เมื่อความรักมาถึงทางตันก็มีเหตุให้ต้องหย่าร้างเพื่อแยกย้ายไปใช้ชีวิต แล้วผลทางกฎหมายจะเป็นอย่างไร ฟ้องหย่า ใช้เงินเท่าไหร่ ยุ่งยากไหม ในบทความนี้เราจะมาเจาะลึกถึงเหตุผลในการฟ้องหย่า ค่าใช้จ่าย ขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติ รวมถึงสิทธิ์ที่คุณสามารถเรียกร้องได้ในกระบวนการฟ้องหย่า
เหตุที่จะฟ้องหย่าได้มีอะไรบ้าง?
ตามความเข้าใจหลักๆ การฟ้องหย่าอาจมาจากเหตุผลเรื่องการนอกใจ การทำร้ายร่างกาย การแยกกันอยู่ ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 ได้ระบุเหตุฟ้องหย่าไว้ด้วยกัน 10 ประการ ดังต่อไปนี้
1.สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามี เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
2.สามีหรือภริยาประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติชั่วนั้นจะเป็นความผิดอาญาหรือไม่ ถ้าเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่ง
- ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง
- ได้รับความดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่คงเป็นสามีหรือภริยาของฝ่ายที่ประพฤติชั่วอยู่ต่อไป หรือ
- ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอาสภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ
อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
3.สามีหรือภริยาทำร้าย หรือทรมานร่างกายหรือจิตใจ หรือหมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ ถ้าเป็นการร้ายแรง อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
4.สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
- สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก และได้ถูกจำคุกเกิน 1 ปี ในความผิดที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้มีส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิดหรือยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดนั้นด้วย และการเป็นสามีภริยากันต่อไปจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
- สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกิน 3 ปี หรือแยกกันอยู่ตามคำสั่งของศาลเป็นเวลาเกินสามปี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
5.สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ หรือไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็นเวลาเกิน 3 ปีโดยไม่มีใครทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
6.สามีหรือภริยาไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควรหรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ ถ้าการกระทำนั้นถึงขนาดที่อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอาสภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
7.สามีหรือภริยาวิกลจริตตลอดมาเกิน 3 ปี และความวิกลจริตนั้นมีลักษณะยากจะหายได้ กับทั้งความวิกลจริตถึงขนาดที่จะทนอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาต่อไปไม่ได้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
8.สามีหรือภริยาผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความประพฤติ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
9.สามีหรือภริยาเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงอันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่ายหนึ่งและโรคมีลักษณะเรื้อรังไม่มีทางที่จะหายได้ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
10.สามีหรือภริยามีสภาพแห่งกายทำให้สามีหรือภริยานั้นไม่อาจร่วมประเวณีได้ตลอดกาล อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
การฟ้องหย่าเป็นเรื่องทางกฎหมายที่มีความซับซ้อน จึงควรปรึกษาทนายความหรือผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมายครอบครัวเพื่อให้คำแนะนำที่เหมาะสมกับสถานการณ์เฉพาะ
ฟ้องหย่าเสียค่าขึ้นศาลเท่าไหร่?
การฟ้องหย่าในไทยมีค่าใช้จ่ายหลัก ๆ ดังนี้
- ค่าขึ้นศาล ประมาณ 200 บาท
- ค่าส่งหมายคำคู่ความ ประมาณ 500-700 บาท
- ค่าธรรมเนียมศาล หากมีการฟ้องเรื่องแบ่งทรัพย์สินหรือค่าเสียหาย ค่าธรรมเนียมจะเป็นเปอร์เซ็นต์ของมูลค่าทรัพย์สินที่ฟ้อง (ประมาณ 2%)
- ค่าทนายความ หากคุณจ้างทนายความ ค่าใช้จ่ายจะแตกต่างกันตามความยากง่ายของคดี โดยทั่วไปประมาณ 20,000 - 50,000 บาท
ค่าใช้จ่ายทั้งหมดอาจอยู่ในช่วงหลักพันถึงหลักหมื่นบาท ขึ้นอยู่กับรายละเอียดของคดี
การฟ้องหย่ามีสิทธิ์เรียกร้องอะไรได้บ้าง?
การฟ้องหย่าไม่ได้หมายความว่าคุณจะเพียงแค่แยกทางกัน เรายังสามารถเรียกร้องสิทธิประโยชน์ต่างๆ ประกอบด้วย
- สิทธิ์ในการแบ่งสินสมรส เมื่อหย่ากันต้องทำการแบ่งสินสมรสออกมาให้เป็นส่วนเท่าๆ กัน ดังนั้นจึงสามารถเรียกร้องแบ่งสินสมรสที่มีร่วมกัน หรือฟ้องร้องหากมีฝ่ายใดนำทรัพย์สินไปขายโดยไม่ได้รับความยินยอม
- สิทธิ์ในค่าเลี้ยงชีพ หากการหย่ามีสาเหตุจากความผิดของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และทำให้ขาดรายได้ ฝ่ายที่ทำผิดต้องรับผิดชอบในการจ่ายค่าเลี้ยงชีพตามความสามารถของทั้งสองฝ่ายและฐานะของผู้รับ
- สิทธิ์ในค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร หากมีลูก ผู้ฟ้องหย่าสามารถเรียกร้องค่าเลี้ยงดูบุตร เช่น ค่าอาหาร เสื้อผ้า การศึกษา ค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ จนกว่าลูกจะอายุ 20 ปี หรือบรรลุนิติภาวะ
- สิทธิ์ในค่าทดแทนจากการมีชู้ หากการหย่าเกิดจากการมีชู้ ทั้งคู่สมรสหรือชู้สามารถถูกฟ้องเรียกค่าทดแทนได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสถานะการหย่าและการมีชู้ในแต่ละกรณี
ฟ้องหย่าใช้เวลานานไหม?
การฟ้องหย่าอาจใช้เวลาต่างกันตามลักษณะคดี หากทั้งสองฝ่ายตกลงกันได้ทุกอย่าง เช่น การแบ่งทรัพย์สินหรือการดูแลบุตร การฟ้องหย่าอาจใช้เวลาแค่ 1-3 เดือน แต่หากมีข้อพิพาทหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ยินยอม อาจใช้เวลา 6 เดือนถึง 1 ปี หรือมากกว่านั้น
ฟ้องหย่าต้องใช้เอกสารหลักฐานอะไรบ้าง?
หลักฐานที่ต้องใช้ในการฟ้องหย่ามีดังนี้
- ทะเบียนสมรส
- บัตรประจำตัวประชาชนของสามีและภรรยา
- ทะเบียนบ้านที่สามีและภรรยา รวมถึงบุตรพักอาศัยอยู่ด้วยกัน
- เอกสารเกี่ยวกับบุตร เช่น สูติบัตร หรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง
- หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเหตุที่จะฟ้องหย่า โดยจะต้องเป็นไปตามมาตรา 1516
- หลักฐานเกี่ยวกับทรัพย์สินสมรส เช่น โฉนดที่ดิน สมุดบัญชีเงินฝาก เป็นต้น
- หลักฐานเกี่ยวกับบุตรผู้เยาว์
- บันทึกข้อตกลงการหย่า (ถ้ามี)
การฟ้องหย่ามีขั้นตอนอะไรบ้าง?
การหย่าตามกฎหมาย ทำได้ 2 แบบ คือ การจดทะเบียนหย่า เป็นการหย่าโดยความยินยอมของทั้ง 2 ฝ่าย (มาตรา 1515) โดยต้องไปเป็นหนังสือลงลายมือชื่อและมีพยาน ที่สำนักทะเบียน สำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอ
อีกกรณีคือ การฟ้องหย่า โดยขอให้ศาลพิพากษาให้หย่า ในกรณีที่ตกลงกันไม่ได้ โดยขั้นตอนในการฟ้องหย่ามีดังนี้
- เตรียมเอกสาร รวบรวมเอกสารสำคัญเช่น ทะเบียนสมรส บัตรประชาชน หลักฐานการกระทำผิด
- ยื่นฟ้องต่อศาล ยื่นฟ้องได้ที่ศาลในพื้นที่ที่คุณและคู่สมรสอาศัยอยู่
- การพิจารณาคดี ศาลจะนัดพิจารณาคดีครั้งแรกโดยใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือน
- การพิจารณาแยกทรัพย์สิน หากมีการฟ้องเรื่องการแบ่งทรัพย์สิน ศาลจะพิจารณาอย่างเป็นธรรม
- คำพิพากษา หลังจากพิจารณาแล้ว ศาลจะมีคำพิพากษาให้หย่า
ฟ้องหย่าออนไลน์ ได้ไหม ?
สำหรับการ ฟ้องหย่าออนไลน์ ปัจจุบันยังไม่มีบริการ แต่งานออนไลน์ในหมวดการหย่า ยังสามารถทำล่วงหน้าได้ เช่น การโหลดใบคำร้อง การยื่นคำฟ้องอิเล็กทรอนิกส์ การจองคิวเพื่อขอจดทะเบียนหย่าล่วงหน้า
การฟ้องหย่าเป็นกระบวนการที่สำคัญและควรทำด้วยความระมัดระวัง การเตรียมตัวให้พร้อม และรู้จักสิทธิ์ที่สามารถเรียกร้องได้จะช่วยให้กระบวนการเป็นไปได้อย่างราบรื่น หากไม่มั่นใจในกระบวนการต่างๆ การปรึกษาทนายความที่เชี่ยวชาญจะช่วยให้การฟ้องหย่ามีความเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น
อีกทั้งการฟ้องหย่ามีเรื่องค่าใช้จ่าย ทั้ง ค่าขึ้นศาล ค่าทนายความ ฯลฯ สำหรับสมาชิกบัตรเครดิต KTC ต้องการใช้จ่ายฉุกเฉิน เพื่อความสะดวกและคุ้มค่าใช้บัตรเครดิต KTC ได้ทันที ไม่ว่าความจำเป็นต้องใช้เงินสดก็สามารถโอนเข้าบัญชีได้โดยตรงผ่านแอปพลิเคชัน KTC Mobile หรือเปลี่ยนยอดชำระเต็มจำนวน เป็นรายการผ่อน นาน 3 - 10 เดือน ด้วยอัตราดอกเบี้ยพิเศษ 0.74% ต่อเดือน ได้ง่ายๆ เช่นกัน และการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต KTC ทุก 25 บาท รับ 1 คะแนน KTC FOREVER
สามารถนำไปแลกส่วนลด / แลกสินค้า / แลกคูปอง / แลกจ่ายบิล / แลกเพื่อบริจาค / แลกแทนเงินสดและสิทธิพิเศษมากมาย สมัครบัตรเครดิต KTC สมัครออนไลน์ได้ง่ายๆ ตอนนี้ ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง
ใช้จ่าย คุ้มค่า นึกถึงบัตรเครดิต KTC