รู้ไหม? ตัวเลขและตัวอักษรบนป้ายทะเบียนมีความหมาย
ป้ายทะเบียนรถมีความสำคัญมาก รถทุกชนิดจะต้องมีป้ายทะเบียน ไม่เช่นนั้นจะถือว่ากระทำผิดกฎหมาย เนื่องจากป้ายทะเบียนเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ช่วยระบุตัวตนของรถและเจ้าของรถ เมื่อเกิดเหตุต่าง ๆ จะได้มีข้อมูลที่ถูกต้อง และเนื่องจากป้ายทะเบียนเป็นการลงลำดับของรถยนต์แต่ละคัน การกำหนดตัวเลขและตัวอักษรบนป้ายทะเบียนจึงมีหลักการที่ช่วยให้ง่ายต่อการจดจำ และป้องกันไม่ให้รถใช้เลขทะเบียนซ้ำกัน นอกจากเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายแล้ว บางคนอาจมีความเชื่อเรื่องเลขมงคลด้วย มีการเลือกความหมายเลขทะเบียนรถ 0-9 ให้ความหมายดี ถูกโฉลกกับตนเอง ควบคู่ไปกับการเลือกสีรถถูกโฉลกตามวันเกิด
เลือกอ่านตามหัวข้อ
ความสำคัญของป้ายทะเบียนรถ
ตัวอักษรและตัวเลขบนป้ายทะเบียนมีความหมาย
ป้ายทะเบียนรถเป็นป้ายที่มาจากโลหะ ภายในมีตัวเลขและตัวอักษรเพื่อรถบุตัวตนเจ้าของรถ ป้ายทะเบียนรถนี้เป็นสิ่งที่รถทุกคนต้องมี และเป็นตัวเลขที่ระบุอยู่บนเล่มทะเบียนรถด้วย เมื่อซื้อรถใหม่จะได้รับป้ายทะเบียนเป็นป้ายแดง แล้วจึงเปลี่ยนเป็นป้ายขาวหรือป้ายอื่น ๆ ตามประเภทของรถ รวมถึงอาจมีการใช้ป้ายประมูลสำหรับผู้ที่ประมูลทะเบียนเลขสวยจากกรมการขนส่งทางบก รถที่ไม่มีป้ายทะเบียนจะมีความผิดตามกฎหมาย ต้องรับโทษปรับสูงสุด 2,000 บาท ผู้ที่มีรถจึงควรดำเนินเรื่องป้ายทะเบียนให้เร็วที่สุด เพื่อไม่ให้มีปัญหาตามมาทีหลัง
ความหมายของตัวอักษรและตัวเลขบนทะเบียนรถ
ป้ายทะเบียนรถจะมีข้อมูลที่ชี้เฉพาะถึงลักษณะรถแต่ละประเภท โดยป้ายทะเบียนจะมีสี ตัวอักษร และตัวเลขแตกต่างกันตามการใช้งานดังนี้
ความหมายของสีป้ายทะเบียน
สีป้ายทะเบียนที่พบเห็นได้บ่อยจะมีทั้งหมด 6 สี ได้แก่
1.) ป้ายทะเบียนสีขาว
ป้ายทะเบียนสีขาวเป็นป้ายที่พบเห็นได้มากที่สุด ใช้กับรถส่วนบุคคล ตัวอักษรบนป้ายสีขาวมีทั้งตัวอักษรสีดำสำหรับรถไม่เกิน 7 ที่นั่ง ตัวอักษรสีฟ้าสำหรับรถที่มีมากกว่า 7 ที่นั่ง และตัวอักษรสีเขียวสำหรับรถบรรทุกส่วนบุคคล
2.) ป้ายทะเบียนสีแดง
รถป้ายแดงเป็นรถออกใหม่ที่ยังไม่มีป้ายทะเบียนตัวจริงสำหรับใช้ในรยนต์ ป้ายแดงเป็นป้ายทะเบียนชั่วคราว ใช้ได้ไม่เกิน 30 วัน เมื่อได้รับป้ายทะเบียนสีขาวตัวจริงแล้วจะต้องเปลี่ยนใช้ป้ายสีขาวทันที
3.) ป้ายทะเบียนสีเหลือง
ป้ายทะเบียนสีเหลืองเป็นป้ายที่แสดงแทนรถโดยสาร โดยจะมีสีตัวอักษรบนป้ายแตกต่างกัน หากตัวอักษรสีดำจะแทนรถโดยสารที่บรรทุกผู้โดยสารได้ไม่เกิน 7 คน ตัวอักษรสีเขียวสำหรับรถสามล้อรับจ้าง ตัวอักษรสีแดงสำหรับรถรับจ้างเดินทางข้ามจังหวัด และตัวอักษรสีฟ้าสำหรับรถกระบะรับจ้างโดยสาร
4.) ป้ายทะเบียนสีส้ม
ป้ายทะเบียนสีส้มไม่ค่อยพบเห็นนักในชีวิตประจำวัน จะใช้สำหรับรถแทรกเตอร์ รถที่ใช้ทางการเกษตร ป้ายทะเบียนสีส้มจะมีตัวอักษรสีดำ
5.) ป้ายทะเบียนสีเขียว
ป้ายทะเบียนสีเขียวจะมีทั้งตัวอักษรสีดำและสีขาว โดยจะแทนรถทัศนาจร รถโดยสารรับจ้างประเภทรถหรู เช่น รถลิมูซีนรับจ้าง
6.) ป้ายทะเบียนกราฟิก
ป้ายทะเบียนที่มีพื้นหลังเป็นลายกราฟิก มักจะเป็นกราฟิกสถานที่ท่องเที่ยว หรือวิวทิวทัศน์จะเป็นป้ายทะเบียนที่ประมูลมาสำหรับใช้กับรถยนต์ส่วนบุคคล
ความหมายของตัวอักษร
นอกจากสีของป้ายทะเบียนแล้ว ตัวอักษรที่ปรากฏอยู่บนป้ายทะเบียนก็มีความหมายเช่นกัน โดยตัวอักษรจะปรากฏเป็นตัวอักษร 2 ตัวบนป้ายทะเบียน ดังนี้
- รถยนต์ส่วนบุคคลที่นั่งไม่เกิน 7 คน
สำหรับรถยนต์ที่นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง เริ่มต้นด้วยตัวอักษร ก ข จ ฉ ช ฌ ญ ฎ ฐ ธ พ ภ ว ศ ษ ส ส่วนตัวอักษรจะเรียงลำดับตั้งแต่ ก – ฮ โดยจะเริ่มนับตั้งแต่ กก xxxx ไปเรื่อย ๆ ส่วนกรณีที่มีเลขนำหน้าตัวอักษรจะเรียงตั้งแต่ 1 – 9 เช่น 1 กก xxxx
- รถยนต์ส่วนบุคคลที่นั่งเกิน 7 คน
รถยนต์ส่วนบุคคลที่นั่งเกิน 7 คนจะเริ่มต้นตัวอักษรด้วย น ฬ อ ฮ ส่วนตัวอักษรที่ 2 จะไล่ตั้งแต่ ก – ฮ เช่นกัน หากมีตัวเลขหน้าตัวอักษรจะเรียงจาก 1 – 9 เช่นกัน
- รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล
ตัวอักษรตัวเลขจะเรียงตามตัวอักษร ฒ ณ ต ถ บ ผ ย ร ล การจัดเรียงตัวอักษรที่ 2 จะใช้ตัวอักษร ก – ฮ และตัวเลขหน้าตัวอักษรรูปแบบเดียวกับรถยนต์ประเภทอื่น คือ 1 – 9
- รถรับจ้างสามล้อ
ตัวอักษรของรถรับจ้างสามล้อส่วนบุคคลจะใช้ตัวอักษร ศ ตัวเดียวเท่านั้น ส่วนตัวอักษรตัวที่ 2 จะเรียงตั้งแต่ ก – ฮ และตัวเลขหน้าตัวอักษรเรียงจาก 1 – 9 ส่วนรถสามล้อที่ไม่ใช่สามล้อส่วนบุคคลจะใช้ตัวอักษร ส พยัญชนะตัวที่ 2 และตัวเลขหน้าตัวอักษรใช้รูปแบบเดียวกัน
- รถรับจ้างข้ามจังหวัด
ตัวอักษรของรถรับจ้างที่ขับขี่ข้ามจังหวัดจะใช้ตัวอักษร ว เพียงตัวเดียว ส่วนตัวอักษรตัวที่ 2 เรียงตามพยัญชนะ ก – ฮ และหากมีตัวเลขหน้าตัวอักษรจะเรียงจาก 1 – 9
- รถยนต์ 4 ล้อรับจ้าง
รถประเภทนี้มักจะเป็นรถแท็กซี่ ตัวอักษรตัวแรกจะใช้ตัวอักษร ท และ ม ส่วนตัวอักษรตัวที่ 2 จะเรียง ก – ฮ และตัวเลขหน้าตัวอักษรจะเรียงจาก 1 – 9
- รถยนต์เล็กรับจ้างสี่ล้อ
รถยนต์ประเภทนี้จะเป็นรถกระป๊อ รถสองแถวขนาดเล็ก เลขทะเบียนจะใช้ตัวอักษร ฟ เพียงตัวเลข ตามด้วยตัวอักษรหลักที่ 2 ที่เรียงตั้งแต่ ก – ฮ และกรณีที่มีเลขหน้าตัวอักษรจะเรียงตั้งแต่เลข 1 – 9
- รถยนต์สำหรับเช่า
รถเช่าจะใช้ตัวอักษร ฎ เพียงตัวเดียว ส่วนตัวอักษรตัวที่ 2 จะเรียงจาก ก – ฮ และตัวเลข 1 – 9 เช่นเดียวกับป้ายทะเบียนรถยนต์ประเภทอื่น ๆ
- รถทางการทูต
สำหรับรถยนต์ที่ใช้ในทางการทูต รถประจำตำแหน่งทูตจะใช้ตัวอักษร ท แล้วตามด้วยรหัสประเทศ เครื่องหมายขีด และเลขทะเบียนรถ
ความหมายของตัวเลข
ตัวเลขบนป้ายทะเบียนแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ตัวเลขหน้าตัวอักษรและหลังตัวอักษร ดังนี้
- ตัวเลขหน้าตัวอักษร
เป็นตัวเลข 1 – 9 ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว ใช้ในกรณีที่เมื่อตัวอักษรเวียนมาจนครบ การเพิ่มตัวเลขจะช่วยจัดหมวดหมู่เลขทะเบียนไม่ให้ซ้ำกัน
- ตัวเลขหลังตัวอักษร
เป็นตัวเลขทะเบียนรถที่เรียงลำดับตัวเลขตั้งแต่ 1 – 9999 และยังมีตัวเลขประมูลที่เรียงตามความสวยงาม หรือเป็นเลขทะเบียนรถมงคล เลขประมูลจะเปิดให้ประมูลเป็นช่วงเวลา
สิ่งที่ระบุบนป้ายทะเบียนมีประโยชน์เพื่อยืนยันตัวตนของเจ้าของรถ ช่วยให้สามารถตามหาผู้เป็นเจ้าของรถได้เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน การเลือกป้ายทะเบียนรถมีทั้งผู้ที่เลือกจากป้ายทะเบียนที่ว่างในขณะนั้น หรือเลือกตามความเชื่อ เช่น เลขทะเบียนรถตามวันเกิด เลขทะเบียนรถมงคล หรือตามหลักเลขศาสตร์ทะเบียนรถ ที่จะมีการนำผลรวมเลขทะเบียนรถมาคำนวณเพื่อหาเลขมงคลที่เข้ากับตนเองได้ ผู้ที่ต้องการจองป้ายทะเบียนรถสามารถเข้าไปจองได้ในเว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก
ป้ายทะเบียนมีความสำคัญมาก โดยเลขบนป้ายทะเบียนจะถูกใส่ไว้ในเล่มทะเบียนรถเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของรถ เจ้าของรถจะต้องเก็บเล่มทะเบียนไว้ให้ดี หากเล่มทะเบียนหายจะต้องติดต่อขอทำเล่มใหม่ ซึ่งเล่มทะเบียนรถนี้ยังมีความสำคัญในเวลาที่ต้องการขอสินเชื่อจำนำทะเบียนรถด้วย ซึ่งปัจจุบันสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ หรือรถแลกเงินสามารถขอได้โดยไม่ต้องโอนเล่ม มีความสะดวก ง่ายดาย และได้เงินก้อนทันใจ แนะนำ KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงินที่มีความน่าเชื่อถือ ปลอดภัย และได้รับเงินโอนเข้าบัญชีรวดเร็วเมื่อผ่านการอนุมัติ พร้อมบริการพี่เบิ้ม Delivery ไปหาถึงที่ ประหยัดเวลาได้มากขึ้น รวมถึงมีบัตรกดเงินสด KTC พี่เบิ้ม สำรับกดเงินสดยามฉุกเฉินอีกด้วย อีกเหตุผลที่ควรให้ความสำคัญกับป้ายทะเบียนและเล่มทะเบียนรถ
เล่มทะเบียนรถใช้ขอสินเชื่อรถแลกเงิน KTC พี่เบิ้มได้
บทความ

7 ข้อควรรู้ สินเชื่อทะเบียนรถยนต์ ทางเลือกเสริมสภาพคล่อง
สินเชื่อทะเบียนรถยนต์ อีกทางเลือกสำหรับการเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินเพื่อคนมีรถ โดยไม่ต้องโอนเล่ม ยังมีรถใช้ตามปกติ รองรับทุกอาชีพ และมีเงินก้อนไว้ใช้ยามฉุกเฉิน

ป้ายภาษีรถยนต์ กับ พ.ร.บ. เหมือนกันไหม ถ้าหายต้องทำไง
ป้ายภาษีรถยนต์และ พ.ร.บ. รถยนต์ เอกสารสำคัญของผู้มีรถยนต์ที่จำเป็นต้องมี และเป็นสิ่งที่กฏหมายกำหนดให้รถยนต์ทุกคันมีติดไว้ แต่มีข้อแตกต่างที่ควรทำความเข้าใจ

ไขข้อสงสัย ป้ายทะเบียนรถหาย ทำอย่างไรดี เขียนเองได้ไหม
ป้ายทะเบียนรถยนต์สิ่งสำคัญที่รถยนต์ทุกคันจำเป็นต้องมีและติดไว้ แต่การที่ป้ายทะเบียนรถสูญหายก็สามารถเกิดขึ้นได้เช่นกัน พร้อมข้อควรรู้และวิธีการแก้ไขสำหรับคนมีรถ