คนผ่อนรถหมดแล้วอยากได้เงินด่วนต้องอ่าน
หลายคนน่าจะคุ้นหูประโยคที่ว่า การซื้อรถมาพร้อมภาระค่าใช้จ่ายระยะยาวและมูลค่าของทรัพย์สินประเภทนี้ลดลงนับตั้งแต่วันแรกที่ซื้อ ถึงอย่างนั้นรถยังคงเป็นยานพาหนะที่เพิ่มความสะดวกสบายในการเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ แถมยังมีความเป็นส่วนตัวสูง ไม่แปลกที่ผู้คนจำนวนไม่น้อยเลือกซื้อรถมาใช้งานแม้ต้องผ่อนรถยนต์ 5-7 ปี เมื่อรถผ่อนหมดก็ช่วยบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายรายเดือนได้มากทีเดียว แต่เมื่อสถานการณ์เงินตึงมือสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนและตลอดเวลา การมองหาทางออกด้วยแหล่งสินเชื่อถูกกฎหมายที่เปิดโอกาสให้นำรถปลอดภาระไปแปลงเป็นตัวเลือกที่หลายคนเลือกใช้บริการ วันนี้พี่เบิ้มขอพาทุกคนไปดูกันว่า รถผ่อนหมดแล้ว เข้าไฟแนนซ์ที่ไหนดี ? และเหตุของการจำนำรถมีอะไรบ้าง
ไขข้อสงสัย ผ่อนรถหมดแล้วกี่วันได้เล่มทะเบียน
ช่วงเวลาที่คนผ่อนรถยนต์ต่างรอคอย ก็คือการผ่อนรถงวดสุดท้าย เพราะเมื่อผ่อนรถงวดสุดท้ายหมดแล้วตามระยะเวลาของสัญญา ทางบริษัทไฟแนนซ์จะดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์รถมาให้คุณเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์อย่างสมบูรณ์แบบ แต่ก่อนบริษัทไฟแนนซ์โอนกรรมสิทธิ์และส่งเล่มทะเบียนกลับคืนมา มีเรื่องที่ควรรู้ดังนี้
เอกสารที่ต้องใช้ เมื่อผ่อนรถหมดแล้ว
โดยปกติบริษัทไฟแนนซ์จะจัดส่งเอกสารใบคำขอโอนและใบมอบอำนาจมาให้ผู้เช่าซื้อรถยนต์กรอกข้อมูล พร้อมจัดส่งเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการโอนกรรมสิทธิ์รถกลับคืนไปทางไปรษณีย์ เพื่อให้บริษัทไฟแนนซ์ดำเนินการต่อ
(1) ใบคำขอโอนรถยนต์
(2) สำเนาบัตรประชาชน รับรองสำเนาถูกต้อง ลายเซ็นเหมือนสัญญาเช่าซื้อ
(3) สำเนาทะเบียนบ้าน รับรองสำเนาถูกต้อง ลายเซ็นเหมือนสัญญาเช่าซื้อ
(4) หนังสือมอบอำนาจในการโอนรถยนต์ โดยเซ็นในช่องผู้มอบอำนาจ ส่วนรายละเอียดที่เหลือทางบริษัทไฟแนนซ์จะดำเนินการกรอกเองทั้งหมด
นอกจากนี้ต้องเตรียมค่าดำเนินการทางทะเบียนรถหรือค่าโอนรถยนต์ ส่วนค่าโอนรถยนต์มีอัตราจัดเก็บไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของบริษัทไฟแนนซ์แต่ละแห่ง
บริษัทไฟแนนซ์จะโอนกรรมสิทธิ์และเล่มทะเบียนมาให้หลังผ่อนรถหมด
ระยะเวลาโอนเล่มทะเบียน เมื่อผ่อนรถหมดแล้ว
บริษัทไฟแนนซ์ส่วนใหญ่ใช้เวลาดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์รถพร้อมจัดส่งเล่มทะเบียนคืนกลับมาให้ผู้เช่าซื้อไม่เกิน 15 วันทำการหลังได้รับเอกสารและค่าใช้จ่ายในการโอนครบถ้วน แต่ทั้งนี้ระยะเวลาในการโอนรถยนต์และจัดส่งเล่มทะเบียนรถยนต์ของบริษัทไฟแนนซ์แต่ละแห่งไม่เท่ากัน ดังนั้นก่อนปิดบัญชีควรสอบถามรายละเอียดตรงส่วนนี้กับเจ้าหน้าที่อีกครั้ง
ครอบครองรถกี่วัน ถึงเข้าไฟแนนซ์ได้
กรณีได้รับโอนกรรมสิทธิ์มาเป็นชื่อตนเอง หลังผ่อนรถกับบริษัทไฟแนนซ์หมด แล้วอยากนำเล่มทะเบียนรถไปยื่นขอสินเชื่อจำนำทะเบียนรถหรือสินเชื่อรถแลกเงินกับผู้ให้บริการไฟแนนซ์อีกครั้ง แต่สงสัยว่าต้องครอบครองรถกี่วัน ถึงเข้าไฟแนนซ์ได้ ? คำตอบ ธนาคารและผู้ให้บริการที่ไม่ใช่สถาบันการเงินส่วนใหญ่ ได้กำหนดเงื่อนไข ต้องมีระยะครอบครองกรรมสิทธิ์รถมาไม่ต่ำกว่า 30 วัน หรือเป็นไปตามเงื่อนไขที่ผู้ให้บริการกำหนด ถึงใช้เล่มทะเบียนเป็นประกันเวลาสมัครสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ
6 เหตุผลของการจำนำทะเบียน หลังรถผ่อนหมดแล้ว
สำหรับการนำรถยนต์ผ่อนหมดแล้วเข้าบริษัทไฟแนนซ์ คือ การนำรถไปขอกู้ใหม่ผ่านวิธีขอสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ เพื่อนำเงินออกมาใช้จ่ายตามความต้องการของผู้กู้ยืมเงิน โดยเหตุผลที่ต้องจำนำรถกับธนาคารหรือผู้ให้บริการที่ไม่ใช่สถาบันการเงินของแต่ละคนก็มีความแตกต่างกันออกไป ดังนี้
(1) ค่ารักษาพยาบาล
ปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจุบันค่ารักษาพยาบาลต้องใช้เงินจำนวนไม่น้อยในการรักษาตัวหรือดูแลบุคคลในครอบครัว แม้บางคนมีสิทธิพิเศษที่เข้ามาช่วยดูแลค่าใช้จ่ายตรงส่วนนี้อย่างสิทธิประกันสังคม ประกันภัยสุขภาพ หรือสิทธิข้าราชการ แต่อาจไม่เพียงพอกรณีที่ต้องรักษาต่อเนื่องประกอบค่ายาหรือค่าใช้จ่ายบางอย่างอยู่นอกเหนือจากสิทธิที่มี ทำให้ต้องหาเงินมาสำรองจ่ายด้วยตนเอง ด้วยเหตุนี้การเปลี่ยนรถผ่อนหมดเป็นเงินก้อนจึงกลายตัวช่วยทางการเงินที่ได้รับความสนใจ
(2) ค่าเทอม
ไม่ว่าจะเป็นค่าเทอมของบุตรหลานหรือของตนเองล้วนเป็นภาระจำเป็นที่ต้องใช้เงินก้อนใหญ่ทีเดียว เพราะค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการศึกษาไม่ได้จบที่ค่าเทอมหรือค่าหน่วยกิต ยังมีรายจ่ายอื่น ๆ ที่ตามมาอีกไม่น้อย เช่น ค่าหนังสือ-เอกสารประกอบการเรียน ค่าอุปกรณ์การเรียน ค่าเดินทาง ค่ากิจกรรม ค่าหอพัก ค่าชุดนักเรียน-นักศึกษา และค่าอาหาร เป็นต้น เรียกว่าการเรียนในแต่ละระดับการศึกษามีเงินเป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลัก ไม่แปลกที่หลายคนเลือกจำนำรถเพื่อหาทุนการศึกษาสำรอง
(3) เสริมสภาพคล่องในชีวิตประจำวัน
เมื่อตกอยู่ในสถานการณ์หมุนเงินไม่ทันใช้ ไม่ว่าจะเกิดจากรายได้ลดลงแต่รายจ่ายเท่าเดิม กิจการไม่ราบรื่น หรือมีเหตุฉุกเฉินทำให้ต้องดึงเงินสำรองไปใช้จนเกือบหมด การมองหาเงินก้อนใหญ่ด้วยรถยนต์เป็นอีกทางเลือกที่ช่วยเสริมสภาพคล่องทางการเงินได้ดี นอกจากได้เงินมาหมุนในชีวิตประจำวัน ยังเก็บเงินส่วนต่างที่เหลือไว้เป็นวงเงินสำรองได้อีกด้วย
(4) เดินทางไปต่างประเทศ
เรียนต่อต่างประเทศโดยแบบไม่ขอทุน จำต้องมีเงินก้อนไว้ซัพพอร์ตการศึกษา
ทุกวันนี้เป้าหมายในการเดินทางไปต่างประเทศมีหลากหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยว ศึกษาต่อ ไปดูงานตามที่บริษัทส่งไป หรือเดินทางไปทำงาน แน่นอนว่าการไปเที่ยวต่างประเทศ ผู้เดินทางต้องเตรียมค่าใช้จ่ายตรงส่วนนี้ไว้อยู่แล้ว ขณะที่การไปศึกษาดูงานตามนโยบายของบริษัท ทางบริษัทย่อมเข้ามาซัพพอร์ตค่าเดินทาง ค่าที่พัก และค่าอาหาร ทำให้พนักงานไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายมากนัก ซึ่งต่างจากกรณีไปศึกษาต่อหรือเดินทางไปทำงานที่ต่างประเทศ ที่จำเป็นต้องเตรียมเงินก้อนไว้ใช้จ่ายเองโดยเฉพาะบุคคลที่ตั้งใจไปทำงานหรือศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ปริญญาโทแบบไม่ขอทุน เพราะคุณต้องจัดการเรื่องที่พัก ค่าอาหาร ค่าเดินทาง และค่าใช้จ่ายจิปาถะอื่น ๆ ระหว่างอยู่ต่างประเทศเองทั้งหมด
(5) ซ่อมแซมหรือต่อเติมบ้าน
การซ่อมแซมบ้านที่เสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา หรือต่อเติมบ้านให้เหมาะกับผู้อยู่อาศัยไม่ว่าจะเป็นทำห้องนอนสำหรับเด็กเล็กเพิ่ม ติดตั้งอุปกรณ์ที่ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายให้ผู้สูงอายุในบ้าน จำต้องใช้เงินก้อนใหญ่ไม่น้อยเพราะตามที่ทราบกันดีว่า การต่อเติมหรือซ่อมแซมบ้านแต่ละครั้งมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง อีกทั้งระหว่างทำบ้านใหม่ก็อาจมีค่าใช้จ่ายจิปาถะเกิดขึ้นมากมาย ฉะนั้นการมีทุนสำรองเพิ่มเติมนอกเหนือไปจากเงินเก็บในบัญชีธนาคารก็ช่วยสร้างความอุ่นใจได้มากทีเดียว
(6) เริ่มต้นหรือต่อยอดธุรกิจ
การเริ่มต้นทำธุรกิจหรือต่อยอดธุรกิจเดิม ล้วนมีเงินเป็นปัจจัยในการขับเคลื่อนกิจการให้เดินหน้าต่อทั้งสิ้น จึงปฏิเสธไม่ได้การนำรถไปยื่นขอสินเชื่อรถแลกเงินเป็นอีกวิธีที่ช่วยให้ได้เงินก้อนมาลงทุนธุรกิจหรือขยายกิจการเดิมที่หลายคนเลือกใช้บริการ เมื่อต้องการวงเงินมาซัพพอร์ตธุรกิจของตน
รถผ่อนหมดแล้วเข้าไฟแนนซ์ที่ไหนดี ขั้นตอนไม่ยุ่งยาก ได้วงเงินสูง
การจำนำรถหลังผ่อนหมด เป็นการกู้ยืมเงินครั้งใหม่เพื่อเสริมสภาพคล่อง
สำหรับใครที่เข้าใจว่าการนำรถผ่อนหมดเข้าไฟแนนซ์เป็นการจำนำรถกับเต็นท์รถ ต้องบอกว่าคุณกำลังเข้าใจผิด เพราะการทำสัญญากู้ยืมเงินฉบับใหม่เป็นการทำกับธนาคารหรือผู้ให้บริการที่ไม่ใช่สถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยการเปลี่ยนรถเป็นเงินด้วยการขอสินเชื่อจำนำเล่มทะเบียนรถ มีขั้นตอนการทำสัญญาและเอกสารประกอบการสมัครที่ชัดเจน และถ้าถามว่านำรถผ่อนหมดแล้วขอสินเชื่อรถแลกเงินที่ไหนดี ? ขอแนะนำ KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน บริการสินเชื่อสำหรับคนมีรถปลอดภาระ นอกจากไม่ต้องโอนเล่มทะเบียน พี่เบิ้มยังให้วงเงินสูงถึง 1 ล้านบาท รู้ผลอนุมัติภายใน 1 ชั่วโมง เมื่อทราบผลได้รับเงินโอนเข้าบัญชีทันที มีดอกเบี้ยเริ่มต้น 0.98% ต่อเดือน แถมผ่อนนานถึง 84 เดือน โดยคุณสมบัติผู้สมัครและเอกสารที่ต้องเตรียมให้ครบถ้วน มีดังนี้
คุณสมบัติผู้สมัคร
- สัญชาติไทย อายุ 20 – 65 ปี
- รายได้ขั้นต่ำ 8,000 บาทต่อเดือน (กรณีเจ้าของกิจการ มียอดขายต่อเดือนไม่ต่ำกว่า 30,000 บาท)
- ประสบการณ์ทำงานไม่ต่ำกว่า 4 เดือน (กรณีเจ้าของกิจการต้องดำเนินธุรกิจไม่ต่ำกว่า 6 เดือน)
- มีรถยนต์ รถกระบะ รถตู้เป็นชื่อของตนเอง โดยถือครองเล่มทะเบียนไม่ต่ำกว่า 6 เดือน
เอกสารสมัครสินเชื่อรถแลกเงิน
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- เอกสารแสดงรายได้ เช่น หนังสือรับรองเงินเดือน หรือสลิปเงินเดือนล่าสุด (ฉบับจริง) หรือหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ทวิ 50 หรือเอกสารแสดงการประกอบอาชีพ
- สำเนาใบแจ้งยอดบัญชีธนาคาร หรือสถาบันการเงินย้อนหลัง 6 เดือน
- สำเนาหน้าแรกของสมุดบัญชีธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย หรือธนาคารกรุงเทพ
- ทะเบียนรถเล่มจริง และมีชื่อผู้กู้เป็นเจ้าของ
- สำเนากรมธรรม์ประกันภัยตามเงื่อนไข
หากมีคุณสมบัติครบและเตรียมเอกสารเรียบร้อยแล้ว สามารถเดินทางไปสมัครด้วยตนเองที่จุดบริการ KTC TOUCH สาขาใกล้บ้าน แต่ถ้าไม่สะดวกเพียงกรอกข้อมูลที่แพลตฟอร์มด้านล่าง จากนั้นรอทีมงานพี่เบิ้ม Delivery ติดกลับ เพื่อนัดหมายวันเวลาเข้าไปทำสัญญาพร้อมตรวจเอกสารและตรวจสภาพรถที่นำมาเป็นประกันที่บ้านหรือสถานที่ที่คุณสะดวก และถือเป็นข่าวดีของผู้สนใจสินเชื่อ KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน นอกจากได้รับวงเงินก้อนใหญ่ไปใช้จ่ายตามความต้องการ ยังได้รับบัตรกดเงินสด KTC พี่เบิ้ม ไว้กดเงินยามฉุกเฉิน รวมถึงรูดซื้อสินค้าที่ร้านค้าที่ร่วมรายการ และโอนเงินสดเข้าบัญชีได้อีกด้วย มาถึงตรงนี้ใครที่ต้องการเพิ่มสภาพคล่องให้กับตัวเอง อย่าลืมเก็บข้อเสนอดี ๆ ของพี่เบิ้มไว้พิจารณา
การเงินสะดุด อยากได้เงินหมุน ให้ KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน ช่วยเสริมสภาพคล่อง