เช็กสัญญาณเตือน ที่บ่งบอกว่าคุณกำลังตั้งครรภ์
อาการคนท้อง เป็นสัญญาณเตือนให้คุณแม่ทราบและสังเกตตัวเองว่ากำลังตั้งครรภ์หรือไม่ แต่อาการเตือนคนเริ่มท้องที่สามารถสังเกตได้มีอะไรบ้าง แล้วอาการคนท้องไม่รู้ตัวเป็นอย่างไร เพราะคุณแม่บางคนแทบไม่แสดงอาการผิดปกติใด ๆ เลย จนกว่าอายุครรภ์จะถึง 6 สัปดาห์ หรือมากกว่านั้น วันนี้เคทีซีได้รวบรวมอาการคนท้องเในระยะเริ่มแรกมาแบ่งปัน เพื่อให้คุณแม่ทั้งหลายได้ลองสังเกตตนเองกัน
เลือกอ่านตามหัวข้อ
อาการคนท้องระยะเริ่มต้น เรื่องที่คุณแม่มือใครควรรู้
ถ้าสงสัยว่าอาจกำลังตั้งท้องหรือไม่ ? หลังพบว่าประจำเดือนขาด แต่รู้ไหมว่าการขาดประจำเดือนไม่ได้หมายความว่า คุณกำลังตั้งครรภ์เสมอไป เพราะสาเหตุที่ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติอาจเกิดจากการเหนื่อยล้าหรือสาเหตุอื่นได้เช่นเดียวกัน เพื่อให้ทุกคนเข้าใจอาการคนท้องแรก ๆ มากขึ้นลองมาดูสัญญาณเตือนเวลาตั้งครรภ์กัน
(1) ประจำเดือนขาด
ตามปกติผู้หญิงจะมีประจำเดือนมาในระยะ 21-35 วัน และจะมาในเวลาใกล้เคียงกันในทุก ๆ เดือน สำหรับคนที่ประจำเดือนมาปกติ ถ้าพบว่าประจำเดือนขาดอาจเป็นการบ่งบอกว่าคุณกำลังตั้งครรภ์ แนะนำให้ไปซื้อเครื่องตรวจการตั้งครรภ์มาตรวจ
(2) มีอาการคัดเต้านม
นี่เป็นหนึ่งในอาการเตือนคนเริ่มท้อง 1 สัปดาห์ ที่สามารถสังเกตได้ง่าย ๆ นั่นคือเต้านมและหัวนมมีการเปลี่ยนแปลง หรือมีอาการคัดเต้านม โดยการเปลี่ยนแปลงนี้เริ่มหลังจากการขาดประจำเดือนไปประมาณ 1 สัปดาห์ สาเหตุมาจากฮอร์โมนที่กำลังปรับให้เข้ากับสภาพร่างกายเพื่อเตรียมพร้อมในการสร้างน้ำนม หรือจะสังเกตการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ ของเต้านม เช่น รอบหัวนมคล้ำขึ้นและขยายใหญ่ขึ้น รวมถึงมีตุ่มเล็ก ๆ บริเวณรอบหัวนมเพิ่มจำนวนมาก เป็นต้น
(3) ตกขาวมากกว่าปกติ
แม้อาการตกขาวเป็นเรื่องปกติทั่วไปที่เกิดขึ้นในผู้หญิง แต่ถ้าตกขาวมากกว่าปกติอาจเป็นบอกสัญญาณการตั้งท้องได้ เนื่องจากฮอร์โมนจะเริ่มเปลี่ยนแปลงในช่วงตั้งครรภ์ ทำให้มีการหลั่งของพวกสารต่าง ๆ รวมทั้งมีตกขาวในช่องคลอดเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ดีหากลักษณะของตกขาวมีกลิ่น มีอาการคัน นี่อาจเป็นความผิดปกติที่ไม่ใช้การตั้งครรภ์ แนะนำให้ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
(4) ปัสสาวะบ่อย
ปัสสาวะบ่อยเป็นอีกหนึ่งอาการคนท้องที่พบได้ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนระหว่างการตั้งท้อง ทำให้ร่างกายมีการสร้างของเหลวมากขึ้นกว่าเดิมและเลือดเกิดการไหลเวียนมากขึ้น เป็นผลให้คุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการปวดปัสสาวะบ่อยกว่าเดิม
การนอนอย่างเต็มช่วยให้คุณแม่และลูกน้อยในครรภ์มีสุขภาพที่ดี
(5) เหนื่อยล้าได้ง่าย
อาการเหนื่อยล้าเป็นอาการแรก ๆ ของการตั้งท้อง เกิดจากระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนมีระดับที่สูงขึ้น ส่งผลให้คุณแม่รู้สึกง่วงนอนและเหนื่อยล้าได้ง่ายกว่าปกติ ด้วยเหตุช่วงตั้งครรภ์จะพบภาพคุณแม่หลายคนเลือกนอนพักผ่อนมากกว่าปกติ
(6) มีอาการคลื่นไส้
สำหรับอาการคลื่นไส้หรืออาการแพ้ของคุณแม่แต่ละคนมีความแตกต่างกัน ในบางรายอาจจะมีอาการปวดหัว หรือเวียนหัวเล็กน้อย เนื่องจากร่างกายเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ขณะที่บางรายมีอาการคลื่นไส้อาเจียนตั้งแต่รอบเดือนหายไป ส่วนบางคนอาจเริ่มมีอาการดังกล่าวเมื่ออายุครรภ์เข้าสู่สัปดาห์ที่ 6
(7) อารมณ์ไม่ดี หงุดหงิดง่าย
การเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์ของคุณแม่ที่ตั้งท้อง เกิดจากระดับฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งร่างกายพยายามปรับตัวเข้าสู่สมดุลใหม่ ฉะนั้นในช่วง 3 เดือนแรก คุณพ่ออาจต้องหาวิธีรับมือคุณแม่ที่มีความรู้สึกและอารมณ์ที่แตกต่างไปจากเดิม
บัตรกดเงินสด ตัวช่วยเงินด่วนทันใจ เสริมสภาพคล่องยามฉุกเฉิน
(8) ไวต่อกลิ่น
การตั้งครรภ์ส่งผลให้คุณแม่หลาย ๆ คนมีความรู้สึกไวต่อกลิ่นมากขึ้น ไม่เฉพาะแค่เพียงกลิ่นอาหารเท่านั้น ยังรวมถึงกลิ่นต่าง ๆ รอบตัวด้วย เช่น กลิ่นน้ำหอม กลิ่นแอร์ กลิ่นตัวของบุคคลรอบข้าง ไปจนถึงกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์
(9) น้ำลายไหลมากผิดปกติ
หากระหว่างตั้งครรภ์ช่วงไตรมาสแรกมีอาการน้ำลายไหลมากผิดปกติ อย่าเพิ่งตกใจหรือวิตกกังวลไป เพราะเป็นอาการที่เกิดจากกลไกธรรมชาติของร่างกายขับน้ำลายออกมา เพื่อปกป้องปาก ฟัน และลำคอจากการกัดกร่อนของกรดในกระเพาะอาหารนั่นเอง
(10) เบื่ออาหาร
นอกจากไวต่อกลิ่นต่าง ๆ รอบตัว คุณแม่ยังมีความรู้สึกไวต่อรสสัมผัสมากกว่าเดิม เป็นผลให้การรับรสอาหารเปลี่ยนไป เมนูอาหารที่เคยชื่นชอบอาจเปลี่ยนเป็นไม่ชอบ หรือแค่ได้กลิ่นก็รู้สึกพะอืดพะอม ทำให้คุณแม่ตกอยู่ในสภาวะเบื่ออาหาร ซึ่งอาการเหล่านี้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนขณะตั้งครรภ์
(11) อุณหภูมิร่างกายเปลี่ยนแปลง
ช่วงตั้งครรภ์ร่างกายของคุณแม่จะมีอุณหภูมิสูงขึ้นกว่าปกติและรู้สึกร้อนได้ง่าย เนื่องจากร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงและใช้พลังงานมากขึ้น เพื่อให้พร้อมสำหรับการเติบโตของลูกน้อย ไม่ว่าจะเป็นการสร้างเนื้อเยื่อหรือเพิ่มการสร้างเลือดเพื่อลำเลียงอาหารไปให้ลูกน้อย ฉะนั้นถ้าคุณแม่รู้สึกเหมือนมีไข้ต่ำ ๆ แนะนำให้ดื่มน้ำให้มากและพักผ่อนให้เพียงพอ
(12) ปวดหลัง
คุณแม่หลายคนอาจไม่รู้ว่า อาการปวดหลังสามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ช่วงเดือนแรก ๆ ด้วยสาเหตุที่ของอาการดังกล่าวมาจากการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนในร่างกายที่อาจส่งผลกระทบต่อเส้นเอ็น ไขข้อ และกระดูกเชิงกราน ฉะนั้นถ้าคุณแม่ตั้งครรภ์ได้ 1-2 เดือน แล้วมีอาการปวดหลังก็อย่าเพิ่งกังวลไป เพราะนี่เป็นหนึ่งในของอาการคนท้องนั่นเอง
เมื่อเริ่มตั้งครรภ์ คุณแม่ควรเตรียมตัวอย่างไร
การฝากครรภ์ เป็นการดูแลสุขภาพครรภ์ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ไปจนถึงก่อนคลอด
ฝากครรภ์กับแพทย์
ลำดับต่อไปคือการเดินทางไปพบแพทย์เพื่อทำการฝากครรภ์ ซึ่งแพทย์จะให้คำแนะนำในการเริ่มดูแลตัวเอง มอบสมุดสำหรับการฝากครรภ์ รวมถึงทำการนัดหมายเพื่อทำการตรวจครรภ์ในครั้งต่อไป สำหรับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นคุณแม่ที่อยู่ในฐานะผู้ประกันตน มาตรา 33 และมาตรา 39 สามารถเบิกค่าฝากครรภ์ ประกันสังคม ออนไลน์ ที่สามารถเบิกเท่าที่จ่ายจริงจำนวน 5 ครั้ง ไม่เกิน 1,500 บาท ดังนี้
- อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 500 บาท
- อายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 300 บาท
- อายุครรภ์มากกว่า 20 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 28 สัปดาห์ เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 300 บาท
- อายุครรภ์มากกว่า 28 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 32 สัปดาห์ เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 200 บาท
- อายุครรภ์มากกว่า 32 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 40 สัปดาห์ เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 200 บาท
นั่นเท่ากับว่า คุณแม่ต้องเก็บใบเสร็จรับเงินค่าใช้จ่ายบริการทางการแพทย์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการคลอดบุตรเอาไว้ให้ครบ เพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบการยื่นเบิกค่าคลอดบุตรประกันสังคมตามสิทธิของตน
วิธีดูแลตัวเองเมื่อตั้งครรภ์
แม้มีฝากครรภ์กับแพทย์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ว่าที่คุณแม่จำต้องดูแลตัวเองตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด รวมถึงควรพักผ่อนให้เพียงพอในแต่ละวัน เนื่องจากช่วงแรกของการตั้งครรภ์ร่างกายจะมีอาการอ่อนเพลียง่าย นอกจากนี้ควรลดกิจกรรมที่ต้องใช้พลังงานเยอะ และพยายามสร้างความรู้สึกที่ดีให้กับตัวเองผ่านการฟังเพลง อ่านหนังสือเกี่ยวกับเด็ก หรือกิจกรรมเบา ๆ ที่ตนชื่นชอบ
ส่วนอาหารการกินก็ต้องมีการปรับเปลี่ยน จากเดิมที่ทานของหวานหรือของที่มีรสจัด ก็ให้งดเป็นการชั่วคราว แล้วควรเสริมอาหารจำพวกโปรตีน ธาตุเหล็ก และแคลเซียมรวมทั้งกรดโฟลิกให้เพียงพอ ควบคู่กับการทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่อบำรุงทารกในครรภ์ให้แข็งแรงสมบูรณ์ เช่น อกไก่ ปลาทูน่า ไข่ไก่ ไข่เป็ด ผักใบเขียวที่อุดมไปด้วยกากใยอาหารสูง หรือนม เป็นต้น
เมื่อทราบวิธีสังเกตว่าท้องหรือไม่ รวมถึงการดูแลตนเองเบื้องต้นขณะเริ่มตั้งครรภ์กันไป ระหว่างที่รอเจ้าตัวน้อยออกสู่โลกภายนอก เชื่อว่ามีคุณพ่อคุณแม่จำนวนไม่น้อยที่ค่อย ๆ ตระเตรียมของใช้จำเป็นสำหรับเด็กอ่อน ไม่ว่าจะชุดเด็ก ผ้าอ้อม รถเข็น คาร์ซีท ถุงเก็บนมแม่ เครื่องปั๊มนมไฟฟ้า รวมไปถึงประกันสุขภาพสำหรับเด็ก ซึ่งทุกสิ่งล้วนเป็นค่าใช้จ่ายจำเป็นที่ผู้ปกครองต้องเตรียมไว้ให้พร้อม และอาจต้องมีเงินทุนสำรองอีกก้อนเผื่อมีเหตุฉุกเฉินจะได้ดึงออกมาใช้จ่ายได้ทันที ถ้าถามว่าต้องการเงินด่วน ควรเลือกสมัครบัตรอะไรดี ? คำตอบคือ สมัครบัตรกดเงินสด KTC PROUD นอกจากมีวิธีการสมัครแสนสะดวกสบาย เพราะสามารถสมัครผ่านช่องทางออนไลน์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางออกจากที่พัก เมื่อสมัครแล้วสามารถใช้วงเงินจากบัตรฯ ได้จากตู้ ATM ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือเบิกเงินสดง่าย ๆ ผ่านช่องทางแอปพลิเคชัน KTC Mobile บนสมาร์ทโฟน ทั้งมาพร้อมสิทธิประโยชน์ที่น่าสนใจอย่างผ่อนซื้อสินค้า ในอัตราดอกเบี้ยพิเศษ 0% นานสูงสุด 24 เดือน กับร้านค้าที่ร่วมรายการ นอกจากบัตรกดเงินสด KTC PROUD เป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ช่วยให้คุณพ่อคุณแม่วัยทำงานก้าวผ่านวิกฤตทางการเงินที่ไม่ได้วางแผนไปได้อย่างราบรื่น
การเงินฝืดเคือง บัตรกดเงินสด KTC PROUD ช่วยได้
เบิกถอนเงินสด แบ่งผ่อนชำระได้ทุกที่ทุกเวลา