ยาต้านไวรัสโควิด-19 ความหวังของผู้ติดเชื้อไวรัส
โควิด-19 เป็นโรคติดเชื้อที่ทางเดินหายใจที่มีการแพร่ระบาดไปทั่วโลกตั้งแต่ปลายปี 2562 เป็นผลให้มีผู้ติดเชื้อไวรัสและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ทั้งทุกช่วงอายุล้วนมีโอกาสการได้รับเชื้อเท่ากัน แม้ปัจจุบันมีวัคซีน COVID-19 มาช่วยป้องกันการติดเชื้อ รวมถึงช่วยลดความรุนแรงของโรคได้ ส่วนยารักษาโควิด-19 นั้น ทุกวันนี้ยังไม่มียาต้านไวรัสที่จำเพาะกับเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยตรง ทำให้แพทย์ต้องนำยาที่ใช้รักษาโรคอื่นมาใช้บรรเทาอาการของผู้ป่วยโควิด-19 ในระหว่างที่ทีมแพทย์และนักวิจัยพยายามคิดค้นยารักษาโควิดตัวใหม่ออกมา และวันนี้ KTC พาไปดูกันว่า ยาต้านไวรัสโควิด-19 ชนิดเม็ดที่ใช้อยู่ในประเทศไทย หรือเตรียมนำเข้ามาใช้กับผู้ติดเชื้อ COVID นั้น มียาอะไรบ้าง
ระดับอาการของผู้ติดเชื้อโควิด-19 มีกี่แบบ
ปัจจุบันประเทศไทยได้แบ่งแนวทางการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ตามระดับอาการ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างทั่วถึง โดยสำนักการแพทย์ ได้มีการแบ่งระดับอาการของผู้ป่วยโควิด-19 ไว้ดังนี้
ระดับอาการสีเขียว
- เป็นอาการเบื้องต้นของผู้ป่วยที่เริ่มติดโควิด-19 มีอาการเหมือนเป็นไข้หวัดปกติ หรือไม่มีอาการ
ระดับอาการสีเหลือง
- คือ ผู้ป่วยโควิด-19 ที่เริ่มมีอาการ ทั้งยังมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง เช่น มีโรคประจำตัว น้ำหนักเกินมาตรฐาน หรือเป็นผู้สูงอายุ ซึ่งเรื่องเหล่านี้มีผลให้ผู้ป่วยอาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวกขณะทำกิจกรรม หายใจเร็ว หายใจเหนื่อย หรือหายใจลำบาก เวลาไอแล้วเหนื่อยอ่อนเพลีย เวียนศีรษะ หรือปอดอักเสบ
ระดับอาการสีแดง
- ผู้ป่วยโควิด-19 อาการหนัก หอบเหนื่อย พูดไม่เป็นประโยคขณะสนทนา แน่นหน้าอกตลอดเวลา หายใจแล้วเจ็บหน้าอก ต้องรีบเข้ารับการเอกซเรย์ปอด
ยารักษาโควิด-19 ชนิดเม็ดที่ไทยใช้อยู่
ตามแนวทางหลักของการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ในประเทศไทยนั้น แบ่งการจ่ายยารักษาโควิดตามกลุ่มอาการป่วย โดยมีรายละเอียดดังนี้
ยาฟ้าทะลายโจร
ยาฟ้าทะลายโจร สารสกัดจากพืชสมุนไพรไทย
ฟ้าทะลายโจร เป็นพืชสมุนไพรประจำบ้านของไทยที่มีสารแอนโดรกราโฟไลด์ (Andrographolide) ซึ่งมีส่วนช่วยยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสเชื้อโควิด-19 เหมาะนำมาใช้เป็นยารักษาอาการเบื้องต้นในผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง เพราะทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น และมีส่วนช่วยในการป้องกันปอดอักเสบ แต่ทั้งนี้ควรทานยาฟ้าทะลายโจรในปริมาณที่เหมาะสมต่อร่างกาย เพื่อให้ยาฟ้าทะลายโจรสามารถออกฤทธิ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยควรทานยาฟ้าทะลายโจรมีทั้งแบบแคปซูลและแบบเม็ดวันละ 180 มิลลิกรัม วันละ 3-4 ครั้ง ไม่ควรทานติดต่อกันเกิน 5 วันต่อสัปดาห์ และไม่ควรทานต่อเนื่องเกิน 3 เดือน
ยาฟาวิพิราเวียร์
นี่คือยาต้านไวรัสที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัส SARS CoV2 ที่ก่อให้เกิดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ทั้งปัจจุบันยาฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir) ถือเป็นยาหลักในการรักษาผู้ป่วยตามแนวทางการดูแลรักษา COVID-19 ของประเทศไทย ที่ช่วยลดความรุนแรงและการสูญเสียจากโควิด-19 เนื่องจากยาฟาวิพิราเวียร์ออกฤทธิ์ 2 แบบ คือ ยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสและทำให้เชื้อไวรัสกลายพันธุ์ภูมิต้านทานในร่างกายมนุษย์สามารถเข้าไปกำจัดไวรัสจนหมด หรือเหลือปริมาณน้อยจนไม่สามารถก่อโรคในร่างกายได้
แต่ทั้งนี้แพทย์จ่ายยาฟาวิพิราเวียร์ให้แก่ผู้ป่วยกลุ่มสีเหลืองที่เริ่มมีความเสี่ยงของโรครุนแรง ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ เป็นยาที่ต้องกินภายใต้การควบคุมของแพทย์เท่านั้น นอกจากนี้ทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ได้คิดค้นยาน้ำเชื่อมฟาวิพิราเวียร์ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยเด็กและผู้ป่วยที่มีความลำบากในการกลืนยาชนิดเม็ดได้ทานยาง่ายยิ่งขึ้น
จ่ายค่าประกันภัยสุขภาพพร้อมผ่อนชำระ ด้วยบัตรเครดิต
รู้จัก โมลนูพิราเวียร์ ยาต้านโควิด-19 ชนิดเม็ดตัวแรกของโลก
โมลนูพิราเวียร์ ยาต้านไวรัสโคโรนา 2019 ชนิดเม็ด
สำหรับยาโมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir) เป็นยาชนิดเม็ดรับประทานที่ออกฤทธิ์ต้านไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคโควิด-19 โดยยาโมลนูพิราเวียร์ถูกพัฒนาขึ้นมาต้านไวรัสโคโรนาที่ก่อโรคไข้หวัดใหญ่ และจากการศึกษาพบว่า ยาต้านไวรัสชนิดนี้ยังมีฤทธิ์ต่อต้านไวรัสโคโรนาอีกหลายชนิด เช่น ไวรัสซาร์ส ไวรัสเมอร์ส ไวรัสอีโบลา และไข้สมองอักเสบบางชนิด
แม้ตอนนี้ยาโมลนูพิราเวียร์ยังมีสถานะเป็นยาต้านไวรัสทดลอง และอยู่ระหว่างการขึ้นทะเบียนกับองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (U.S Food and Drug Administration, USFDA) หากสุดท้ายพบว่ายามีประสิทธิภาพในการลดความรุนแรงของโรคและลดโอกาสในการเสียชีวิต คาดว่ามีโอกาสได้รับการรับรองให้เป็นยาฉุกเฉินสำหรับรักษาโรคโควิด-19 และจะเป็นยารักษาโควิดชนิดรับประทานตัวแรกของโลก
ยาโมลนูพิราเวียร์ มีฤทธิ์ต้านเชื้อโควิดสายพันธุ์ใดบ้าง
ฤทธิ์ของยาโมลนูพิราเวียร์ สามารถต้านเชื้อโควิดได้ทั้งสายพันธุ์เดลตา (สายพันธุ์อินเดีย) สายพันธุ์แกมมา (สายพันธุ์บราซิล) และสายพันธุ์มิว (สายพันธุ์โคลอมเบีย) โดยเข้าไปทำให้พันธุกรรมของไวรัสผิดปกติจนไม่สามารถเพิ่มจำนวนในเซลล์ได้ จึงช่วยลดความรุนแรงของโรคได้นั่นเอง
แนวทางการใช้ยาโมลนูพิราเวียร์รักษาโควิด-19 ในไทย
ตามแผนของบริษัท เมอร์ค (Merck) บริษัทเวชภัณฑ์ยักษ์ใหญ่ของประเทศเยอรมนี และบริษัท ริดจ์แบ็ค เทอราพิวทิค (Ridge Biotherapeuthics) ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งร่วมกันวิจัยและผลิตยาโมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir) คาดว่า จะยื่นขอขึ้นทะเบียนกับ FDA ภายในเดือนตุลาคม 2564 เพื่อใช้เป็นยาฉุกเฉินสำหรับการรักษาโรคโควิด-19 จากนั้นทางเมอร์คเร่งผลิตยาโมลนูพิราเวียร์ให้ได้ประมาณ 10 ล้านโดสภายในสิ้นปีนี้ เพื่อส่งยาในราคาถูกให้กับประเทศรายได้น้อยถึงปานกลาง
ขณะเดียวกันกรมการแพทย์ของประเทศไทยได้เจรจาสั่งจองยาโมลนูพิราเวียร์ไปแล้วจำนวน 200,000 ชุด เพื่อเตรียมไว้ใช้รักษาผู้ป่วยโควิด 19 จำนวน 200,000 ราย คาดว่าหากยาโมลนูพิราเวียร์ผ่าน FDA ของสหรัฐอเมริกา ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ของไทยสามารถดำเนินการขึ้นทะเบียนยาได้ภายในเดือนพฤศจิกายน ถ้าเป็นไปตามแผนนี้จริงในช่วงเดือนธันวาคม 2564 ไทยจะมียาโมลนูพิราเวียร์ไว้รักษาผู้ป่วย
แม้ว่ายาโมลนูพิราเวียร์จะถูกจับตามองในฐานะตัวเปลี่ยนเกม แต่การฉีดวัคซีนก็ยังเป็นเกราะป้องกันที่สำคัญที่สุด นอกเหนือไปจากการป้องกันตัวเองโดยการสวมหน้ากากอนามัย ใช้เจลแอลกอฮอลล์ทำความสะอาดมือทุกครั้งที่สัมผัสสิ่งของต่าง ๆ หรืองดเว้นเดินทางไปพื้นที่เสี่ยง เพื่อให้ห่างไกลจากโรคโควิด-19
และทุกวันนี้ผู้คนเริ่มหันมาใส่เรื่องสุขภาพมากขึ้น ทั้งทานอาหารที่มีประโยชน์ หมั่นออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ ไปจนถึงวางแผนดูแลสุขภาพกายและการเงินในระยะยาว ผ่านผลิตภัณฑ์ประกันภัยรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นประกันภัยสุขภาพ ประกันชีวิต ประกันภัยอุบัติเหตุ รวมถึงประกันภัยโควิด หรือประกันวัคซีนโควิดที่เข้ามาดูแลค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นยามผู้ทำประกันภัยเจ็บป่วยหรือเกิดเหตุไม่คาดฝัน อีกทั้งรูปแบบการชำระค่าเบี้ยประกันภัยต่าง ๆ ก็ไม่ได้จำกัดอยู่แค่เงินสดเท่านั้น หลังบริษัทประกันภัยจับมือเป็นพาร์ทเนอร์สถาบันการเงินเปิดช่องให้คุณสามารถใช้บัตรเครดิตรูดชำระค่าเบี้ยประกันภัยแล้วค่อยมาผ่อนชำระคืนทีหลังตามโปรโมชั่นบัตรที่ถืออยู่ว่าเป็นแบบ 0% หรือมีดอกเบี้ย เรียกว่าแค่มีบัตรเครดิตในมือก็ช่วยให้คุณอุ่นใจได้ไม่น้อยทีเดียว ส่วนใครที่ยังไม่มีผลิตภัณฑ์บัตรเครดิตก็สามารถเลือกสมัครบัตรผ่านช่องทางออนไลน์ได้ง่าย ๆ เพียงคลิกเข้าที่เว็บไซต์สถาบันการเงินที่สนใจเท่านั้น
อ้างอิงข้อมูล : กรมสุขภาพจิต, CNN International
หมดกังวลค่าเบี้ยประกันวัคซีนโควิด เมื่อชำระด้วยบัตรเครดิต สมัครที่นี่
ไม่มีค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปี