โรคที่มากับหน้าฝน มีอะไรบ้าง
ในช่วงฤดูฝนโรคบางชนิดมีแนวโน้มที่จะแพร่ระบาดมากขึ้น เนื่องจากอากาศชื้นมาก อันเป็นปัจจัยก่อให้เกิดพาหะนำโรคมากมาย สำหรับโรคที่พบบ่อยในฤดูฝนมีดังต่อไปนี้
- ไข้หวัด
เป็นโรคที่พบได้บ่อยตลอดทั้งปีโดยเฉพาะในช่วงหน้าฝน มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียที่ปนเปื้อนอยู่ในอากาศ ไข้หวัดมักมีอาการไม่รุนแรงผู้ป่วยสามารถหายได้เองใน 3 – 4 วัน
- ไข้หวัดใหญ่
เกิดจากเชื้อไข้หวัดใหญ่ (Influenza virus) ผู้ป่วยมักแสดงอาการปวดหัว มีไข้สูง ปวดเมื่อยตามตัว กล้ามเนื้ออักเสบ มีน้ำมูก ไอมาก ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ ฉีด 1 เข็มต่อปี ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อน
- ไข้เลือดออก
ไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่ระบาดหนักมากในช่วงฤดูฝน เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue Virus) โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค จำเป็นต้องรักษาอย่างทันท่วงทีเพื่อป้องการภาวะแทรกซ้อนรุนแรงซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้
- โรคปอดอักเสบ หรือ ปอดบวม
เกิดจากการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือเชื้อราบริเวณทางเดินหายใจส่วนล่าง มักเป็นอาการต่อเนื่องมาจากไข้หวัดใหญ่
- โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน
โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันเกิดจากอาหารหรือน้ำดื่มมีการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เกิดอาการท้องร่วง ปวดท้อง คลื่นไส้ และอาจมีไข้ ปวดศีรษะร่วมด้วย
- โรคตับอักเสบชนิดเอและบี
เกิดจากการที่ร่างกายได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบจากการปนเปื้อนทางอาหารและน้ำดื่ม โดยผู้ป่วยจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลีย มีไข้ หรือดีซ่าน
- โรคมาลาเรีย
โรคมาลาเรียมียุงก้นปล่องเป็นพาหะนำโรค ซึ่งมีชุกชุมในช่วงฤดูฝน ผู้ป่วยมักมีอาการหนาวสั่น มีไข้สูง ตัวซีด หากรุนแรงอาจมีอาการไตวาย ตับอักเสบได้
- โรคตาแดงหรือเยื่อบุตาอักเสบ
ช่วงหน้าฝนเด็ก ๆ ส่วนใหญ่มีภูมิต้านทานต่ำมักป่วยเป็นภูมิแพ้ ทำให้มีอาการคันตาและขยี้ตาบ่อย ทำให้ติดเชื้อจนทำให้เยื่อบุตาอักเสบ
- โรคมือเท้าปาก
โรคมือเท้าปากเป็นโรคที่พบบ่อยช่วงหน้าฝน โดยเฉพาะในเด็กเกิดจากได้รับเชื้อไวรัสกลุ่มเอนเทอโร ทำให้เป็นแผลในปาก มีตุ่มน้ำใสตามมือ เท้า และลำตัว
- โรคฉี่หนู หรือ เลปโตสไปโรสิส
โรคฉี่หนูมีหนูหรือสัตว์ฟันแทะเป็นพาหะ โดยเชื้อจะมาจากปัสสาวะที่ปนเปื้อนมาตามน้ำท่วมขัง สามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านทางผิวหนังตามรอยขีดข่วน รอยแผล หรือเยื่อบุของ ตา จมูก ปาก
ฟิตร่างกายให้พร้อม เตรียมรับมือโรคในหน้าฝน
หน้าฝนเป็นช่วงเวลาที่สภาพอากาศมีความชื้นสูง เนื่องจากมักมีฝนตกอย่างต่อเนื่อง การดูแลสุขภาพในช่วงนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องใส่ใจ หากไม่มีการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม อาจส่งผลให้เกิดอาการเจ็บป่วยได้ โดยเฉพาะโรคที่มากับหน้าฝน บทความนี้จะมาแนะนำวิธีดูแลสุขภาพในช่วงหน้าฝนอย่างถูกต้อง เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งกับตัวคุณเองและสมาชิกในครอบครัว
สภาพอากาศช่วงหน้าฝน ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างไร
อากาศในช่วงฤดูฝนมีทั้งผลดีและผลเสียต่อสุขภาพ แม้ว่าฝนจะมีความจำเป็นต่อสิ่งแวดล้อมและการเกษตร แต่ก็อาจนำมาซึ่งปัญหาที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ดังนี้
- โรคที่มากับน้ำ
ปริมาณน้ำฝนอาจนำไปสู่โรคที่มากับน้ำ เช่น อหิวาตกโรค ไทฟอยด์ และไวรัสตับอักเสบเอ นอกจากนี้เมื่อฝนตกหนักอาจทำให้แหล่งน้ำปนเปื้อน นำไปสู่การแพร่ระบาดของเชื้อโรค ผ่านทางน้ำดื่ม หรือน้ำใช้เพื่อสาธารณูปโภค
- โรคที่มีพาหะนำโรค
ยุงและแมลงบางชนิดอาจเป็นพาหะนำโรคมีแนวโน้มแพร่พันธุ์มากขึ้นในช่วงฤดูฝน มีความเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ อาทิ โรคมาลาเรีย โรคไข้เลือดออก และไวรัสซิกา การใช้มาตรการป้องกัน เช่น การใช้มุ้ง ไม้ช็อตยุงไฟฟ้า เครื่องดักจับยุง รวมถึงการกำจัดแหล่งน้ำขัง สามารถช่วยลดความเสี่ยงได้
- การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ
สภาพอากาศที่มีความชื้นสูง มีส่วนทำให้เชื้อราเจริญเติบโตได้ดี ผู้ที่มีอาการป่วยทางเดินหายใจ เช่น โรคหอบหืดหรือโรคภูมิแพ้อาจมีอาการแย่ลง นอกจากนี้การติดเชื้อไวรัสทางเดินหายใจ เช่น โรคไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่สามารถแพร่กระจายได้ง่ายขึ้นในช่วงเวลานี้
- อุบัติเหตุและการบาดเจ็บ
พื้นผิวที่ลื่น ถนนที่ถูกน้ำท่วม และทัศนวิสัยที่ลดลงเนื่องจากฝนตก เพิ่มโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุและการบาดเจ็บได้ ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุทางถนน การหกล้ม และอุบัติเหตุอื่น ๆ อาจเกิดขึ้นได้บ่อยในช่วงฤดูฝน
- สุขภาพจิต
บรรยากาศที่มีเมฆมาก มืดครึ้มเป็นเวลานานอาจส่งผลต่ออารมณ์และสุขภาพจิต บางคนอาจประสบกับปัญหาโรคอารมณ์แปรปรวนตามฤดูกาล (SAD) และภาวะซึมเศร้าในช่วงฤดูฝนได้
ผลกระทบของสภาพอากาศต่อสุขภาพอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับภูมิภาค โครงสร้างพื้นฐาน และความอ่อนไหวของร่างกายในแต่ละบุคคล การใช้มาตรการป้องกันที่เหมาะสม ปฏิบัติตามสุขอนามัยที่ดี ติดตามข้อมูลเกี่ยวกับสภาพอากาศ และคำแนะนำด้านสุขภาพสามารถ ช่วยลดความเสี่ยงปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นในช่วงฤดูฝน
11 วิธีดูแลสุขภาพให้แข็งแรงช่วงหน้าฝน
การยืดกล้ามเนื้อก่อนออกกำลังกายช่วยป้องกันอาการบาดเจ็บ
1. หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำที่ไม่สะอาด หรืออาหารสุก ๆ ดิบ ๆ และ หลีกเลี่ยงอาหารที่ทิ้งไว้ค้างคืนที่ไม่ปิดภาชนะ
2. รักษาสภาพแวดล้อมบริเวณที่พักอาศัยให้ปราศจากน้ำขัง เพื่อป้องกันแหล่งเพาะพันธุ์ยุง
3. รีบอาบน้ำ ทำความสะอาดร่างกายโดยเร็วหากแช่หรือย่ำลงไปในแหล่งน้ำที่สงสัยว่าอาจปนเปื้อนเชื้อ
4. ระวังพื้นผิวที่ลื่นอันอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้
5. เล่นกีฬา หรือออกกำลังกายด้วยเครื่องออกกำลังกายที่บ้าน หรือกีฬาภายในร่ม พักผ่อนให้เพียงพอ และจัดการกับความเครียด
6. ติดตามข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับสภาพอากาศในท้องถิ่นและคำแนะนำด้านสุขภาพ
7. หลีกเลี่ยงการเดินผ่านน้ำท่วมขัง เพื่อป้องกันการติดเชื้อทางผิวหนัง
8. ใช้มุ้ง ยากันยุง ไม้ช็อตยุงไฟฟ้า หรือเครื่องดักจับยุงเพื่อป้องกันยุงกัด
9. ควรสวมชุดป้องกัน เช่น รองเท้าบูท เสื้อกันฝน
10. ปฏิบัติตามสุขอนามัยทางเดินหายใจที่ดี เช่น ปิดปากเมื่อไอหรือจาม หรือใส่หน้ากากอนามัย
11. ไปพบแพทย์ทันทีหากพบว่าร่างกายมีความผิดปกติเกิดขึ้น
และทั้งหมดนี้ก็คือวิธีดูแลสุขภาพในช่วงหน้าฝนให้ปลอดภัยห่างไกลโรคร้ายที่ทีมงาน KTC นำมาฝาก และเนื่องจากประเทศไทยเข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา เพื่อให้ไลฟ์สไตล์ของคุณไม่มีสะดุด การดูแลสุขภาพจึงเป็นเรื่องสำคัญ หากท่านใดที่มีอาการเจ็บป่วย และเป็นสมาชิกบัตร KTC รับสิทธิพิเศษส่วนลดค่ารักษาพยาบาลสูงสุด 50% ที่โรงพยาบาลและคลินิกที่ร่วมรายการกว่า 350 แห่งทั่วประเทศ พร้อมทั้งแบ่งเบาค่ารักษาพยาบาลด้วยการผ่อนชำระ 0% + รับ Cash Back ที่โรงพยาบาล/คลินิกที่ร่วมรายการ หรือ แลกรับ Cash Back 13% เมื่อชำระเต็มจำนวน ที่โรงพยาบาล/คลินิกทั่วประเทศ (ภายใต้ MCC ที่กำหนด)