เมื่อพูดถึงการยื่นภาษี โดยเฉพาะมือใหม่หัดยื่น หรือ First Jobber ที่อาจสงสัยว่า ถ้ารายได้ไม่ถึงเกณฑ์จะต้องเสียภาษีหรือไม่ ? แล้วถ้าไม่ยื่นภาษี จะมีผลอย่างไร ? โดนภาษีย้อนหลัง ไม่มีเงินจ่ายต้องทำอย่างไร รวมไปถึงคำถามอื่นๆ อีกมากมาย วันนี้ KTC ได้รวบรวมข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับการยื่นภาษีมาไว้ให้แล้ว
ถ้าไม่ยื่นภาษี จะมีผลอย่างไร ?
ต้องอธิบายให้ทุกคนเข้าใจก่อนว่าการยื่นภาษีเป็นหน้าที่ของผู้มีรายได้ทุกคน เพื่อแสดงความโปร่งใสและเป็นไปตามกฎหมาย และนี่คือตารางแสดงรายได้ของบุคคลที่ต้องเสียภาษีสำหรับปี 2567 นี้
ตารางรายได้ที่ต้องเสียภาษี
รายได้ต่อเดือน (บาท) |
รายได้รวมทั้งปี (บาท) |
เงินได้สุทธิ (บาท) |
อัตราภาษี |
เสียภาษีสูงสุด (บาท) |
15,000 |
180,000 |
30,000 |
ยกเว้น |
0 |
20,000 |
240,000 |
80,000 |
ยกเว้น |
0 |
26,000 |
312,000 |
152,000 |
5% |
100 |
30,000 |
360,000 |
200,000 |
5% |
2,500 |
40,000 |
480,000 |
320,000 |
10% |
9,500 |
50,000 |
600,000 |
440,000 |
10% |
21,500 |
80,000 |
960,000 |
800,000 |
20% |
75,000 |
100,000 |
1,200,000 |
1,040,000 |
25% |
125,000 |
500,000 |
6,000,000 |
5,840,000 |
35% |
1,559,000 |
คำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
รายได้ไม่ถึงต้องเสียภาษีไหม ?
หากรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนดก็ไม่ต้องเสียภาษี แต่ยังต้องยื่นแบบแสดงรายได้ เพื่อยืนยันสถานะ โดยเฉพาะกรณีที่มีรายได้อื่นๆ เช่น ดอกเบี้ย เงินปันผล หรือรายได้จากการขายทรัพย์สิน เพราะการไม่ยื่นภาษี อาจทำให้คุณเสียโอกาสในการได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี หรือมีปัญหาเมื่อต้องติดต่อสถาบันการเงินในอนาคต
หากไม่ยื่นภาษี มีผลกระทบ ปรับเงินย้อนหลัง และอาจถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย
ถ้าไม่ยื่นภาษี หรือยื่นภาษีผิด จะมีผลอย่างไร ?
ถ้าไม่ยื่นภาษี จะมีผลอย่างไร หรือถ้ายื่นภาษีผิด จะมีผลอย่างไร เราขออธิบายให้เข้าใจง่ายๆ โดยแยกเป็นแต่ละกรณี ดังนี้
1. กรณีไม่ได้ยื่นภาษีภายในระยะเวลาที่กำหนด
หากไม่ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90/91 หรือ 94 ภายในวันที่ 31 มีนาคม ของทุกปี จะมีโทษดังนี้
- ต้องระวางโทษค่าปรับไม่เกิน 2,000 บาท ตามมาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากร แต่สามารถขอลดค่าปรับได้
- ต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน (เศษของเดือนให้นับเป็น 1 เดือน) ของเงินภาษีที่ต้องชำระนับแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการจนถึงวันชำระภาษี
- ต้องเสียเบี้ยปรับอีก 1 เท่า หรือ 2 เท่าของภาษีที่ต้องชำระแล้วแต่กรณี เงินเบี้ยปรับดังกล่าวอาจลดหรืองดได้ตามระเบียบที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี
- กรณีไม่มีเงินภาษีต้องชำระ ให้ชำระค่าปรับยื่นภาษีล่าช้าเพียงอย่างเดียว (ไม่เกิน 2,000 บาท ตามมาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากร แต่สามารถขอลดค่าปรับได้)
2. กรณีไม่ชำระภาษีภายในระยะเวลาที่กำหนด
- กรณีมีเงินภาษีต้องชำระ ให้ชำระเงินภาษีพร้อมเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ โดยไม่ต้องเสียค่าปรับ
- กรณีไม่มีเงินภาษีต้องชำระ ไม่ต้องเสียเงินเพิ่มและค่าปรับ
3. กรณียื่นภาษีทัน แต่ชำระภาษีขาดหรือต่ำไป
- ต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน (เศษของเดือนให้นับเป็น 1 เดือน) ของเงินภาษีที่ต้องชำระนับแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการจนถึงวันชำระภาษี
- ต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับ 1 เท่าหรือ 2 เท่าของภาษีที่ต้องชำระแล้วแต่กรณี เงินเบี้ยปรับดังกล่าวอาจลดหรืองดได้ตามระเบียบที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี
4. กรณีเจตนาละเลยไม่ยื่นภาษี
- มีโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ
5. กรณีจงใจ แจ้งข้อความเท็จ หรือแสดงหลักฐานเท็จหรือฉ้อโกง เพื่อหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษี
- มีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 200,000 บาท
โดนภาษีย้อนหลัง ไม่มีเงินจ่าย ทำอย่างไรดี ?
หากโดนภาษีย้อนหลัง ไม่มีเงินจ่าย อย่างแรกเลยสิ่งที่ควรทำคือการขอเจรจาไกล่เกลี่ยกับกรมสรรพากร เพื่อขอผ่อนชำระ ขอลดหรือยกเว้นค่าเบี้ยปรับ เพราะหากละเลยไม่จ่ายภาษี จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายและถูกอายัดบัญชีได้
กรณีที่ต้องการผ่อนชำระภาษีนั้น ถ้ามีภาษีที่ต้องชำระจำนวนตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นไป ทั้งภาษีครึ่งปีและภาษีสิ้นปี ผู้เสียภาษีมีสิทธิ์ขอผ่อนชำระภาษีได้เป็น 3 งวดเท่าๆ กัน โดยไม่ต้องเสียเงินเพิ่มใดๆ โดยผู้เสียภาษีอาจติดต่อขอผ่อนชำระได้ที่ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาโดยใช้แบบบ.ช. 35 จำนวน 1 ชุด 3 แผ่น ข้อความเหมือนกันดังนี้
งวดที่ 1 : ชำระพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภายในวันที่ 30 กันยายน หรือวันที่ 31 มีนาคม
งวดที่ 2 : ชำระภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ต้องชำระงวดที่ 1
งวดที่ 3 : ชำระภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ต้องชำระงวดที่ 2
ถ้าภาษีงวดใดงวดหนึ่งมิได้ชำระภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ผู้เสียภาษีหมดสิทธิ์ที่จะชำระภาษีเป็น รายงวด และต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีงวดที่เหลือ
วิธีเตรียมตัวและวางแผนยื่นภาษีเพื่อความถูกต้อง
- ตรวจสอบรายได้และค่าลดหย่อน โดยเก็บเอกสารรายได้ให้ครบถ้วน เช่น สลิปเงินเดือน ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี หรือหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ)
- ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับภาษีให้เข้าใจ เช่น รายได้ที่ต้องเสียภาษี ค่าใช้จ่ายที่หักได้
- ใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษี เช่น การซื้อกองทุน การบริจาค การประกันชีวิต
- ยื่นภาษีก่อนกำหนดวันสิ้นสุดการชำระ เพื่อหลีกเลี่ยงความผิดพลาดและปัญหาที่อาจเกิดขึ้น
- ยื่นภาษีผ่านระบบออนไลน์เพื่อความสะดวกและรวดเร็ว
- วางแผนการเงินล่วงหน้า โดยแยกเงินสำรองสำหรับจ่ายภาษีเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาในอนาคต
- ก่อนยื่นภาษีควรตรวจสอบข้อมูลให้ละเอียด เพื่อป้องกันความผิดพลาด
- หากมีข้อสงสัยหรือต้องการความช่วยเหลือในการยื่นภาษี ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เช่น กรมสรรพากร หรือผู้ประกอบการบัญชี
วิธีจ่ายภาษี ทำอย่างไร ?
วิธีการจ่ายภาษีสามารถทำได้ 2 วิธี ดังนี้
- กรมสรรพากรสาขาใกล้บ้าน
- ยื่นแบบออนไลน์ที่เว็บไซต์ของสรรพากร โดยจะต้องเตรียมเอกสาร ดังนี้
- แบบฟอร์มยื่นภาษี ภ.ง.ด.90 (สำหรับบุคคลธรรมดา) ภ.ง.ด.91 (สำหรับผู้มีเงินได้จากการประกอบธุรกิจ) และ ภ.ง.ด.95 (สำหรับคู่สมรส)
- ใบรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด.1, ภ.ง.ด.2, ภ.ง.ด.3, ภ.ง.ด.53) หรือใบแจ้งยอดเงินได้พึงประเมินและการหักภาษี ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด.94)
- เอกสารใช้ในการลดหย่อนภาษี ยกตัวอย่างเช่น ใบรับรองการจ่ายเบี้ยประกันชีวิต ใบรับรองการจ่ายเงินบำรุงสมาคม ชมรม หรือองค์กรการกุศล หรือใบรับรองการซื้อกองทุนเพื่อการลดหย่อน เป็นต้น
ทั้งนี้ คุณสามารถผ่อนชำระภาษีได้ ซึ่งการผ่อนชำระภาษีด้วยบัตรเครดิต จะช่วยลดภาระทางการเงินในระยะสั้นและเพิ่มความสะดวกสบายในการจัดการค่าใช้จ่าย โดยคุณสามารถแบ่งจ่ายเป็นงวดๆ ได้ ช่วยให้คุณบริหารการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สามารถอ่านต่อได้ที่นี่
การยื่นภาษีไม่ใช่เรื่องยาก หากเราวางแผนและปฏิบัติตามอย่างถูกต้อง เพราะนอกจากจะช่วยลดความเสี่ยงกระทำผิดทางกฎหมายแล้ว ยังช่วยให้คุณมีสถานะทางการเงินที่น่าเชื่อถือในระยะยาวอีกด้วย
เริ่มวางแผนเสียภาษีและวางแผนการใช้จ่ายให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้แล้วตั้งแต่วันนี้ พร้อมรับสิทธิประโยชน์มากมายจากบัตรเครดิต KTC หากใครสนใจ สามารถสมัครบัตรเครดิต KTC ผ่านทางออนไลน์ได้ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง
อ้างอิงจาก :
ใช้จ่าย คุ้มค่า นึกถึงบัตรเครดิต KTC