การตั้งครรภ์เป็นช่วงเวลาสำคัญที่คุณแม่ต้องดูแลสุขภาพร่างกายมากเป็นพิเศษ ส่งผลให้มีค่าใช้จ่ายจำนวนไม่น้อยเกิดขึ้นตามมา ไม่ว่าจะเป็นค่าฝากครรภ์ ค่ายาบำรุง ค่าคัดกรองความเสี่ยงของเด็กในครรภ์ ค่า Ultrasound ฯลฯ แต่ก็นับว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดีสำหรับคุณแม่/คุณพ่อที่เป็นผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม เพราะสามารถเบิกค่าฝากครรภ์ประกันสังคมได้เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน หากคุณแม่มือใหม่ที่กำลังสงสัยว่า เมื่อตั้งครรภ์แล้วมีสิทธิ์อะไรบ้างที่จะได้รับจากประกันสังคม สามารถฝากครรภ์ได้ฟรีหรือไม่ เราได้รวบรวมข้อมูลสำคัญต่างๆ เอาไว้ให้แล้ว
ฝากครรภ์ มีสิทธิ์เบิกประกันสังคมอะไรได้บ้าง ?
ตามประกาศคณะกรรมการการแพทย์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม เรื่องหลักเกณฑ์และอัตราสำหรับประโยชน์ทดแทนกรณีการฝากครรภ์ตามเกณฑ์คุณภาพ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 เป็นต้นไป ให้สำนักงานประกันสังคมจ่ายค่าตรวจ และรับฝากครรภ์แก่ผู้ประกันตน โดยปรับเพิ่มค่าฝากครรภ์ 5 ครั้ง รวมเป็นเงิน 1,500 บาท (จากเดิม 3 ครั้ง 1,000 บาท) ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
- อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 500 บาท
- อายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 300 บาท
- อายุครรภ์มากกว่า 20 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 28 สัปดาห์ จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 300 บาท
- อายุครรภ์มากกว่า 28 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 32 สัปดาห์ จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 200 บาท
- อายุครรภ์มากกว่า 32 สัปดาห์ ถึง 40 สัปดาห์ขึ้นไป จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 200 บาท
นอกจากนี้ ยังมีสิทธิ์เบิกค่าใช้จ่ายต่างๆ นอกเหนือจากค่าฝากครรภ์ได้ด้วย เช่น ค่าคลอดบุตร ค่าสิทธิ์ลาคลอด ค่ากรณีแท้งบุตร เงินสงเคราะห์บุตร โดยมีรายละเอียดต่างๆ ดังต่อไปนี้
การคลอดบุตร ประกันสังคมจ่ายให้ผู้ประกันตน 15,000 บาท ต่อการคลอดบุตรหนึ่งครั้ง
ค่าคลอดบุตร
สำหรับการเบิกค่าคลอดบุตร มีหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี้
- จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนเดือนคลอดบุตร
- จ่ายค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายกรณีคลอดบุตรให้แก่ผู้ประกันตนในอัตรา 15,000 บาทต่อการคลอดบุตรหนึ่งครั้ง สำหรับผู้ประกันตนหญิงมีสิทธิ์รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วันสำหรับการใช้สิทธิ์บุตรคนที่ 3 จะไม่ได้รับสิทธิ์เงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วัน
- กรณีสามีและภรรยาเป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ ให้ใช้สิทธิ์ในการเบิกค่าคลอดบุตรฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่จำกัดจำนวนบุตร/ครั้ง
การพิจารณาสั่งจ่าย : สั่งจ่ายโดยโอนเข้าบัญชีธนาคารตามบัญชีของผู้ขอรับประโยชน์ทดแทน
เอกสารประกอบการยื่นคำขอประโยชน์ทดแทน
- แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน สปส. 2-01 ผู้ประกันตนกรอกข้อความครบถ้วน พร้อมลงลายมือชื่อผู้ยื่นคำขอ
- สำเนาสูติบัตรบุตร 1 ชุด (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย)
- สำหรับผู้ประกันตนชายให้แนบสำเนาทะเบียนสมรส กรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรสให้แนบหนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรส
- สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอมีธนาคาร ดังนี้
- พร้อมเพย์ที่ลงทะเบียนด้วยเลขบัตรประจำตัวประชาชน
- ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
- ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)
หมายเหตุ : หากผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนไม่เห็นด้วยกับการสั่งจ่ายประโยชน์ทดแทน สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง
สถานที่ยื่นเรื่อง : ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา ที่สะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข
ค่าสิทธิ์การลาคลอด
สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์จะได้รับค่าจ้างชดเชยในกรณีหยุดงานเพื่อลาคลอดในอัตรา 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย เป็นระยะเวลา 90 วัน โดยจะมีข้อกำหนดและเงื่อนไขต่างๆ ดังนี้
- จ่ายเงินสมทบประกันสังคมแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการคลอดบุตร
- สิทธิ์การลาคลอดใช้ได้เฉพาะฝ่ายหญิงเท่านั้น
- จ่ายให้ไม่เกินฐานเงินเดือน 15,000 บาท (หากเงินเดือนมากกว่าจะคิดเพียง 15,000 บาท)
- ใช้สิทธิ์ได้เฉพาะบุตรคนที่ 1 และคนที่ 2 เท่านั้น
- กรณีกลับมาทำงานก่อนถึงครบกำหนด 90 วัน ยังสามารถรับเงินค่าสิทธิ์การลาคลอดได้ตามปกติ
ค่ากรณีแท้งบุตร
ในกรณีที่เกิดการแท้งบุตร สามารถเบิกค่าคลอดบุตรประกันสังคมได้ ไม่ว่าจะในกรณีเด็กยังมีชีวิตหรือเกิดการแท้งบุตรก็จะถูกนับว่าเป็นกรณีคลอดบุตรนั่นเอง โดยสิทธิ์ที่จะได้รับคือ “ค่าคลอดบุตร” และ “ค่าสิทธิ์การลาคลอด” ทั้งนี้จะต้องมีอายุครรภ์ไม่น้อยกว่า 28 สัปดาห์ หรือ 7 เดือนขึ้นไป
เงินสงเคราะห์บุตร
สำหรับเงินสงเคราะห์บุตรนั้นจะได้รับหลังคลอดบุตรแล้วเป็นจำนวนเงิน 800 บาทต่อคนต่อเดือน ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 6 ปีบริบูรณ์ไม่เกิน 3 คน ตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้
- จ่ายเงินประกันสังคมมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน
- เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย
- เด็กมีอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ (จำนวนไม่เกิน 3 คน)
- กรณีได้บุตรแฝด 2 คน จะได้รับเงินประกันสังคมจำนวน 1,600 บาทต่อเดือน (จ่ายเงินสูงสุดไม่เกิน 3 คน)
- กรณีบุตรเสียชีวิตจะไม่ได้รับสิทธิ์
ทั้งนี้ เงินสงเคราะห์บุตรจะโอนเข้าบัญชีผ่านระบบพร้อมเพย์ของผู้ประกันตนที่ระบุไว้ตอนขอยื่นรับสิทธิ์ ซึ่งจะได้รับทุกๆ สิ้นเดือน แต่หากตรงกับวันเสาร์-อาทิตย์ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ก็จะทำการโอนเงินเข้าบัญชีให้ล่วงหน้าก่อนไม่เกินเที่ยงคืนขอวันนั้นๆ
เอกสารที่ใช้ในการฝากครรภ์ มีอะไรบ้าง?
สำหรับการฝากครรภ์ครั้งแรก คุณแม่ต้องดำเนินการลงทะเบียนกับโรงพยาบาลที่มีสิทธิ์ประกันสังคม โดยจะต้องเตรียมเอกสารและข้อมูลสำคัญดังต่อไปนี้
- บัตรประจำตัวประชาชนของคุณแม่และคุณพ่อ
- ประวัติการเจ็บป่วย การแพ้ยา ประวัติการคลอดบุตร ความเสี่ยงต่อโรคทางพันธุกรรม โรคประจำตัว และการรับวัคซีนต่างๆ
- วันที่มีประจำเดือนครั้งสุดท้าย
เมื่อลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว แพทย์จะบันทึกข้อมูลของคุณแม่ ระยะการตั้งครรภ์ และรายละเอียดสำคัญลงในสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก ซึ่งเปรียบเสมือนบัตรประจำตัวของหญิงตั้งครรภ์ที่จำเป็นต้องพกติดตัวเสมอ เนื่องจากจะช่วยให้แพทย์สามารถทราบข้อมูลของแม่และทารกในครรภ์ ประกอบการประเมินสุขภาพและตรวจสอบความผิดปกติตามระยะเวลาในแต่ละครั้งได้อย่างถูกต้อง
ฝากครรภ์ประกันสังคม เสียเงินไหม ?
สำหรับผู้ที่อยู่ในระบบประกันสังคมฝากครรภ์ฟรีได้ตามสถานที่ดังนี้
- กรุงเทพมหานคร : สามารถตรวจสอบคลินิกฝากครรภ์ฟรีได้ที่ศูนย์บริการสาธารณสุขใกล้บ้าน
- ต่างจังหวัด : สามารถสอบถามกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หรือโรงพยาบาลในสิทธิ์ สปสช. สามารถตรวจสอบได้ที่นี่
เบิกค่าฝากครรภ์ได้ตอนไหน มีขั้นตอนอะไรบ้าง?
ผู้ประกันตนสามารถขอเบิกค่าฝากครรภ์ได้ตั้งแต่ครั้งแรกที่ไปฝากครรภ์ โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
กรณีเบิกค่าฝากครรภ์ประกันสังคมด้วยตนเอง
สามารถยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ / สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขาที่สะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข) โดยจะต้องเตรียมเอกสารประกอบการยื่นคำขอดังต่อไปนี้
- แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม (สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้จากเว็บไซต์ของสำนักงานประกันสังคม)
- สมุดฝากครรภ์
- ใบเสร็จตัวจริงจากคลินิกหรือโรงพยาบาลที่ให้บริการฝากครรภ์
- ใบรับรองแพทย์ระบุอายุครรภ์ 5 ช่วง
- กรณีให้สามีเป็นผู้ยื่นคำขอแทน ต้องแนบสำเนาทะเบียนสมรสด้วย
- กรณีให้สามีเป็นผู้ยื่นคำขอแทนแต่ไม่มีทะเบียนสมรส จะต้องแนบหนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีที่ไม่มีทะเบียนสมรส (ดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ของประกันสังคม)
กรณีเบิกค่าฝากครรภ์ประกันสังคมผ่านทางออนไลน์
การเบิกค่าฝากครรภ์ประกันสังคมผ่านทางออนไลน์ จะต้องเตรียมเอกสารเพื่ออัปโหลดผ่านเว็บไซต์ของประกันสังคม ดังต่อไปนี้
- สำเนาใบเสร็จรับเงิน 1 ชุด
- สำเนาใบรับรองแพทย์ หรือสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก (ระบุวันที่ตรวจครรภ์และอายุครรภ์)
- สำเนาทะเบียนสมรส หรือหนังสืออยู่กันฉันท์สามีภรรยาอย่างเปิดเผย
- กรอกข้อมูลตามที่กำหนด และคลิกยืนยันการยื่นเบิกค่าฝากครรภ์ที่ http://www.sso.go.th
นอกจากเบิกค่าฝากครรภ์ผ่านทางออนไลน์ได้แล้ว ยังสามารถเบิกค่าคลอดบุตรประกันสังคม ออนไลน์ได้ด้วยเช่นกัน
เบิกค่าฝากครรภ์ประกันสังคม ใช้เอกสารอะไรบ้าง?
- แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน สปส. 2-01
- สมุดฝากครรภ์ตัวจริง, ใบเสร็จตัวจริง, และใบรับรองแพทย์ตัวจริง ตลอดอายุครรภ์ที่ยื่นเบิก
- สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอมีธนาคาร ดังนี้
- พร้อมเพย์ที่ลงทะเบียนด้วยเลขบัตรประจำตัวประชาชน
- ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
- ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)
หมายเหตุ : หากผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนไม่เห็นด้วยกับการสั่งจ่ายประโยชน์ทดแทน สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง
หากผู้ประกันตนได้ยื่นเอกสารครบถ้วนสมบูรณ์ มีคุณสมบัติเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด และไม่มีปัญหาหนี้ค้างชำระกับสำนักงานประกันสังคม เงินสิทธิประโยชน์เพื่อเบิกค่าฝากครรภ์จะถูกโอนเข้าบัญชีของผู้ประกันตนภายในระยะเวลาประมาณ 7-10 วันทำการ หลังจากการยื่นเรื่องและได้รับการอนุมัติ
เตรียมพร้อมทุกค่าใช้จ่ายในการมีบุตรด้วยบัตรเครดิต KTC
นอกจากสิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากประกันสังคมแล้ว การเตรียมพร้อมรับมือกับค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการมีบุตรยังเป็นเรื่องสำคัญที่คุณพ่อ คุณแม่มือใหม่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นเครื่องนอน อุปกรณ์อาบน้ำ ผ้าอ้อม ของเล่นพัฒนาการเด็ก ฯลฯ โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่ไม่มีสิทธิ์เบิกจากประกันสังคม ซึ่งบัตรเครดิตนับว่าเป็นเครื่องมือทางการเงินสำคัญที่จะช่วยบริหารค่าใช้จ่ายเหล่านี้ได้อย่างคล่องตัว ไม่ต้องกังวลกับการจ่ายค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ในครั้งเดียว
นอกจากนี้ บัตรเครดิตยังช่วยให้สามารถสะสมคะแนนหรือรับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมจากบัตรเครดิตได้อีกด้วย สำหรับพ่อแม่มือใหม่ที่ต้องเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ทุกรูปแบบ การมีบัตรเครดิตไว้ใช้งานจึงเป็นทางเลือกที่น่าพิจารณาอย่างยิ่ง เพื่อให้มั่นใจได้ว่าคุณจะสามารถให้สิ่งดีที่สุดกับลูกน้อยได้อย่างเต็มที่ สำหรับคุณพ่อคุณแม่ท่านใดที่สนใจ สามารถสมัครบัตรเครดิต KTC ผ่านทางออนไลน์ได้ง่ายๆ ตลอด 24 ชั่วโมง
ใช้จ่าย คุ้มค่า นึกถึงบัตรเครดิต KTC
อ้างอิงข้อมูลจาก :