Work From Home อย่างไร ให้ปลอดภัยจาก Office Syndrome
เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทยยังไม่คลี่คลาย หลังจำนวนผู้ติดเชื้อยังพุ่งสูง เป็นผลให้รัฐบาลออกประกาศขอความร่วมมือให้หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานที่ออฟฟิศเป็นทำงานที่บ้าน หรือ Work From Home แทน เพื่อหวังลดการแพร่กระจายของเชื้อ COVID-19 แต่รู้ไหมว่า ถึงจัดมุมทำงานได้สะดวกสบายแค่ไหน หากจัดระเบียบร่างกายไม่ถูกต้องเป็นเวลานาน คุณอาจกำลังเผชิญกับภาวะ Work From Home Syndrome แบบไม่รู้ตัวก็ได้
ไขข้อสงสัย Work From Home Syndrome และ Office Syndrome เหมือนหรือต่างกัน
อาการ Work From Home Syndrome กับโรคออฟฟิศซินโดรมคืออาการเดียวกัน เพียงปรับเปลี่ยนชื่อเรียกให้เข้ากับการทำงานที่บ้านเท่านั้น เพราะทั้ง Work From Home Syndrome และ Office Syndrome ล้วนเกิดจากพฤติกรรมการทำงานทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการนั่งทำงานในท่าเดิมติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ เลือกพื้นที่นั่งทำงานไม่เหมาะสม เพราะบางคนเลือกทำงานบนเตียง บนโซฟาที่นุ่มนิ่มนั่งสบายแทนการนั่งโต๊ะและเก้าอี้ทำงานที่เหมาะกับสรีระร่างกายจนส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย อาทิ มีอาการปวดตึงกล้ามเนื้อ อาการชาที่มือ เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ หรือมีอาการปวดเสียดท้อง เนื่องจากทำงานเพลินจนลืมเวลากินข้าว กินน้ำ เรียกว่า แม้มนุษย์เงินเดือนเปลี่ยนมาทำงานที่บ้านก็มีโอกาสป่วยเป็นโรคออฟฟิศซินโดรมได้เช่นกัน หากไม่มองหาวิธีการป้องกันไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ
อาการแบบไหน เสี่ยงเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม
(1) ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อต่าง ๆ ไม่ว่าจะรู้สึกปวดไหล่ ปวดหลัง ปวดต้นคอ ปวดแขน ปวดข้อมือ ซึ่งสาเหตุของอาการปวดเหล่านี้ มาจากการนั่งในท่าเดิมติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยเฉพาะเวลาที่กำลังทำงานติดพันจนไม่อยากลุกออกจากเก้าอี้ แม้ช่วงแรกมีอาการปวดไม่นาน แต่ถ้าปล่อยไว้จะปวดเรื้อรังมากขึ้น
(2) มีอาการอักเสบบริเวณปลอกหุ้มเอ็นข้อมือ เส้นเอ็นนิ้วมือ เนื่องจากจับเมาส์หรือพิมพ์เอกสารในท่าเดิมเป็นเวลานาน เป็นเหตุให้กล้ามเนื้อกดทับเส้นประสาทจนเกิดพังผืดยึดจับบริเวณนั้นจำนวนมาก ส่งผลให้มีอาการปวดแขน มือชา นิ้วล็อค หรือข้อมือล็อคได้
(3) หากเป็นเหน็บชาบ่อย ๆ อาการเหล่านี้อาจเกิดจากการนั่งทำงานเป็นเวลาจนทำให้เส้นเลือดดำถูกกดทับ เป็นผลให้เลือดไหลเวียนผิดปกติจนนำไปสู่อาการเหน็บชา ซึ่งต้องรีบรักษาโดยเร็วที่สุด ถ้าปล่อยไว้อาการชาลามไปถึงเท้าอาจทำให้ขาไร้เรี่ยวแรง
(4) มีอาการปวดศีรษะเรื้อรังหรือปวดหัวไมเกรน นี่อาจเป็นสัญญาณเตือนออฟฟิศซินโดรมว่าคุณใช้สายตาเป็นระยะเวลานานหรือเครียดการทำงาน
(5) รู้สึกสายตาพร่าหรือปวดตา เนื่องจากจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์นานโดยไม่ได้พักสายตา
สมัครประกันภัยสุขภาพ ผ่อนจ่ายหลักพัน เมื่อหักค่าเบี้ยผ่านบัตรเครดิต...กรอกข้อมูลที่นี่
แนะ 7 วิธีป้องกันออฟฟิศซินโดรมช่วง Work From Home
1. จัดพื้นที่หรือมุมทำงานให้เป็นสัดส่วน
เพื่อให้การ Work From Home ได้มีประสิทธิภาพและไม่ทำให้ร่างกายเจ็บปวด โดยเลือกโต๊ะทำงานที่เหมาะสมกับความสูงของผู้ใช้ มีพื้นที่วางเท้า ไม่สูงเกินไปสำหรับวางมือบนแป้นคีย์บอร์ดหรือเม้าส์ปากกา เพราะถ้าโต๊ะสูงเกินจะทำให้เกร็งไหล่ขณะใช้งาน แต่ต้องไม่ต่ำเกินไปจนต้องก้มตัวหรือนั่งงอหลัง ส่วนเก้าอี้ทำงานให้เลือกที่มีขนาดพอดีตัว และสามารถปรับระดับได้ เพราะหากความสูงของเก้าอี้ที่ไม่พอดีกับร่างกาย จะนำไปสู่ปัญหาเท้าลอยจากพื้นเหมือนนั่งห้อยขา ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เลือดไหลมากองกันที่เท้าและนำไปสู่อาการเท้าบวมได้
2. ปรับให้จอคอมพิวเตอร์อยู่ในระดับสายตา
การจัดวางหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือโน๊ตบุ๊คให้กึ่งกลางของจออยู่ระดับสายตา และตั้งอยู่ห่างระดับสายตาประมาณ 2.5 ฟุต ถือเป็นระดับที่อยู่ในระดับสายตาพอดีกับระดับเก้าอี้ที่นั่ง
3. พยายามปรับเปลี่ยนอิริยาบถ
การปรับเปลี่ยนท่านั่งหรือลุกจากที่นั่งไปกดน้ำดื่มหรือเข้าห้องน้ำก็ถือเป็นการเปลี่ยนอิริยาบถแบบง่าย ๆ ที่ช่วยให้คุณห่างไกลจาก Office Syndrome หรือคุณลุกจมาเหยียดยืดกล้ามเนื้อทุก ๆ 1 ชั่วโมง ก็ช่วยได้เช่นกัน
4. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง
ทุกวันนี้ไม่ได้มีแค่การนั่งทำงานนาน ๆ เท่านั้นที่เป็นสาเหตุของโรคออฟฟิศซินโดรม กระทั่งการใช้งานมือถือและแท็บเล็ตเป็นเวลานานโดยเฉพาะก่อนนอนขณะอยู่บนเตียง นอกจากทำให้กล้ามเนื้อรอบ ๆ คอ บ่า ไหล่ต้องทำงานหนักขึ้นแล้ว ยังส่งผลเสียต่อสายตาด้วยเช่นกัน เพราะต้องทำงานหนักในความมืด
5. หมั่นพักสายตาบ่อย ๆ
การละสายตาจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ทุก 45 นาที โดยการหันไปมองวิวภายนอกห้อง นอกจากเป็นการพักสายตา ยังถือเป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อสายตาอีกด้วย
6. พักผ่อนให้เพียงพอ
นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ 7-9 ชั่วโมงต่อวัน ส่งผลให้ร่างกายมีสุขภาพดีทั้งในแง่ของการฟื้นฟูพละกำลัง ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ทั้งยังช่วยให้สมองปลอดโปร่ง สามารถเรียนรู้และจดจำสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างแม่นยำอีกด้วย
7. บริหารร่างกายอย่างง่าย ๆ เพื่อป้องกันกล้ามเนื้อยึด
การ Work From Home ในช่วง COVID-19 อาจทำให้เกิดความเครียดและขาดการขยับร่างกาย ดังนั้น ควรหมั่นบริหารร่างกายอย่างสม่ำเสมอด้วยท่าง่าย ๆ อาทิ
- เหยียดมือทั้งสองข้างประสานกันไปด้านหน้า
- เหยียดมือสองข้างประสานกันขึ้นเหนือศีรษะ
- บีบนวดคอ หรือยืดกล้ามเนื้อคอโดยการค่อย ๆ เอียงคอไปทางซ้ายและขวาจนรู้สึกตึง
- ก้มหน้าเงยหน้าให้รู้สึกตึงบริเวณคอ
- ก้มแตะปลายเท้า
หรือออกกำลังกายโดยการทำกิจวัตรประจำวันก็ได้เช่นกัน ไม่ว่าจะทำงานบ้าน รดน้ำต้นไม้ หรือเดินออกจากหน้าจอคอมไปสูดอากาศ หากทำอย่างสม่ำเสมอก็ถือเป็นการออกกำลังกายเช่นกัน
นี่คือทริคที่ช่วยให้คุณห่างไกลจากโรคออฟฟิศซินโดรม เพียงปฏิบัติตามคำแนะนำข้างต้นในการป้องกันโรคของวัยทำงาน แต่สุดท้ายมีอาการปวดเมื่อยเรื้อรังหรือรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน แนะนำให้รีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย พร้อมวางแผนการรักษาต่อไป สำคัญเดี๋ยวนี้ยังมีประกันภัยสุขภาพที่ให้ความคุ้มครองโรคออฟฟิศซินโดรมอีกด้วย หากใครสนใจสามารถสมัครประกันภัยสุขภาพแล้วผ่อนชำระเบี้ยประกันด้วยบัตรเครดิต เพียงเท่านี้ก็ช่วยให้คุณอุ่นใจเพิ่มขึ้นยามเจ็บป่วย
สมัครบัตรเครดิต ผ่อนเบี้ยประกันสุขภาพ 0%...ที่นี่
ไม่มีค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปี