โลจิสติกส์ (Logistics) เป็นสาขาวิชาที่น่าสนใจ เพราะประกอบไปด้วยศาสตร์แห่งการวางแผนและการจัดการการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ หรือข้อมูล ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง ซึ่งผู้ที่เรียนจบทางด้านโลจิสติกส์ สามารถนำสิ่งที่เรียนรู้ไปต่อยอดธุรกิจ หรือเริ่มทำงานในสายงานโลจิสติกส์ หรือทำธุรกิจการนำเข้า-ส่งออกได้เลย ซึ่งหากใครกำลังหาข้อมูล หรือสนใจอยากสอบเข้าสาขาโลจิสติกส์ สามารถดูรายละเอียดที่ KTC ได้สรุปมาให้ในบทความนี้ ซึ่งจะมีข้อมูลพร้อมตั้งแต่เนื้อหาการเรียน ไปจนถึงตัวอย่างบริษัทโลจิสติกส์ที่น่าสนใจ
สาขาโลจิสติกส์เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการการเคลื่อนย้ายสินค้าตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง ซึ่งเป็นกระบวนการที่จำเป็นในแทบทุกอุตสาหกรรม
จบโลจิสติกส์ ทํางานอะไรได้บ้าง
ผู้ที่เรียนจบสาขาโลจิสติกส์ สามารถทำงานได้หลากหลาย เพราะโลจิสติกส์เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการการเคลื่อนย้ายสินค้าตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง ซึ่งเป็นกระบวนการที่จำเป็นในแทบทุกอุตสาหกรรม ยกตัวอย่างอาชีพ ดังนี้
- บริษัทโลจิสติกส์ : สามารถสมัครได้ตั้งแต่ตำแหน่งวางแผนและควบคุมกระบวนการโลจิสติกส์ ไปจนถึงตำแหน่งบริหารจัดการคลังสินค้า
- จัดซื้อ : ตำแหน่งจัดซื้อถือว่าเป็นที่นิยมมาก และสามารถนำทักษะโลจิสติกส์มาใช้ในตำแหน่งนี้ได้
- ที่ปรึกษาโลจิสติกส์ : หากอยากเติบโตในสายผู้ให้คำปรึกษา (Consultant) คุณสามารถเลือกสมัครตำแหน่งผู้ให้คำปรึกษาทางด้านโลจิสติกส์ได้
- เจ้าของธุรกิจนำเข้า-ส่งออก : เพราะสาขาโลจิสติกส์จะได้เรียนทุกอย่างเกี่ยวกับการจัดการเคลื่อนย้ายสินค้า ดังนั้นคุณสามารถเป็นเจ้าของบริษัทนำเข้า-ส่งออกเองได้เลย
- บริหารจัดการทรัพยากร : เป็นทักษะของการเรียนโลจิสติกส์ที่คุณสามารถนำมาปรับใช้ได้
อาชีพโลจิสติกส์ คืออะไร
อาชีพโลจิสติกส์ คืออาชีพที่ดูแล รับผิดชอบ วางแผน และบริหารเกี่ยวกับระบบการขนส่งสินค้า ดำเนินการ วางแผน จัดการ บริหาร และดูแลควบคุมคลังสินค้า รวมถึงการนำเข้า-ส่งออก หรือการเคลื่อนย้ายสินค้า โดยอาชีพโลจิสติกส์ถูกแบ่งออกเป็นหลายหน้าที่ ได้แก่ ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายการผลิต ฝ่ายนำเข้าและส่งออก และอื่นๆ อีกมากมาย
อาชีพโลจิสติกส์ มีอะไรบ้าง
ในความเป็นจริงแล้วผู้ที่เรียนจบโลจิสติกส์ และต้องการทำงาน หรือเติบโตในสายงานโลจิสติกส์ สามารถประกอบอาชีพได้หลากหลาย เพราะทุกทักษะของโลจิสติกส์ นำมาประยุกต์ใช้ในตำแหน่งต่างๆ ยกตัวอย่าง เช่น
- ผู้จัดการโลจิสติกส์ หัวหน้าทีม หรือผู้ที่รับผิดชอบวางแผนและควบคุมกระบวนการโลจิสติกส์ของแผนก หรือขององค์กร
- ผู้จัดการคลังสินค้า ดูแล และจัดการคลังสินค้า โดยเน้นการบริหารจัดการคลังสินค้าให้มีประสิทธิภาพ
- ผู้ประกอบการให้บริการด้านโลจิสติกส์ ไม่ว่าจะเป็นบริการรับจัดส่งของระหว่างประเทศ นำเข้า-ส่งออกสินค้า หรือเป็นตัวแทนเพื่อจัดการเรื่องขนส่งสินค้า
- ผู้บริหารซัพพลายเชน คอยจัดการบริหารซัพพลายเชนให้มีประสิทธิภาพ หน้าที่คร่าวๆ คือ จัดหาวัตถุดิบจนถึงการส่งมอบสินค้าถึงมือผู้บริโภค
- เจ้าหน้าที่จัดซื้อ ช่วยดูแลเรื่องการจัดซื้อวัตถุดิบและอุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงมีหน้าที่สั่งสินค้า เลือกสินค้าเพื่อเตรียมขาย
- นักวิเคราะห์ข้อมูลโลจิสติกส์ (Logistics Data Analyst) ที่ต้องใช้ทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูล และเตรียมข้อมูลเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในการขนส่ง หรือช่วยพัฒนาธุรกิจโดยใช้ Data เป็นหลัก
- ผู้เชี่ยวชาญโลจิสติกส์อีคอมเมิร์ซ (E-commerce Logistics Specialist) หน้าที่หลักคือการดูแลจัดส่งสินค้า และเช็กคลังสินค้า โดยมีช่องทางการจำหน่ายคือ E-commerce แพลตฟอร์มต่างๆ
- ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนเส้นทางขนส่ง (Route Optimization Specialist) หากต้องการสมัครงานโลจิสติกส์แบบเชิงลึก ตำแหน่งนี้คุณจะได้ทำการวางแผน คิดกลยุทธ์ และใช้ซอฟต์แวร์เพื่อปรับเส้นทางการขนส่งให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
- เจ้าหน้าที่ประสานงานขนส่งระหว่างประเทศ (Shipping Coordinator) คนที่มีทักษะทางด้านภาษา สามารถต่อยอดที่สายงานนี้ได้ เพราะเกี่ยวกับการส่งของระหว่างประเทศ มีบริษัทเปิดรับทั้งการขนส่งผ่านเรือ สนามบิน หรือทางบก เน้นการประสานงานเป็นหลัก
โลจิสติกส์เรียนเกี่ยวกับอะไร
ถ้าหากคุณเลือกเรียนคณะ หรือสาขาวิชาโลจิสติกส์ จะได้เรียนรู้ทั้งหมดเกี่ยวกับระบบขนส่ง จัดการสินค้า วิธีบริหารซัพพลายเชน การวางแผนและควบคุมการผลิต รวมไปถึงวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง อย่างเช่น บัญชีเบื้องต้น การวิเคราะห์แผนธุรกิจ การตลาดเบื้องต้น กฎหมายธุรกิจ และอื่นๆ อีกมากมาย นอกจากนั้นบางมหาวิทยาลัยยังมีสาขาย่อยของโลจิสติกส์ให้เลือกเรียน เช่น
- วิทยาการเดินเรือ
- การจัดการอุตสาหกรรมพาณิชยนาวี
- การจัดการโลจิสติกส์
- การค้าระหว่างประเทศและการจัดการโลจิสติกส์
โลจิสติกส์ ต้องเก่งอะไร
ส่วนใหญ่วิชาที่เรียนของสาขาโลจิสติกส์ ต้องใช้ทักษะการคำนวณเป็นหลัก เวลาสอบเข้าจะต้องใช้คะแนน A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 นอกจากนั้นทักษะภาษาก็เป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่เลือกเรียนการค้าระหว่างประเทศ
โลจิสติกส์เงินเดือนดีไหม
คนที่เรียนจบโลจิสติกส์ เงินเดือนจะขึ้นอยู่กับตำแหน่ง สำหรับเด็กจบใหม่ไม่มีประสบการณ์ เริ่มต้นที่ 15,000 - 20,000 บาทขึ้นไป ส่วนตำแหน่งผู้จัดการเงินเดือนอยู่ที่หลัก 100,000 บาท แต่ถ้ามีเงินทุน แนะนำให้เปิดธุรกิจเอง
ตัวอย่างบริษัทที่รับคนที่จบโลจิสติกส์
เพื่อเป็นแนวทาง และแรงบันดาลใจสำหรับคนที่เลือกเรียนด้านโลจิสติกส์ หรือนักศึกษาจบใหม่กำลังหางานโลจิสติกส์ เราจึงได้เลือกตัวอย่างของบริษัทที่รับคนที่จบโลจิสติกส์มาให้ ดังนี้
- SCG Logistics บริษัทโลจิสติกส์ขนาดใหญ่ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการขนส่งสินค้าขนาดใหญ่และการจัดการซัพพลายเชน ให้บริการขนส่งสินค้าทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ, จัดการคลังสินค้า, บริการขนส่งพิเศษ
- DHL Express ความน่าสนใจคือเป็นบริษัทขนส่งชื่อดังระดับโลก ที่มีบริการขนส่งสินค้าไปทั่วโลก
- CJ Logistics บริษัทให้บริการขนส่ง และโลจิสติกส์แบบครบวงจรจากประเทศเกาหลี ที่ได้มีการขยายสาขามายังประเทศไทย ที่เน้นตลาดอาเซียนเป็นหลัก เน้นการจัดส่งสินค้าแบบ Door to Door
- FedEx บริษัทขนส่งชื่อดังให้บริการขนส่งระหว่างประเทศ มีให้บริการทั้งทางรถ ทางเรือ และทางอากาศ รับสมัครตำแหน่งเกี่ยวกับโลจิสติกส์เป็นจำนวนมาก
- LOGISTIC PLUS ถ้าอยากเรียนรู้งานเกี่ยวกับการจัดเก็บสินค้า และระบบคลังที่ครบวงจร แนะนำบริษัทนี้ เพราะมีบริการทั้งเก็บ แพ็ก และส่งให้พร้อม มีบริการให้กับทั้ง B2B และ B2C
ไม่ว่าคุณจะเป็นเจ้าของบริษัท หรือกำลังวางแผนเพื่อเริ่มต้นธุรกิจโลจิสติกส์ การวางแผนทางการเงินเป็นสิ่งที่สำคัญ ยิ่งบริษัทของคุณมีความยืดหยุ่นทางการเงินมากเท่าไหร่ จะช่วยให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการนำเงินก้อนเพื่อมาเพิ่มโอกาสในการลงทุนจากบัตรเครดิต แนะนำหากกำลังตัดสินใจเลือกสมัครบัตรเครดิตสักใบ ให้เข้าไปในเว็บไซต์ KTC เปรียบเทียบบัตรเครดิต KTC และเลือกสมัครบัตรเครดิต KTC ที่ตรงกับความต้องการของคุณ เพื่อให้บัตรเครดิตเป็นหนึ่งในตัวช่วยต่อยอดธุรกิจในฝัน
ใช้จ่าย คุ้มค่า นึกถึงบัตรเครดิต KTC