โดนเลิกจ้างรูปแบบไหนได้รับเงินชดเชยบ้าง มาดูกัน
ในการดำเนินชีวิตจะมีเงินเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยให้การจับจ่ายใช้สอยสะดวกมากยิ่งขึ้น เงินสามารถซื้อปัจจัย 4 และความสุขในรูปแบบต่าง ๆ ได้ ทำให้คนต้องหารายได้หรือเงินเพื่อดำรงชีพ ซึ่งการทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือนก็เป็นทางเลือกอันดับต้น ๆ ที่คนใช้หารายได้ประจำในแต่ละเดือน ชีวิตการทำงานบางครั้งก็มีสิ่งที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้น อย่างการตกงานโดยไม่ทันตั้งตัว โดนเลิกจ้างไม่เป็นธรรม หรือบริษัทปิดตัวลงกะทันหัน การโดนเลิกจ้างนี้มีแนวทางการเยียวยาตามกฎหมายที่มนุษย์เงินเดือนควรรู้ เพื่อรักษาสิทธิของตนเอง
เลือกอ่านตามหัวข้อ
โดนเลิกจ้างรับมืออย่างไรดี
การถูกเลิกจ้างเป็นการยุติสัญญาจ้างงานตามกฎหมาย ปกติหากลูกจ้างตัดสินใจออกเองโดยมีเหตุผลในการลาออก มักมีทางออกในการหางานใหม่ให้ตัวเองอยู่แล้ว แต่เมื่อเป็นการถูกเลิกจ้างกะทันหัน การเตรียมตัวและเตรียมใจมีน้อย ลูกจ้างควรรับมือกับการถูกเลิกจ้างอย่างมีสติ ดังนี้
- เช็กวันที่ต้องออกจากงาน และจัดการเอกสารและงานที่คั่งค้างให้เรียบร้อยก่อนถึงวันออก
- ตรวจสอบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ วิธีลงทะเบียนว่างงาน และเริ่มต้นทำเรซูเม่สมัครงาน
- ส่งเรซูเม่ตามองค์กรต่าง ๆ หากมีโอกาสอาจได้งานใหม่หลังจากออกจากที่เก่าได้ไม่นาน แต่หากยังไม่ได้งานให้ใช้เวลาว่างนี้สมัครงาน และเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ที่เป็นผลดีต่ออาชีพ
- หาเงินสำรองเอาไว้ใช้ระยะสั้นในขณะหางาน อาจจะเป็นเงินเก็บ เงินจากกองทุน หรือเงินจากบัตรกดเงินสด
พนักงานประจำที่ต้องการวางแผนอนาคตทางการเงินให้มั่นคง ไม่ควรพลาดการมีบัตรกดเงินสดเอาไว้ เพราะบัตรกดเงินสดจะเป็นตัวช่วยเมื่อต้องการเงินก้อนฉุกเฉิน สามารถกดเงินสดออกมาได้ในยามจำเป็น
มีบัตรกดเงินสดในมือ อุ่นใจมีเงินก้อนยามฉุกเฉิน
มีบัตรกดเงินสดในมือ อุ่นใจมีเงินก้อนยามฉุกเฉิน
แนวทางการชดเชยเลิกจ้างที่ควรรู้
การถูกเลิกจ้างจะต้องมีเงินชดเชยให้เสมอ
การเลิกจ้างเป็นการถูกทำให้ออกจากงานด้วยเหตุผลอย่างใดอย่างหนึ่ง หากลูกจ้างไม่ได้ทำผิดกฎบริษัท หรือละเมิดข้อสัญญา ลูกจ้างมีสิทธิที่จะได้รับเงินชดเชย โดยแบ่งเงินชดเชยออกเป็น 2 ส่วนหลัก ๆ คือ เงินชดเชยจากประกันสังคม และเงินชดเชยจากบริษัทภายใต้การกำหนดของกฎหมายแรงงาน
แนวทางการชดเชยเลิกจ้างประกันสังคม
ประกันสังคมเป็นสวัสดิการของพนักงานที่มนุษย์เงินเดือนจ่ายเงินสมทบทุกเดือน เพื่อประกันความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ รวมถึงการว่างงานด้วย ผู้ที่จะได้รับเงินชดเชยจะต้องส่งเงินสมทบประกันสังคมมาแล้วไม่ต่ำกว่า 6 เดือน และภายใน 15 เดือนก่อนจะว่างงาน หากมีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขสามารถลงทะเบียนว่างงาน มีขั้นตอนดังนี้
- เข้าสู่หน้าเว็บไซต์ประกันสังคม หรือแอปพลิเคชันประกันสังคม
- เลือกเข้าสู่ระบบสำหรับบุคคลทั่วไป
- ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ ในกรณีผู้ลงทะเบียนครั้งแรกจะต้องยืนยันตัวตนในระบบ Digital ID ก่อน
- เลือกขึ้นทะเบียนและรายงานตัวผู้ประกันตนกรณีว่างงาน
- กดยืนยันตามขั้นตอนจนถึงการอัปโหลดไฟล์หน้าสมุดบัญชีธนาคาร แล้วกดบันทึก
การลงทะเบียนว่างงานนี้จะได้รับเงินชดเชยขึ้นอยู่กับกรณีการออกจากงานและเงินเดือนประกอบกัน มีกรณีการชดเชยว่างงาน ดังนี้
- ลาออกเอง
เงินชดเชยประกันสังคม กรณีลาออก จะได้รับเงินชดเชย 30% ของเงินเดือน สูงสุด 90 วันต่อปี โดยอัตราเงินเดือนคำนวณตามฐานเงินเดือนจริง สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท
- ถูกเลิกจ้าง
เงินชดเชยเลิกจ้างประกันสังคมจะได้รับเงินชดเชยสูงกว่ากรณีลาออกเอง โดยจะได้รับเงินชดเชย 50% ของฐานเงินเดือนตามจริง คำนวณตามฐานเงินเดือนสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท รับเงินชดเชยได้ 180 วันต่อรอบปี
การที่ลูกจ้างลาออกด้วยตนเองก็มีสิทธิรับเงินชดเชยว่างงาน
แนวทางการชดเชยเลิกจ้างของบริษัท
การเลิกจ้างกะทันหันตามที่กฎหมายแรงงานกำหนด นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชย กรณีเลิกจ้าง เป็นเงินชดเชยตามที่กฎหมายแรงงานกำหนด แบ่งออกเป็น 4 กรณี ได้แก่
1.) ลูกจ้างถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด
กรณีนี้เป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุผลชัดเจน โดยลูกจ้างไม่ได้ทำผิดสัญญาการจ้างงาน และองค์กรไม่ได้มีเหตุปัจจัยให้ต้องเลิกจ้าง เมื่อลูกจ้างถูกเลิกจ้างในกรณีนี้จะจ่ายเงินชดเชยตามอายุงานของลูกจ้าง ดังนี้
- อายุงาน 120 วัน แต่ไม่ถึง 1 ปี ได้รับเงินชดเชย 30 วันจากค่าจ้างอัตราสุดท้าย
- อายุงาน 1 ปีขึ้นไป แต่ไม่ถึง 3 ปี ได้รับเงินชดเชย 90 วันจากค่าจ้างอัตราสุดท้าย
- อายุงาน 3ปีขึ้นไป แต่ไม่ถึง 6 ปี ได้รับเงินชดเชย 180 วันจากค่าจ้างอัตราสุดท้าย
- อายุงาน 6 ปีขึ้นไป แต่ไม่ถึง 10 ปี ได้รับเงินชดเชย 240 วันจากค่าจ้างอัตราสุดท้าย
- อายุงาน 10 ปีขึ้นไป ได้รับเงินชดเชย 300 วันจากค่าจ้างอัตราสุดท้าย
- อายุงาน 20 ปีขึ้นไป ได้รับเงินชดเชย 400 วันจากค่าจ้างอัตราสุดท้าย
2.) ลูกจ้างถูกเลิกจ้างเพราะมีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาแทนที่
กรณีนี้เกิดจากองค์กรต้องการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาทดแทนพนักงาน ทำให้ต้องลดจำนวนพนักงานบุคคล หรือปลดพนักงานทั้งหมด นายจ้างจะต้องแจ้งลูกจ้างล่วงหน้า 60 วัน รวมถึงแจ้งพนักงานตรวจแรงงานทราบด้วย หากนายจ้างแจ้งน้อยกว่าระยะเวลาที่กำหนดจะต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน ดังนี้
- ให้ค่าชดเชยแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นระยะเวลา 60 วันจากค่าจ้างอัตราสุดท้าย หรือเท่ากับการทำงาน 60 วันสุดท้าย สำหรับลูกจ้างที่ทำงานรายวัน
3.) ลูกจ้างถูกเลิกจ้างหลังจากทำงานครบ 6 ปีแล้ว
หากลูกจ้างทำงานกับองค์กรติดต่อกันมาจนครบ 6 ปีแล้ว นายจ้างต้องให้เงินชดเชยพิเศษจากเงินชดเชยปกติ มีอัตราการให้เงินพิเศษ ดังนี้
- เงินชดเชยพิเศษจะคิดเป็นค่าจ้างอัตราสุดท้าย 15 วันต่อการทำงานครบ 1 ปี
- เงินชดเชยพิเศษเมื่อรวมกับเงินชดเชยทั่วไปจะต้องไม่เกินอัตราค่าจ้างสุดท้าย 360 วัน
4.) ลูกจ้างถูกเลิกจ้างเพราะบริษัทย้ายสถานประกอบการ
การย้ายสถานประกอบการ นายจ้างจะต้องแจ้งให้ลูกจ้างทราบ 30 วันก่อนการย้าย แบ่งการจ่ายเงินชดเชย ดังนี้
- หากลูกจ้างไม่ประสงค์ย้ายตามไปด้วย นายจ้างจ่ายเงินค่าชดเชยพิเศษให้ลูกจ้าง โดยค่าชดเชยนี้จะต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของเงินเดือนปกติ
- หากนายจ้างไม่แจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้า 30 วันก่อนการย้าย นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยแทนการบอกกล่าว 30 วันจากค่าจ้างอัตราสุดท้าย
การชดเชยทั้งจากประกันสังคมและนายจ้างเองช่วยให้เวลาถูกเลิกจ้างมีเงินจุนเจือตนเองในช่วงเวลาหางานใหม่ ซึ่งการทำงานควรวางแผนการใช้จ่ายเอาไว้ในกรณีฉุกเฉินเอาไว้ด้วย การสมัครบัตรกดเงินสดจึงเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการใช้จ่าย ช่วยเพิ่มความอุ่นใจว่าเมื่อต้องการเงินสดฉุกเฉินจะสามารถหาได้ทันเวลา เป็นค่าใช้จ่ายสำรองที่ควรมีในช่วงเวลาหางานใหม่
สมัครบัตรกดเงินสดสำหรับเป็นตัวช่วยด้านการเงินในช่วงหางานใหม่
ไม่มีค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปี