เมื่อเทคโนโลยี และพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ธุรกิจต่างๆ ก็ต้องปรับตัวให้เข้ากับความต้องการของผู้บริโภคที่ไม่เหมือนเดิมเช่นกัน และหนึ่งในกลยุทธ์ที่ได้รับความนิยมมากขึ้นก็คือ “Subscription Model” หรือการสมัครสมาชิกเพื่อรับสินค้าหรือบริการอย่างต่อเนื่อง ด้วยลักษณะการทำธุรกิจเช่นนี้ ทำให้ผู้ประกอบการสามารถสร้างรายได้ที่มั่นคง คาดการณ์รายได้ในอนาคตได้ ส่วนลูกค้าก็ได้รับความสะดวกในการใช้บริการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในบทความนี้ เราจะมาทำความรู้จักกับ Subscription Model ให้มากขึ้นว่า Subscription Model คืออะไรอย่างละเอียด และทำไมถึงเป็นโมเดลธุรกิจที่น่าสนใจ
Subscription Model คืออะไร ?
Subscription Model คือ รูปแบบการขายสินค้า หรือบริการที่ให้ผู้บริโภคชำระเงินในลักษณะค่าสมาชิก ต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอ เช่น ชำระเป็นรายเดือน รายปี โดยลูกค้าจะได้รับสินค้าหรือบริการในช่วงเวลาที่กำหนดโดยอัตโนมัติ และสามารถยกเลิกบริการเมื่อไหร่ก็ได้เช่นกัน Subscription Model ตัวอย่าง
ที่คุ้นเคยกันส่วนใหญ่จะเป็นพวก Online Streaming เช่น Netflix, Spotify, YouTube, Disney+ เป็นต้น
Subscription Model มีกี่แบบ อะไรบ้าง ?
Subscription Model สามารถแบ่งออกเป็นหลายประเภท ขึ้นอยู่กับลักษณะการให้บริการหรือสินค้าที่จัดจำหน่าย ซึ่งแบ่งได้ดังนี้
- Product-based Subscription : การสมัครรับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ต้องส่งให้ลูกค้าอย่างต่อเนื่อง เหมาะสำหรับสินค้าที่ใช้หมดแล้วต้องเติม หรือสินค้าที่ตอบสนองความต้องการเฉพาะตัว เช่น การสมัครผูกปิ่นโตอาหารคลีน การสมัครรับแคปซูลกาแฟรายเดือน
- Service-based Subscription : การสมัครสมาชิกเพื่อเข้าถึงบริการในรูปแบบต่างๆ เป็นระยะเวลาต่อเนื่อง เหมาะสำหรับบริการที่ต้องการใช้งานบ่อยๆ เช่น คอร์สสอนออกกำลังกายออนไลน์ คอร์สเรียนภาษาออนไลน์ การสมัครใช้บริการ Adobe
- Membership Subscription : การสมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับสิทธิประโยชน์พิเศษ หรือเข้าถึงบริการที่ถูกจำกัดเฉพาะสมาชิก เหมาะสำหรับธุรกิจที่เน้นความพรีเมียมและสร้างความแตกต่าง เช่น สปอร์ตคลับ
ทำไม Subscription Model ถึงน่าสนใจ ?
Subscription Model มีความน่าสนใจทั้งสำหรับผู้ประกอบการและผู้บริโภค ดังนี้
- รายได้ที่มั่นคงและต่อเนื่อง : ธุรกิจที่ใช้ Subscription Model จะสามารถคาดการณ์รายได้ได้ดีขึ้น เพราะลูกค้าจะมีการชำระเงินอย่างสม่ำเสมอ
- ลูกค้าเก่าไม่หายไปไหน : การชำระเงินในระยะยาวช่วยให้ลูกค้าผูกพันกับแบรนด์ และมีแนวโน้มที่จะคงอยู่กับบริการในระยะยาว
- สร้างความสะดวกสบาย : สำหรับผู้บริโภค การสมัครสมาชิกมักมาพร้อมกับความสะดวกสบายในการได้รับบริการหรือสินค้าที่ต้องการโดยไม่ต้องจัดการเรื่องการชำระเงินซ้ำๆ
- ปรับเปลี่ยนบริการได้ง่าย : ธุรกิจสามารถใช้ข้อมูลที่ได้รับจากการสมัครสมาชิกเพื่อปรับเปลี่ยนบริการให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้
- ช่วยลดต้นทุนในการหาลูกค้าใหม่ : เมื่อมีฐานลูกค้าที่สมัครสมาชิกอย่างต่อเนื่อง ก็จะช่วยให้ธุรกิจสามารถลดค่าใช้จ่ายในการทำการตลาดเพื่อหาลูกค้าใหม่
- เพิ่มโอกาสสร้างรายได้จากบริการเสริม (Upselling) : Subscription Model ช่วยเปิดโอกาสให้ธุรกิจนำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการเสริมเพื่อเพิ่มมูลค่าต่อสมาชิกได้ เช่น การอัปเกรดแพ็กเกจหรือบริการเสริมพิเศษ
- ช่วยขยายตลาดไปยังกลุ่มเป้าหมายใหม่ : Subscription Model ช่วยให้ธุรกิจสามารถเจาะตลาดกลุ่มใหม่ได้ง่ายขึ้น โดยเสนอแพ็กเกจราคาประหยัดสำหรับผู้เริ่มต้น หรือแพ็กเกจทดลองใช้งาน เช่น Canva Pro ที่เสนอราคาสมัครสมาชิกสำหรับนักเรียน/นักศึกษา เพื่อดึงกลุ่มผู้ใช้งานใหม่
subscription model หรือโมเดลสมาชิก คือธุรกิจที่ลูกค้าชำระเงินเป็นค่าบริการแบบสม่ำเสมอ
จะเปลี่ยนธุรกิจของเราเป็น Subscription Model ได้อย่างไร ?
การเปลี่ยนธุรกิจให้เป็น Subscription Model ต้องเริ่มจากการวิเคราะห์ลักษณะของสินค้าหรือบริการที่มีในมือก่อน เช่น ลูกค้าต้องการบริการในระยะยาวหรือไม่ มีกลุ่มเป้าหมายที่มีความต้องการต่อเนื่องหรือไม่ โดยลำดับขั้นตอนที่ธุรกิจสามารถนำปรับไปใช้ได้มีดังนี้
- ศึกษาความต้องการของตลาด : สำรวจตลาดเพื่อเข้าใจความต้องการของลูกค้าและความคุ้มค่าของ Subscription Model
- ตั้งราคาสมาชิกที่เหมาะสม : คำนึงถึงราคาที่เหมาะสมในการสมัครสมาชิก เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกคุ้มค่าและธุรกิจไม่ขาดทุน
- สร้างความหลากหลายในการเลือกแผนบริการ : ให้ลูกค้าสามารถเลือกแผนการสมัครสมาชิกที่เหมาะสมกับงบประมาณหรือความต้องการของตนเอง
- พัฒนาเทคโนโลยีและระบบชำระเงิน : ใช้ระบบชำระเงินอัตโนมัติ เช่น บริการ Recurring จาก KTC ที่ช่วยให้การชำระเงินแบบอัตโนมัติเป็นเรื่องง่ายและปลอดภัย
ให้ทุกการชำระเงินอัตโนมัติเป็นเรื่องง่าย ด้วยบริการ RECURRING จาก KTC
RECURRING จาก KTC เป็นบริการเรียกเก็บค่าบริการอัตโนมัติที่สะดวกสบาย รองรับการชำระเงินทั้งแบบรายวันและรายเดือน ซึ่งมาพร้อมจุดเด่นมากมาย เช่น
- รองรับบัตรเครดิตและเดบิตที่ออกจากสถาบันการเงินชั้นนำทั่วโลกทั้งในและต่างประเทศ ภายใต้เครือข่าย Visa, Mastercard, JCB และ, UnionPay
- ร้านค้าสามารถเลือกตั้งเวลาหรือวางไฟล์เรียกเก็บเงินได้เอง ทั้งแบบรายวัน หรือรายเดือน หรือจะกำหนดความถี่รูปแบบอื่นก็สามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยตนเอง
- ไม่พลาดทุกการรับเงิน โดยร้านค้าสามารถตรวจสอบผลการเรียกเก็บเงินได้ด้วยตนเอง
- ข้อมูลบัตรของลูกค้าได้รับการจัดเก็บ ด้วยความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล
ยกตัวอย่างธุรกิจที่นิยมใช้ Subscription Model เช่น
- สถาบันกวดวิชา การเรียนแบบรายเดือนหรือรายคอร์ส ที่ลูกค้าสามารถชำระเงินเป็นรอบ เช่น รายเดือนหรือรายปี เพื่อเข้าถึงคลาสเรียนต่างๆ ได้อย่างไม่จำกัด
- คอร์สสอนเรียนออนไลน์ ที่สามารถเข้าถึงคอร์สเรียนแบบไม่จำกัดภายในระยะเวลาที่กำหนด
- ธุรกิจฟิตเนสและสุขภาพ ที่สามารถเข้าถึงคลาสออกกำลังกายหรือสิทธิพิเศษในฟิตเนสแบบรายเดือน
- ธุรกิจขายสินค้ารายสัปดาห์หรือรายเดือน ที่ต้องจัดส่งสินค้าให้ลูกค้าอย่างต่อเนื่อง โดยลูกค้าไม่ต้องสั่งซื้อใหม่ทุกครั้ง
- บริการจัดส่งอาหาร ที่ต้องส่งอาหารหรือวัตถุดิบถึงบ้านเป็นประจำ
- บริการเช่าใช้รถยนต์ระยะยาว หรืออุปกรณ์ในครัวเรือน เช่น เครื่องกรองน้ำ เครื่องฟอกอากาศ เป็นต้น
Subscription Model คือรูปแบบธุรกิจที่ช่วยให้ทั้งธุรกิจและลูกค้าได้รับประโยชน์จากความสะดวกสบายและการสร้างความสัมพันธ์ที่ยาวนาน การนำระบบนี้มาใช้ในธุรกิจไม่เพียงแค่ช่วยสร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับร้านค้า แต่ยังเป็นการเพิ่มยอดขาย ด้วยการสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ ในการใช้สินค้าและบริการที่เหมาะกับไลฟ์สไตลส์ของลูกค้าในยุคปัจจุบัน
ซึ่งการใช้บริการ KTC RECURRING จะยิ่งช่วยเสริมศักยภาพทางธุรกิจ ทำให้ธุรกิจของคุณมีระบบการชำระเงินที่สะดวกและปลอดภัย หมดกังวลเรื่องสภาพคล่องจากการเรียกเก็บเงินไม่ได้ตามแผนที่กำหนด
สำหรับธุรกิจใดที่สนใจสมัครใช้บริการ KTC Recurring สามารถกรอกข้อมูลในเว็บไซต์ https://www.ktc.co.th/merchant/recurring และรอเจ้าหน้าที่จะติดต่อกลับ (ภายในวันและเวลาทำการถัดไป) หรือ ติดต่อฝ่ายบริการร้านค้า โทร. 02 123 5700 กด 3 ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง
ตอบรับทุกบริการ ชำระเงิน ด้วย KTC MERCHANT