ความสำคัญของ พรบ. รถยนต์ที่ไม่ควรมองข้าม
การมีรถส่วนตัวสักคันต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น เพราะไม่ได้มีเพียงค่าผ่อนรถ ค่าน้ำมัน ค่าซ่อมบำรุงเท่านั้น แต่ยังมีค่าประกันภัยรถยนต์อีกด้วย และประกันภัยรถยนต์นี้แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ และประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ คนมีรถควรรู้จัดประกันภัยภาคบังคับเอาไว้ เพราะรถทุกคันต้องมี และต้องต่ออายุเป็นประจำทุกปีด้วย
เลือกอ่านตามหัวข้อ
พรบ.รถยนต์คืออะไร?
เมื่อต่อพรบ. รถยนต์แล้ว จะได้ป้ายพรบ. มาติดไว้หน้ารถ
คำว่า พรบ.รถยนต์ ย่อมาจากพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถยนต์ เป็นประกันภัยภาคบังคับที่กฎหมายกำหนดให้รถยนต์ทุกคันต้องมี โดยประกันภัยภาคบังคับนี้จะมีสิทธิประโยชน์ให้ผู้ขับขี่เมื่อเกิดอุบัติเหตุ สามารถเคลมพรบ. รถยนต์ได้ดังนี้
1.) ค่าเสียหายเบื้องต้น โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด
ค่าเสียหายส่วนนี้เป็นค่าเสียหายที่ได้รับทันทีเมื่อเกิดอุบัติเหตุ โดยไม่ต้องมีการพิสูจน์ว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิด แบ่งค่าเสียหายชดเชยออกเป็น 2 กรณี ได้แก่
- กรณีบาดเจ็บ ได้รับเงินชดเชยตามจริง สูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท
- กรณีสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ และเสียชีวิต ได้รับเงินชดเชยสูงสุด 35,000 บาท
2.) ค่าเสียหายส่วนเกิน กรณีที่พิสูจย์แล้วว่าไม่ได้เป็นฝ่ายผิด
ค่าเสียหายอีกส่วนที่จะได้รับอีกส่วนหนึ่งเป็นค่าเสียหายเพิ่มเติมจากกรณีแรก แต่ค่าเสียหายนี้ต้องพิสูจน์แล้วว่าผู้ขับขี่ไม่ได้เป็นฝ่ายผิดและก่อให้เกิดอุบัติเหตุ โดยจะได้รับเงินชดเชยทั้งหมดรวมกันไม่เกิน 304,000 บาท มีค่าเสียหายที่เข้าเงื่อนไข ดังนี้
- กรณีบาดเจ็บ ได้รับค่ารักษาตามจริง สูงสุดไม่เกิน 80,000 บาท
- กรณีพักฟื้นในโรงพยาบาล ได้รับเงินชดเชยรายได้ วันละ 200 บาท สูงสุด 20 วัน
- กรณีสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ และเสียชีวิต ได้รับเงินชดเชยสูงสุด 300,000 บาท
การทำประกันภัยภาคบังคับเป็นหลักประกันความเสี่ยงว่า เมื่อเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน รถทุกคันต้องมีประกันภัยช่วยคุ้มครองและชดเชยค่าเสียหาย แต่ประกันภัยภาคบังคับหรือ พรบ. รถยนต์นี้มีวันหมดอายุ และตามกฎหมายรถยนต์ทุกคันจะต้องต่อพรบ. รถยนต์ทุกปี อย่าให้ขาดเด็ดขาด เพราะอาจโดนระงับทะเบียนได้
วิธีการต่อพรบ.รถยนต์
เมื่อ พรบ. รถยนต์จำเป็นต้องต่อเป็นประจำทุกปี คนจึงต้องรู้ว่าสามารถต่อพรบ.ที่ไหนได้บ้าง และมีขั้นตอนในการต่อพรบ. รถยนต์อย่างไร โดยการต่อพรบ. รถยนต์ แบ่งช่องทางการต่อออกเป็น 2 ช่องทางใหญ่ ๆ คือการต่อพรบ. รถยนต์ที่แบบออฟไลน์ และต่อพรบ. รถยนต์ทางออนไลน์
การต่อพรบ.แบบออฟไลน์
การต่อพรบ. รถยนต์ที่ไม่ใช่ช่องทางออนไลน์ สามารถต่อได้ที่กรมการขนส่งทางบก เคาน์เตอร์เซอร์วิส ที่ทำการไปรษณีย์ และห้างสรรพสินค้าที่มีบริการ ซึ่งการต่อพรบ. รถยนต์รูปแบบนี้จะต้องยื่นเอกสารด้วย ส่วนเอกสารต่อพรบ. ใช้อะไรบ้างจะขึ้นอยู่กับอายุของรถ ดังนี้
- รถอายุไม่ถึง 7 ปี ใช้สำเนาทะเบียนรถ หรือเล่มทะเบียนรถเล่มจริง และสำเนาบัตรประชาชน
- รถที่อายุ 7 ปีขึ้นไป ใช้สำเนาเล่มทะเบียนรถ เอกสารพรบ. รถยนต์ที่ยังไม่หมดอายุ และใบรับรองการตรวจสภาพรถจาก ตรอ. ด้วย โดยรถที่อายุเกิน 7 ปีจะมีอัตราเบี้ยประกันภัยจึงควรเตรียมเงินไปด้วย
การต่อพรบ.รถยนต์ออนไลน์
ถ้ามองหาที่ต่อพรบ.ใกล้ฉันไม่เจอ สามารถเลือกการต่อพรบ. ออนไลน์ได้ ซึ่งมีความสะดวกและตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ในปัจจุบัน มีวิธีการต่อพรบ. ออนไลน์ ดังนี้
- เข้าสู่ระบบ e-service ของกรมการขนส่งทางบก แอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax หรือเว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th/esvapp/login.jsf
- เลือก “ลงทะเบียนสมาชิกใหม่” สำหรับผู้ที่เข้าสู่ระบบครั้งแรก และ “เข้าสู่ระบบ” สำหรับคนที่เคยลงทะเบียนใช้งานเอาไว้แล้ว
- กรอกข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อ-สกุล ที่อยู่ให้ครบถ้วน พร้อมตรวจสอบความถูกต้อง
- เลือก “ชำระภาษีรถประจำปี” พร้อมกรอกประเภทรถ จังหวัด และเลขทะเบียนรถให้ถูกต้อง
- หากไม่มีรถยนต์ขึ้นในระบบให้เลือกลงทะเบียนรถ แล้วกรอกข้อมูลรถยนต์ให้ถูกต้อง
- เลือก “ยื่นชำระภาษี” แล้วกรอกข้อมูลการจ่ายเงิน และช่องทางการจัดส่งป้ายพรบ. รถยนต์
การต่อพรบ. รถยนต์ทำได้ไม่ยากเลย โดยเฉพาะการต่อออนไลน์ที่ทำได้เองที่บ้าน แค่มีอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ใช้เวลาไม่นานก็สามารถต่อพรบ. รถยนต์ได้อย่างรวดเร็ว
ต่อพรบ. รถยนต์กี่บาท
การต่อพรบ. รถยนต์มีค่าใช้จ่ายหลายส่วน โดยเฉพาะรถเก่าเกิน 7 ปี
หลังจากรู้วิธีการต่อพรบ. รถยนต์แล้ว ก็ต้องมาดูค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการต่อพรบ. รถยนต์ประกอบกันไปด้วย มีค่าใช้จ่ายหลัก ๆ ที่ควรรู้ ดังนี้
1.) ค่าตรวจสภาพรถ ตรอ.
สถานตรวจสภาพรถเอกชน หรือ ตรอ. เป็นสถานที่ตรวจสภาพรถยนต์สำหรับต่อพรบ. รถยนต์ อัตราค่าบริการจะถูกกำหนดโดยกรมขนส่งทางบก รถยนต์ที่อายุเกิน 7 ปีจะต้องเข้ารับการตรวจสภาพรถที่ ตรอ. ก่อนต่อพรบ. ทุกครั้ง มีค่าบริการ ดังนี้
- สำหรับการตรวจครั้งแรก รถยนต์ที่น้ำหนักไม่เกิน 2,000 กิโลกรัม คันละ 200 บาท ถ้าน้ำหนักเกิน 2,000 กิโลกรัม ราคาคันละ 300 บาท
- หากรถไม่ผ่านการตรวจสภาพรถในครั้งแรก เจ้าของนำกลับไปแก้ไขจนผ่านจะคิดค่าบริการครึ่งหนึ่งของค่าบริการปกติ
- หากไม่ผ่านการตรวจสภาพในครั้งแรก และนำมาตรวจใหม่หลังผ่านไปแล้ว 15 วัน ค่าบริการอัตราปกติ
2.) ค่าพรบ. รถยนต์
ค่าใช้จ่ายส่วนนี้เป็นค่าใช้จ่ายที่กรมการขนส่งเรียกเก็บสำหรับรถที่มีอายุการใช้งาน 7 ปีขึ้นไป มีราคากำหนดไว้ดังนี้
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคล ไม่เกิน 7 คน ราคา 600 บาท
- รถยนต์นั่งสำหรับรับจ้าง ให้เช่า และรถสาธารณะ ไม่เกิน 7 คน ราคา 1,900 บาท
- รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน แต่ไม่เกิน 15 ที่นั่ง ราคา 1,100 บาท
- รถยนต์พลังงานไฟฟ้านั่งไม่เกิน 7 คน ราคา 600 บาท
- รถยนต์บรรทุก น้ำหนักไม่เกิน 3 ตัน ราคา 900 บาท
- รถยนต์บรรทุก น้ำหนักเกิน 3 ตัน แต่ไม่เกิน 6 ตัน ราคา 1,220 บาท
3.) ค่าธรรมเนียมดำเนินการ
สำหรับค่าธรรมเนียมจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือค่าบริการต่อพรบ. รถยนต์และค่าขนส่ง ดังนี้
- ค่าธรรมเนียมจะเป็นค่าใช้จ่ายที่แหล่งรับบริการเรียกเก็บ โดยกรมการขนส่งทางบกคิดอัตราค่าธรรมเนียม 20 บาท ส่วนช่องทางอื่น ๆ เช่น เคาน์เตอร์เซอร์วิl เคาน์เตอร์ในห้ามสรรพสินค้าจะมีอัตราค่าธรรมเนียมอยู่ที่ประมาณ 15 – 25 บาท นอกจากนั้นยังมีค่า Vat 2% สำหรับการจ่ายผ่านบัตรเครดิตอีกด้วย
- ค่าขนส่งจะเป็นค่าใช้จ่ายที่ผู้ต่อพรบ. รถยนต์ออนไลน์ต้องจ่าย เพื่อให้แผ่นป้ายพรบ. มาส่งที่บ้าน ค่าขนส่งอยู่ที่ 32 บาท
ค่าใช้จ่ายโดยภาพรวมเหล่านี้ ทำให้คนที่กำลังจะต่อพรบ. รถยนต์เตรียมเงินได้ถูกต้อง โดยรถที่อายุ 7 ปีขึ้นไปจะมีค่าใช้จ่ายที่มากกว่ารถออกใหม่ จึงควรสำรวจอายุรถของตนเองก่อนยื่นต่อพรบ. รถยนต์ด้วย
ขอสินเชื่อรถแลกเงิน ต่อพรบ. รถยนต์ได้ไหม
เนื่องจากพรบ. รถยนต์ต้องต่อเป็นประจำทุกปี ทำให้คนเกิดข้อสงสัยว่าแล้วถ้ามีการทำสัญญาเช่าซื้อรถ หรือขอสินเชื่อจำนำทะเบียนรถจะสามารถต่อพรบ. รถยนต์ได้ไหม คำตอบคือได้ เพราะการต่อพรบ. รถยนต์ใช้เพียงการกรอกเลขทะเบียนรถลงฐานข้อมูลเท่านั้น หรือหากไปดำเนินการเองที่กรมการขนส่งด้วยตนเองก็สามารถใช้สำเนาเล่มทะเบียนรถแทนได้
การขอสินเชื่อรถแลกเงินไม่มีผลต่อการต่อพรบ. รถยนต์แบบนี้ ช่วยสร้างความโล่งใจให้กับคนที่กำลังวางแผนของสินเชื่อจำนำทะเบียนรถอยู่ สินเชื่อประเภทนี้เหมาะสำหรับคนที่มีรถปลอดภาระ โดยควรศึกษาข้อมูลให้ดี และศึกษารายละเอียด รวมถึงสอบถามข้อมูลให้ครบถ้วน และควรเลี่ยงแหล่งจำนำรถนอกระบบที่ความปลอดภัยน้อย แนะนำ KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน บริการสินเชื่อแบบไม่โอนเล่มที่ให้วงเงินใหญ่ รู้ผลอนุมัติไว ไม่ต้องใช้คนค้ำประกัน เมื่อผ่านการอนุมัติรับวงเงินโดยนเข้าบัญชีทันที คิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอกสามารถผ่อนรายเดือนได้นานถึง 84 เดือน พร้อมมอบบัตรกดเงินสด KTC พี่เบิ้ม สำหรับใช้ยามเกิดเหตุฉุกเฉิน กดฟรีไม่มีค่าธรรมเนียม หากติดขัดเรื่องเงินทุนให้สินเชื่อ KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน เป็นทางเลือกของคนมองหาเงินก้อน
อ้างอิงข้อมูลจาก : กรมการขนส่งทางบก
ขอสินเชื่อรถแลกเงิน KTC พี่เบิ้ม ต่อพรบ. รถยนต์ได้เหมือนเดิม
บทความ
สรุปเรื่องต้องรู้ ก่อนต่อภาษีรถยนต์ประจำปีออนไลน์
การต่อภาษีรถยนต์สิ่งสำคัญที่คนมีรถไม่ควรละเลย ตามข้อกฎหมายกำหนดหากไม่ปฏิบัติตามจะมีโทษตามมาได้ ในปัจจุบันสามารถดำเนินการต่อภาษีรถผ่านช่องทางออนไลน์ได้แล้ว
ต่อภาษีรถต้องรู้ ใช้เอกสารอะไรบ้าง ถ้าลืมเสียภาษีเป็นอย่างไร
หน้าที่หลักของผู้มีรถคือต้องทำการยื่นต่อทะเบียนหรือต่อภาษีรถยนต์ประจำปีให้แก่กรมขนส่งทางบก โดยมีเอกสารที่ควรเตรียมให้พร้อม เพื่อความรวดเร็วในการดำเนินการ
สิ่งที่ควรรู้สำหรับคนมีรถ พ.ร.บ. รถยนต์ขาดได้กี่วัน มีค่าปรับเท่าไหร่
กฎหมายกำหนดให้รถยนต์ทุกคันต้องมีประกันภัยอย่างน้อยที่สุดคือ พ.ร.บ.รถยนต์ เพื่อคุ้มครองความเสียหายที่เกิดกับเจ้าของรถและบุคคลภายนอกเมื่อประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์
บทความ
สรุปเรื่องต้องรู้ ก่อนต่อภาษีรถยนต์ประจำปีออนไลน์
การต่อภาษีรถยนต์สิ่งสำคัญที่คนมีรถไม่ควรละเลย ตามข้อกฎหมายกำหนดหากไม่ปฏิบัติตามจะมีโทษตามมาได้ ในปัจจุบันสามารถดำเนินการต่อภาษีรถผ่านช่องทางออนไลน์ได้แล้ว
ต่อภาษีรถต้องรู้ ใช้เอกสารอะไรบ้าง ถ้าลืมเสียภาษีเป็นอย่างไร
หน้าที่หลักของผู้มีรถคือต้องทำการยื่นต่อทะเบียนหรือต่อภาษีรถยนต์ประจำปีให้แก่กรมขนส่งทางบก โดยมีเอกสารที่ควรเตรียมให้พร้อม เพื่อความรวดเร็วในการดำเนินการ
สิ่งที่ควรรู้สำหรับคนมีรถ พ.ร.บ. รถยนต์ขาดได้กี่วัน มีค่าปรับเท่าไหร่
กฎหมายกำหนดให้รถยนต์ทุกคันต้องมีประกันภัยอย่างน้อยที่สุดคือ พ.ร.บ.รถยนต์ เพื่อคุ้มครองความเสียหายที่เกิดกับเจ้าของรถและบุคคลภายนอกเมื่อประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์