หาคำตอบไม่ได้ต่อทะเบียนรถยนต์ มีผลอย่างไร
หนึ่งในกิจกรรมที่ผู้ใช้รถต้องดำเนินการเป็นประจำทุกปี นอกเหนือจากการตรวจสภาพรถประจำปีที่ศูนย์บริการของค่ายรถยนต์หรือ ตรอ. ใกล้บ้าน ก็คือการต่อทะเบียนรถยนต์หรือต่อภาษีรถยนต์ประจำปีนั่นเอง แต่เชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่มีหลงลืมจนทำให้ทะเบียนรถขาด 1 เดือนหรือนานกว่านั้น แน่นอนว่ารถยนต์คันไหนที่ไม่ได้ต่อทะเบียนรถยนต์ ย่อมมีความผิดตามกฎหมาย ส่วนจะมีบทลงโทษหรือค่าปรับกรณีทะเบียนรถขาดอย่างไร นำรถไปทำธุรกรรมอะไรได้ไหม รวมถึงวิธีการต่อทะเบียนรถยนต์ที่ขาด เพื่อไม่เป็นการเสียเวลาตามพี่เบิ้มไปดูกันเลย
ทะเบียนรถขาด คืออะไร
ตามที่ทราบกันดีว่า ในแต่ละปีเจ้าของรถยนต์ทุกคนต้องดำเนินการต่อทะเบียนเสียภาษีประจำปี แล้วนำป้ายสี่เหลี่ยมจากกรมการขนส่งทางบกซึ่งระบุวันที่ต่อภาษีในปีถัดมาติดกระจกหน้ารถ เพื่อแสดงสัญลักษณ์ว่ารถคันนี้ได้ทำการชำระภาษีประจำปีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ส่วนภาษีที่จ่ายไปนั้นหน่วยงานของรัฐก็จะนำไปก่อสร้างหรือปรับปรุงถนนหนทางให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
แต่ถ้าคุณไม่ได้ทำการจ่ายภาษีในวันที่กำหนด นอกจากมีผลให้ขาดต่อภาษีทะเบียนรถ หากไม่รีบดำเนินการชำระภาษีให้เรียบร้อย แล้วเจ้าหน้าที่ตรวจพบจะต้องเสียค่าปรับ หรือปล่อยไว้นานวันเข้าอาจถึงขั้นถูกระงับการใช้รถในที่สุด
ทะเบียนรถขาด มีโทษอย่างไรบ้าง
เสียค่าปรับ
หลายคนอาจไม่รู้ว่าการขาดต่อภาษีทะเบียนรถล่าช้ากว่าที่กำหนด ต้องจ่ายค่าปรับนับตั้งแต่วันที่ขาด 1 วันขึ้นไป คือถูกปรับร้อยละ 1 ของค่าต่อทะเบียนที่ต้องชำระต่อเดือนจนถึงวันที่ชำระภาษีประจำปี แม้โทษนี้อาจดูไม่ร้ายแรงมากนัก แต่ยิ่งปล่อยให้เวลาผ่านไปนานค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจะสูงตามไปด้วย
ถูกระงับป้ายทะเบียนรถ
กรณีทะเบียนรถยนต์ขาดเกิน 3 ปี ส่งผลให้ป้ายทะเบียนรถยนต์นั้น ๆ ถูกยกเลิกทันที โดยเจ้าของรถต้องดำเนินการยื่นขอป้ายทะเบียนใหม่ พร้อมชำระค่าธรรมเนียมภาษีย้อนหลังสูงสุด 3 ปี ซึ่งขั้นตอนนี้ถือว่ามีความยุ่งยากไม่น้อย เนื่องจากต้องเตรียมเอกสารมากมายก่อนไปยื่นเรื่องที่กรมขนส่งทางบกด้วยตนเอง
มีความผิดตามกฎหมาย
นอกจากเสียภาษีประจำปีแล้วยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่ผู้ใช้รถถูกบังคับให้ทำควบคู่ไปด้วยกัน นั่นคือ การต่อพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (พ.ร.บ.) หรือประกันภัยภาคบังคับ ที่กฎหมายบังคับให้รถยนต์ทุกคันต้องทำ เพื่อเป็นหลักประกันว่าผู้ขับขี่ ผู้โดยสารหรือผู้ที่ใช้ถนนร่วมกันจะได้รับสิทธิความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลหากเกิดอุบัติเหตุ หรือการประสบภัยจากรถในรูปแบบต่าง ๆ ดังนั้นเมื่อไม่ต่อต่อภาษีทะเบียนรถ แถมไม่ได้ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ด้วย หากถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจเรียกตรวจสอบอาจถูกปรับไม่เกิน 10,000 บาท
ทะเบียนรถขาด ทำธุรกรรมได้ไหม
สำหรับรถยนต์ขาดต่อภาษีไม่เกิน 3 ปี สามารถซื้อขายได้ตามปกติ แต่ผู้ซื้อรถต้องไปดำเนินการต่อทะเบียนรถเอง ส่วนธุรกรรมประเภทอื่น เช่น การนำรถไปรีไฟแนนซ์หรือยื่นขอสินเชื่อทะเบียนรถไม่สามารถทำได้ เว้นแต่คุณจะไปเสียค่าปรับแล้วต่อทะเบียนให้เรียบร้อยก่อน
การปล่อยให้ทะเบียนรถและ พ.ร.บ. รถยนต์ขาด อาจพลาดโอกาสขอสินเชื่อรถแลกเงิน
การต่อทะเบียนรถยนต์ที่ขาด มีขั้นตอนอย่างไร
กรณีขาดการต่อทะเบียน 2 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี
สำหรับรถยนต์ที่ขาดการต่อทะเบียนแต่ยังไม่เกิน 3 ปี หลังดำเนินการชำระภาษีย้อนหลังแล้ว ก็สามารถยื่นเรื่องต่อทะเบียนรถ และต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ได้ทันที โดยมีเอกสารที่ต้องเตรียมให้พร้อม ก่อนนำไปยื่นต่อทะเบียนตามช่องทางต่อภาษีที่สะดวก ดังนี้
- เล่มทะเบียนรถหรือสำเนารายการจดทะเบียนรถ
- พ.ร.บ. รถยนต์
- หากรถอายุเกิน 7 ปี ต้องมีใบรับรองการตรวจสภาพรถจากสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) ที่รับรองโดยกรมขนส่ง ซึ่งจะตรวจความพร้อมของสัญญาณไฟ สภาพการเบรค และตรวจควันดำ
กรณีรถขาดการต่อทะเบียนเกิน 3 ปี
รถยนต์ที่ขาดการต่อทะเบียนเกิน 3 ปี จะได้รับเอกสารแจ้งจอดจากกรมการขนส่งทางบก มีผลให้ป้ายทะเบียนรถยนต์คันดังกล่าวถูกระงับการใช้งาน ให้เจ้าของรถต้องนำแผ่นป้ายและสมุดคู่มือไปคืนยังสำนักงานขนส่งที่รถคันดังกล่าวแจ้งจดทะเบียนไว้ ทำการบันทึกการระงับทะเบียนภายใน 30 วัน หากไม่ดำเนินการจะมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท และถ้ามีความประสงค์จะใช้รถต่อให้ทำการแจ้งจดทะเบียนใหม่ เจ้าของรถต้องดำเนินการชำระค่าปรับ พร้อมนำรถเข้าตรวจสภาพภายในกรมขนส่งเท่านั้น เมื่อชำระค่าภาษีกับค่า พ.ร.บ. รถยนต์ประจำปี ก็รอรับป้ายทะเบียนใหม่ โดยเอกสารที่ต้องใช้ในการขอทะเบียนใหม่ มีดังนี้
- บันทึกการระงับทะเบียน
- บัตรประชาชนของเจ้าของรถ (ตัวจริงและสำเนา)
- พ.ร.บ. รถยนต์ ที่ทำใหม่
- หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล หรือสำเนาบัตรของผู้มีอำนาจลงนาม (กรณีรถจดทะเบียนในนามนิติบุคคล)
- หนังสือสัญญาซื้อขายหรือหลักฐานการขาย (กรณีที่ไม่ใช่เจ้าของเดิม)
- หนังสือมอบอำนาจและสำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบอำนาจ (กรณีที่เจ้าของรถไม่สะดวกไปดำเนินการ)
เห็นได้ว่าการต่อทะเบียนรถ และต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ เป็นสิ่งสำคัญและไม่ควรละเลย นอกจากต้องเสียเงินค่าปรับโดยไม่จำเป็น และถ้าปล่อยทิ้งไว้นานถึงขั้นป้ายทะเบียนรถถูกระงับการใช้งาน ยังเสียเวลาไปแจ้งจดทะเบียนใหม่อีกด้วย ที่สำคัญระหว่างที่รถที่ขาดการต่อภาษีรถยนต์ประจำปี คุณไม่สามารถนำรถคันดังกล่าวไปทำธุรกรรมได้ เว้นแต่การขายต่อเท่านั้น ดังนั้นอย่าลืมตรวจสอบวันครบอายุภาษีรถประจำปีและดำเนินการให้เรียบร้อยก่อนครบกำหนด ซึ่งกรมการขนส่งทางบกกำหนดให้ผู้ใช้รถสามารถต่อทะเบียนล่วงหน้าได้ 90 วันก่อนภาษีหมดอายุ
และถ้าคุณอยากนำรถที่ต่อทะเบียนทุกปีไปเปลี่ยนเป็นเงินก้อนผ่านบริการสินเชื่อ KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน ที่ให้วงเงินสูงสุด 1 ล้านบาท และอนุมัติไวภายใน 2 ชั่วโมงก็มีขั้นตอนไม่ยุ่งยาก เพียงยื่นเรื่องผ่านระบบออนไลน์แล้วรอทีมงานพี่เบิ้ม Delivery ติดต่อกลับไปนัดหมายวันเดินทางไปรับสมัครและตรวจสอบสภาพรถถึงที่บ้าน เมื่อผ่านการอนุมัติได้รับเงินโอนเข้าบัญชีทันที โดยไม่ต้องมีคนค้ำและไม่ต้องโอนเล่มทะเบียน ก็มีเงินสดมาเสริมสภาพคล่องทางการใช้จ่ายหรือเป็นเงินสำรองในยามฉุกเฉิน
อ้างอิงข้อมูลจาก : กรมการขนส่งทางบก
ต่อทะเบียนรถทุกปี ยื่นขอสินเชื่อ KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน ได้ไม่ยาก…คลิกสมัครที่นี่