รู้จักโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคยอดฮิตชาวออฟฟิศ
พฤติกรรมการใช้ชีวิตบางอย่างสามารถส่งผลให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ สำหรับหนุ่มสาวชาวออฟฟิศ นอกจากโรคออฟฟิศซินโดรมที่คนคุ้นเคยแล้ว โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบก็เป็นอีกหนึ่งโรคที่ชาวออฟฟิศเป็นบ่อย และส่งผลเสียต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก คนที่อยากหลีกเลี่ยงโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบจึงควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคนี้ รวมถึงมีการวางแผนในกรณีที่เจ็บป่วยและขาดรายได้ด้วย เพราะบางครั้งโรคภัยก็มาเยือนในเวลาที่ไม่ทันได้ตั้งตัว
เลือกอ่านตามหัวข้อ
การวางแผนการเงินเผื่อกรณีเจ็บป่วย
การเจ็บป่วยสามารถเกิดขึ้นได้ ซึ่งวัยทำงานเป็นช่วงวัยที่มักจะเจ็บป่วยอันมาจากผลของการ เช่น โรคไมเกรนจากความเครียดในการทำงาน โรคออฟฟิศซินโดรมจากการนั่งอยู่กับที่นาน ๆ เป็นต้น ซึ่งบางครั้งอาการเจ็บป่วยอาจร้ายแรงจนต้องไปตรวจกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรืออาจต้องนอนโรงพยาบาลด้วย พนักงานออฟฟิศจึงควรวางแผนการใช้จ่ายในกรณีเจ็บป่วยเอาไว้ด้วย แนวทางการวางแผนการเงินเมื่อเจ็บป่วยของพนักงานออฟฟิศ ดังนี้
- ประกันสังคม
พนักงานออฟฟิศจะมีสวัสดิการจากประกันสังคมที่ครอบคลุมกรณีเจ็บป่วยและขาดรายได้ ซึ่งโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบก็ครอบคลุมในสิทธิประกันสังคม สามารถใช้ได้ทั้งกรณีเป็นผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน สำหรับพนักงานออฟฟิศจะใช้ประกันสังคมมาตรา 33 ที่รักษาในโรงพยาบาลที่ผู้ประกันตนถือสิทธิอยู่ได้ฟรี และเงินชดเชยรายได้ 50% สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ใช้ได้ 90 วัน/ครั้ง และไม่เกิน 180 วัน/ปี มีค่าชดเชยนอนโรงพยาบาลให้ในกรณีที่ต้องนอนโรงพยาบาลอีกด้วย
- ประกันสุขภาพ
การทำประกันสุขภาพจะเป็นหลักประกันความเสี่ยงตามความคุ้มครองที่ระบุเอาไว้ในกรมธรรม์ การทำประกันสุขภาพเอาไว้ด้วยจึงช่วยลดค่าใช้จ่ายเมื่อเจ็บป่วยได้เป็นอย่างดี
- บัตรเครดิต
การใช้งานบัตรเครดิตมีบทบาทในการรูดจ่ายค่าบริการโรงพยาบาลได้ทันที มีความสะดวกในการใช้จ่าย และยังมีโปรโมชั่นบัตรเครดิตกับโรงพยาบาลอยู่เป็นระยะ ช่วยให้การใช้บัตรเครดิตที่โรงพยาบาลประหยัดขึ้น
การวางแผนการใช้จ่ายเผื่อเจ็บป่วยในอนาคต ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายได้ รู้ว่าเมื่อถึงคราวจำเป็นสามารถหยิบเงินจากส่วนไหนมาใช้ต่อได้ ควรมีบัตรเครดิตเอาไว้สักใบ ช่วยเพิ่มส่วนลดในการใช้งาน สามารถสะสมแต้มได้ ได้รับ Cash Back และโปรโมชั่นบัตรเครดิตตามโอกาส ไม่เฉพาะการใช้งานในโรงพยาบาลเท่านั้น แต่ยังใช้ได้กับการใช้จ่ายที่รับชำระผ่านบัตรได้ทุกรูปแบบ
สมัครบัตรเครดิต ทางออกเงินด่วนเมื่อเจ็บป่วยฉุกเฉิน
สาเหตุของกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ เกิดจากการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะและทางเดินปัสสาวะ โดยมาจากเชื้อแบคทีเรียที่สะสมอยู่ ส่งผลให้เกิดการอักเสบ เชื้อแบคทีเรียที่พบบ่อย เช่น เอสเชอริเชีย โคไล หรือ อีโคไล (Escherichia coli : E. coli) เคล็บซิลลา (Klebsiella) สูโดโมแนส (Pseudomonas) และเอนเทอโรแบกเตอร์ (Enterobacter) โดยพฤติกรรมที่ทำให้เป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ มีดังนี้
- การกลั้นปัสสาวะนาน ๆ จนทำให้ปวดท้อง และเกิดเชื้อแบคทีเรียเติบโต
- การล้างทำความสะอาดจนแบคทีเรียดีภายในช่องคลอดตาย แบคทีเรียที่ไม่ดีจึงเข้ามาในท่อปัสสาวะได้
- การล้างผิดวิธี เช่น ล้างทวารหนักก่อน แล้วสวนย้อนมาช่องคลอด เชื้อแบคทีเรียจึงปะปนมาด้วย
- การใส่สายสวนปัสสาวะ
- การรับประทานยาบางชนิด เช่น ยากดภูมิต้านทาน
- การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์
การเกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบเกิดขึ้นได้ง่าย ซึ่งกระเพาะปัสสาวะอักเสบหายเองได้ไหม จริง ๆ แล้วสามารถหายเองได้ แต่เฉพาะกรณีที่เพิ่งเริ่มต้นเป็นนและอาการไม่หนักมาก ส่วนกระเพาะปัสสาวะอักเสบ กี่วันหาย หากอาการไม่ร้ายแรง โดยปกติจะมีเวลารักษาตัวที่ 3 – 5 วัน แต่ควรหมั่นสังเกตอาการเป็นระยะ หากอาการหนักและไม่ทีท่าจะหาย ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน
อาการของกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
กระเพาะปัสสาวะอักเสบเป็นปัญหาสุขภาพที่ไม่ควรละเลย
ผู้ที่สงสัยว่าเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ สามารถเช็กอาการเบื้องต้นของตนเองได้ดังนี้
- ปัสสาวะกระปริบกะปรอย มีปัสสาวะออกมาเล็กน้อย และรู้สึกปวดปัสสาวะบ่อย ๆ
- ตื่นกลางดึกเป็นระยะเพราะปวดท้องปัสสาวะ
- ปัสสาวะมีสีขุ่น บางรายอาจมีเลือดปน
- รู้สึกแสบบริเวณปลายหลอดปัสสาวะหลังจากปัสสาวะเสร็จ
อาการเหล่านี้เป็นเพียงอาการเบื้องต้นที่อาจมีโอกาสเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ หากพบว่าปัสสาวะบ่อยและกระปริบกระปรอย ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุของอาการต่อไป
การรักษากระเพาะปัสสาวะอักเสบ
กระเพาะปัสสาวะอักเสบมีวิธีรักษาโดยใช้ยาปฏิชีวนะ ใช้เวลารักษาประมาณ 3 – 5 วัน ควบคู่ไปกับยารักษาอาการข้างเคียงอื่น ๆ เช่น ยาแก้ปวดที่มีสรรพคุณในการลดการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ นอกจากนั้นแพทย์ยังมีคำแนะนำหากอยากให้โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบหายเร็วขึ้น ควรปรับพฤติกรรมการดูแลตัวเองและการความสะอาดของช่องคลอด ดังนี้
- ดื่มน้ำสะอาดมาก ๆ
- งดการกลั้นปัสสาวะนาน ๆ
- ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจุดซ่อนเร้นสูตรอ่อนโยน และควรทำความสะอาดจุดซ่อนเร้นก่อนทวารหนักเสมอ
- ลดการแช่น้ำในอ่าง หรือการว่ายน้ำในสระ เพื่อลดสิ่งแปลกปลอมเข้ามาในช่องคลอด
- ใส่เสื้อผ้าระบายอากาศ
โรคกระเพาะปัสสาวะเป็นโรคยอดฮิตที่เกิดกับพนักงานออฟฟิศเช่นกัน เนื่องจากการทำงานหน้าคอมทั้งวัน อาจจะมีงานติดพันจนไม่มีเวลาไปเข้าห้องน้ำ ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ไม่ดีต่อสุขภาพ พนักงานออฟฟิศจึงควรแบ่งเวลามาดูแลตัวเองด้วย อีกหนึ่งความคุ้มค่าที่อยากแนะนำก็คือเรื่องของการสมัครบัตรเครดิต เพราะบัตรเครดิตครอบคลุมการใช้งานทุกหมวดหมู่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการใช้จ่ายในโรงพยาบาล มีบัตรเครดิตพาร์ทเนอร์กับโรงพยาบาล เช่น KTC - BANGKOK HOSPITAL GROUP PLATINUM ,KTC - BNH HOSPITAL PLATINUM ที่เพิ่มความคุ้มค่าในการใช้จ่ายที่โรงพยาบาลนั้น ๆ นอกจากบัตรเครดิตโรงพยาบาลแล้ว บัตรเครดิตยังมีประโยชน์ในด้านอื่น ๆ อีกมากมาย ทั้งการช้อปปิ้งสำหรับการซื้อของจัดโต๊ะทำงานตามฮวงจุ้ย การซื้อของขวัญ ของฝากตามโอกาส การใช้จ่ายในห้องอาหาร การจองที่พัก การท่องเที่ยวต่าง ๆ ตอบโจทย์พนักงานออฟฟิศได้เป็นอย่างดี สามารถเลือกสมัครบัตรเครดิตใช้จ่ายทั่วไป อย่างบัตรเครดิต KTC VISA PLATINUM และบัตรเครดิต KTC PLATINUM MASTERCARD หรือบัตรเครดิตที่เจาะจงไลฟ์สไตล์ เช่น บัตรเครดิตสำรับใช้จ่ายในเว็บไซต์ Agoda อย่างบัตรเครดิต KTC – AGODA PLATINUM MASTERCARD พนักงานออฟฟิศที่อยากสมัครบัตรเครดิตใหม่เลือกสมัครได้ตามความชอบเลย เตรียมพร้อมด้านการเงินผ่านบัตรเครดิต คุ้มค่ามากขึ้น มนุษย์เงินเดือนควรมี
อ้างอิงข้อมูล : โรงพยาบาลเพชรเวช
สมัครบัตรเครดิต KTC ใช้จ่ายโรงพยาบาลได้ รูดซื้อสินค้าและบริการได้ครบ
ไม่มีค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปี