มาคำตอบกัน ใบขับขี่ประเภท 2 ใช้ขับรถอะไรบ้าง
ก่อนนำรถยนต์หรือรถประเภทอื่นมาใช้บนถนนสาธารณะ สิ่งที่ผู้ขับขี่ทุกคนจำเป็นต้องมี คือ ใบขับขี่หรือใบอนุญาตขับขี่ และถ้าถามว่าใบขับขี่ประเภทไหนที่คนส่วนใหญ่คุ้นเคย คำตอบคือใบขับขี่รถยนต์และใบขับขี่รถจักรยานยนต์ แต่รู้ไหมว่าใบขับขี่ที่กรมการขนส่งทางบกออกให้ยังมีอีกหลากหลายประเภทขึ้นอยู่กับประเภทของรถและลักษณะของการใช้งาน อย่างใบขับขี่ประเภท 2 ที่คนจำนวนไม่น้อยอาจไม่คุ้นหู เพื่อไขข้อข้องใจว่าใบขับขี่ประเภท 2 คืออะไร ขับรถอะไรได้บ้าง และมีความคล้ายคลึงกับใบขับขี่ประเภท บ. หรือไม่ บทความนี้มีคำตอบมาฝาก
เลือกอ่านตามหัวข้อ
- ใบขับขี่มีกี่ประเภท เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
- ทำความรู้จักใบขับขี่ประเภท 2 คืออะไร มีกี่ชนิด
- ใบขับขี่ประเภท 2 ใช้ขับรถอะไรได้บ้าง
- ใบขับขี่ประเภท 2 ต่างจากประเภท บ. จริงหรือไม่
- อยากทำใบขับขี่ประเภท 2 ต้องเตรียมตัวอย่างไร
- ทำใบขับขี่ประเภท 2 ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง
- หากไม่มีใบขับขี่ประเภท 2 ผิดกฎหมายหรือไม่
ใบขับขี่มีกี่ประเภท เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
สำหรับใบขับขี่หรือใบอนุญาตขับขี่ เป็นเอกสารทางราชการที่ออกโดยกรมการขนส่งทางบก เพื่อยืนยันว่าบุคคลดังกล่าวมีความรู้ความสามารถในการขับขี่ และได้รับอนุญาตให้สามารถขับขี่รถตามกฎหมาย หากพิจารณาตามลักษณะของการใช้งานสามารถแบ่งใบขับขี่ออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือ
(1) ใบขับขี่ประเภทส่วนบุคคล (บ.)
เป็นใบขับขี่ที่อนุญาตให้ผู้ถือใบขับขี่ประเภท บ. สามารถขับขี่เพื่อขนส่งส่วนบุคคล หรือใช้สำหรับโดยสารส่วนตัว ทั้งยังสามารถขับขี่ขนส่งเพื่อการค้าหรือธุรกิจส่วนตัวได้อีกด้วย แต่ต้องจำกัดน้ำหนักในการขนส่งอยู่ที่ 1,600 กิโลกรัม และต้องใช้สำหรับการขนส่งที่ไม่ใช่การรับจ้าง
ใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคล
(2) ใบขับขี่ประเภทส่วนบุคคล (ท.)
คือ ใบขับขี่ประเภทนี้สามารถขับขี่เพื่อขนส่งได้ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นการขนส่งเพื่อการค้าหรือธุรกิจส่วนตัว นอกจากไม่มีการจำกัดน้ำหนักในการขนส่ง ยังใช้ทดแทนใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถประเภทส่วนบุคคล และใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถสาธารณะตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ได้อีกด้วย
ทำความรู้จักใบขับขี่ประเภท 2 คืออะไร มีกี่ชนิด
คือ ใบอนุญาตขับขี่ที่สามารถขับรถได้ทุกประเภทอย่างถูกต้องตามกฎหมายทั้งรถส่วนบุคคลและรถสาธารณะ เช่น รถเมล์ รถบรรทุกหกล้อ รถตู้ รถเก๋ง รถกระบะ รถสามล้อ หรือรถประเภทอื่น ๆ และถ้าถามว่าใบขับขี่ประเภท 2 มีกี่ชนิด ? คำตอบคือ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
- ใบขับขี่ประเภท 2 บ.2 คือ ใบขับขี่รถส่วนบุคคลสำหรับที่ไม่ได้ใช้ในเชิงพาณิชย์ เช่น รถเก๋ง หรือรถกระบะ
- ใบขับขี่ประเภท 2 ท.2 เป็นใบขับขี่สำหรับขับรถขนส่งโดยรถขนาดเล็กทั้งแบบประจำทาง และไม่ประจำทางสำหรับรถบรรทุกที่มีน้ำหนักรวมกันเกิน 3,500 กิโลกรัม หรือรถขนส่งผู้โดยสารเกินกว่า 20 คน เช่น รถบัส รถตู้สาธารณะ รถเมล์ รถแท็กซี่ รถขนส่งสินค้า หรือรถบรรทุก 10 ล้อ
ใบขับขี่ประเภท 2 ใช้ขับรถอะไรได้บ้าง
เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้น ตามมาดูกันว่า ใบขับขี่ประเภท 2 ผู้ครอบครองใช้เป็นเอกสารแสดงความสามารถด้านการขับขี่กับยานพาหนะประเภทไหนได้บ้าง
- รถตู้สาธารณะ (ท.2)
- รถตาม พ.ร.บ. รถยนต์
- รถบรรทุกสาธารณะ ป้ายทะเบียนสีเหลือง (ท.2)
- รถบรรทุกส่วนบุคคล ป้ายทะเบียนสีขาว (ท.2)
- รถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง ป้ายทะเบียนสีขาว ตัวอักษรสีดำ
- รถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง ป้ายทะเบียนสีขาว ตัวอักษรสีน้ำเงิน
- รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ป้ายทะเบียนสีขาว ตัวอักษรสีเขียว
ใบขับขี่ประเภท 2 ต่างจากประเภท บ. จริงหรือไม่
อันดับแรกทำความเข้าใจก่อนว่า ใบขับขี่ประเภท บ. เป็นใบอนุญาตขับขี่ประเภทส่วนบุคคลที่ใช้เพื่อขับรถขนส่งส่วนบุคคล (ธุรกิจส่วนตัว) ไม่ใช่เพื่อการรับจ้าง ขณะที่ใบขับขี่ประเภท 2 คือ ใบอนุญาตที่ใช้แบ่งตามลักษณะรถ น้ำหนักรถและการใช้งานรถ ซึ่งกรณีนี้เป็นใบอนุญาตขับรถที่มีน้ำหนักบรรทุกรวมกันเกินกว่า 3,500 กิโลกรัม หรือขนส่งผู้โดยสารเกินกว่า 20 คน มาถึงตรงนี้ต้องบอกว่า ใบขับขี่ประเภท 2 ต่างจากประเภท บ. จริง เนื่องจากเป็นใบขับขี่ที่ออกให้สำหรับการใช้งานรถที่แตกต่างกัน ฉะนั้นก่อนทำใบขี่หรือต่อใบขับขี่ออนไลน์ ควรเช็กก่อนว่ายานพาหนะที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันควรทำใบขับขี่รูปแบบใด
อยากทำใบขับขี่ประเภท 2 ต้องเตรียมตัวอย่างไร
เนื่องจากใบขับขี่ประเภท 2 สามารถใช้ขับรถได้ทั้งป้ายทะเบียนสีขาวและป้ายทะเบียนสีเหลือง จึงเหมาะกับบุคคลที่ต้องขับรถรถยนต์ส่วนบุคคลและรถสาธารณะในชีวิตประจำวัน โดยกรมการขนส่งทางบกกำหนดคุณสมบัติผู้ทำใบขับขี่ประเภท 2 ไว้ดังนี้
(1) มีสัญชาติไทย
(2) ได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อส่วนบุคคลชั่วคราว ไม่น้อยกว่า 1 ปี
(3) ผู้ถือใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว และรถสามล้อส่วนบุคคลชั่วคราว ต้องมีอายุมากกว่า 22 ปี
(4) ผู้ถือใบขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ส่วนบุคคลชั่วคราว อายุมากกว่า 20 ปี
(5) มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามเช่นเดียวกับผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถชั่วคราว
(6) ไม่เคยได้รับคำพิพากษาที่โดนลงโทษ หรือถูกเจ้าพนักงานเปรียบปรับ 2 ครั้งขึ้นไป
(7) ไม่มีโรคประจำตัวที่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมเห็นว่าอาจเป็นอันตรายขณะขับรถ
(8) ไม่เป็นผู้ติดสุรายาเมาหรือยาเสพติดให้โทษ
ใบขับขี่ประเภท 2 เป็นใบอนุญาตที่ใช้แบ่งตามลักษณะรถ น้ำหนักรถและการใช้งานรถ
ทำใบขับขี่ประเภท 2 ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง
เมื่อทราบคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ทำใบขับขี่ประเภท 2 กันแล้ว ลำดับต่อมาคือเอกสารที่ต้องเตรียมให้พร้อมก่อนเดินทางไปทำใบขับขี่ โดยเอกสารที่ต้องใช้ประกอบด้วย
- ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (พร้อมตัวจริง)
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- ใบรับรองแพทย์ใบขับขี่ (อายุไม่เกิน 1 เดือน)
และถ้าถามว่า ใช้เวลากี่วันถึงจะได้ใบขับขี่ประเภท 2 ตัวจริง คำตอบคือ ประมาณ 90 วันนับตั้งแต่วันที่ยื่นคำขอ เพราะมีขั้นตอนการทดสอบสมรรถภาพ อบรม ทดสอบภาคทฤษฎี การทดสอบภาคปฏิบัติที่ผู้ทำใบขับขี่ต้องนำรถมาทดสอบ รวมถึงให้เวลาเจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางบกดำเนินการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมก่อน
หากไม่มีใบขับขี่ประเภท 2 ผิดกฎหมายหรือไม่
สำหรับใครที่สงสัยว่า ใบขับขี่หมดอายุ ต้องต่อภายในกี่วัน ถ้าไม่ต่อผิดกฎหมายหรือไม่ ? คำตอบคือ สามารถต่อใบขับขี่ล่วงหน้าได้ 3 เดือน หรือภายใน 1 ปีหลังจากหมดอายุไปแล้ว แต่ระหว่างที่ไม่ได้ต่อใบขับขี่ใหม่ให้เรียบร้อย ต้องระวังโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ขณะเดียวกันผู้ประกอบการที่ยินยอมให้ผู้ไม่มีใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะ ต้องระวังโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาทเช่นเดียวกัน
และนี่ถือเป็นความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับใบขับขี่ประเภทที่ 2 ที่นำข้อมูลมาบอกต่อ เพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้ที่ต้องการทำใบขับขี่ประเภทนี้ เพราะตามที่ทราบกันดีว่าใบอนุญาตขับขี่เป็นเอกสารสำคัญที่ผู้ขับขี่ต้องพกติดตัวเวลาขับรถ หากไม่มีมาแสดงเวลาเจ้าหน้าที่เรียกตรวจอาจต้องเสียค่าปรับได้ ส่วนใครที่ใบขับขี่หมดอายุก็ควรต่อให้เรียบร้อย เวลาต้องทำธุรกรรมเกี่ยวกับรถจะได้ดำเนินการอย่างรวดเร็ว
นอกจากใบขับขี่แล้ว เอกสารสำคัญเกี่ยวกับตัวรถ ไม่ว่าจะเป็นป้ายวงกลม การต่อภาษีรถประจำปี หรือเล่มทะเบียนรถก็เป็นสิ่งที่ควรต่อและจัดเก็บให้เรียบร้อย เผื่อเวลาต้องการเปลี่ยนรถเป็นเงินผ่านสินเชื่อ KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน จะได้ยื่นเรื่องสมัครได้ทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลาไปเตรียมเอกสารใหม่ นอกจาก KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน เป็นสินเชื่อแบบไม่โอนเล่มที่ให้วงเงินก้อนใหญ่ ยังมอบบัตรกดเงินสด KTC พี่เบิ้ม เอาไว้ให้กดเงินสดมาเสริมสภาพคล่องยามฉุกเฉิน ฉะนั้นใครที่มีเหตุให้ต้องใช้เงินที่อยู่นอกจากแผนที่วางไว้ อย่าลืมเก็บสินเชื่อรถแลกเงินตัวนี้ไว้พิจารณา
เตรียมเอกสารเกี่ยวกับรถไว้พร้อม ขอสินเชื่อรถแลกเงินได้รวดเร็วทันใจ