ถ้าคุณมีป้ายติดหน้าร้าน หรือทำธุรกิจที่มีป้ายโฆษณาแสดงชื่อหรือโลโก้ไว้ชัดเจน อาจถึงเวลาต้องทำความรู้จักกับ “ภาษีป้าย” ให้ดีขึ้น เพราะนี่คือภาษีที่เจ้าของป้ายมีหน้าที่ต้องชำระให้กับเทศบาล หรือองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เป็นประจำทุกปี หากละเลยหรือจ่ายไม่ตรงเวลา อาจต้องเสียค่าปรับเพิ่มเติมแบบไม่ทันตั้งตัว แล้วอัตราภาษีป้าย ราคาเท่าไหร่ คิดยังไง อัตราภาษีป้ายในปี 2568 อยู่ที่เท่าไร บทความนี้มีคำตอบ! พร้อมไขข้อสงสัยต่าง ๆ ให้คุณจัดการเรื่องภาษีป้ายได้อย่างง่ายดาย ไม่ต้องงงอีกต่อไป
ภาษีป้าย คืออะไร?
อัตราภาษีป้าย คือ ค่าธรรมเนียมที่เจ้าของป้ายต้องจ่ายให้กับหน่วยงานท้องถิ่นเป็นประจำทุกปี โดยภาษีนี้จะเรียกเก็บจากผู้ที่ติดตั้งป้ายที่มีชื่อ ยี่ห้อ โลโก้ หรือข้อความโฆษณาที่สามารถมองเห็นได้จากภายนอก
ตัวอย่างป้ายที่ต้องเสียภาษี เช่น ป้ายหน้าร้าน, ป้ายบนตู้ขายของ, ป้ายข้างรถ, ป้ายไฟ, ป้ายบนผ้าใบ หรือป้ายบนอาคารสำนักงาน ซึ่งถือว่าเป็น “ป้ายเพื่อการประกอบกิจการ” โดยอัตราการเก็บภาษีจะพิจารณาจากประเภทป้าย ขนาด และลักษณะของข้อความที่แสดง ซึ่งล้วนมีผลต่อภาษีที่ต้องจ่ายแตกต่างกันออกไป
อัตราภาษีป้ายล่าสุด
อัตราภาษีป้ายปี 2568 อัปเดตล่าสุด มีแนวทางการพิจารณาภาษีป้ายโดยมีราคาแตกต่างกันตามประเภท ดังนี้
- ประเภทที่ 1: ป้ายอักษรไทยทั้งหมด
- ป้ายภาษาไทยแบบเคลื่อนที่ หรือสามารถเปลี่ยนข้อความ/ภาพได้ อัตรา 10 บาท/500 ตร.ซม.
- ป้ายภาษาไทยแบบเคลื่อนที่ หรือป้ายที่ไม่สามารถเปลี่ยนข้อความ/ภาพได้ อัตรา 5 บาท/500 ตร.ซม.
- ประเภทที่ 2: ป้ายที่มีอักษรไทย ร่วมกับอักษรต่างประเทศ หรือมีภาพ เครื่องหมาย โลโก้ประกอบ
- ป้ายภาษาไทยแบบเคลื่อนที่ หรือสามารถเปลี่ยนข้อความ/ภาพได้ อัตรา 52 บาท/500 ตร.ซม.
- ป้ายภาษาไทยแบบเคลื่อนที่ หรือป้ายที่ไม่สามารถเปลี่ยนข้อความ/ภาพได้ อัตรา 26 บาท/500 ตร.ซม.
- ประเภทที่ 3: ป้ายที่ไม่มีอักษรไทย หรือแสดงอักษรไทยอย่างไม่เด่นชัด (อยู่ต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ)
- ป้ายภาษาไทยแบบเคลื่อนที่ หรือสามารถเปลี่ยนข้อความ/ภาพได้ อัตรา 52 บาท/500 ตร.ซม.
- ป้ายภาษาไทยแบบเคลื่อนที่ หรือป้ายที่ไม่สามารถเปลี่ยนข้อความ/ภาพได้ อัตรา 50 บาท/500 ตร.ซม.
หากคำนวณภาษีป้ายแล้วน้อยกว่า 200 บาท ให้เสียภาษี 200 บาทเป็นขั้นต่ำ
หมายเหตุ
- หากคำนวณภาษีป้ายแล้วน้อยกว่า 200 บาท ให้เสียภาษี 200 บาทเป็นขั้นต่ำ
- อัตราภาษีที่มีราคาระบุข้างต้นเป็นอัตรามาตรฐานตามกฎหมาย โดยแต่ละท้องถิ่นอาจมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน ควรตรวจสอบกับหน่วยงานท้องถิ่นที่ป้ายตั้งอยู่
หากไม่จ่ายภาษีป้าย มีบทลงโทษอย่างไรบ้าง?
หากเจ้าของป้ายละเลยไม่เสียภาษีป้ายร้านค้าหรือกิจการอย่างถูกต้องตามอัตราราคาภาษีป้ายที่ระบุไว้ตามกฎหมาย จะมีบทลงโทษดังต่อไปนี้
- ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีภายในกำหนด
ต้องเสียเงินเพิ่มในอัตรา 2% ต่อเดือน ของค่าภาษี
ที่ต้องชำระ
- ไม่ชำระภาษีภายในเวลาที่กำหนด
ต้องเสียเพิ่ม 10% ของค่าภาษี
- ยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้อง ไม่ตรงความจริง ทำให้เสียภาษีไม่ครบ
ต้องเสียค่าปรับชำระ 10% ของภาษีที่ขาดไป
ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญมากที่ต้องรู้ว่ากำหนดการจ่ายภาษีป้าย 2568 ต้องจ่ายเมื่อไหร่ ซึ่งตรงกับวันที่ 31 มีนาคม 2568 สำหรับผู้ที่มีป้ายในครอบครองหลังจากนั้น ให้ยื่นชำระภาษีป้ายภายใน 15 วันหลังติดตั้งใหม่
ข้อยกเว้นในกรณีที่ไม่ต้องเสียภาษีป้าย
เช็กเลย! ป้ายแบบไหนไม่ต้องเสียภาษี มีดังต่อไปนี้
- ป้ายที่ใช้ชั่วคราวในงานที่จัดเป็นครั้งคราว
- ป้ายที่ติดในโรงมหรสพ เพื่อโฆษณาการแสดงในงานนั้น
- ป้ายของโรงเรียนเอกชนหรือมหาวิทยาลัยเอกชน ที่ติดในพื้นที่ของสถาบัน
- ป้ายมูลนิธิหรือสมาคม
- ป้ายของธนาคารของรัฐ เช่น ธนาคารออมสิน ธ.ก.ส. และบรรษัทเงินอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
- ป้ายของหน่วยงานราชการทุกระดับ
- ป้ายที่อยู่บนสินค้า หรือบรรจุภัณฑ์ของสินค้า
- ป้ายขนาดไม่เกิน 3 ตร.ม. ที่ติดภายในร้านหรืออาคารส่วนตัว (ยกเว้นป้ายที่จดทะเบียนพาณิชย์)
- ป้ายขององค์กรที่ตั้งตามกฎหมาย และนำรายได้ส่งรัฐ
- ป้ายของเกษตรกรที่ใช้ขายผลผลิตจากไร่สวนของตนเอง ให้ถือเป็นป้ายที่ไม่ต้องเสียภาษี
- ป้ายของวัด หรือองค์กรเพื่อศาสนาและการกุศลสาธารณะ
- ป้ายที่ติดอยู่บนตัวคนหรือสัตว์
- ป้ายตามกฎกระทรวงฉบับที่ 2 ได้แก่
- ป้ายที่ติดอยู่บนรถยนต์ส่วนบุคคล รถจักรยานยนต์ รถแทรกเตอร์ หรือ รถบดถนน ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
- ป้ายที่ติดอยู่บนล้อเลื่อน ตามกฎหมายว่าด้วยล้อเลื่อน
- ป้ายที่ติดบนยานพาหนะอื่น ๆ ที่ไม่เข้าข่ายข้างต้น และมีขนาดไม่เกิน 500 ตร.ซม.
ขั้นตอนการจ่ายภาษีป้าย
ขั้นตอนการยื่นชำระภาษีป้ายด้วยตัวเอง ทำตามได้ง่าย ๆ ดังนี้
- ขออนุญาตยื่นภาษีโดยแจ้งขนาดป้าย พร้อมแนบรูปถ่าย หรือภาพสเก็ตช์ของป้าย และแผนที่ตำแหน่งที่ติดตั้ง
- กรอกแบบฟอร์ม ภ.ป.1 และยื่นที่เขตพื้นที่ท้องถิ่น
- ชำระภาษีได้ที่สำนักงานเขต หรือชำระผ่านธนาคารกรุงไทย
- หากยอดภาษีเกิน 3,000 บาท สามารถขอผ่อนจ่ายได้ 3 งวด
- ภาษีป้ายจะต้องเสียขั้นต่ำป้ายละ 200 บาท แม้คำนวณแล้วจะได้น้อยกว่าก็ตาม
สำหรับบางเขตพื้นที่สามารถใช้บริการยื่นภาษีป้ายทางออนไลน์ได้แล้ว ตามขั้นตอนดังนี้
- ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม ภ.ป.1 พร้อมกรอกรายละเอียดและลงลายมือชื่อ
- ส่งแบบฟอร์มที่สมบูรณ์มาทางอีเมล ไปรษณีย์ หรือ Line Official ของสำนักงานเขตโดยตรง
*แนะนำติดต่อสอบถามที่สำนักงานในพื้นที่ของตนก่อน เพื่อตรวจสอบว่าสามารถยื่นชำระภาษีป้ายทางออนไลน์ได้หรือไม่
ภาษีป้าย สาระสำคัญที่เจ้าของกิจการไม่ควรมองข้าม
การเสียภาษีป้ายเป็นหน้าที่ของเจ้าของป้ายจำเป็นต้องชำระตามเงื่อนไขและเวลาที่กำหนด โดยภาษีป้ายจ่ายราคาเท่าไหร่นั้นจะพิจารณาตามประเภทและขนาด ดังนั้นจึงควรเช็คป้ายภาษีว่าต้องเสียภาษีเท่าไรในแต่ละปี จะได้ประเมินค่าใช้จ่ายได้อย่างแม่นยำ และชำระภาษีได้ตรงเวลา ไม่ต้องเสียค่าปรับเพิ่มโดยไม่จำเป็น
และจะดีกว่าไหมถ้าคุณสามารถมีเงินสดสำรองไว้เสริมสภาพคล่องหรือใช้ต่อยอดธุรกิจ ด้วยสินเชื่อรถแลกเงิน KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน อีกหนึ่งทางเลือกที่พร้อมสนับสนุนให้ธุรกิจของคุณเดินหน้าต่อได้อย่างมั่นคงกับสินเชื่อรถยนต์ไม่ว่ารถยังผ่อนอยู่หรือรถปลอดภาระแล้ว ก็ให้วงเงินสูงสุด 100% สมัครได้ทุกอาชีพ อีกทั้งยังมีบริการ พี่เบิ้ม Delivery พร้อมเดินทางไปทำรายการถึงหน้าบ้าน อนุมัติไวใน 1 ชั่วโมง รับเงินทันที โดยไม่ต้องมีคนค้ำประกัน และผ่อนได้นานสูงสุด 84 เดือน
กรุณาศึกษาข้อมูลผลิตภัณฑ์ก่อนทำการสมัคร
เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ และธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
*วงเงินอนุมัติเป็นไปตามความสามารถในการชำระหนี้และราคาประเมินมูลค่ารถ
*อนุมัติไวใน 1 ชั่วโมง รับเงินทันที เมื่อเอกสารครบถ้วนถูกต้องและโอนเงินเข้าบัญชีกรุงไทยหรือบัญชีพร้อมเพย์
*กรณีรถยนต์ติดไฟแนนซ์ อนุมัติและโอนเงินหลังจากกรรมสิทธิ์ในรถเป็นชื่อผู้กู้เรียบร้อยแล้ว
*กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว อัตราดอกเบี้ย 21%-24% ต่อปี