แชร์เทคนิคออมเงิน ฉบับคนมีรายได้ประจำ
เมื่อเงินเดือนเข้าบัญชีการให้รางวัลชีวิตหลังทำงานหนักตลอด 1 เดือนที่ผ่านมาถือเป็นเรื่องปกติที่มนุษย์เงินเดือนทุกคนควรได้รับ แต่ถ้าไม่วางแผนการใช้เงินที่ดีและถูกต้อง จนเผลอให้รางวัลชีวิตจนเลยเถิด อาจทำให้เงินไม่พอใช้ในเดือนนั้น หรือแย่กว่านั้นคือไม่มีเงินเก็บในระยะยาว เพราะต้องแบ่งเงินเดือนมาชดใช้หนี้สินที่เกิดจากการกู้ยืมเงิน แต่ถ้าคุณอยากมีเงินเก็บหลักแสนในบัญชีแล้วไม่รู้ควรเลือกสูตรการออมเงินแบบไหนดี ลองมาดูวิธีเก็บเงินมนุษย์เงินเดือน 20000 บาทกัน เชื่อว่าเป็นประโยชน์กับชาวออฟฟิศแน่นอน
เลือกอ่านตามหัวข้อ
การออมเงิน คืออะไร มีประโยชน์ระยะยาวจริงไหม
การออมเงินเป็นการจัดสรรส่วนหนึ่งของรายได้เก็บไว้ เพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านการเงินในระยะยาว นำไปต่อยอดความฝันของตนเองในอนาคต หรือเป็นวงเงินสำรองเวลาเกิดเหตุฉุกเฉินในอนาคต โดยรูปแบบการออมเงินมีหลากหลายวิธี ทั้งการหัก 10% จากรายได้ไปเก็บไว้ในบัญชีออมทรัพย์หรือการฝากประจำ เก็บเงินตามตารางออมเงิน ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น ไปจนถึงการนำเงินออมไปลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่สูงกว่า
ถ้าถามว่า การออมเงิน มีประโยชน์ระยะยาวจริงไหม ? คำตอบคือ จริง เพราะประโยชน์หลัก ๆ ที่ได้รับจากการออมเงิน คือการมีหลักประกันในด้านความมั่นคงทางการเงินที่ช่วยให้คุณผ่านมรสุมที่ไม่คาดคิดอย่างค่ารักษาพยาบาล ค่าซ่อมบ้าน ค่าซ่อมรถ หรือตกงานกะทันหันโดยไม่ต้องพึ่งพาการกู้ยืมเงิน
แนะนำการวางแผนการเงิน สำหรับมนุษย์เงินเดือน
ก่อนเก็บเงินควรแยกค่าใช้จ่ายจำเป็นออกก่อน
(1) ทบทวนความจำเป็นก่อนใช้
หนึ่งในวิธีวางแผนทางการเงินแบบง่าย ๆ ที่ใครก็สามารถทำได้ นั่นคือทบทวนถึงความจำเป็นก่อนที่จะนำเงินไปใช้จ่าย เพื่อเพิ่มเงินออมในบัญชีเงินฝาก โดยเฉพาะคนที่มีเป้าหมายซื้อบ้าน ซื้อรถยนต์ ให้ใช้เป้าหมายดังกล่าวในการเตือนตัวเองว่าต้องออมเงินเพื่ออะไร เท่านี้ก็ช่วยลดรายจ่ายที่ยังไม่จำเป็นได้
(2) กำหนดวงเงินใช้จ่ายในแต่ละวัน
หลังหักค่าใช้จ่ายจำเป็นในแต่ละเดือน เช่น ค่าผ่อนรถ ค่าน้ำค่าไฟ ค่าอินเทอร์เน็ต ค่าน้ำมัน ค่าซื้อของใช้เข้าบ้าน ค่าอาหารมื้อพิเศษ รวมถึงค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการสมัครสมาชิกที่ไม่ได้ใช้ เมื่อทำการหักค่าใช้จ่ายตรงส่วนนี้ และเงินออมเรียบร้อยแล้ว การคำนวณเงินเดือนที่เหลืออยู่เพื่อกำหนดวงเงินใช้จ่ายในแต่ละวันก็ไม่ใช่เรื่องยุ่งยากอีกต่อไป
ตัวอย่าง
มีรายได้ 20,000 บาทต่อเดือน หักค่าใช้จ่ายจำเป็นไป 11,000 บาท เหลือเงิน 9,000 บาท ถ้าคำนวณแล้วว่าต้องพกเงินติดกระเป๋าวันละ 250 บาท หรือ 7,500 บาทต่อเดือน เท่ากับว่าเดือนนั้นคุณจะมีเงินเก็บเพิ่มอีก 1,500 บาท
(3) ยกเลิกการสมัครสมาชิกที่ไม่ได้ใช้
บางคนอาจสมัครแพลตฟอร์มสตรีมมิ่ง Netflix, Disney+ Hotstar, HBO Go, Prime Video หรือ Apple TV+ Netflix แต่ไม่ค่อยได้ใช้อาจตัดสินใจยกเลิกหรือเปลี่ยนแพ็กเกจใหม่ ก็ช่วยเซฟค่าใช้จ่ายต่อเดือนได้ไม่น้อยทีเดียว เช่น สมัคร Netflix แพ็กเกจมาตรฐาน (ราคา 349 บาท/เดือน) นั่นคือ สามารถรับชมซีรีส์ หรือภาพยนตร์ได้ทั้งจากมือถือ แท็บเล็ต แล็ปท็อป หรือทีวี โดยดูได้พร้อมกัน 2 อุปกรณ์ แต่ปรากฏว่าดูเน็ตฟลิกซ์บนมือถือเพียงอย่างเดียว กรณีนี้อาจเปลี่ยนมาใช้แพ็กเกจมือถือ (ราคา 99 บาท/เดือน) แทนก็ช่วยให้ประหยัดเงินได้มากถึง 250 บาท/เดือน
(4) ใช้บัตรเครดิตให้คุ้มค่า
ขณะเดียวกันในส่วนของการซื้อของใช้เข้าบ้านด้วยบัตรเครดิต นอกจากจะปลอดภัยเพราะไม่ต้องพกเงินสด ใช้จ่ายได้อย่างสะดวกมากขึ้น และไม่ต้องดึงเงินสดออกจากบัญชีทันที บัตรเครดิตหลายใบมีสิทธิพิเศษที่น่าสนใจ อย่างบัตรเครดิต KTC ที่มักมีโปรโมชั่นผ่อน 0% ทุกครั้งที่รูดบัตรฯ 25 บาท รับ 1 คะแนน KTC FOREVER เพื่อแลกสินค้า / บริการ ณ ร้านค้าที่ร่วมรายการ และคะแนนไม่มีวันหมดอายุ รวมถึงไม่มีค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปีตลอดชีพ ที่สำคัญบัตรเครดิต KTC PLATINUM MASTERCARD มีประกันภัยความคุ้มครองการซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านบัตรเครดิต KTC MASTERCARD กรณีไม่จัดส่งสินค้า หรือการจัดส่งสินค้าไม่ถูกต้องและไม่ครบถ้วน ด้วยวงเงินประกันสูงสุด 200 ดอลลาร์สหรัฐ เรียกว่าการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตในชีวิตประจำวันก็มีส่วนช่วยเซฟรายจ่ายในแต่ละเดือนได้มากทีเดียว
(5) ใช้เงินโบนัสอย่างระมัดระวัง
หากไม่ให้ใช้เงินโบนัสเพื่อให้รางวัลตัวเองก็ดูใจร้ายกับมนุษย์เงินเดือนที่ตั้งหน้าตั้งตารอเงินก้อนนี้ แต่เพื่อเพิ่มโอกาสเก็บเงินก้อนโตได้ไวขึ้น ไม่ควรใช้เงินโบนัสรายปีจนหมด โดยอาจแบ่งเงินบางส่วนเก็บเอาไว้ใช้ เผื่อในอนาคตมีเหตุจำเป็นต้องใช้เงินฉุกเฉิน
(6) ทำบัญชีรายรับรายจ่าย
สำหรับการทำบัญชีรายรับรายจ่ายเป็นวิธีวางแผนการเงินที่มีประสิทธิภาพรูปแบบหนึ่ง เพราะการจดบันทึกการใช้จ่ายทุกอย่างลงในสมุดรายรับรายจ่าย ช่วยให้คุณมองเห็นภาพรวมของรายจ่ายในแต่ละเดือน หากพบว่าค่าใช้จ่ายส่วนไหนที่ดูไม่จำเป็นก็อาจปรับลดลงได้ ส่วนจะเลือกทำบัญชีรายรับรายจ่ายหรือแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือก็ขึ้นอยู่กับความสะดวกของแต่ละคน
(7) เก็บก่อนใช้
การหักเก็บจากเงินเดือน 10% 15% หรือ 20% เพื่อเก็บออมเข้าบัญชีเงินฝากก่อนนำไปใช้จ่ายเรื่องอื่น ๆ ถือเป็นวิธีหักดิบที่ช่วยให้สามารถเก็บเงินได้จริง
บัตรเครดิต KTC ใช้จ่ายในชีวิตประจำวันง่ายขึ้น
สูตรการออมเงิน ฉบับมนุษย์เงินเดือน 20,000
สำหรับวัยทำงานที่ปัจจุบันมีรายได้เข้าบัญชี 20,000 บาทต่อเดือน แล้วกำลังเผชิญกับปัญหาออมเงินไม่อยู่ เก็บเงินยังไงก็เก็บไม่ได้ หรือบางคนคิดว่าวิธีเก็บเงิน ให้ได้เร็วเป็นเรื่องยุ่งยาก ต้องบอกว่าความจริงแล้ววิธีแบ่งเงินเก็บเพื่อให้เงินก้อนโตในอนาคตไม่ได้น่าเบื่ออย่างที่คิด ถ้าไม่เชื่อลองมาดูวิธีการออมเงินแบบคนยุคใหม่กัน ว่ามีความน่าสนใจขนาดไหน
การออมเงินช่วยให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้
ทริกที่ 1 แบ่งสัดส่วนเงินให้ชัดเจน
การแบ่งสัดส่วนของเงินตั้งแต่ที่ได้รับมาช่วยให้บริหารเงินได้ง่ายขึ้น เพราะรู้ว่าเงินที่มีอยู่นั้นจะถูกนำไปใช้จ่ายเรื่องใดบ้าง หรือมีส่วนไหนที่ต้องเก็บเข้าบัญชีเงินฝาก โดยสูตรการออมที่ได้รับความนิยมก็คือ 50-30-20 หรือ ค่าใช้จ่ายประจำวัน-ค่าใช้จ่ายส่วนตัว-เงินสำหรับเก็บออม และเพื่อให้เห็นภาพมากขึ้นลองมาดูกันว่าค่าใช้จ่ายตามสูตรการออมนี้ มีอะไรบ้าง
สูตรบริหารเงินแบบ 50-30-20
ส่วนที่ 1 ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการใช้ชีวิต 50% เช่น ค่าเช่าคอนโด ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าเสื้อผ้า ซึ่งนอกจากค่าใช้จ่ายที่เกิดจากปัจจัย 4 ก็ยังมีค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า หรือค่าอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
ส่วนที่ 2 ค่าความสุขส่วนตัว 30% เช่น ค่าท่องเที่ยว ช้อปปิ้ง ค่าอาหารมื้อพิเศษ ซื้อคอร์สออกกำลังกาย หรือซื้อของใช้ตามความชอบ โดยเงินก้อนนี้มักถูกใช้เพื่อซื้อความสุขเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้กับตนเอง แต่ถ้าเดือนไหนไม่มีค่าท่องเที่ยวหรือช้อปปิ้งก็สามารถนำเงินส่วนที่เหลือไปสมทบกับเงินออมได้เช่นเดียวกัน
ส่วนที่ 3 เงินออม 20% ถือเป็นเงินทุนที่เก็บไว้ให้ตัวเองโดยเฉพาะ วัยทำงานบางคนอาจเริ่มต้นออมเงินไว้ตั้งแต่ปีแรก ๆ ของชีวิตทำงานเพื่อไว้ใช้ตอนเกษียณอายุ หรือเป็นทุนเพื่อทำตามความฝัน เช่น เปิดร้านกาแฟ ร้านเบเกอรี่ หรือเปิดโฮมสเตย์ ขณะที่บางคนก็นำเงินก้อนนี้ไปลงทุนสร้างผลตอบแทนเพิ่มเติม อย่างการซื้อกองทุน หรือเอาไว้เป็นตัวช่วยยามไม่คาดฝัน
ตัวอย่าง
เมื่อเงินเดือนเข้าบัญชีก็จัดการแบ่งออกเป็น 3 ก้อน สมมติว่าเงินเดือน 20,000 บาท ก็แบ่งเป็น 10,000 บาท : 6,000 บาท : 4,000 บาท หลังจากนั้นเงินก้อนสุดท้ายนี้ไปเก็บออมตามเป้าหมายที่วางไว้
ทริกที่ 2 ใช้เท่าไหร่ ออมเท่านั้น
หนึ่งในอุปสรรคของการออมเงินเกิดจากการให้รางวัลตนเอง อย่างซื้อกระเป๋าหรือรองเท้าที่เล็งไว้ ทานบุฟเฟ่ต์ทุกสัปดาห์ หรือออกไปปาร์ตี้กับเพื่อนทุกวันศุกร์ จึงไม่แปลกใจว่าทำไมถึงเก็บเงินไม่ได้สักที ฉะนั้นถ้าอยากหักดิบตัวเองแนะนำว่าจ่ายเท่าไหร่ เก็บเท่านั้น
ตัวอย่าง
ซื้อรองเท้าคู่ละ 1,200 บาท ซื้อชุดทำงานใหม่ 970 บาท และทานบุฟเฟ่ต์มื้อละ 875 บาท เท่ากับว่าต้องหักเงินไปไว้ในบัญชีเงินออมทันที 3,045 บาท นอกจากวิธีนี้จะช่วยทำให้เก็บเงินได้จริง แล้วยังเป็นการเตือนสติตัวเองเวลาที่ต้องการซื้อหรือใช้จ่ายเรื่องใดเรื่องหนึ่งก่อนเสมอ
ทริกที่ 3 หารายได้พิเศษเพิ่มเติม
บางครั้งการออมเงินจากเงินเดือนเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ ซึ่งการหารายได้พิเศษช่วยให้คุณมีเงินเอาไว้ใช้จ่ายยามฉุกเฉินหรือมีเงินเก็บเพิ่มมากขึ้น โดยอาชีพเสริมสำหรับมนุษย์เงินเดือนก็มีหลากหลาย เช่น ทำงานล่วงเวลาที่บริษัท ขายของออนไลน์ แต่งนิยายบนเว็บไซต์ออนไลน์ หรือทำงานฟรีแลนซ์ขึ้นอยู่กับความชำนาญและความสะดวกของแต่ละคน แต่เมื่อได้รับเงินก้อนนี้เข้ามาก็อย่าลืมแยกเงินใส่บัญชีเงินเก็บไว้ เพื่อป้องกันการนำเงินมาใช้งานรวมกัน
ทริกที่ 4 นำเงินไปลงทุน เพื่อต่อยอดเงินออม
การทยอยนำเงินเก็บไปลงทุนต่อในช่องทางต่าง ๆ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยต่อยอดเงินให้งอกเงยขึ้นได้ โดยอาจเริ่มจากการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว หรือ SSF ที่สามารถลงทุนในหลักทรัพย์ได้ทุกประเภท แถมยังไม่มีขั้นต่ำในการซื้อและไม่กำหนดว่าต้องซื้อต่อเนื่อง โดยมีข้อแม้ว่าซื้อได้ไม่เกิน 30% ของรายได้ทั้งปี ทั้งหมดไม่เกิน 200,000 บาท ที่สำคัญสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย
จะเห็นได้ว่าเทคนิคการออมเงินที่เอามาแชร์นั้นไม่ยากจนเกินไป สามารถนำไปปรับใช้กับตัวเองได้อย่างแน่นอน ยิ่งถ้าเริ่มต้นออมเงินได้เร็วก็สามารถบรรลุเป้าหมายต่าง ๆ ในชีวิตได้อย่างรวดเร็ว และในท้ายที่สุดการสะสมความมั่งคั่งผ่านการออมเงินช่วยให้คุณก้าวพ้นวิกฤตทางการเงินที่ต้องพบเจอได้ไม่ยาก
นอกจากทริกการออมเงินในข้างต้นแล้ว การใช้บัตรเครดิตแทนเงินสดในชีวิตประจำวันถือเป็นตัวเลือกที่ตอบโจทย์กับการใช้จ่ายทั้งความคุ้มค่าและช่วยออมเงินในตัว เพราะไม่ต้องใช้เงินก้อนแล้วยังได้ใช้สิทธิประโยชน์จากการผ่อน 0% รวมถึงได้รับคะแนนสะสมหรือเป็นเงินคืนกลับมาตามประเภทและโปรโมชั่นของบัตรฯ ที่ถืออยู่อีกด้วย ที่สำคัญการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตยังช่วยเพิ่มโอกาสเวลาไปยื่นสินเชื่อกับสถาบันการเงิน เพราะคุณเป็นคนที่มีเครดิตที่ดี เรียกว่าถ้ารู้จักใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตอย่างชาญฉลาด นอกจากช่วยลดเงินสดที่ต้องจ่ายออกไปให้น้อยลง ยังเป็นการเพิ่มเงินออมในคราวเดียว เห็นประโยชน์จากบัตรเครดิตแบบนี้แล้ว ใครที่ยังไม่มีบัตรฯ แนะนำให้สมัครบัตรเครดิต KTC ติดกระเป๋าไว้ เพื่อไม่ให้พลาดความคุ้มค่าที่มีให้เฉพาะผู้ถือบัตรฯ
ทำบัตรเครดิต KTC ไว้เป็นผู้ช่วยการลงทุนแบบอิสระ
ไม่มีค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปี