มีรายได้ เงินเดือนไม่พอใช้ ไม่พอกับรายจ่าย หรือหมุนเงินไม่ทันนั้นเป็นปัญหาที่คนทำงานหลายคนอาจเจอ โดยเฉพาะในช่วงที่ราคาสินค้า และค่าครองชีพปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนในการดำรงชีวิตเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่รายได้กลับไม่ได้ปรับเพิ่มขึ้นตาม ส่งผลให้หลายคนต้องเผชิญกับปัญหาเงินไม่พอใช้จ่าย ต้องใช้ชีวิตแบบเดือนชนเดือน ไม่มีเงินเหลือเก็บออม ขาดสภาพคล่องทางการเงิน และบางรายอาจต้องกู้หนี้ยืมสินเพื่อมาใช้จ่าย หากละเลยปัญหาอาจสะสมจนนำไปสู่วิกฤตการเงินได้ อย่างไรก็ตาม การวางแผนการเงิน การใช้จ่ายอย่างชาญฉลาด สามารถช่วยจัดการปัญหาเงินเดือนไม่พอใช้ หมุนเงินไม่ทันได้ โดยลองทำตามวิธีที่เรานำมาฝากกันวันนี้
สาเหตุเงินเดือนไม่พอใช้ หมุนเงินไม่ทัน
การรู้สาเหตุของปัญหาเงินเดือนไม่พอใช้ หมุนเงินไม่ทัน ถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญ เพื่อช่วยให้สามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด
1. ไม่มีเงินเก็บสำรองยามฉุกเฉิน
เมื่อมีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นกะทันหัน หากไม่มีเงินสำรองไว้ใช้ยามฉุกเฉินย่อมส่งผลให้ต้องใช้จ่ายจากเงินเดือนในเดือนนั้นๆ ซึ่งทำให้กระทบต่อรายจ่ายประจำอื่นๆ เกิดปัญหาเงินเดือนๆ นั้นไม่พอใช้จ่าย หมุนเงินไม่ทัน ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินจึงแนะนำให้มีเงินเก็บสำรอง 3-6 เท่าของรายรับเพื่อใช้ในยามจำเป็น
2. เป็นหนี้ไม่รู้จบ
ความไม่ระมัดระวังในการใช้จ่ายอาจทำให้ก่อหนี้สินไม่รู้ตัว เช่น การใช้จ่ายเกินตัว ซื้อสิ่งของที่ไม่จำเป็น การขอสินเชื่อที่เกินกำลัง เช่น สินเชื่อรถยนต์ ทำให้หลายคนติดกับดักหนี้ ต้องหาเงินมาหมุนทุกเดือน เพราะเงินเดือนไม่พอใช้ จนกระทั่งเกิดปัญหาหนี้สินล้นพ้นตัว
3. ละเลยค่าใช้จ่ายเล็กๆ น้อยๆ
หลายคนมองข้ามค่าใช้จ่ายเล็กๆ น้อยๆ เช่น ค่าเครื่องดื่ม ค่าขนม ค่าเดินทาง ซึ่งอาจมีราคาไม่แพง แต่เมื่อรวมกันแล้วกลายเป็นจำนวนเงินที่มากพอสมควรได้ ทำให้รู้สึกว่าเงินไม่พอใช้ ไม่รู้เงินหายไปไหนหมด การบันทึกรายรับ-รายจ่ายสามารถช่วยให้เห็นภาพรวมของการใช้จ่ายในแต่ละวันที่ชัดเจนขึ้นได้
4. ไม่มีเป้าหมายการลงทุน
การไม่มีเป้าหมายในการลงทุนอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนระยะสั้นหรือระยะยาว ทำให้ไม่สามารถวางแผนการออมและการใช้จ่ายได้อย่างเหมาะสม รวมถึงขาดความเข้าใจในการบริหารสินทรัพย์และจัดสรรการลงทุนที่ดี ส่งผลให้เงินออมไม่เพิ่มขึ้นเท่าที่ควร การพยายามลงทุนเก็บออมเป็นเงินจำนวนมากเกินไป โดยไม่ได้คำนึงถึงสภาพคล่อง เช่น การซื้อกองทุน บางกองทุน
บางกองทุน ก็ทำให้เกิดปัญหาเงินไม่พอใช้ในระยะยาวได้
เงินเดือนไม่พอใช้ อยากมีรายได้เสริม
เลือกงานเสริมที่เหมาะกับเวลาและทักษะของตัวเอง จะช่วยให้หารายได้เพิ่มขึ้นโดยไม่เหนื่อยจนเกินไป และไม่ต้องใช้ต้นทุนเยอะ เริ่มด้วยวิธีง่ายๆ ดังนี้
- ขายของออนไลน์ เริ่มจากของง่ายๆ เช่น เสื้อผ้า เครื่องสำอาง อาหารแห้ง ของใช้ในบ้าน ที่ช่องทาง Shopee, Lazada, Facebook Marketplace และ TikTok Shop
- รับจ้างงานฟรีแลนซ์ ดูว่าเราถนัดเรื่องอะไร เช่น ออกแบบกราฟิก, ตัดต่อวิดีโอ, เขียนบทความ, แปลภาษา เป็นต้น
- ส่งอาหาร Delivery แพลตฟอร์ม Grab, Line Man, Robinhood, Shopee Food
บันทึกรายรับ-รายจ่ายอย่างละเอียด ทำให้เราเห็นภาพการใช้จ่ายในแต่ละเดือน ช่วยให้วางแผนการใช้เงินได้ดีขึ้น
เงินเดือนไม่พอใช้ แก้นิสัยใช้จ่ายเกินรายได้
การแก้นิสัยใช้จ่ายเกินรายได้นั้นแม้ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็สามารถเป็นไปได้หากมีความตั้งใจจริง โดยใช้วิธีเหล่านี้เป็นแนวทาง เพื่อช่วยให้เปลี่ยนนิสัยทางการเงินอย่างได้ผล
1. ตระหนักถึงปัญหาและผลกระทบที่ตามมา
จุดเริ่มต้นสำคัญคือการตระหนักได้ถึงปัญหาการใช้จ่ายเกินรายได้ของตัวเอง และผลกระทบร้ายแรงที่อาจตามมา เช่น การเป็นหนี้สะสม ไม่สามารถออมเงินได้ ส่งผลต่อความมั่นคงในอนาคต
2. บันทึกรายรับ-รายจ่ายอย่างละเอียด
การบันทึกรายรับ-รายจ่ายทุกรายการจะทำให้เห็นภาพการใช้จ่ายที่แท้จริง ว่าเงินนั้นถูกใช้จ่ายไปกับอะไรบ้าง มีค่าใช้จ่ายไหนบ้างที่ทำให้เงินไม่พอใช้ เมื่อมองเห็นข้อมูลโดยละเอียดแล้วจะช่วยให้วางแผนการใช้จ่ายได้ดีขึ้น
3. วางแผนและควบคุมการใช้จ่ายเป็นงวดๆ
หลังจากทราบรายรับ-รายจ่ายแล้ว ให้จัดทำค่าใช้จ่ายรายเดือน และแบ่งสัดส่วนค่าใช้จ่ายต่างๆ ให้เหมาะสม โดยอาจใช้หลัก 50/30/20 คือ 50% เป็นรายจ่ายจำเป็น 30% สำหรับรายจ่ายตามความต้องการ และ 20% เป็นเงินออม การจัดสรรงบประมาณสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในแต่ละวันโดยแบ่งงบเป็นรายสัปดาห์จะช่วยให้ควบคุมการใช้จ่ายได้ง่ายขึ้น
4. กำหนดเป้าหมายการออม
การมีเป้าหมายการออมระยะสั้น-ยาวที่ชัดเจน จะช่วยกระตุ้นให้ควบคุมการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นได้มากขึ้น นอกจากนี้การให้รางวัลกับตนเองเมื่อสามารถบรรลุเป้าหมาย เช่น ซื้อของที่ชอบ หรือท่องเที่ยว เป็นการเพิ่มแรงจูงใจในการเก็บออมให้ถึงเป้าหมายได้ชัดเจนขึ้น
5. ขอคำปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
หากใช้วิธีต่างๆ แล้วแต่ยังไม่สามารถเปลี่ยนนิสัยได้ ควรปรึกษาที่ปรึกษาทางการเงินหรือนักจิตวิทยา เพื่อขอคำแนะนำเฉพาะสำหรับการแก้นิสัยใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
การเปลี่ยนนิสัยใดๆ ต้องอาศัยความตั้งใจ ความพยายาม และระยะเวลาในการปรับตัว การกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน บันทึกและควบคุมการใช้จ่าย รวมถึงการมีแรงจูงใจ จะช่วยให้สามารถเอาชนะนิสัยใช้จ่ายเกินตัวจนประสบความสำเร็จได้ในที่สุด
ทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย จะช่วยให้เรามองเห็นภาพรวมของการใช้จ่าย ช่วยให้เราวางแผนการเงินในเดือนต่อๆ ไปได้
เทคนิคลดรายจ่าย เงินเดือนไม่พอใช้ จัดสรรรายได้
การนำเทคนิคลดรายจ่ายและจัดสรรรายได้มาประยุกต์ใช้จะช่วยให้สามารถบริหารจัดการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
1. จัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย
เริ่มจากการบันทึกรายรับ และรายจ่ายทั้งหมด ทั้งค่าใช้จ่ายประจำและไม่ประจำ จะช่วยให้มองเห็นภาพรวมของสถานะทางการเงินได้ชัดเจนขึ้น และสามารถวางแผนการใช้จ่ายได้ดีขึ้น
2. แยกแยะรายจ่ายจำเป็นและไม่จำเป็น
หลังจากทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายแล้ว ให้พิจารณาว่ารายจ่ายใดบ้างที่เป็นสิ่งจำเป็น และรายจ่ายไหนที่สามารถลดทอน หรือชะลอออกไปก่อนได้ เพื่อให้มีเงินเหลือสำหรับสิ่งจำเป็นอื่นๆ
3. ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น
เมื่อระบุได้แล้วว่ารายจ่ายอะไรบ้างที่ไม่จำเป็น ให้ลองลดหรืองดจ่ายในรายการนั้นๆ ลง เช่น งดการซื้อเสื้อผ้าใหม่ทุกเดือน, ปาร์ตี้สังสรรค์ทุกสัปดาห์, ค่าใช้จ่ายเรื่องการเดินทาง ใช้รถสาธารณะแทนการเรียบกแอปพลิเคชั่นต่างๆ เป็นต้น
4. วางแผนใช้จ่ายเป็นงวดๆ
ในกรณีที่มีค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ ให้แบ่งค่าใช้จ่ายนั้นออกเป็นงวดๆ เพื่อไม่ให้มีภาระรายจ่ายสูงเกินไปในช่วงใดช่วงหนึ่ง ทำให้สามารถวางแผนการออมและใช้จ่ายได้ดีขึ้น
5.เปิดบัญชีเงินฝากเพื่อแยกเงินออม
หลายคนมักใช้บัญชีเดียวสำหรับทั้งเงินออมและเงินใช้สอย ซึ่งทำให้เงินส่วนที่ควรออมถูกใช้จ่ายไปโดยไม่รู้ตัว ดังนั้นการแยกบัญชีออกเป็น 2 ส่วน จะช่วยให้มีวินัยในการออม และบริหารเงินสำหรับไว้ใช้สอยได้ง่ายขึ้น
มีหนี้เยอะ ผ่อนไม่ไหว ทำไงดี?
หากยังรู้สึกว่าไม่สามารถแก้ปัญหาการขาดสภาพคล่องนี้ได้ด้วยตัวเอง การขอคำปรึกษาจากที่ปรึกษาทางการเงินมืออาชีพอาจเป็นวิธีที่ดีที่สุด เพื่อให้ได้รับคำแนะนำในการวางแผนทางการเงินที่ถูกต้องและเหมาะสม
1. รวบรวมข้อมูลหนี้สินทั้งหมด
เริ่มต้นด้วยการรวบรวมข้อมูลหนี้สินทั้งหมดที่มีอยู่ ระบุจำนวนเงิน ดอกเบี้ย และกำหนดการผ่อนชำระ จัดลำดับและแยกประเภทหนี้ เช่น หนี้บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล หนี้นอกระบบ เป็นต้น
2. จัดลำดับความสำคัญของหนี้
จัดลำดับความสำคัญของหนี้ โดยหนี้ที่มีดอกเบี้ยสูงและมีภาระผ่อนชำระหนักควรได้รับการผ่อนชำระก่อน รวมถึงหนี้ที่มีโทษทางกฎหมายเมื่อผิดนัดชำระ เพื่อลดความเสี่ยงต่อปัญหาถูกฟ้องร้อง
3. เจรจาขอปรับโครงสร้างหนี้
พยายามเจรจากับเจ้าหนี้แต่ละรายเพื่อขอปรับโครงสร้างหนี้ ขอลดดอกเบี้ย ขยายระยะเวลาผ่อนชำระ หรือขอชำระเป็นงวด เพื่อลดภาระให้เหมาะสมกับรายได้
4. ควบคุมการใช้จ่ายอย่างจริงจัง
จัดทำงบประมาณรายเดือนที่เข้มงวดขึ้น โดยให้ความสำคัญกับการชำระหนี้เป็นลำดับแรก ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น และควบคุมการใช้จ่ายให้อยู่ในงบประมาณให้ได้
5. หารายได้เสริม
หากลดรายจ่ายแล้วแต่ยังรู้สึกว่ารายได้ไม่พอใช้ การหารายได้เสริมจากการทำงานพิเศษนอกเวลา หรือการขายสินค้าและบริการ นอกเหนือจากงานประจำเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ
พิจารณาหารายได้เสริมจากงานพิเศษ หรือเริ่มธุรกิจเล็กๆ เพื่อนำรายได้ส่วนนี้มาใช้สำหรับผ่อนชำระหนี้ ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาในการชำระหนี้ให้สั้นลงได้
การวางแผนการจัดการหนี้ที่ดี พร้อมทั้งมีวินัยและความมุ่งมั่นในการปฏิบัติตาม จะช่วยให้สามารถก้าวผ่านปัญหาต่างๆ ไปได้ และมีโอกาสเริ่มต้นทางการเงินใหม่อย่างมั่นคงได้อีกครั้ง
ใช้จ่ายด้วยบัตรเครดิต KTC ให้คุ้มค่า
ในยุคสมัยที่ต้องใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง บัตรเครดิตถือเป็นเครื่องมือทางการเงินที่สำคัญในการช่วยบริหารจัดการค่าใช้จ่าย หากใช้บัตรเครดิตอย่างชาญฉลาด จะได้รับสิทธิประโยชน์มากมายที่ช่วยประหยัดเงินและทำให้การใช้จ่ายคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น
- เลือกโปรโมชั่นที่เหมาะสม ซึ่งบัตรเครดิตมักมีร่วมกับร้านค้า ร้านอาหารต่างๆ เช่น ส่วนลด คะแนนสะสม หรือเครดิตเงินคืน เป็นต้น
- ใช้คะแนนสะสมอย่างคุ้มค่า โดยสามารถนำคะแนนเหล่านี้ไปแลกรับส่วนลด หรือเครดิตเงินคืนได้
- ผ่อนชำระสินค้าราคาสูง สำหรับสินค้าราคาแพง เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า สามารถผ่อนชำระเป็นรายเดือนผ่านบัตรเครดิตได้ ทำให้ไม่ต้องจ่ายเงินก้อนใหญ่ในคราวเดียว
- ชำระค่าสินค้าผ่านบัตรเครดิต สะดวก รวดเร็วและปลอดภัยสูงกว่าการโอนเงิน
- เลือกรับรายการใบแจ้งหนี้ทางอีเมลเพื่อติดตามค่าใช้จ่าย และวางแผนการใช้จ่ายในเดือนถัดไปได้ง่ายขึ้น
สิ่งสำคัญคือต้องใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง ไม่ฟุ่มเฟือย และควรชำระเต็มจำนวนทุกเดือน หรือผ่อน 0% ตามเงื่อนไขที่กำหนด เพื่อหลีกเลี่ยงดอกเบี้ยและหนี้สะสม
การจัดการปัญหาการเงินส่วนบุคคลนั้นต้องใช้ทั้งความเข้าใจและวินัยในตัวเอง อย่างไรก็ตาม การตระหนักได้ถึงปัญหาและมุ่งมั่นที่จะแก้ไขถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี โดยต้องอาศัยความอดทนและความสม่ำเสมอ เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาและสร้างความมั่นคงทางการเงินในอนาคตได้
การใช้จ่ายด้วยวิธีที่เหมาะสม เช่น การใช้บัตรเครดิต KTC ช่วยให้ประหยัดเงินและใช้จ่ายได้อย่างคุ้มค่ามากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการได้รับส่วนลดพิเศษ สะสมคะแนน KTC FOREVER เพื่อแลกรับส่วนลด หรือเครดิตเงินคืน หรือการผ่อนชำระสินค้า บัตรเครดิต KTC มีสิทธิประโยชน์มากมาย เพียงแค่รู้จักใช้อย่างเหมาะสม สนใจสมัครบัตรเครดิต KTC และ สมัครบัตรกดเงินสด KTC PROUD คลิกที่นี่ สมัครออนไลน์ได้เลย
ใช้จ่าย คุ้มค่า นึกถึงบัตรเครดิต KTC