ในยุคที่ค่าไฟแพงแบบนี้ หลายคนมองหาทางเลือกที่จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในบ้าน ซึ่งทางเลือกที่น่าสนใจก็คือ การขอติดตั้ง Solar Rooftop เพื่อรับพลังงานจากแสงอาทิตย์ และนำมาผลิตเป็นกระแสไฟฟ้า แต่ก่อนที่จะตัดสินใจลงทุนกับสิ่งนี้ จำเป็นต้องเรียนรู้กระบวนการก่อนการติดตั้ง solar cell รวมถึงวิธีการดูแลรักษาหลังการติดตั้งด้วย เพื่อให้ระบบการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และสามารถใช้ไปได้นานๆ
ทำความรู้จัก Solar Rooftop ก่อนคิดติดตั้ง
Solar Rooftop จะถูกติดตั้งอยู่บนหลังคาบ้านหรืออาคารสำนักงาน เพื่อรับแสงแดดจากดวงอาทิตย์ และเปลี่ยนรูปแบบของพลังงานแสงให้เป็นพลังงานไฟฟ้า แน่นอนว่าการขอติดตั้ง Solar Rooftop จะช่วยทำให้เราประหยัดค่าไฟที่ต้องจ่ายให้แก่การไฟฟ้าไปได้อย่างมาก และยังเป็นการช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศเนื่องจากการกระบวนการผลิตไฟฟ้าได้ด้วย เพียงแต่จะต้องมีกระบวนการในการติดตั้งที่ถูกต้อง เข้าใจข้อจำกัดและทางเลือกทั้งหมดที่มีอยู่ รวมถึงรู้วิธีการเดินเรื่อง Solar cell ขออนุญาตอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
แผงโซลาร์เซลล์
ตรวจสอบความเหมาะสมของหลังคาทุกครั้ง
ขั้นตอนแรกที่ต้องทำ และเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดก่อนขอติดตั้ง Solar Rooftop ก็คือการต้องตรวจสอบความเหมาะสมของหลังคาบ้าน ว่าสามารถติดตั้งแผง Solar cell ได้หรือไม่ โดยเฉพาะการตรวจความแข็งแรงของหลังคา ที่ต้องมีความแข็งแรงมากเพียงพอในการรองรับน้ำหนัก โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 50 กิโลกรัมต่อตารางเมตร
จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้วิศวกรเข้ามาตรวจสอบความพร้อมเหล่านี้ และประเมินหน้างานว่าหลังคาควรได้รับการซ่อมแซมหรือปรับปรุงก่อนขั้นตอนการติดตั้ง Solar rooftop หรือไม่
3 สิ่งต้องประเมินก่อนขอติดตั้ง Solar Rooftop
การขอติดตั้ง Solar Rooftop ยังจำเป็นจะต้องประเมินถึงพื้นที่ที่สามารถติดตั้งได้ และคำนวณความต้องการใช้พลังงานให้สอดคล้องกัน ดังนี้
1. ประเมินตำแหน่งการติดตั้ง
ตำแหน่งติดตั้ง Solar Rooftop จะต้องเป็นพื้นที่ว่างที่สามารถรับแสงอาทิตย์ได้โดยตรง และหลีกเลี่ยงพื้นที่อับแสงอาทิตย์ที่อาจเกิดจากการบดบังของเงาต้นไม้หรืออาคาร ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าลดลง โดยส่วนใหญ่แล้ว ทิศทางในการติดตั้ง solar cell จึงควรหันไปในทิศใต้ เพื่อให้สามารถรับแสงอาทิตย์ได้ทั้งวัน ตั้งแต่ตอนเช้าที่พระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก จนถึงตอนเย็นที่ตกทางทิศตะวันตก
2. ประเมินองศาของหลังคา
ความลาดชันของหลังคาก็เป็นอีกสิ่งที่จำเป็นต้องประเมิน เพราะมุมองศาที่จะทำให้รับแสงแดดได้ดีที่สุด ควรอยู่ระหว่าง 15-40 องศา ซึ่งจะทำให้แผง Solar cell ผลิตกระแสไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
3. ประเมินความต้องการการใช้พลังงานไฟฟ้าในบ้าน
ส่วนสุดท้าย คือ การคำนวณความต้องการการใช้พลังงานไฟฟ้าในแต่ละวัน ว่าต้องการพลังงานไฟฟ้าอยู่ที่เท่าไหร่ เพื่อที่จะนำมาใช้ในการกำหนดขนาดของระบบให้เหมาะสม ไม่ให้น้อยจนไม่เพียงพอ หรือมากจนเกินความจำเป็น
โดยวิธีการคำนวณความต้องการของไฟฟ้า คิดได้จากการรวมพลังงานการใช้ไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าหลักๆ ภายในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องปรับอากาศ, ตู้เย็น, เครื่องทำน้ำอุ่น โดยนำกำลังไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิดมาคูณกับระยะเวลาในการใช้งาน และนำผลรวมทั้งหมดมาคำนวณเป็นพลังไฟฟ้ารวมที่จำเป็นต้องใช้ในแต่ละวัน จากนั้น จึงนำไปเลือกขนาดของแผง Solar cell เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการการใช้ไฟฟ้ามากที่สุด
สอบถามและขอใบเสนอราคาจากบริษัทติดตั้ง
ขั้นตอนต่อไปในการขอติดตั้ง Solar Rooftop คือ การติดต่อกับบริษัทติดตั้ง เพื่อสอบถามราคาและขอใบเสนอ ภายใต้เงื่อนไขต่างๆ ที่เราคำนวณไว้ข้างต้น โดยสิ่งที่ควรพิจารณาในการเลือกบริษัทที่ติดตั้ง Solar Rooftop มีดังต่อไปนี้
ติดตั้งหลังคาโซลาร์เซลล์
1. เลือกบริษัทที่ให้บริการครบวงจร
ตั้งแต่การสำรวจพื้นที่หน้างานก่อนเริ่มติดตั้ง ไปจนถึงการตรวจสอบและซ่อมบำรุง เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นระหว่างกระบวนการ
2. เลือกบริษัทที่เชี่ยวชาญการติดตั้ง Solar Rooftop
เพื่อให้มั่นใจได้ว่าการติดตั้งจะมีประสิทธิภาพ คงทน และเป็นไปตามมาตรฐานของการไฟฟ้า
3. เลือกบริษัทที่มีการรับประกันคุณภาพสินค้า
เนื่องจากระบบ Solar cell มีโอกาสเสียหายได้ หากมีขั้นตอนการติดตั้ง Solar rooftop หรือใช้งานอย่างไม่เหมาะสม
ติดตั้ง Solar rooftop ต้องขออนุญาตไหม เตรียมเอกสารอะไรบ้าง
ขั้นตอนสุดท้าย ก็คือ การเตรียมเอกสารเพื่อขออนุญาตหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะต้องมีการติดต่อขออนุญาตกับ 3 หน่วยงาน ได้แก่
1. ที่ทำการท้องถิ่น หรือเขต
เนื่องจากการขอติดตั้ง Solar Rooftop จะต้องมีการประเมินพื้นที่ตามหลักของวิศวกรโยธา และว่าเข้าข่ายการดัดแปลงอาคารหรือไม่ ซึ่งกระบวนการดังกล่าวนี้ จำเป็นจะต้องได้รับการอนุญาตจากที่ทำการเขต และมีการเตรียมเอกสารต่างกัน
- กรณีไม่เข้าข่ายดัดแปลงอาคาร - ต้องเตรียมเอกสารแบบแปลนแผนผังและโครงสร้างหลังคา และผลตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงที่รับรองโดยวิศวกรโยธา
- กรณีเข้าข่ายดัดแปลงอาคาร – ต้องเตรียมใบอนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลงอาคาร หรือรื้อถอนอาคาร (อ.1)
2. คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ กกพ.
การขออนุญาตติดตั้ง solar cell ที่มีขนาดกำลังการผลิต (kWp) ต่ำกว่า 1000 kVA จะต้องยื่นแบบแจ้งการประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาตต่อสำนักงาน กกพ. ซึ่งสามารถยื่นแบบได้ทางออนไลน์ โดยใช้เอกสารเป็นใบอนุญาตอ.1 หรือหนังสือคำร้องแจ้งติดตั้งโซลาร์เซลล์
3. การไฟฟ้านครหลวงหรือการไฟฟ้าภูมิภาค
ขึ้นอยู่กับว่าพื้นที่อาศัยอยู่ในความรับผิดชอบของส่วนใด ก็ให้ยื่นกับการไฟฟ้านั้นๆ เพื่อที่จะเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้าอย่างถูกต้อง โดยมีเอกสารจำเป็นที่จะต้องเตรียมสำหรับการขอติดตั้ง Solar Rooftop ได้แก่ Single Line Diagram ที่วิศวกรไฟฟ้าเซ็นรับรอง และใบแจ้งการประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาตต่อสำนักงาน กกพ.
ติดตั้งกับร้านค้าที่มีโปรโมชั่นบัตรเครดิต KTC สะดวกกว่า
เห็นได้ชัดว่า การขอติดตั้งเองค่อนข้างยุ่งยาก ดังนั้น แนวทางการติดตั้งกับร้านค้าที่มีโปรโมชั่นกับบัตรเครดิต KTC จะช่วยอำนวยความสะดวกได้มากกว่า เพราะทางร้านค้าจะดูแลให้ในทุกขั้นตอน เพียงแค่เริ่มต้นจากการจ่ายค่าสำรวจให้แก่ร้านค้าที่ดำเนินการ และลงนามเอกสารต่างๆ ทางร้านค้าก็จะช่วยดำเนินการต่อให้แบบครบวงจร
สำหรับสมาชิกบัตรเครดิต KTC สามารถเพิ่มความคุ้มค่าได้มากขึ้น เมื่อติดตั้ง Solar Roof กับร้านค้าที่ร่วมรายการ และรับสิทธิได้ถึง 3 คุ้ม คุ้มที่ 1 ผ่อน 0% สูงสุด 20 เดือน, คุ้มที่ 2 รับเครดิตเงินคืนสูงสุด 35,000 บาท และคุ้มที่ 3 แลกรับเครดิตเงินคืน 13% ถ้าอยากติดตั้ง Solar Roof ใช้บัตรเครดิต KTC คุ้มกว่าแน่นอน