อีกหนึ่งปัญหาที่หลายคนกำลังประสบพบเจอ โดยเฉพาะเมื่ออายุมากขึ้น ก็คือน้ำหนักตัวที่มากขึ้น ด้วยไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต และการทำงานในปัจจุบันที่ไม่เอื้อให้มีเวลาในการออกกำลังกายเพียงพอ ทำให้คนเริ่มเป็นโรคอ้วนกันมากขึ้น แม้หลายคนอาจสามารถหันกลับมาดูแลตัวเอง ออกกำลังกาย และดูแลสุขภาพให้ดีขึ้นได้ด้วยตนเอง แต่ก็ยังมีอีกหลายคนที่ต้องพึ่งพาการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ วันนี้ KTC จะพาไปทำความรู้จักกับโรคอ้วน รวมไปถึงการผ่าตัดกระเพาะ ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นหนึ่งทางเลือกในการลดความอ้วนที่กำลังเป็นที่นิยม
โรคอ้วนคืออะไร?
โรคอ้วน (Obesity) คือสภาวะที่ร่างกายมีน้ำหนักตัว หรือสัดส่วนไขมันในร่างกายมากเกินมาตรฐาน ซึ่งเกิดจากการที่ร่างกายสะสมไขมันไว้มากเกินไป เนื่องจากได้รับปริมาณพลังงานเกินความต้องการ โดยสามารถวัดโรคอ้วนด้วยตัวเองง่ายๆ ผ่านการคิดคำนวณโดยใช้เกณฑ์ดัชนีมวลกาย (Body mass index หรือ BMI) เป็นตัวกำหนด หรือตรวจมวลไขมันและกล้ามเนื้อโดยรวมจากเครื่องมือต่างๆ
ดัชนีมวลกายมากกว่า 30 หมายถึงกำลังเข้าข่ายเป็นโรคอ้วน
วิธีเช็กว่าเป็นโรคอ้วนหรือไม่?
อาการของโรคอ้วน สามารถสังเกตได้ด้วยตาจากลักษณะภายนอกของร่างกาย หากเริ่มมีการสะสมไขมันบนร่างกาย จนทำให้ร่างกายมีขนาดขยายใหญ่ โดยเฉพาะบริเวณพุง ต้นแขน ต้นขา รวมไปถึงคำนวณดัชนีมวลกายและได้ค่ามากกว่า 30 นั่นหมายถึงกำลังเข้าข่ายเป็นโรคอ้วน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น หากเป็นคนที่มีกล้ามเนื้อเป็นจำนวนมาก ก็อาจทำให้น้ำหนักของร่างกายมากได้ด้วยเช่นกัน จึงอาจทำให้ได้ค่าดัชนีมวลกายที่สรุปผลได้ว่าเป็นโรคอ้วน ดังนั้นจึงควรสังเกตจากทั้งลักษณะรูปร่าง และดัชนีมวลกายควบคู่กันไป หรือวิธีที่ดีที่สุดคือการเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจเช็กมวลไขมันและกล้ามเนื้อจากเครื่องมือที่ได้มาตรฐาน ก็จะสามารถระบุได้ว่าเป็นโรคอ้วนหรือไม่
อาการแบบไหนเข้าข่ายอ้วนทุพพลภาพ?
ระดับอาการของโรคอ้วนมีหลายระดับ แต่ระดับที่รุนแรงที่สุด ก็คือระดับที่ 3 ซึ่งหมายความว่ามีดัชนีมวลกายมากกว่า 40 และเรียกระดับนี้ว่า “โรคอ้วนทุพพลภาพ” เนื่องจากในระดับนี้ ร่างกายของผู้ป่วยอาจมีโรคแทรกซ้อนอย่างโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันเกาะตับ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง และโรคไขข้อต่างๆ เนื่องจากโครงสร้างของร่างกายต้องรับน้ำหนักที่มากเกินไป ทำให้เดินหรือเคลื่อนไหวไม่สะดวก และยังมีอัตราการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้น
ดัชนีมวลกายมากกว่า 40 เรียกว่า “โรคอ้วนทุพพลภาพ”
ทำไมต้องผ่าตัดกระเพาะ?
ในช่วงนี้มีการรักษาโรคอ้วนแบบใหม่ที่กำลังเป็นที่พูดถึงกันในวงกว้างอย่าง “การผ่าตัดกระเพาะอาหาร” เพื่อลดน้ำหนัก (Bariatric Surgery) ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการลดน้ำหนักสำหรับผู้ที่เป็นโรคอ้วนความเสี่ยงสูง โดยจะใช้วิธีการผ่าตัดเพื่อลดขนาดกระเพราะอาหาร เพื่อทำให้ผู้ป่วยทานอาหารได้น้อยลง รวมไปถึงปรับระดับฮอร์โมนควบคุมความหิว และความอิ่มให้สมดุลมากยิ่งขึ้น เป็นวิธีที่ได้รับการรับรองทางการแพทย์ว่ามีความปลอดภัย สามารถช่วยให้ผู้ป่วยลดน้ำหนักได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ผ่าตัดกระเพาะ ประกันสังคมราคาเท่าไหร่?
สำหรับค่ารักษาโรคอ้วนด้วยการผ่าตัดกระเพาะ จะเริ่มต้นที่ 125,000 - 250,000 บาท ซึ่งสำหรับผู้ที่มีสิทธิประกันสังคม สามารถใช้สิทธิประกันสังคมในการเข้ารับการผ่าตัดกระเพาะได้ โดยจะต้องได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคอ้วน ก็จะสามารถเข้ารับการผ่าตัดกระเพาะโดยใช้สิทธิประกันสังคมได้ ซึ่งผู้ประกันตนอาจต้องจ่ายส่วนต่างเพิ่มเติมเริ่มต้นที่ 50,000 - 70,000 บาท แตกต่างกันตามแต่ละแพ็กเกจของโรงพยาบาลนั้นๆ
ผ่าตัดกระเพาะด้วยประกันสังคม มีเงื่อนไขอย่างไร
สำหรับผู้ประกันตนที่สนใจใช้สิทธิประกันสังคมในการเข้ารับการผ่าตัด จะต้องได้รับวินิจฉัยโดยแพทย์ว่าเป็นโรคอ้วน โดยมีเงื่อนไขดังนี้
- มีดัชนีมวลกาย (BMI) มากกว่า 37.5
- มีดัชนีมวลกาย (BMI) มากกว่า 32.5 พร้อมโรคร่วมอื่นๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดัน โรคไขมัน โรคหัวใจหรือสมอง โรคข้อเสื่อม โรคกรดไหลย้อน และโรคนิ่วในถุงน้ำดี
- มีดัชนีมวลกาย (BMI) มากกว่า 30 และมีโรคเบาหวานที่ควบคุมด้วยการใช้ยากินหรือยาฉีดแล้ว ยังคุมระดับน้ำตาลไม่ได้
ใครสามารถผ่าตัดกระเพาะประกันสังคมได้ฟรีบ้าง?
ผู้ประกันตนประกันสังคมที่มีเงื่อนไขเข้าเกณฑ์ตามที่แจ้งด้านบน สามารถเข้ารับการผ่าตัดกระเพาะได้ฟรี หรืออาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ขึ้นอยู่กับราคาค่ารักษาและแพ็กเกจการให้บริการของแต่ละโรงพยาบาล
การผ่าตัดกระเพาะเพื่อลดความอ้วนเป็นอีกทางเลือกในการรักษาที่มีประสิทธิภาพ สำหรับผู้ป่วยโรคอ้วนระดับรุนแรงและมีโรคแทรกซ้อน แม้จะสามารถเข้ารับการรักษาได้ฟรีจากสิทธิประกันสังคม แต่ก็จะต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ดังนั้นจึงควรมีแผนสำรองเรื่องค่าใช้จ่าย การใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต KTC ถือเป็นอีกทางเลือกในการช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายที่ปลอดภัย ยังได้รับสิทธิประโยชน์อีกมากมายทั้งโปรโมชั่นและส่วนลดจากพาร์ทเนอร์ต่างๆ รวมถึงสถานพยาบาลและโรงพยาบาลชั้นนำหลายแห่ง พร้อมมอบสิทธิพิเศษสำหรับสมาชิกบัตรเครดิต KTC โดยเฉพาะ และทุกการใช้จ่ายยังได้รับคะแนน KTC FOREVER ที่สามารถใช้แลกรับเป็นส่วนลดหรือเครดิตเงินคืน และอื่นๆ อีกมากมาย นอกจากนี้ยังสามารถเปลี่ยนวงเงินบัตรเครดิตเป็นเงินสดได้ โอนเข้าบัญชีออมทรัพย์ได้ หรือเบิกถอนเงินสดจากตู้ ATM ก็ได้ สมัครบัตรเครดิต KTC ออนไลน์ สมัครง่าย ผ่านเว็บไซต์ ไม่ต้องไปธนาคาร
ใช้จ่าย คุ้มค่า นึกถึงบัตรเครดิต KTC