตั้งค่าวงเงินสำหรับธุรกรรมไม่แสดงบัตร จะมีผลกับธุรกรรมออนไลน์, บริการหักบัญชีอัตโนมัติ (สำหรับสินค้า/บริการต่างประเทศเท่านั้น) การชำระเงินด้วย QR และการสั่งซื้อทางโทรศัพท์/ทางไปรษณีย์ กรณีสมัครบริการหักบัญชีอัตโนมัติสำหรับสินค้า/บริการต่างประเทศผ่านบัตร KTC แนะนำให้ตั้งวงเงินธุรกรรมไม่แสดงบัตรให้ครอบคลุมจำนวนเงินของรายการหักบัญชีอัตโนมัติสำหรับสินค้า/บริการต่างประเทศทั้งหมด เพื่อให้ทำรายการสำเร็จและใช้งานบริการที่สมัครไว้ได้อย่างต่อเนื่อง
4. แบ่งเงินเป็นสัดส่วน
ควบคุมค่าใช้จ่ายด้วยวิธีแบ่งเงินเป็นสัดส่วนที่ง่ายที่สุดก็คือใช้สูตร 50/30/20 ซึ่งหนึ่งในวิธีที่ได้รับความนิยมแลช่วยให้บริหารจัดการเงินได้ง่ายขึ้นโดยจะแบ่งเงินเดือนสุทธิออกเป็น 3 ส่วนหลัก ๆ ดังนี้
- 50% สำหรับสิ่งจำเป็น : ส่วนนี้คืองบประมาณสำหรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตและหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น ค่าเช่าบ้าน/ผ่อนบ้าน, ค่าผ่อนรถ, ค่าอาหาร, ค่าสาธารณูปโภค (ค่าน้ำ, ค่าไฟ, ค่าอินเทอร์เน็ต), ค่าเดินทาง, และค่าประกันต่างๆ แต่ถ้าหากค่าใช้จ่ายจำเป็นเกิน 50% ก็อาจจะต้องลองพิจารณาลดค่าใช้จ่ายบางส่วนลง หรือมองหารายได้เสริมเพื่อปรับสมดุล
- 30% สำหรับความต้องการ/ความสุขส่วนตัว ส่วนนี้เป็นงบประมาณสำหรับสิ่งที่อยากได้ เพื่อเติมเต็มความสุขและไลฟ์สไตล์ แต่ไม่ใช่สิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีพ เช่น ค่าช้อปปิ้ง, ค่าดูหนัง, ค่าสังสรรค์, ค่าสมัครสมาชิกฟิตเนส, ค่าท่องเที่ยว, หรือค่ากาแฟพิเศษ อนึ่ง เงินส่วนนี้คือส่วนที่คุณสามารถยืดหยุ่นได้มากที่สุด หากต้องการประหยัดมากขึ้น อาจลดสัดส่วนนี้ลงได้
- 20% สำหรับการออมและการลงทุน นี่คือส่วนสำคัญที่จะสร้างความมั่นคงทางการเงินในอนาคตของคุณ รวมถึงการชำระหนี้ เช่น การออมเงินเพื่อเป้าหมายระยะสั้น (ซื้อของชิ้นใหญ่), การลงทุนในหุ้น/กองทุน, การออมเพื่อวัยเกษียณ, หรือการสร้างเงินสำรองฉุกเฉิน ซึ่งเงินส่วนนี้แนะนำว่าควรโอนเงินส่วนนี้เข้าบัญชีออมทรัพย์หรือบัญชีลงทุนทันทีที่เงินเดือนเข้า เพื่อป้องกันการนำไปใช้จ่าย
5. ตั้งงบสำหรับการช้อป
หลายคนมักที่กำลังควบคุมค่าใช้จ่ายจะพลาดตรงที่ไม่ตั้งงบสำหรับความสุขส่วนตัวเลย ทำให้เกิดความรู้สึกอึดอัดและอาจตบะแตกได้ การตั้งงบประมาณสำหรับการช้อปปิ้งหรือความบันเทิงจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้คุณควบคุมการใช้จ่ายได้อย่างยั่งยืนและไม่รู้สึกถูกจำกัดมากเกินไป
แต่ทั้งนี้เป็นงบสำหรับช้อปปิ้งหรือหาความสุขให้ตัวเองเป็นงบที่ยืดหยุ่นได้ ไม่จำเป็นต้องตายตัวทุกเดือน สามารถปรับเพิ่มหรือลดได้ตามสถานการณ์ เช่น เดือนไหนมีแพลนจะซื้อของชิ้นใหญ่ ก็อาจจะลดงบส่วนอื่น ๆ ลง
ข้อแนะนำเพิ่มเติมคือเมื่อใช้เงินในงบช้อปปิ้งจนหมดแล้ว ควรหยุดใช้จ่ายในส่วนนี้ทันที และรอเงินเดือนออกในรอบถัดไป วิธีนี้จะช่วยฝึกวินัยและป้องกันการใช้จ่ายเกินตัว
เทคนิคควบคุมค่าใช้จ่ายสำหรับมนุษย์เงินเดือน
หลังจากที่วางแผนการใช้จ่ายก่อนเงินเดือนออกแล้วก็ถึงเวลาที่ต้องควบคุมค่าใช้จ่ายจริง ๆ ซึ่งเทคนิคที่ทุกคนสามารถทำตามได้นั้นก็มีตามด้านล่างนี้เลย
1. ใช้แอปธนาคารแบ่งบัญชีอัตโนมัติ
เทคนิคนี้เป็นหัวใจสำคัญของการออมและการควบคุมค่าใช้จ่ายที่ได้ผลที่สุด เพราะเป็นการบังคับตัวเองให้แยกเงินออกไปทันทีที่เงินเดือนเข้าบัญชี
- ใช้บัญชีแยกสำหรับใช้กับเก็บ : เมื่อเงินเดือนเข้าปุ๊บ ให้เราแบ่งเงินออกเป็นอย่างน้อย 2 บัญชีทันที
- บัญชีสำหรับใช้จ่าย (Spending Account) : เป็นบัญชีที่จะใช้สำหรับค่าใช้จ่ายประจำวันและค่าใช้จ่ายที่จำเป็นทั้งหมด
- บัญชีสำหรับเก็บออมและลงทุน (Savings/Investment Account) : เป็นบัญชีที่จะโอนเงินส่วนของการออมและการลงทุนไปไว้ ไม่ควรมีการถอนออกมาใช้ในชีวิตประจำวัน
- ตั้งค่าโอนเงินอัตโนมัติ : ธนาคารส่วนใหญ่มีฟังก์ชันให้สามารถตั้งค่าการโอนเงินอัตโนมัติจากบัญชีเงินเดือนไปยังบัญชีออมทรัพย์หรือบัญชีลงทุนได้ในวันที่เงินเดือนเข้า วิธีนี้จะช่วยให้เราออมเงินได้อย่างสม่ำเสมอโดยไม่ต้องคิดมาก และลดโอกาสที่จะเผลอนำเงินส่วนนั้นไปใช้
- สร้างบัญชีเฉพาะกิจ (ถ้าจำเป็น) : หากมีเป้าหมายการออมที่ชัดเจน เช่น ออมเงินไปเที่ยว, ซื้อของชิ้นใหญ่, หรือไปคอนเสิร์ต ก็อาจแยกบัญชีเพิ่มขึ้นมาอีก เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนว่าเงินแต่ละก้อนมีไว้เพื่ออะไรไร
2. ใช้บัตรเครดิตที่มีโปรโมชั่นตรงกับไลฟ์สไตล์ของตัวเอง
การใช้บัตรเครดิตอย่างชาญฉลาดสามารถเป็นเครื่องมือช่วยประหยัดเงินได้จริง ไม่ใช่แค่การสร้างหนี้ แต่ต้องมีวินัยและใช้ให้ถูกวิธีเพื่อให้ได้สิทธิประโยชน์และความคุ้มค่ากลับคืนมาที่สุด
เลือกบัตรที่เหมาะกับพฤติกรรมของตัวเอง
- บัตรเครดิตของคนชอบเที่ยว : เหมาะสำหรับคนชอบเที่ยว ใช้บัตรเครดิตซื้อตั๋วเครื่องบิน จองที่พัก หรือชอบขับรถแบบ Road Trip กินดื่มร้านอาหาร ช้อปปิ้งที่ห้างสรรพสินค้าชั้นนำ แบะต้องการใช้สิทธิประโยชน์จากบัตรเครดิตแบบคุ้ม ๆ ไม่ว่าจะเป็น ใช้เลาจน์ของสนามบิน ส่วนลดค่าที่พัก อาหาร และอื่น ๆ
- บัตรสะสมคะแนน : เหมาะสำหรับคนที่ใช้จ่ายเยอะและต้องการนำคะแนนไปแลกเป็นส่วนลด, ของรางวัล, หรือตั๋วเครื่องบิน/ที่พักโรงแรม เพื่อลดค่าใช้จ่ายในส่วนความสุขส่วนตัวหรือการท่องเที่ยว
- บัตรเครดิตสายช้อปออนไลน์ : เหมาะสำหรับขาช้อปที่ต้องตามทุกเทรนด์ เพราะมักจะมีโปรโมชั่นผ่อน 0% นาน 3-10 เดือน ที่สำคัญคือมีความปลอดภัย ไม่เสี่ยงต่อการถูกโจรกรรมข้อมูล
สิ่งสำคัญคือใช้เท่าที่มีกำลังจ่าย และต้องมั่นใจว่าคุณสามารถชำระยอดเต็มจำนวนได้ทุกรอบบิล เพื่อหลีกเลี่ยงดอกเบี้ยบัตรเครดิตที่สูงลิ่ว หากไม่ชำระเต็มจำนวน ซึ่งสามารถทำได้ด้วยไม่ใช้บัตรเครดิตเพื่อซื้อของที่ไม่จำเป็น เพราะบัตรเครดิตควรเป็นเครื่องมือในการรับสิทธิประโยชน์จากค่าใช้จ่ายที่คุณต้องจ่ายอยู่แล้ว ไม่ใช่เป็นเครื่องมือในการซื้อของที่ไม่จำเป็น และอย่าลืมเช็คโปรโมชั่นสม่ำเสมอ เพื่อช่วยให้คุณได้รับประโยชน์สูงสุด
แนะนำบัตรเครดิตสำหรับมนุษย์เงินเดือน สะสมคะแนนไว สิทธิประโยชน์เพียบ
บัตรเครดิต KTC VISA SIGNATURE
บัตรเครดิต KTC VISA SIGNATURE เป็นบัตรเครดิตที่ให้สิทธิพิเศษมากกว่าแค่การใช้จ่าย เพราะมีสิทธิพิเศษมากมายไม่ว่าจะเป็น สิทธิ์ใช้ห้องรับรองพิเศษ MIRACLE LOUNGE 2 ครั้ง/ปี, ส่วนลดร้านอาหาร, สนามกอล์ฟ, โรงภาพยนตร์, Streaming platform, บริการสปา, โปรแกรมเพื่อสุขภาพและความงาม สมัครง่าย ๆ เพียงมีรายได้ขั้นต่ำ 50,000 บาทขึ้นไป/เดือน ไม่มีค่าธรรมเนียมรายปี
เงื่อนไขการรับคะแนน KTC FOREVER
- รับคะแนน KTC FOREVER x2 เมื่อใช้จ่ายเป็นสกุลเงินต่างประเทศ (ยกเว้น 31 ประเทศในเขตเศรษฐกิจยุโรป และสาธารณรัฐประชาชนจีน) ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 68 – 31 ธ.ค. 68
- ไม่จำกัดยอดรับคะแนนสูงสุดคะแนนไม่มีวันหมดอายุ คะแนนมีค่า แลกได้หลากหลาย
บัตรเครดิต KTC WORLD REWARDS MASTERCARD
บัตรเครดิต KTC WORLD REWARDS MASTERCARD เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับคนที่อยากสะสมคะแนนแลกเป็นไมล์สายการบิน เพราะได้คะแนนไว สะสมง่าย นอกจากนี้ยังมีสิทธิประโยชน์อื่น ๆ อีกมากมาย สายเที่ยวก็ได้รับสิทธิ์ใช้ห้องรับรองพิเศษ MIRACLE LOUNGE 2 ครั้ง/ปี และสิทธิ์อื่น ๆ อีกมากมาย หรือสายกินก็รับส่วนลดสูงสุด 10% จากร้าน Fine Dining และ Casual Fine Dining ที่สำคัญคือไม่มีค่าธรรมเนียมรายปีตลอดชีพ
เงื่อนไขการรับคะแนน KTC FOREVER
- รับคะแนน KTC สูงสุด x10 เมื่อมียอดใช้จ่ายผ่านบัตรฯ ที่ร้านอาหารที่ร่วมรายการ ตามเงื่อนไขที่กำหนด คะแนนสูงสุด 10 เท่า (มาจากคะแนนปกติ 1 เท่า + คะแนนพิเศษ เมื่อมียอดใช้จ่ายผ่านบัตรฯ ในหมวดที่กำหนด* ครบทุก 600,000 บาท 2 เท่า + คะแนนพิเศษ เมื่อมียอดใช้จ่ายผ่านบัตรฯ ที่ร้านอาหารที่ร่วมรายการ 7 เท่า) ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 68 – 31 ก.ค. 68
- รับคะแนน KTC FOREVER x2 เมื่อใช้จ่ายเป็นสกุลเงินต่างประเทศ (ยกเว้น 31 ประเทศในเขตเศรษฐกิจยุโรป และสาธารณรัฐประชาชนจีน) ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 68 – 31 ธ.ค. 68
- ไม่จำกัดยอดรับคะแนนสูงสุดคะแนนไม่มีวันหมดอายุ คะแนนมีค่า แลกได้หลากหลาย
บัตรเครดิต KTC JCB PLATINUM
คนชอบเที่ยวญี่ปุ่นต้องสมัครใบนี้เลย กับบัตรเครดิต KTC JCB PLATINUM บัตรเครดิตที่สามารถรับสิทธิ์ใช้บริการ Airport Lounge และยังมีส่วนลดสุดคุ้มที่ร้านค้าและร้านอาหารอีกมากมายรายได้ 15,000 บาทขึ้นไป/เดือน ไม่มีค่าธรรมเนียมรายปี สิทธิ์การใช้บริการห้องรับรองสนามบิน ประเทศที่กำหนด รับส่วนลดสุดคุ้มที่ญี่ปุ่น พร้อมสนุกกับการกิน ช้อปเที่ยวในไทย
เงื่อนไขการรับคะแนน KTC FOREVER
- รับคะแนน KTC FOREVER / ROP x2 แบบไม่จำกัดยอดรับคะแนนสูงสุด สำหรับทุกยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรฯ ที่ประเทศญี่ปุ่น (ยกเว้นยอดการใช้จ่ายที่เป็นสกุลเงินไทย)
- รับคะแนนง่าย ๆ ทุก 25 บาท ที่ใช้จ่ายผ่านบัตรฯ รับ 1 คะแนน KTC FOREVER เพื่อแลกสินค้า / บริการ ณ ร้านค้าที่ร่วมรายการ และคะแนนไม่มีวันหมดอายุ
บัตรเครดิต KTC UNIONPAY PLATINUM
ใครไปเที่ยวจีน ฮ่องกง มาเก๊า และไต้หวัน เหมาะมากกับบัตร บัตรเครดิต KTC UNIONPAY PLATINUM เพราะมีทั้งส่วนลด และสิทธิพิเศษจากร้านค้า ร้านอาหาร โรงแรม ท่องเที่ยว ระดับพรีเมี่ยมทั้งใน และต่างประเทศ, e-Coupon ส่วนลดและสิทธิพิเศษต่างๆ ผ่าน U Plan Platform จากร้านค้าชั้นนำที่ร่วมรายการในประเทศไทย และต่างประเทศ ผ่าน UnionPay International WeChat Official Account และหน้าร้านค้าที่เข้าร่วมรายการ รายได้ 15,000 บาทขึ้นไป/เดือน ไม่มีค่าธรรมเนียมรายปี
เงื่อนไขการรับคะแนน KTC FOREVER
- ทุกการใช้จ่ายผ่านบัตรฯที่ฮ่องกง มาเก๊า และไต้หวัน เป็นสกุลเงินท้องถิ่น HKD/MOP/TWD เท่านั้น
ตั้งแต่ 1 ม.ค. 68 – 31 ธ.ค. 68 - ทุก 25 บาท ที่ใช้จ่ายผ่านบัตรฯ รับ 1 คะแนน KTC FOREVER เพื่อแลกสินค้า / บริการ ณ ร้านค้าที่ร่วมรายการ
- ไม่จำกัดยอดรับคะแนนสูงสุด คะแนนไม่มีวันหมดอายุ คะแนนมีค่า แลกได้หลากหลาย
เทคนิคช้อปปิ้งอย่างชาญฉลาด
1. ใช้ Wishlist ก่อนซื้อ
หลายครั้งที่เราซื้อของโดยไม่ได้ตั้งใจ เพียงเพราะเห็นแล้วอยากได้ทันที หรือถูกกระตุ้นด้วยโปรโมชันชั่วคราว เทคนิค Wishlist หรือ "รายการของที่อยากได้" จะช่วยให้ได้คิดทบทวนก่อนตัดสินใจซื้อจริง ๆ โดยให้สร้าง Wishlist ของตัวเองขึ้นมา เวลาเห็นของที่อยากได้ ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า, แกดเจ็ตใหม่, หรือของตกแต่งบ้าน อย่าเพิ่งซื้อทันที ให้จดรายการนั้นลงใน Wishlist แทน แล้วรอคอยสักระยะ ประมาณ 1-2 สัปดาห์ หรือนานกว่านั้น สำหรับของชิ้นใหญ่ ในช่วงเวลานี้ ให้ลองพิจารณาว่ายังต้องการสิ่งนั้นอยู่จริง ๆ ไหม? มีประโยชน์จริง ๆ หรือเป็นแค่ความอยากชั่วคราว? วิธีนี้เมื่อทำบ่อยครั้งที่เราจะพบว่าความอยากได้นั้นจางหายไปเอง ทำให้คุณประหยัดเงินไปได้โดยไม่รู้ตัว หรือหากยังคงต้องการอยู่ ก็มั่นใจได้ว่าเป็นการตัดสินใจซื้อที่ผ่านการไตร่ตรองมาแล้วจริง ๆ
2. ใช้บัตรเครดิตอย่างมีวินัย
บัตรเครดิตเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์มากถ้าใช้ถูกวิธี แต่ก็สามารถสร้างหนี้ได้หากใช้ไม่ระวัง สิ่งสำคัญคือ วินัยในการใช้และการชำระเงิน โดยพยายามชำระเต็มจำนวนและตรงเวลา เพราะนี่คือกฎเหล็กข้อแรกของการใช้บัตรเครดิต ถ้าไม่สามารถชำระยอดเต็มจำนวนได้ในทุกรอบบิล ดอกเบี้ยมหาศาลจะทำให้คุณเป็นหนี้บานปลายและบ่อนทำลายสุขภาพทางการเงินของตัวเอง นอกจากชำระบิลให้ตรงเวลาแล้ว เวลาใช้โปรโมชันผ่อน 0% ก็แนะนำว่าให้ผ่อน 0% เฉพาะของจำเป็นและมีมูลค่าสูง เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าที่จำเป็นในบ้าน, ค่ารักษาพยาบาล, หรืออุปกรณ์การเรียน/ทำงานที่จำเป็นจริง ๆ และอย่าลืมวางแผนการเงินล่วงหน้าแล้วว่ามีกำลังผ่อนชำระไหวในแต่ละงวด ทำไมถึงไม่ควรผ่อน 0% กับของฟุ่มเฟือย ? เพราะการผ่อนสินค้าที่ไม่จำเป็นจะทำให้คุณมีภาระผ่อนชำระเพิ่มขึ้นโดยใช่เหตุ และอาจทำให้กระแสเงินสดของคุณตึงตัว
และที่สำคัญคือควรตรวจสอบจำนวนงวดและวงเงินที่เหลือ อย่าผ่อนหลายชิ้นพร้อมกันจนวงเงินบัตรตึง หรือจนลืมไปว่ามียอดผ่อนเหลืออยู่เท่าไหร่ เพียงเท่านี้ก็จะสามารถใช้บัตรเครดิตได้อย่างมีวินัย และจะช่วยให้ได้รับประโยชน์จากสิทธิพิเศษต่าง ๆ โดยไม่ต้องแบกรับภาระหนี้ที่ไม่จำเป็น
3. ตั้ง Alert แจ้งเตือนยอดใช้บัตร
เทคโนโลยีช่วยให้การควบคุมค่าใช้จ่ายง่ายขึ้นมาก การตั้งค่าแจ้งเตือนคือเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้เรารู้สถานะการใช้จ่ายแบบเรียลไทม์ เพื่อให้เรารับรู้ยอดคงเหลือทันที ว่าใช้จ่ายไปเท่าไหร่แล้วในแต่ละครั้ง และยอดเงินในบัญชี/วงเงินบัตรเหลือเท่าไหร่ ส่งนี้จะช่วยป้องกันการใช้จ่ายเกินตัว เพราะเมื่อเห็นยอดใช้จ่ายทันที เราจะเกิดความตระหนักและหยุดคิดก่อนที่จะใช้จ่ายเกินงบ นอกจากนี้ยังช่วยตรวจสอบความผิดปกติ ในกรณีที่มีการใช้จ่ายที่คุณไม่ได้ทำ เราจะได้รับแจ้งเตือนทันทีและสามารถระงับบัตรได้ทันท่วงที
เทคโนโลยีทำให้การใช้จ่ายสะดวกจนเกินไป ทำให้เราสูญเสียการรู้สึกในการใช้เงิน ไม่เหมือนเมื่อก่อนที่เวลาจะควักเงินจ่ายก็มักจะคิดแล้วคิดอีกเพราะเงินกำลังจะหายไปจากกระเป๋าเงิน แต่ตอนนี้เราแค่แตะหน้าจอ เงินก็หายไป โดยที่สมองไม่ทันประมวลผลว่าเราเพิ่งใช้เงินไปเท่าไหร่ ซึ่งวิธีการที่แนะนำไปนั้นจะไม่ทำให้คุณรู้สึกเหมือนกำลังประหยัดอย่างทรมาน แต่จะช่วยให้คุณรู้สึกเหมือนเป็น นักช้อปมืออาชีพ ที่รู้จักหาของดีราคาถูก และใช้เงินอย่างคุ้มค่า เพราะในท้ายที่สุดแล้ว เป้าหมายของเราไม่ใช่การไม่ซื้อของเลย แต่เป็นการซื้อของที่เราต้องการจริง ๆ ในราคาที่คุ้มค่า และไม่ทำให้เราต้องกังวลเรื่องเงินในตอนท้ายเดือน ซึ่งการใช้บัตรเครดิตก็เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่จะแบ่งเบาค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนให้ง่ายขึ้นเพียงใช้อย่างถูกวิธี แต่ถ้าใครยังไม่มีบัตรเครดิต สามารถสมัครบัตรเครดิต KTC ผ่านช่องทางออนไลน์ได้ ทุกที่ทุกเวลา กดสมัครได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ใช้จ่าย คุ้มค่า นึกถึงบัตรเครดิต KTC