หนึ่งในหลากหลายธุรกิจที่น่าลงทุน หรือผู้ที่เริ่มอยากมีกิจการเป็นของตนเองกำลังให้ความสนใจก็คือ “ร้านนั่งชิล” เพราะธุรกิจร้านนั่งชิลนั้นมีตั้งแต่ขนาดเล็ก ขนาดกลาง ไปจนถึงขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตามแม้ว่าธุรกิจร้านนั่งชิลที่คุณกำลังสนใจอยากเริ่มลงทุนจะเป็นร้านขนาดเล็กๆ ไม่ใช่ร้านขนาดใหญ่ แต่รายละเอียดของการทำธุรกิจร้านนั่งชิลนั้นก็อาจจะไม่ชิลอย่างที่คิด เพราะมีรายละเอียดยิบย่อยไปจนถึงข้อกฎหมายที่ควรรู้ จะดีกว่าไหม? ถ้าเริ่มต้นธุรกิจด้วยการเตรียมพร้อมแบบรอบด้าน เพราะจะได้ไม่ต้องเสี่ยงกับการขาดทุน ด้วยสูตรเปิดร้านนั่งชิลเล็กๆ ให้ประสบความสำเร็จ ที่แม้จะมีรายละเอียดเยอะ แต่ก็ไม่ยากอย่างที่คิด
ก่อนเริ่มต้นธุรกิจควรเตรียมความพร้อมด้วยการศึกษาข้อกฎหมายที่ควรรู้ต่างๆ โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการจำหน่ายเครื่องดื่ม
จะเปิดร้านนั่งชิลต้องเริ่มจากอะไร?
1. แผนธุรกิจ
สิ่งสำคัญและควรทำอันดับแรก ที่ไม่ใช่แค่ธุรกิจร้านนั่งชิล แต่ยังรวมไปถึงธุรกิจอื่นๆ ด้วยก็คือแผนการธุรกิจ โดยต้องมีการกำหนดหรือวางแผนกลุ่มเป้าหมายอย่างชัดเจน ว่าจะเปิดร้านทำไม เพื่ออะไร และเปิดให้ใคร รวมถึงอย่าลืมระบุจุดแข็งและจุดอ่อนของธุรกิจของคุณ เชื่อว่าเมื่อเป้าหมายธุรกิจของคุณชัดเจนแล้ว จะช่วยทำให้การดำเนินการด้านอื่นๆ เป็นไปอย่างราบรื่นมากยิ่งขึ้น
2. ทำเลที่ตั้งเปิดร้านนั่งชิล
หลังจากที่แผนธุรกิจเสร็จแล้ว อีกหนึ่งสิ่งสำคัญต่อการเปิดร้านก็คือทำเลหรือที่ตั้ง คุณควรกำหนดขอบเขตและพื้นที่ของร้านที่คุณอยากเปิด รวมถึงอย่าลืมการทำรีเสิร์ชด้วยว่าพื้นที่เหล่านั้นมีคู่แข่งเยอะมากแค่ไหน แต่ละทำเลที่ตั้งก็จะมีกลุ่มลูกค้าที่แตกต่างกัน รวมถึงค่าเช่าด้วย ลองคำนวนเรื่องค่าเช่าให้ดี เพราะมีผลมากสำหรับความเสี่ยงที่ร้านจะขาดทุน หรืออาจจะได้กำไรถ้าค่าเช่าไม่แพงมากเกินไป
3. เงินลงทุนธุรกิจ
เรื่องเงินก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญมากต่อการทำธุรกิจ เพราะก่อนที่จะเช่าหรือซื้อทำเลที่ตั้ง รวมถึงการตกแต่งร้านและซื้อของเข้าร้าน แนะนำว่าให้คิดคำนวนงบประมาณให้ดี ว่าต้องใช้จ่ายเท่าไหร่ มีเงินสำรองเท่าไหร่ แล้วถ้าหากว่าเปิดร้านไปแล้วลูกค้ายังไม่เข้าร้าน คุณจะมีทุนสำรองพอจ่ายค่าเช่าได้กี่เดือน ให้ลองคำนวนให้ดี และตั้งงบที่ชัดเจนไว้เลย สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งคืออย่าลืมเผื่อเงินไว้สำหรับกระแสเงินสดหมุนเวียนในร้านด้วย
ก่อนเปิดร้านควรจัดเตรียมความพร้อมด้านเงินทุนโดยเฉพาะการจัดเตรียมระบบการรับชำระเงิน และคำนวณค่าใช้จ่ายทั้งการตกแต่งร้านและการจัดจ้างพนักงานภายในร้าน
เปิดร้านนั่งชิลต้องมีอะไรบ้าง?
1. เตรียมการจ้างพนักงาน
หลายคนอาจจะมองข้ามข้อนี้ไป แต่การเลือกจ้างพนักงาน หรือกำหนดว่าในร้านจะต้องมีพนักงานกี่คนก็เป็นสิ่งสำคัญ และสำคัญยิ่งไปกว่านั้นคือการกำหนดค่าจ้างพนักงานในร้าน ทั้งนี้อาจจะต้องเลือกจ้างพนักงานให้สอดคล้องกับขนาดของร้าน ถ้าหากคุณต้องเฝ้าร้านเอง หรืออยากลดต้นทุนการจ้างพนักงานก็อย่าลืมตั้งเงินเดือนให้กับตัวเองด้วย
2. ตั้งระบบการชำระเงิน
เพราะระบบการชำระเงินสำหรับร้านค้านั้นสำคัญไม่น้อยไปกว่าสิ่งอื่นใด ดังนั้นการตั้งระบบการชำระเงินที่ดีจะต้องทั้งสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย และต้องอย่าลืมว่าทุกวันนี้คนไม่ค่อยพกเงินสด ฉะนั้นจะต้องมีระบบรองรับทั้งสำหรับการสแกนจ่ายและการรับชำระด้วยบัตรเครดิต ซึ่งหนึ่งในระบบการชำระเงินที่น่าสนใจสำหรับการจ่ายเงินด้วยบัตรเครดิตที่อยากแนะนำให้ผู้กำลังเริ่มทำธุรกิจได้รู้จักก็คือ KTC MERCHANT ที่จะอำนวยความสะดวกให้ทั้งกับร้านค้าและผู้ใช้งาน ด้วยระบบบริการ 6 รูปแบบ
- KTC EDC Service ที่ใช้การแตะบัตรเครดิตจ่ายเงินได้เลย เพื่อเพิ่มความสะดวก และรวดเร็วในการจ่ายผ่านบัตรฯ หรือจะใช้การเสียบ หรือรูดจากเครื่องก็ได้ สามารถเลือกรูดเต็มจำนวน หรือผ่อนชำระได้ถ้าคุณใช้บัตรเครดิต KTC
- KTC GATEWAY ระบบการชำระสินค้า หรือบริการออนไลน์ตลอด 24 ชั่วโมง
- LINK PAY ระบบชำระเงินผ่านทางลิงก์ หรือ QR Code เพื่อใช้ส่งให้ลูกค้าชำระเงินผ่านช่องทางต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น LINE หรือว่า Facebook
- KTC QR PAY สามารถชำระเงินด้วยบัตรเครดิต KTC ได้ผ่านช่องทาง QR Code
- AUTO PAYMENT บริการตัดเงินจากบัตรฯ อัตโนมัติ เหมาะสำหรับไว้ใช้จ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ หรือค่าอินเตอร์เน็ตของร้าน
- KTC ALIPAY ถ้าหากกลุ่มลูกค้าหลักของคุณคือคนจีน ก็มั่นใจได้ว่า KTC MERCHANT รองรับการจ่ายด้วย ALIPAY
3. ค่าตกแต่งภายใน
ปฎิเสธไม่ได้ว่าการตกแต่งร้านนั้นมีผลอย่างมากสำหรับร้านนั่งชิล เพราะนอกจากจะช่วยดึงดูดให้คนเข้าร้านแล้วยังเป็นโลเคชั่นสำหรับถ่ายรูปชั้นยอด เหมาะกับลูกค้ากลุ่มที่ชอบถ่ายรูป บล็อกเกอร์ หรือว่าคนที่ชอบรีวิว ทั้งนี้คุณอาจจะต้องตั้งงบประมาณสำหรับการตกแต่งภายในให้ดี ไม่เช่นนั้นงบอาจจะบานปลายได้
4. เมนูอาหารและเครื่องดื่มสุดครีเอท
ถ้าคุณจะเปิดร้านนั่งชิลควรเตรียมเมนูอาหารหรือกับแกล้มไว้สำหรับนักดื่มทั้งหลาย อย่าลืมคำนวนต้นทุน ค่าวัตถุดิบ และกำไรจากราคาเครื่องดื่มไว้ด้วย ซึ่งนอกจากจะต้องรสชาติดีแล้ว ถ้าทำเมนูออกมาสวย เหมาะกับการถ่ายรูป เวลาลูกค้ามานั่งแล้วถ่ายรูปลงโซเชียล ก็จะเหมือนกับได้รับการโปรโมทร้านไปในตัว
เปิดร้านนั่งชิลใช้งบลงทุนเท่าไหร่?
สำหรับงบลงทุนที่ใช้อาจจะต้องขึ้นอยู่กับขนาดของธุรกิจที่อยากเปิด เช่น เป็นแค่ร้านเล็กๆ หรือว่าต้องการร้านที่จุคนได้เยอะมากกว่า 50 โต๊ะขึ้นไป งบที่ต้องใช้ก็จะเยอะตามไปด้วย ส่วนใหญ่แล้วเงินลงทุนจะอยู่ที่ประมาณ 300,000 บาทเป็นต้นไป ถ้าหากว่าต้องการร้านที่มีขนาดใหญ่ รวมค่าตกแต่ง ซื้อวัตถุดิบเข้าร้าน และจ้างพนักงาน ก็อาจจะใช้เงินทุนแตะหลักล้าน นอกเหนือจากงบประมาณแล้ว ผู้ประกอบการควรมีเงินสดเพื่อนำมาหมุนเป็นค่าใช้จ่ายอื่นๆ อยู่ที่ประมาณ 100,000-300,000 บาทต่อเดือน โดยงบประมาณเหล่านี้อย่าลืมคิดค่าเช่า และค่าตกแต่งภายในด้วย
ศึกษาข้อกฏหมายที่ควรรู้เกี่ยวกับการเปิดร้านนั่งชิลที่จัดจำหน่ายเครื่องดื่มเพื่อการทำธุรกิจอย่างถูกต้อง
กฎหมายที่ควรรู้ก่อนตัดสินใจเปิดร้านนั่งชิล
1. พ.ร.บ. สถานบริการ ฉบับ พ.ศ. 2546
กฎหมายที่ต้องรู้อย่างแรกเลยก็คือ “พ.ร.บ. สถานบริการ” เพราะว่าสำคัญมากสำหรับร้านนั่งชิล ผู้ประกอบการจะต้องปฎิบัติตามกฎอย่างเคร่งครัด
(๔) สถานที่ที่มีอาหาร สุรา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจําหน่ายหรือให้บริการ โดยมีรูป
แบบอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(ก) มีดนตรีการแสดงดนตรีหรือการแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิงและยินยอม
หรือปล่อยปละละเลยให้นักร้อง นักแสดง หรือพนักงานอื่นใดนั่งกับลูกค้า
(ข) มีการจัดอุปกรณ์การร้องเพลงประกอบดนตรีให้แก่ลูกค้า โดยจัดให้มีผู้
บริการขับร้องเพลงกับลูกค้า หรือยินยอมหรือปล่อยปละละเลยให้พนักงานอื่นใดนั่งกับลูกค้า
(ค) มีการเต้นหรือยินยอมให้มีการเต้น หรือจัดให้มีการแสดงเต้น เช่น การเต้น
บนเวทีหรือการเต้นบริเวณโต๊ะอาหารหรือเครื่องดื่ม
(ง) มีลักษณะของสถานที่การจัดแสงหรือเสียง หรืออุปกรณ์อื่นใดตามที่กําหนด
ในกฎกระทรวง
(๕) สถานที่ที่มีอาหาร สุรา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจําหน่าย โดยจัดให้มีการแสดงดนตรีหรือการแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิง ซึ่งปิดทําการหลังเวลา ๒๔.๐๐ นาฬิกา
มาตรา ๖ ผู้ขออนุญาตตั้งสถานบริการตามมาตรา ๔ ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
(๑) อายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์
(๒) ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรม
(๓) ไม่เป็นผู้วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
(๔) ไม่เป็นผู้เจ็บป่วยด้วยโรคติดต่ออันเป็นที่รังเกียจแก่สังคม โรคพิษสุราเรื้อรัง หรือ
โรคยาเสพติดให้โทษอย่างร้ายแรง
(๕) ไม่เป็นผู้เคยต้องรับโทษในความผิดเกี่ยวกับเพศ ตามประมวลกฎหมายอาญา
ในความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการค้าหญิงและเด็กหญิง ตามกฎหมายว่าด้วยการปรามการทําให้
แพร่หลายและการค้าวัตถุอันลามก หรือตามกฎหมายว่าด้วยการปรามการค้าประเวณี
ในกรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้ขออนุญาตตั้งสถานบริการ ผู้แทนของนิติบุคคลนั้นต้องมี
คุณสมบัติตามความในวรรคก่อน
สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมของ พ.ร.บ สถานบริการ พ.ศ. 2546 ได้ ที่นี่
2. ข้อกำหนดของเวลาเปิด-ปิด เวลาทำการของสถานบริการ พ.ร.บ พ.ศ. 2509
สำหรับกฎหมายร้านแอลกอฮอล์ ปิดกี่โมง? สามารถอ่านได้จากรายละเอียดต่อไปนี้
สถานบริการที่เป็นสถานเต้นรำ รำวง หรือรองเง็ง เป็นปกติธุระประเภทที่มีและประเภทที่ไม่มีคู่บริการ จะจัดให้มีสุรา น้ำชา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่าย หรือจัดให้มีการแสดงดนตรีหรือการแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิงด้วยก็ได้ ให้เปิดทำการได้ ดังนี้
(๑) ระหว่างเวลา ๒๑.๐๐ นาฬิกา ถึง ๐๒.๐๐ นาฬิกา ของวันรุ่งขึ้น สำหรับสถานบริการที่ตั้งอยู่
ในเขตพื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
(๒) ระหว่างเวลา ๒๑.๐๐ นาฬิกา ถึง ๒๔.๐๐ นาฬิกา ของวันเดียวกัน สำหรับสถานบริการ
ที่ตั้งอยู่นอกเขตพื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการหรือสถานบริการที่ตั้งอยู่ในเขตท้องที่งดอนุญาตให้ตั้งสถานบริการตามที่พระราชกฤษฎีกากำหนดท้องที่เพื่อการอนุญาต หรืองดอนุญาตให้ตั้งสถานบริการได้ผ่อนผันให้
สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมของ พ.ร.บ สถานบริการ พ.ศ. 2509 ได้ ที่นี่
3. พ.ร.บ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551
มาตรา 27 ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่หรือบริเวณดังต่อไปนี้
(1) วัดหรือสถานที่สำหรับปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา
(2) สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ สถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลและร้านขายยาตามกฎหมายว่าด้วยยา
(3) สถานที่ราชการ ยกเว้นบริเวณที่จัดไว้เป็นร้านค้าหรือสโมสร
(4) หอพักตามกฎหมายว่าด้วยหอพัก
(5) สถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
(6) สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง หรือร้านค้าในบริเวณสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
(7) สวนสาธารณะของทางราชการที่จัดไว้เพื่อการพักผ่อนของประชาชนโดยทั่วไป
(8) สถานที่อื่นที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ
มาตรา ๒๙ ห้ามมิให้ผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอลแก่บุคคลดังต่อไปนี้
(๑) บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์
(๒) บุคคลที่มีอาการมึนเมาจนครองสติไม่ได้
สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมของ พ.ร.บ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ได้ ที่นี่
จะเปิดร้านให้ถูกต้องจำเป็นต้องจดทะเบียนพาณิชย์ และทำการขอใบอนุญาตเปิดสถานบริการและจำหน่ายเครื่องดื่ม พร้อมขึ้นทะเบียนภาษีป้ายอย่างถูกต้อง
เปิดร้านนั่งชิลต้องขออนุญาตอะไรบ้าง?
1. จดทะเบียนพาณิชย์
อันดับแรกก่อนจะเริ่มต้นขอใบอนุญาตต่างๆ ให้จดทะเบียนพาณิชย์ก่อน เพราะว่าทั้งการขายอาหารและเครื่องดื่มนั้นถือว่าเป็นการประกอบพาณิชย์อย่างหนึ่ง โดยบุคคลธรรมดาไม่สามารถทำได้ จะต้องไปจดทะเบียนให้ถูกต้อง โดยสามารถไปจดทะเบียนพาณิชย์ได้ที่อำเภอ หรือสำนักงานเขตที่ร้านตั้งอยู่ แต่ถ้าหากใครที่จดทะเบียนบริษัทแล้ว นำมาประกอบธุรกิจร้านนั่งชิลที่ไม่ใช่บุคคลธรรมดา จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องไปจดทะเบียนพาณิชย์
2. ขอใบอนุญาตเปิดสถานบริการ
หลังจากที่จดทะเบียนพาณิชย์เสร็จแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือนำใบจดทะเบียนพาณิชย์ไปขอนุญาตเปิดสถานบริการ โดยจะต้องไปที่สำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอก็ได้ แล้วแต่ความสะดวก
3. ขอใบอนุญาตจำหน่ายเครื่องดื่ม
ทำการขอใบอนุญาตจำหน่ายเครื่องดื่มที่มีกฎหมายควบคุม โดยสามารถไปขอได้ที่กรมสรรพสามิต สำหรับร้านที่อยู่ในกรุงเทพฯ และร้านในจังหวัดอื่นๆ สามารถไปขอได้ที่สำนักงานสรรพสามิตจังหวัด หรือสามารถยื่นออนไลน์ได้เลย สำหรับใบอนุญาตจะมีอายุ 1 ปี โดยผู้ประกอบการจะต้องไปต่อใบอนุญาตเมื่อถึงระยะเวลาที่กำหนด
4. ขึ้นทะเบียนภาษีป้าย
เพื่อให้ร้านนั่งชิลของคุณเป็นที่รู้จัก ควรจะต้องไปขึ้นทะเบียนภาษีป้าย เพื่อเสียภาษีป้ายประจำปี โดยภาษีป้ายจะขึ้นอยู่กับขนาด และตัวอักษรที่เลือกใช้ โดยขนาดนั้นจะนับพื้นที่ป้าย มีหน่วยวัดเป็นตารางเซนติเมตร ทำการหาร 500 และคูณอัตราภาษี สามารถไปยื่นเสียภาษีป้ายได้ที่สำนักงานเขต สำหรับร้านที่อยู่ในกรุงเทพฯ สำหรับต่างจังหวัดให้ไปที่องค์การบริการส่วนตำบล (อบต.) หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) หรือที่ว่าการอำเภอ ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับที่ตั้งของร้านด้วย
เตรียมความพร้อมด้านค่าใช้จ่ายสำหรับชำระค่าภาษีต่างๆ อย่างถูกต้อง อาทิ ภาษีป้าย และภาษีเงินได้นิติบุคคล
เปิดร้านนั่งชิลเสียภาษีอะไรบ้าง?
1. ภาษีป้าย
อย่างแรกเลยที่ต้องเสียก็คือภาษีป้าย ซึ่งการเสียภาษีป้ายนั้นต้องเสียทุกปี อัตราค่าเสียภาษีป้ายมีดังนี้
- ป้ายที่มีอักษรไทยล้วน คิดภาษี 500 ตร.ซม. ต่อ 3 บาท
- ป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศหรือปนกับภาพ และหรือเครื่องหมาย คิดภาษี 500 ตร.ซม. ต่อ 20 บาท
- (ก) ป้ายที่ไม่มีอักษรไทย ไม่ว่าจะมีภาพและหรือเครื่องหมายใดๆ
(ข) ป้ายที่มีอักษรไทยทั้งหมด หรือบางส่วนอยู่ใต้และหรืออยู่ต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ คิดภาษี 500 ตร.ซม. ต่อ 40 บาท ป้ายเมื่อคำานวณพื้นที่จำนวน เงินภาษีไม่ถึงป้ายละ 200 ให้เสียภาษีป้ายละ 200 บาท
2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ร้านนั่งชิลของคุณจะต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จากผู้ชำระเงิน และมีหน้าที่ออกใบกำกับภาษีให้กับผู้ชำระเงิน ต่อเมื่อดำเนินธุรกิจจนมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทเป็นต้นไป โดยจะต้องยื่นจดไม่เกินภายใน 30 วัน หลังจากวันที่ได้รับรายได้เกิน นอกจากจะต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากลูกค้าแล้ว ต้องรวบรวมเอกสารเพื่อยื่นต่อกรมสรรพสามิตด้วย
3. ภาษีเงินได้นิติบุคคล
โดยผู้ประกอบการ หรือเจ้าของร้านนั่งชิล ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลจะต้องทำการจ่ายภาษีปีละ 2 ครั้ง ได้แก่
- ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด. 51 ภายในระยะเวลา 2 เดือนนับ ตั้งแต่วันครบ 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชี
- ภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด. 50 ภายใน 150 วัน นับตั้งแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดยนำภาษีที่จ่ายในครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี มาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้ตอนสิ้นรอบเวลาบัญชี
เมื่อได้ทราบถึงข้อมูลรายละเอียด กฎหมาย และข้อควรรู้แบบคร่าวๆ แล้ว ก็สามารถวางแผนเปิดธุรกิจร้านนั่งชิลกันได้เลย แต่สำหรับกฎหมายที่มีรายละเอียดมาก อย่างเช่น พ.ร.บ ควบคุมเครื่องดื่ม หรือ พ.ร.บ สถานบริการ แนะนำให้อ่านและศึกษาข้อบังคับอย่างละเอียด นอกจากนี้การทำรายรับ-รายจ่ายก็สำคัญมากต่อการทำธุรกิจ แต่ถ้าอยากได้ระบบคิดเงินที่มีความปลอดภัย ง่ายทั้งกับผู้รับเงินและผู้จ่ายเงิน แนะนำลงทะเบียนได้ที่ KTC MERCHANT หรือส่งอีเมลได้ที่ ktc_merchant@ktc.co.th
ตอบรับทุกบริการ ชำระเงิน ด้วย KTC MERCHANT