ด้วยสถานการณ์ค่าไฟที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง การมองหาวิธีประหยัดค่าไฟเพื่อลดค่าใช้จ่ายในบ้านจึงกลายเป็นเรื่องที่หลายครอบครัวให้ความสนใจ และหนึ่งในวิธีช่วยประหยัดค่าไฟในแต่ละเดือนได้ คือ การใช้พลังงานทดแทน โซล่าเซลล์ ติดตั้ง Solar Rooftop หากคุณกำลังพิจารณา สนใจ Solar Rooftop แต่ยังมีความกังวลและสงสัยมากมายเกี่ยวกับสิ่งนี้ เราจะช่วยให้คุณเข้าใจและตัดสินใจได้อย่างถูกต้องมากขึ้น รวมไปถึงวิธีขอติดตั้ง Solar Rooftop การไฟฟ้าว่าต้องทำอย่างไร รวมไปถึงข้อมูลสำคัญต่างๆ ก่อนที่คุณจะเข้าสู่โลกของพลังงานทดแทนอย่างเต็มตัว เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนได้ระยะยาว
Solar Rooftop คืออะไร?
Solar Rooftop
Solar Rooftop คือแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านหรืออาคาร ซึ่งติดตั้งเพื่อผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แล้วนำมาใช้งาน อีกทั้งยังสามารถขายคืนให้กับการไฟฟ้าได้ด้วย ซึ่งการทำงานของ Solar Rooftop คือ แผงโซลาร์เซลล์รับแสงอาทิตย์ และแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง จากนั้นเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า (Inverter) แปลงพลังงานไฟฟ้ากระแสตรงให้เป็นกระแสสลับ เพื่อสามารถใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไปได้ และยังมีอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอีก ขึ้นอยู่กับว่าคุณเลือกติดตั้งระบบ Solar Rooftop ประเภทไหน ได้ใช้งานร่วมกันหรือไม่ เช่น แบตเตอรี่และตัวควบคุม (Battery Energy Storage System) เพาเวอร์ออฟติไมเซอร์ (Power Optimizer) แบ็คอัพบ๊อกซ์ (Backup Box) เป็นต้น
Solar Rooftop มีกี่ประเภท?
Solar Rooftop บนหลังคา
Solar Rooftop แบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักๆ ดังนี้
1. On-grid Solar Rooftop
เหมาะสำหรับบ้านที่ใช้ไฟฟ้าในช่วงเวลากลางวัน
ระบบโซลาร์ ใช้ทั้งไฟของการไฟฟ้าโดยตรง และไฟฟ้าที่ผลิตจากแผงโซลาร์เซลล์ โดยไฟฟ้าที่ผลิตจากแผงโซลาร์เซลล์ถูกนำไปใช้ก่อน ที่เหลือสามารถขายคืนให้กับการไฟฟ้าได้ ซึ่งกระบวนการทำงานของ On-grid Solar Rooftop หลักๆ คือ แผงโซลาร์เซลล์จะเป็นตัวรับพลังงานจากแสงอาทิตย์ แล้วแปลงพลังงานความเข้มแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง โดยมีอุปกรณ์อินเวอร์เตอร์ (Inverter) คอยทำหน้าที่แปลงพลังงานไฟฟ้ากระแสตรงเป็นกระแสสลับ เพื่อใช้งานกับเครื่องไฟฟ้านั่นเอง
ทั้งนี้ On-grid Solar Rooftop จะผลิตไฟฟ้าแล้วใช้เลย เนื่องจากไม่มีแบตเตอรี่ และตัวควบคุม (Battery Energy Storage System) ช่วยบริหารจัดการพลังงานและกักเก็บพลังงานไว้เพื่อปล่อยออกมาใช้ในเวลาที่กำหนด การติดตั้งโซลาร์ประเภท On-grid Solar Rooftop ได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะค่าใช้จ่ายถูกกว่าระบบ Hybrid Solar Rooftop เนื่องจากไม่มีแบตเตอรี่
2. Off-grid Solar Rooftop
เหมาะสำหรับสถานที่ที่ไฟจากการไฟฟ้าเข้าไม่ถึง พื้นที่ห่างไกล เช่น บนดอย
เป็นระบบที่ทำงานแบบอิสระ ไม่เชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้า โดยไฟฟ้าที่ผลิตจากแผงโซลาร์เซลล์จะถูกเก็บไว้ในแบตเตอรี่เพื่อใช้ในเวลากลางคืนหรือในช่วงเวลาที่แดดร่มลมตกซึ่งการติดตั้ง Off-grid Solar Rooftop สามารถติดตั้งได้เลย ไม่ต้องขออนุญาตจากการไฟฟ้าก็ได้
3. Hybrid Solar Rooftop
เหมาะสำหรับบ้านหรืออาคารที่ต้องใช้ไฟฟ้าสูง เช่น บ้านที่มีเครื่องใช้ไฟฟ้าจำนวนมาก หรืออาคารสำนักงาน รวมถึงบ้านที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกลจากระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้า
เป็นระบบที่ผสมผสานระหว่าง On-grid และ Off-grid ระบบนี้สามารถเชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้าได้ และยังสามารถเก็บสะสมพลังงานไฟฟ้าไว้ในแบตเตอรี่ได้ด้วยเช่นกัน ทำให้สามารถใช้ไฟได้ทั้งกลางวันและกลางคืน รวมถึงตอนไฟดับ ไฟตก
Solar Rooftop กับ Solar Cell ต่างกันอย่างไร ?
- Solar Rooftop คือ ระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา โดยใช้ Solar Cell เป็นตัวแปลงพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นไฟฟ้า ซึ่งช่วยให้เจ้าของบ้านหรือธุรกิจสามารถใช้พลังงานได้อย่างคุ้มค่าและยั่งยืน
- Solar Cell หรือแผงโซลาร์เซลล์ คืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าโดยตรง สามารถนำไปติดตั้งได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นบนหลังคา (Solar Rooftop) บนพื้นดิน (Solar Farm) หรือแม้แต่บนผิวน้ำในบางพื้นที่
ข้อดีของ Solar Roof ที่ช่วยลดค่าไฟบ้านคุณได้มากกว่าที่คิด
- ช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าในระยะยาว
- ไฟฟ้าที่ผลิตจากแผงโซลาร์เซลล์สามารถขายคืนให้กับการไฟฟ้าได้
- ลดการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิง
- เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพราะพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานสะอาด ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ
- ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ช่วยลดภาวะโลกร้อนได้
- ช่วยลดความเสี่ยงในการขาดไฟฟ้า ในกรณีที่ระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้าขัดข้อง (ยกเว้นระบบ On-grid)
- ช่วยสร้างความมั่นคงในระบบไฟฟ้า ช่วยลดการพึ่งพาพลังงานจากเชื้อเพลิง
- เพิ่มมูลค่าให้กับอสังหาริมทรัพย์ เพราะบ้านหรืออาคารที่ติดตั้ง Solar Rooftop มักมีมูลค่าสูงขึ้นในตลาดอสังหาริมทรัพย์
- ลดการพึ่งพาพลังงานจากภาครัฐ สามารถใช้พลังงานได้อย่างอิสระ ลดความเสี่ยงจากค่าไฟที่เพิ่มขึ้นในอนาคต
ติดตั้ง Solar Rooftop ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย
Solar Rooftop ประหยัดไฟได้เท่าไหร่?
ปริมาณไฟฟ้าที่ประหยัดได้จากการติดตั้ง Solar Rooftop นั้น ขึ้นอยู่กับขนาดของแผงโซลาร์เซลล์ ประเภทของระบบ และปริมาณการใช้ไฟฟ้า โดยทั่วไปแล้วสามารถประหยัดค่าไฟได้ประมาณ 30 - 60% โดยแผงโซลาร์เซลล์ขนาด 1 กิโลวัตต์ จะช่วยเราประหยัดค่าไฟได้ประมาณ 500 - 1,000 บาทต่อเดือน
ยกตัวอย่างเช่น หากบ้านของคุณมีความต้องการใช้ไฟฟ้า 500 หน่วยต่อเดือน และติดตั้ง Solar Rooftop ขนาด 3 กิโลวัตต์ จะสามารถผลิตไฟฟ้าได้ประมาณ 3,000 หน่วยต่อปี ส่งผลให้สามารถประหยัดค่าไฟได้ประมาณ 1,500 – 3,000 บาทต่อเดือน
อย่างไรก็ตาม ปริมาณไฟฟ้าที่ประหยัดได้อาจแตกต่างกันไปในแต่ละบ้าน ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น ทิศทางของหลังคา ปริมาณแสงอาทิตย์ในแต่ละพื้นที่ ช่วงเวลาการใช้ไฟฟ้า (กลางวัน-กลางคืน) หากบ้านของคุณตั้งอยู่ในบริเวณที่มีแสงแดดเพียงพอ และมีพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าที่ประหยัด ก็จะสามารถช่วยให้ประหยัดค่าไฟได้มากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่อาจส่งผลต่อระยะเวลาคืนทุนของการติดตั้ง Solar Rooftop เช่น ปริมาณการใช้ไฟฟ้า, ราคาค่าไฟฟ้า นโยบายการสนับสนุนจากภาครัฐ เป็นต้น
การติดตั้ง Solar Rooftop
Solar Rooftop ราคาเท่าไหร่?
ราคาของ Solar Rooftop ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น
- ขนาดของแผงโซลาร์เซลล์ ยิ่งติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์มาก ยิ่งมีราคาสูง
- ประเภทของระบบ หากเป็นระบบ On-grid ก็มีราคาต่ำกว่าระบบ Off-grid และ Hybrid
- คุณภาพของอุปกรณ์ โดยอุปกรณ์ที่มีคุณภาพสูง ก็มีราคาสูงขึ้นตาม
- ค่าติดตั้งขึ้นอยู่กับขนาดของแผงโซลาร์เซลล์และประเภทของระบบด้วย
ตัวอย่างเช่น ราคาเฉลี่ยของ Solar Rooftop แบบ On-grid หากเป็นขนาดแผง 5 กิโลวัตต์ ที่นิยมใช้กันในบ้านและออฟฟิศขนาดเล็ก ก็จะมีราคาตั้งแต่ประมาณ 100,000 - 200,000 บาท ขึ้นอยู่กับคุณภาพของอุปกรณ์และประเภทของระบบ โดยค่าใช้จ่ายหลักๆ ของการติดตั้ง Solar Rooftop ประกอบด้วย
- แผงโซลาร์เซลล์ เป็นส่วนประกอบหลักของ Solar Rooftop คิดเป็นประมาณ 50-70% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด
- อุปกรณ์อื่นๆ เช่น เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า (Inverter) อุปกรณ์ป้องกันสายไฟ สายไฟ คิดเป็นประมาณ 30-50% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด
- ค่าติดตั้ง คิดเป็นประมาณ 10 - 20% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด
นอกจากนี้ ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพิ่มเติมอีก เช่น ค่าขออนุญาตติดตั้ง ค่าประกัน เป็นต้น และก่อนตัดสินใจติดตั้ง Solar Rooftop ควรศึกษาข้อมูลและเปรียบเทียบราคาจากบริษัทต่าง ๆ เพื่อให้ได้ระบบที่ดี ราคาที่คุ้มค่า และเหมาะสมกับการใช้งานด้วย และหากถามว่าติดแผ่นโซลาเซลล์กี่ปีคืนทุน โดยปกติแล้วการติดตั้ง Solar Rooftop จะมีระยะเวลาคืนทุนโดยเฉลี่ยประมาณ 3 - 15 ปี วิธีคิดง่ายๆ เช่น
สมมติติดตั้งแผงขนาด 5 กิโลวัตต์ ราคา 150,000 บาท สามารถประหยัดได้กิโลวัตต์ละ 500 บาท = 2,500 บาทต่อเดือน ดังนั้นจะใช้เวลา 60 เดือน หรือ 5 ปีในการคืนทุนนั่นเอง
3 เรื่องควรรู้ หากคิดอยากติด Solar Rooftop
1. ประเภทของ Solar Rooftop : แบ่งเป็น 3 ประเภทหลัก ได้แก่ On-grid, Off-grid และ Hybrid
2. ต้นทุนและผลตอบแทน : การติดตั้งมีต้นทุนเริ่มต้นที่หลักแสน แต่สามารถช่วยลดค่าไฟได้หลายสิบปี ซึ่งถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าในระยะยาว
3. ต้องขออนุญาตหรือไม่ในปี 2568 : ปัจจุบันการติดตั้ง Solar Rooftop ที่เชื่อมต่อกับการไฟฟ้า ยังจำเป็นต้องขออนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การไฟฟ้านครหลวง (MEA) หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA)
หลังคาแบบไหนที่เหมาะกับการติดโซลาร์เซลล์
การติดตั้ง Solar Rooftop ไม่สามารถทำได้กับหลังคาทุกประเภท เพราะจำเป็นต้องเลือกหลังคาที่มีโครงสร้างแข็งแรงเพียงพอ สามารถรองรับน้ำหนักของแผงโซลาร์เซลล์ได้อย่างปลอดภัย เช่น
- หลังคาคอนกรีต (Slab Roof) : แข็งแรง รับน้ำหนักได้ดี
- หลังคาเมทัลชีท (Metal Sheet) : น้ำหนักเบา ติดตั้งง่าย แต่ต้องเสริมโครงสร้างให้แข็งแรงมากขึ้น
- หลังคากระเบื้องลอนคู่ : ติดตั้งได้ดี แต่ต้องระวังการแตกร้าว
สำหรับทรงหลังคาที่เหมาะสมกับการติดตั้ง ได้แก่
- หลังคาทรงจั่ว (Gable Roof) : มีลักษณะเป็นสามเหลี่ยมทอดยาวตลอดแนวหลังคา โดยสองด้านจะลาดเอียงมาบรรจบกันที่จุดสูงสุด โครงสร้างแบบนี้จะช่วยให้สามารถติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ในมุมที่รับแสงได้ดี
- หลังคาทรงปั้นหยา (Hip Roof) : มีความลาดเอียงน้อยกว่าหลังคาทรงจั่ว แต่มีจุดยอดเป็นทรงเหลี่ยมพิงเข้าหากัน ช่วยกระจายแรงรับน้ำหนักได้ดี และรองรับการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ติดโซลาร์เซลล์หันไปทางทิศไหนจึงจะเหมาะสม
ทิศทางของแผงโซลาร์เซลล์มีผลต่อประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้า โดย ทิศที่เหมาะสมในประเทศไทย คือ หันหน้าไปทางทิศใต้ เพราะจะได้รับแสงแดดเต็มที่ตลอดวัน ให้ประสิทธิภาพการทำงานสูงสุด ส่วนทิศเหนือเป็นทิศที่จะได้รับแสงแดดระดับน้อยที่สุด
ติดตั้ง Solar Rooftop กับเจ้าไหนดี?
ติดตั้ง Solar Rooftop โดยมืออาชีพ
การเลือกบริษัทติดตั้ง Solar Rooftop ควรพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ ดังนี้
- ประสบการณ์และผลงานของบริษัท : ควรเลือกบริษัทที่มีประสบการณ์และผลงานการติดตั้ง Solar Rooftop มาอย่างยาวนาน
- คุณภาพของอุปกรณ์ : ควรเลือกบริษัทที่เลือกใช้อุปกรณ์ที่มีคุณภาพสูง ราคา ควรเปรียบเทียบราคาจากบริษัทต่างๆ เพื่อให้ได้ราคาที่คุ้มค่า
- บริการหลังการขาย : ควรเลือกบริษัทที่มีบริการหลังการขายที่ดี
ซึ่งบริษัทติดตั้ง Solar Rooftop ในประเทศไทยนั้นมีมากมายหลายเจ้า ที่ได้รับความนิยมและน่าเชื่อถือ เช่น
- PSI Corporation : แบรนด์ชั้นนำด้านพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีประสบการณ์ยาวนาน ให้บริการติดตั้งโซลาร์เซลล์ด้วยอุปกรณ์คุณภาพสูง มีชุดโซลาร์เซลล์หลายรูปแบบ รับประกันสินค้า 12 ปี และรับประกันอายุการใช้งาน 25 ปี พร้อมทีมงานมืออาชีพ
- SCG Solar Roof : ให้บริการแบบครบวงจร มีให้เลือกทั้ง Solar Rooftop SCG On-grid และ Solar Rooftop SCG Off-Grid มั่นใจได้ด้วยสินค้าคุณภาพมาตรฐานระดับโลก และยังมี Application ติดตามการทำงานของระบบแบบ Real Time ได้ด้วย
- GRoof : ผู้ให้บริการติดตั้งโซลาร์รูฟครบวงจรด้วยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ รับประกันงานติดตั้งถึง 2 ปี ด้วยงานติดตั้งมาตรฐาน ระดับสากล พร้อมบำรุงรักษา 1 ปี (ปีละครั้ง)
- A Solar : ผู้บริการเกี่ยวกับการติดโซลาเซลล์ Solar Rooftop ในราคามิตรภาพ พร้อมบริการสำรวจพื้นที่และคำนวณแผนการลงทุนให้ทุกขั้นตอน ด้วยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ
ติดตั้ง Solar Roof กับ PSI Corporation ดีอย่างไร
- คุณภาพสูง : ผ่านการทดสอบความทนทานต่อ ละอองทราย, เกลือ และแอมโมเนีย มั่นใจได้ว่าใช้งานได้ในทุกสภาพแวดล้อม
- มาตรฐานกันฝุ่นและน้ำระดับ IP68 : ป้องกันน้ำและฝุ่นเข้าสู่แผงโซลาร์เซลล์ เพิ่มอายุการใช้งาน
- กระจกโปร่งใส ทำความสะอาดง่าย : ลดการสะสมของฝุ่นและสิ่งสกปรก คงประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าได้ดี
- มีเทคโนโลยี Half Cell : ทำงานได้ดีแม้มีเงาบดบังบางส่วน ลดปัญหาประสิทธิภาพลดลงจากแสงเงา
- รับประกันยาวนาน : รับประกันสินค้า 12 ปี, รับประกันอายุการใช้งาน 25 ปี
- ติดตั้งโดยทีมช่างผู้เชี่ยวชาญ : ให้คุณมั่นใจได้ในคุณภาพงานบริการและการใช้งานที่ปลอดภัย
สำหรับสมาชิกบัตรเครดิต KTC รับโปรโมชั่นติดตั้ง Solar Roof กับ PSI Corporation ได้เลยทันที
โปรโมชั่นที่ PSI Corporation กับบัตรเครดิต KTC และบัตรกดเงินสด KTC PROUD
สิทธิประโยชน์ที่ 1
- สำหรับบัตรกดเงินสด KTC PROUD ผ่อน 0% นานสูงสุด 15 เดือน (ไม่สามารถร่วมรายการรับเครดิตเงินคืนได้)
- สำหรับบัตรเครดิต KTC ผ่อน 0% นานสูงสุด 10 เดือน รับเครดิตเงินคืนสูงสุด 30,500 บาท / สมาชิกบัตร / เดือน
- ระยะเวลาโปรโมชั่น : 15 ม.ค. 68 - 30 มิ.ย. 68
สิทธิประโยชน์ที่ 2 แลกคะแนนรับเครดิตเงินคืน 13%
ทุกการใช้จ่ายทั้งชำระเต็มจำนวน และผ่อนชำระตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไป ใช้คะแนน KTC FOREVER ตั้งแต่ 1,000 คะแนนขึ้นไป แต่ไม่เกินยอดใช้จ่ายต่อเซลส์สลิป ลงทะเบียนร่วมรายการภายในวันที่ทำรายการ
- ระยะเวลาโปรโมชั่น : 15 ม.ค. 68 - 30 มิ.ย. 68
เหตุผลที่ควรเลือก Huawei Solar Roof
Huawei เป็นแบรนด์ระดับโลก ซึ่งจุดเด่นของ Huawei Solar Roof ที่ควรค่าแก่การเลือกติดตั้ง มีดังต่อไปนี้
- เป็นผลิตภัณฑ์คุณภาพสูง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ได้อย่างดีเยี่ยม
- รองรับการใช้งาน 2 ระบบ สามารถเลือกใช้ได้ทั้งแบบ On-Grid และ Hybrid
- สามารถตรวจสอบและควบคุมการทำงานของระบบโซลาร์เซลล์ผ่านมือถือได้อย่างสะดวก
- มาพร้อม Huawei SOLAR Inverter ซึ่งเป็นอินเวอร์เตอร์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ประสิทธิภาพเหนือกว่ายี่ห้ออื่นๆ และช่วยประหยัดค่าไฟได้จริง
- มีนวัตกรรมที่ล้ำสมัย อย่าง Huawei Fusion Solar โซลูชั่น Smart PV ที่ใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะ ช่วยให้ใช้งานพลังงานแสงอาทิตย์ได้เต็มประสิทธิภาพและสะดวกยิ่งขึ้น
- บำรุงรักษาง่าย ออกแบบให้มีความทนทาน พร้อมระบบแจ้งเตือนอัจฉริยะ ลดภาระการดูแล
- รองรับการใช้งานในไทย เหมาะกับสภาพอากาศร้อนชื้นและระบบไฟฟ้าของไทย มั่นใจได้ในประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์
- ปลอดภัยและเชื่อถือได้ มาตรฐานความปลอดภัยระดับสากล
รวมร้านค้าที่ใช้สินค้า HUAWEI
สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถซื้ออุปกรณ์โซลาร์เซลล์ของ Huawei ได้หลากหลายช่องทาง ได้แก่ ตัวแทนจำหน่าย, บริษัทรับติดตั้งโซลาร์เซลล์ รวมไปถึง HomePro, SCG Home หรือสามารถติดตั้งกับ SCG Solar Rooftop ก็ได้ เพราะใช้อุปกรณ์ของ Huawei เช่นกัน
วิธีขออนุญาตติดตั้งโซลาร์เซลล์ มีขั้นตอนอย่างไร ?
โดยปกติแล้ว หากใครที่ใช้บริการติดตั้งโซลาร์เซลล์ จากบริษัทหรือร้านค้าดำเนินการทำเรื่องของอนุญาตให้ ซึ่งมีหลายแห่งที่ให้มีบริการนี้ เช่น NextE, SCG Solar Roof Solutions, KG Solar, Brilliant Power, PEA Solar เป็นต้น แต่ในกรณีที่บางบริษัทไม่มีการขออนุญาตติดตั้งโซลาร์เซลล์ให้ และต้องการดำเนินการขอด้วยตัวเองเพื่อจะได้ประหยัดเรื่องค่าใช้จ่ายมีขั้นตอนการขออนุญาตดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 : ยื่นขออนุญาตหรือแจ้งหน่วยงานราชการในท้องถิ่น
การยื่นขออนุญาตจะต้องยื่นที่หน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่นที่อาศัยอยู่ในปัจจุบัน เช่น สำนักงานเขต, สำนักงานเทศบาล, องค์การบริหารส่วนตำบล ทั้งนี้ จะต้องผ่านการตรวจสอบความแข็งแรง พร้อมยื่นเอกสารที่เซ็นรับรองโดยวิศวกรโยธาที่มีใบประกอบวิชาชีพวิศวกร (กว.) อย่างถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น โดยเอกสารที่ใช้ยื่นขออนุญาตติดตั้งโซลาร์เซลล์ มีดังนี้
- เอกสารแบบแปลนแสดงแผนผังและโครงสร้างหลังคา โครงสร้างรองรับแผงโซลาร์เซลล์
- เอกสารรายละเอียดการติดตั้งโซลาร์เซลล์
- ใบอนุญาตดัดแปลงอาคารเพื่อขออนุญาตปรับปรุงอาคาร (อ.1) สำหรับกรณีที่ต้องการพื้นที่ติดตั้งโซลาร์เซลล์เกิน 160 ตารางเมตร และน้ำหนักเกิน 20 กิโลกรัมต่อตารางเมตร
- ใบคำร้องแจ้งให้ทราบในกรณีที่ติดตั้งโซลาร์เซลล์บนพื้นที่ไม่เกิน 160 ตารางเมตร และมีน้ำหนักไม่เกิน 20 กิโลกรัมต่อตารางเมตร (ไม่ต้องยื่นใบ อ.1)
ขั้นตอนที่ 2 : แจ้งขอยกเว้นการรับใบอนุญาตประกอบกิจการไฟฟ้าจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)
- หากโซลาร์เซลล์มีกำลังผลิตติดตั้งน้อยกว่า 1,000 กิโลวัตต์สูงสุด (kWp) เช่น บ้านเรือน ร้านค้า ออฟฟิศขนาดเล็ก ให้แจ้งขอยกเว้นการรับใบอนุญาตประกอบกิจการไฟฟ้าจาก กกพ.
- หากโซล่าเซลล์มีกำลังผลิตติดตั้งมากกว่าหรือเท่ากับ 1,000 กิโลวัตต์สูงสุด (kWp) เช่น โรงงาน ห้างสรรพสินค้า ผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กหรือรายใหญ่ จะต้องขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการไฟฟ้า
เอกสารที่ใช้ต้องใช้ มีดังต่อไปนี้
- ชื่อ สัญชาติ และถิ่นที่อยู่ของเจ้าของกิจการพลังงาน (เจ้าของบ้าน)
- ที่ตั้งของสถานประกอบกิจการพลังงาน (ที่ตั้งของโซลาร์เซลล์)
- ประเภทและขนาดของกิจการพลังงาน (รูปแบบและขนาดของโซลาร์เซลล์)
- สำเนาบัตรประชาชนของผู้แจ้ง
- กรณีที่ผู้แจ้งไม่ใช่เจ้าของกิจการพลังงาน ให้เตรียมหนังสือมอบฉันทะ สำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบและผู้รับมอบฉันทะ
- เอกสารอื่นๆ ตามที่ กกพ. กำหนด
โดยสามารถยื่นได้ที่สำนักงาน กกพ. หรือผ่านทางเว็บไซต์ https://cleanenergyforlife.net/login เมื่อดำเนินการเสร็จสิ้น ทางสำนักงาน กกพ. จะมอบหนังสือการประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาตกลับมาให้
ขั้นตอนที่ 3 : ยื่นเรื่องขออนุญาตเชื่อมขนานกับระบบโครงข่ายไฟฟ้าต่อ กฟน. หรือ กฟภ.
สามารถยื่นได้ 2 กรณี
- สำหรับใช้ไฟฟ้าภายในบ้านและอาคารเพียงอย่างเดียว จะต้องออกแบบระบบป้องกันไม่ให้มีการจ่ายกระแสไฟฟ้ากลับสู่ระบบโครงข่ายไฟฟ้า จนระบบไฟฟ้าเกิดความเสียหายต่อผู้ใช้ไฟฟ้ารายอื่น
สำหรับใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน อาคาร และขายไฟฟ้าส่วนเกินให้กับการไฟฟ้า โดยเจ้าของบ้านจะต้องเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 1 (ผู้ใช้ไฟฟ้าในบ้านที่อยู่อาศัย) ตามประกาศของการไฟฟ้า ซึ่งมีระบบไฟฟ้าที่สามารถขายไฟฟ้าส่วนเกินให้กับการไฟฟ้าได้ ในราคาหน่วยละ 2.20 บาท
เอกสารที่ต้องใช้ มีดังต่อไปนี้
- แบบคำขอเชื่อมต่อขนานกับระบบโครงข่ายไฟฟ้า
- หนังสือจดแจ้งการประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาต ที่ได้รับจากสำนักงาน กกพ.
- ใบอนุญาตดัดแปลงอาคาร เพื่อขออนุญาตปรับปรุงอาคาร (อ.1)
- แบบแปลนโครงสร้างการติดตั้งที่ได้รับการตรวจสอบความแข็งแรง และเซ็นรับรองโดยวิศวกรโยธาที่มีใบประกอบวิชาชีพวิศวกร
- แบบ Single Line Diagram ที่มีการลงนามรับรองโดยวิศวกรไฟฟ้า
- สำเนาใบประจำตัวผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรที่เป็นผู้เซ็นรับรองเอกสาร
- เอกสารแสดงรายละเอียดคุณสมบัติของแผงโซลาร์เซลล์ และอินเวอร์เตอร์
- Mini COP รายการตรวจสอบมาตรการด้านการออกแบบติดตั้งตามประมวลหลักการปฏิบัติ
- รูปถ่ายแสดงอุปกรณ์ แผง และอินเวอร์เตอร์อย่างชัดเจน
- เอกสารมอบอำนาจ ในกรณีที่ให้ตัวแทนหรือบริษัทติดตั้งโซลาร์เซลล์ขออนุญาตติดตั้งแทน
- แบบแจ้งความประสงค์ในการใช้งาน พร้อมกับรายละเอียดของอุปกรณ์ควบคุมการจ่ายไฟไหลย้อนเข้าสู่ระบบโครงข่ายไฟฟ้า (กรณีต้องการติดตั้งโซลาร์เซลล์เพื่อใช้ในอาคารและขายไฟฟ้าคืน)
สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ได้แก่ พื้นที่กรุงเทพฯ จ.นนทบุรี และ จ.สมุทรปราการ สามารถยื่นเรื่องผ่านเว็บไซต์ได้ที่ https://myenergy.mea.or.th/project/registration
สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) สามารถยื่นเรื่องผ่านเว็บไซต์ https://ppim.pea.co.th
ขั้นตอนที่ 4 : รับการตรวจสอบระบบโซลาร์เซลล์จากเจ้าหน้าที่การไฟฟ้า
- ทางการไฟฟ้าจะส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจสอบระบบโซลาร์เซลล์ และการเชื่อมระบบไฟฟ้าขนานกับระบบโครงข่ายว่าเป็นไปตามข้อกำหนดหรือไม่
- เจ้าของบ้านจะต้องเปลี่ยนมิเตอร์ธรรมดาเป็นมิเตอร์ดิจิทัล พร้อมติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟย้อนกลับสู่ระบบโครงข่ายของการไฟฟ้า (มีค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบการเชื่อมระบบไฟฟ้า ค่าอุปกรณ์ต่างๆ ที่ต้องชำระให้กับการไฟฟ้า)
ทั้งนี้ เอกสารทั้งหมดในการขออนุญาตติดตั้งโซลาร์เซลล์ สามารถดาวน์โหลดได้ที่ https://www.erc.or.th/th/permit
สำหรับผู้ที่สนใจติดตั้ง Solar Rooftop ที่ต้องการทั้งความประหยัดและคุ้มค่า เป็นสมาชิกบัตรเครดิต KTC ใช้จ่ายผ่านบัตรนี้มีสิทธิพิเศษสำหรับสมาชิกเมื่อติดตั้ง Solar Rooftop มากมาย ไม่ว่าจะเป็น ส่วนลด, โปรโมชั่นผ่อนชำระ 0%, รับเครดิตเงินคืน และสิทธิพิเศษต่างๆ อีกเพียบ สามารถดูรายละเอียดโปรโมชั่นเพิ่มเติมได้ที่นี่ และสำหรับใครที่ยังไม่มีบัตรเครดิต KTC สามารถสมัครบัตรเครดิต KTC ผ่านทางออนไลน์ได้เลยทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง
ใช้จ่าย คุ้มค่า นึกถึงบัตรเครดิต KTC