การตั้งครรภ์และการคลอดบุตรเป็นช่วงเวลาสำคัญในชีวิตของคุณพ่อคุณแม่ และก็นำมาซึ่งค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน ซึ่งหากใครมีประกันสังคมก็พอจะช่วยลดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ไปได้บ้าง แต่เชื่อว่ามีคุณพ่อคุณแม่มือใหม่จำนวนไม่น้อยที่มีประกันสังคมแล้วสงสัยว่า ต้องใช้เอกสารเบิกประกันสังคมอะไรบ้างในการเบิกค่าคลอดบุตร ? คลอดบุตรแล้วสามารถเบิกเงินได้เมื่อไหร่ ? กี่วันถึงจะได้รับเงิน ? รวมไปถึงคุณพ่อที่อยู่ในฐานะผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 จะสามารถเบิกค่าคลอดบุตรจากประกันสังคมแทนคุณแม่ได้หรือไม่ ? วันนี้ KTC ได้สรุปข้อมูลสำคัญฉบับอัพเดทในปี 2567 มาไว้ให้แล้ว
สิทธิประโยชน์ ค่าคลอดบุตรประกันสังคมที่ผู้ประกันต้องทราบ
ผู้ประกันตนสามารถเบิกค่าคลอดบุตรจากประกันสังคมได้ กรณีสามีและภรรยาเป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ให้ใช้สิทธิ์ในการเบิกค่าคลอดบุตรฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่จำกัดจำนวนบุตร/ครั้ง โดยมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังนี้
- จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือน ก่อนเดือนคลอดบุตร
- จ่ายค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายกรณีคลอดบุตรให้แก่ผู้ประกันตนในอัตรา 15,000 บาทต่อการคลอดบุตรหนึ่งครั้ง
- สำหรับผู้ประกันตนหญิงมีสิทธิ์รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วัน สำหรับการใช้สิทธิ์บุตรคนที่ 3 จะไม่ได้รับสิทธิ์เงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วัน
- ค่าตรวจและรับฝากครรภ์ เท่าที่จ่ายจริง จำนวน 5 ครั้ง ไม่เกิน 1,500 บาท ตามหลักเกณฑ์และอัตราที่คณะกรรมการการแพทย์กำหนด (มีผลตั้งแต่ 1 ม.ค. 64) ดังนี้
- กรณีอายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 500 บาท
- กรณีอายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 300 บาท
- กรณีอายุครรภ์มากกว่า 20 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 28 สัปดาห์ จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 300 บาท
- กรณีอายุครรภ์มากกว่า 28 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 32 สัปดาห์ จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 200 บาท
- กรณีอายุครรภ์มากกว่า 32 สัปดาห์ขึ้นไป จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 200 บาท
หมายเหตุ* ค่าจ้าง หมายถึง ค่าจ้างที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบที่นำส่งสำนักงาน ขั้นต่ำ 1,650 บาท และไม่เกิน 15,000 บาท
เบิกค่าคลอดประกันสังคม ใช้เอกสารอะไรบ้าง ?
สำหรับผู้ประกันตนที่ต้องการใช้สิทธิ์เบิกค่าคลอดบุตร ประกันสังคมเปิดให้คุณยื่นขอรับสิทธิ์ได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขาที่สะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข) ในวัน-เวลาราชการ โดยผู้ประกันจะไปดำเนินการด้วยตนเองหรือให้ผู้อื่นไปยื่นแทนก็ได้ ขอเพียงเอกสารที่ยื่นมีความครบถ้วนถูกต้อง
นอกจากนี้ยังสามารถยื่นขอรับสิทธิ์ทางไปรษณีย์ก็ได้ ด้วยการส่งเอกสารไปยังที่อยู่ของสำนักงานประกันสังคมใกล้บ้าน และจ่าหน้าซองว่า "ฝ่ายสิทธิประโยชน์" หรือสามารถยื่นผ่านเว็บไซต์ประกันสังคม http://www.sso.go.th แล้วเลือก “ระบบ e-Self Service” ก็ได้เช่นกัน
สำหรับเอกสารที่ต้องใช้ มีดังต่อไปนี้
- แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน สปส. 2-01 ผู้ประกันตนกรอกข้อความครบถ้วน พร้อมลงลายมือชื่อผู้ยื่นคำขอ
- สำเนาสูติบัตรบุตร 1 ชุด (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย)
- สำหรับผู้ประกันตนชายให้แนบสำเนาทะเบียนสมรส กรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรสให้แนบหนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรส
- สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอมีธนาคาร ดังนี้
- พร้อมเพย์ที่ลงทะเบียนด้วยเลขบัตรประจำตัวประชาชน
- ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
- ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)
สำหรับการยื่นเอกสาร หากผู้ประกันตนต้องการเบิกทั้งเงินค่าคลอดบุตรและเงินสงเคราะห์บุตร แนะนำให้เตรียมเอกสารในข้างต้น 2 ชุด แต่ถ้าต้องการรับสิทธิ์แค่อย่างใดอย่างหนึ่ง ยื่นเอกสารแค่ชุดเดียวก็พอ สุดท้ายก็ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของผู้ประกันตนว่าต้องการยื่นขอรับสิทธิประโยชน์ทั้งหมดในครั้งเดียวหรือไม่
เบิกค่าคลอดประกันสังคม ทำได้ทันทีตั้งแต่วันคลอดบุตร หากส่งเอกสารครบถ้วน เงินจะโอนเข้าบัญชีภายใน 5 - 7 วันทำการ
เบิกค่าคลอดประกันสังคม ภายในกี่วัน กี่วันได้เงิน ?
การเบิกค่าคลอดประกันสังคม สามารถทำได้ทันทีนับตั้งแต่วันคลอดบุตร
หากส่งเอกสารครบถ้วนและได้รับการอนุมัติแล้ว เงินจะโอนเข้าบัญชีผู้ประกันตนภายใน 5 - 7 วันทำการ โดยนับตั้งแต่วันที่ยื่นเอกสารเสร็จสมบูรณ์ ทั้งนี้หากครบกำหนดแล้วยังไม่ได้รับเงิน สามารถติดต่อสอบถามได้ที่สำนักงานประกันสังคมในสาขาที่สะดวก หรือโทร 1506
ทั้งนี้ หากผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนไม่เห็นด้วยกับการสั่งจ่ายประโยชน์ทดแทน สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง
ผู้ประกันตนชาย (สามี) เบิกประกันสังคม คลอดบุตรได้ไหม ?
หากฝ่ายชาย (สามี) มีประกันสังคม มาตรา 33
และมาตรา 39 ปัจจุบันสำนักงานประกันสังคมเปิดโอกาสให้ผู้ประกันตนชาย “สามารถดำเนินการเบิกค่าคลอดบุตรแทนภรรยาได้” โดยเงินค่าคลอดบุตรที่เบิกได้ตามสิทธิ์ประกันสังคม มีรายละเอียดดังนี้
(1) ค่าคลอดบุตรแบบเหมาจ่าย จำนวน 15,000 บาท/ครั้ง (ไม่จำกัดจำนวนครั้ง)
(2) ค่าตรวจและค่าฝากครรภ์ สามารถเบิกเท่าที่จ่ายจริงจำนวน 5 ครั้ง ไม่เกิน 1,500 บาท ดังนี้
- อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 500 บาท
- อายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 300 บาท
- อายุครรภ์มากกว่า 20 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 28 สัปดาห์ เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 300 บาท
- อายุครรภ์มากกว่า 28 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 32 สัปดาห์ เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 200 บาท
- อายุครรภ์มากกว่า 32 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 40 สัปดาห์ เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 200 บาท
(3) เงินสงเคราะห์บุตร เดือนละ 800 บาท โดยจะได้รับตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จำนวนคราวละไม่เกิน 3 คน
เบิกค่าคลอดบุตร ผู้ประกันตนฝ่ายชาย มีหลักเกณฑ์ยังไง ?
ผู้ประกันตนชายที่มีความประสงค์ใช้สิทธิ์เงินคลอดบุตรและเงินสงเคราะห์บุตรจากสำนักงานประกันสังคมแทนภรรยา ต้องมีคุณสมบัติเข้าหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
- ใช้สิทธิ์ภรรยาที่จดทะเบียนสมรส และมีบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย
- เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และ 39 เท่านั้น
- ส่งเงินสมทบเข้ากองทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนที่ภรรยาคลอดบุตร
ค่าคลอดบุตร สามี ภรรยา ไม่สามารถใช้สิทธิ์เบิกพร้อมกันได้ เบิกได้เพียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น
สามี ภรรยาใช้สิทธิ์เบิกค่าคลอดบุตร พร้อมกันได้ไหม ?
ค่าคลอดบุตร สามี ภรรยาที่เป็นผู้ประกันตนทั้งคู่จะไม่สามารถใช้สิทธิ์เบิกพร้อมกันได้ และ สามารถเบิกได้เพียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้นด้วย ดังนั้น คู่สมรสจึงควรพิจารณาเลือกใช้สิทธิ์ของฝ่ายที่จะได้รับประโยชน์สูงสุด ซึ่งโดยทั่วไปมักจะเป็นฝ่ายหญิง เนื่องจากฝ่ายหญิงจะได้รับสิทธิ์ที่ครอบคลุมมากกว่า เช่น ได้รับเงินสงเคราะห์หยุดงานเพื่อการคลอดบุตรที่จ่ายในอัตรา 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย เป็นระยะเวลา 90 วัน ซึ่งประกันสังคมจะให้สิทธิ์เฉพาะฝ่ายหญิงเท่านั้น
ข้อมูลอ้างอิงจาก : https://www.sso.go.th/wpr/main/service/กองทุนประกันสังคม_detail_detail_1_125_691/233_233
สำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ การเตรียมพร้อมด้านการเงินเป็นสิ่งสำคัญ แม้ว่าประกันสังคมจะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายได้ส่วนหนึ่ง แต่อาจไม่เพียงพอสำหรับทุกครอบครัว โดยเฉพาะผู้ที่ไม่มีประกันสังคมหรือมีความกังวลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่จำเป็นสำหรับลูกน้อย
บัตรเครดิต KTC พร้อมเป็นตัวช่วยสำคัญที่ช่วยให้คุณพ่อคุณแม่จัดการกับค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นค่าคลอดบุตร ค่าอุปกรณ์จำเป็นสำหรับบุตร หรือค่ารักษาพยาบาลฉุกเฉิน การมีบัตรเครดิต KTC ติดไว้จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่บริหารจัดการค่าใช้จ่ายได้ตามที่วางแผนไว้ โดยไม่ต้องกังวลเมื่อเจอสถานการณ์ไม่คาดคิด ดังนั้น เพื่อช่วยให้การดูแลลูกน้อยของคุณเป็นไปอย่างราบรื่นมากขึ้น สามารถสมัครบัตรเครดิต KTC ผ่านทางออนไลน์ไว้เพื่อความอุ่นใจได้ง่ายๆ ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง
ใช้จ่าย คุ้มค่า นึกถึงบัตรเครดิต KTC