รู้ทันอาการป่วยที่เสี่ยงเป็นโควิด
โควิด-19 เป็นโรคอุบัติใหม่ที่เริ่มระบาดตั้งแต่เดือนธันวาคม 2019 มาจนถึงปัจจุบัน แม้หลายประเทศเริ่มคุมการระบาดได้แล้ว แต่ยังมีโอกาสพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ เพราะไวรัสโควิด-19 กลายพันธุ์อยู่ตลอดเวลา ซึ่งการกลายพันธุ์แต่ละครั้ง นอกจากเพิ่มอัตราการแพร่กระจายเชื้อ ยังทำให้อาการป่วยที่แสดงออกมาต่างกันด้วย
สาเหตุการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัส
การกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสเป็นเรื่องปกติ เนื่องจากโควิดเป็นโรคระบาดที่อยู่ในสังคมไทยมานาน ทำให้มีโอกาสได้เห็นการกลายพันธุ์หลายต่อหลายครั้ง ทำให้วิตกว่าการกลายพันธุ์นี้จะไม่มีจุดสิ้นสุด แต่เมื่อมีการค้นคว้าที่มากพอ ทำให้ค้นพบวิธีการรักษาที่ลดความร้ายแรงของโรค ทั้งเชื่อมั่นว่าในอนาคตโรคโควิดจะกลายเป็นเพียงโรคประจำฤดูกาลในที่สุด โดยสาเหตุหลักที่ทำให้โควิด-19 กลายพันธุ์มีดังนี้
- การเอาตัวรอดตามธรรมชาติ
วิวัฒนาการเป็นเรื่องธรรมชาติ มนุษย์เองก็มีวิวัฒนาการมาหลายร้อยปี ไวรัสเองก็เช่นกัน แรกเริ่มไวรัสชนิดนี้เป็นไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคซาร์ส จากนั้นได้พัฒนาจนรหัสพันธุกรรมเปลี่ยนไปและกลายเป็นไวรัสโคโรนาในที่สุด
- การปรับตัวให้เข้ากับถิ่นที่อยู่
ไวรัสโคโรนาหรือโควิด-19 แพร่กระจายไปทั่วโลก ด้วยแต่ละประเทศมีสภาพแวดล้อมและสภาพอากาศแตกต่างกัน โควิดจึงมีการปรับตัวและเปลี่ยนสายพันธุ์ให้เข้ากับแต่ละพื้นที่
- การดื้อยาหรือวัคซีนต้านในร่างกาย
วัคซีนโควิดได้รับการคิดค้นให้มีประสิทธิภาพในการป้องกันโควิด แต่เชื้อไวรัสเมื่อได้รับวัคซีนจะเริ่มมีการปรับตัวให้อยู่รอดและกลายพันธุ์ เป็นสาเหตุที่วัคซีนบางชนิดประสิทธิภาพลดลงกับเชื้อไวรัสบางสายพันธุ์
- การขยายพันธุ์ที่ผิดปกติ
เมื่อเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายจะมีการแบ่งเซลล์เพื่อความสะดวกในการแพร่กระจายไปยังอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย แต่บางครั้งการแบ่งเซลล์มีความผิดพลาด ทำให้เกิดไวรัสสายพันธุ์ใหม่ขึ้นมา
โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสหลายโรคมีสายพันธุ์ที่แตกต่างกัน เช่น ไข้เลือดออกมีทั้งสายพันธุ์เดงกี่ สายพันธุ์ชิคุนกุนย่า แสดงให้เห็นถึงการกลายพันธุ์ของไวรัสเป็นเรื่องปกติ เพียงต้องรู้จักวิธีรับมืออย่างถูกวิธี รวมถึงการทำประกันภัยสุขภาพติดตัวเอาไว้ เพื่อเป็นตัวช่วยเรื่องค่าใช้จ่ายเมื่อต้องนอนโรงพยาบาล โดยทุกวันนี้สามารถจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยได้ง่าย ๆ ผ่านบัตรเครดิต
มีบัตรเครดิตเอาไว้จ่ายเบี้ยประกันภัยสุขภาพง่ายกว่าที่เคย
สายพันธุ์และอาการของโควิดสายพันธุ์ใหม่ในไทย
การกลายพันธุ์ของไวรัสทำให้วัคซีนบางชนิดเสื่อมประสิทธิภาพลง
การระบาดของโควิดที่กินเวลายาวนานเกือบ 2 ปี ทำให้เห็นวิวัฒนาการและการกลายพันธุ์ของไวรัสมากมาย บางสายพันธุ์เข้ามาระบาดในไทย บางสายพันธุ์ยังคงระบาดเฉพาะพื้นที่ประเทศต้นกำเนิดและประเทศใกล้เคียงเท่านั้น ในประเทศไทยตอนนี้ก็มีสายพันธุ์ของโควิดกลายพันธ์ทั้งหมด 4 สายพันธุ์ ไม่รวมสายพันธุ์ต้นกำเนิดจากอู่ฮั่น ดังนี้
สายพันธุ์ที่ 1 เบตา (Beta) - รหัสไวรัส B.1.351
ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์เบตาพบการระบาดครั้งแรกในประเทศแอฟริกาใต้และแพร่ระบาดไปยังพื้นที่ในทวีปแอฟริกาได้อย่างรวดเร็ว พบผู้ป่วยในไทยครั้งแรกจากผู้ที่เดินทางเข้ามายังจังหวัดนราธิวาส โดยเดินทางมาจากประเทศแทนซาเนีย ในทวีปแอฟริกา ทำให้เกิดคลัสเตอร์ตากใบขึ้น
อาการ:
มีอาการคล้ายคนเป็นไข้หรือภูมิแพ้ ร่วมกับอาการที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอแห้ง เจ็บคอ ตัวร้อน ปวดศีรษะ ตาแดง บางรายอาจมีตุ่มขึ้นตามมือและเท้าและท้องเสียร่วมด้วย รู้สึกเจ็บหน้าอก หายใจหอบ เหนื่อยง่าย
ประสิทธิภาพต้านทานวัคซีน:
วัคซีนทุกประเภทสามารถป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสสายพันธุ์เบตาได้เป็นอย่างดี
สายพันธุ์ที่ 2 อัลฟา (Alpha) - รหัสไวรัส B.1.1.7
รัสโควิดสายพันธุ์อัลฟาพบครั้งแรกในประเทศอังกฤษ และถือเป็นสายพันธุ์ที่มีการระบาดในไทยอย่างกว้างขวาง เป็นโควิดที่มีผู้ติดเชื้อหลายคน คลัสเตอร์สายพันธุ์อัลฟาคือคลัสเตอร์ทองหล่อ
อาการ:
มีอาการคล้ายคนเป็นไข้ อุณหภูมิร่างกายสูงกว่าปกติ ลิ้นไม่รับรส และจมูกรับกลิ่นผิดเพี้ยนไป มีโอกาสแพร่กระจายเชื้อได้เร็วกว่าสายพันธุ์เบตา เช็คอาการโควิด-19 ด้วยตัวเองได้ง่าย
ประสิทธิภาพต้านทานวัคซีน:
วัคซีนทุกประเภทสามารถป้องกันไวรัสสายพันธุ์อัลฟาได้เป็นอย่างดี โดยวัคซีนประเภท mRNA จะป้องกันได้ดีที่สุดมากถึงประมาณ 94%
สายพันธุ์ที่ 3 แกมมา (Gamma) - รหัสไวรัส P.1
ประเทศบราซิลเป็นประเทศแรกที่มีการพบเชื้อไวรัสแกมมา และระบาดหนักในพื้นที่ใกล้เคียง มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมากในเวลานั้น เข้าไทยครั้งแรกจากผู้ที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศและอยู่ในสถานที่กักตัวของรัฐบาล
อาการ:
เป็นสายพันธุ์ที่แพร่กระจายได้เร็วที่สุดในบรรดาสายพันธุ์ที่เคยเข้าไทย ผู้ป่วยมักมีอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง เหนื่อยง่าย
ประสิทธิภาพต้านทานวัคซีน:
ไวรัสสายพันธุ์แกมมาส่งผลโดยตรงต่อวัคซีน ทำให้วัคซีนเสื่อมประสิทธิภาพลงได้ง่าย จำเป็นต้องฉีดวัคซีนให้ครบทั้ง 2 เข็ม เพื่อป้องกันไวรัสชนิดนี้ แต่ไม่แนะนำให้ฉีดวัคซีนเชื้อตาย
สายพันธุ์ที่ 4 เดลตา (Delta) - รหัสไวรัส B.1.617.2
โควิดสายพันธุ์เดลตาเป็นสายพันธุ์ที่เริ่มการระบาดในประเทศอินเดียก่อนแพร่กระจายไปยังประเทศต่าง ๆ ทั้งประเทศจีน ประเทศอังกฤษ ประเทศสหรัฐอเมริกา พบการระบาดครั้งแรกในประเทศไทยภายในแคมป์คนงานหลักสี่
อาการ:
ไวรัสมีประสิทธิภาพในการหลบหลีกภูมิคุ้มกันได้เป็นอย่างดี มีอาการคล้ายไข้หวัดธรรมดา เช่น เจ็บคอ มีน้ำมูก ปวดหัว สามารถแพร่เชื้อได้เร็ว แต่ผู้ป่วยยังคงได้กลิ่นและรับรสได้ตามปกติจึงมักพบผู้ป่วยไม่แสดงอาการในสายพันธุ์เดลตา
ประสิทธิภาพต้านทานวัคซีน:
วัคซีนประเภท mRNA สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ แต่ลดประสิทธิภาพลงเล็กน้อย วัคซีนประเภท Viral Vector และ Protein subunit vaccine จะลดประสิทธิภาพลง และมีโอกาสติดเชื้อได้ ขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันของแต่ละคน ขณะที่วัคซีนเชื้อตายแม้ป้องกันได้โรคโควิดได้ แต่ก็มีลดประสิทธิภาพลงมาก และภูมิที่อยู่ในร่างกายก็หมดลงในเวลาที่สั้นลง
การรู้จักเช็คอาการโควิดอยู่เสมอช่วยให้เตรียมตัวได้ทันหากมีความเสี่ยงเป็นโควิด การป้องกันตนเองจากโควิด-19 ที่ดีที่สุดในตอนนี้คือการฉีดวัคซีน แต่เนื่องจากการกลายพันธุ์ของไวรัส ทำให้วัคซีนบางตัวไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการป้องกัน เพื่อลดความเสี่ยงจึงควรเลือกฉีดวัคซีนที่ได้มีการวิจัยว่าป้องกันไวรัสได้ รวมถึงมีการทำประกันภัยวัคซีนเอาไว้ เพราะโควิดเป็นโรคอุบัติใหม่ วัคซีนจึงคิดค้นใหม่ โอกาสแพ้ก็มีเช่นกัน ระหว่างรอคิวฉีดวัคซีนจึงควรทำประกันไว้เผื่อแพ้วัคซีน แล้วตัดเบี้ยประกันผ่านวงเงินในบัตรเครดิตจะได้ไม่ต้องกังวลว่าประกันขาดก่อนถึงคิวฉีดวัคซีน นอกจากฉีดวัคซีนแล้วยังควรป้องกันตัวเองตามมาตรการต่าง ๆ อย่างเคร่งครัด ทั้งการเว้นระยะห่าง การล้างมือบ่อย ๆ การใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อออกจากบ้าน เพื่อลดโอกาสติดเชื้อจนกว่าสถานการณ์โควิดจะคลี่คลาย
อ้างอิงข้อมูล: เพชรรัตน์, กรมสุขภาพจิต
ซื้อประกันวัคซีนโควิดตัดจ่ายผ่านบัตรได้ง่าย
ไม่มีค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปี