• บัตรเครดิต
    • ผลิตภัณฑ์บัตรเครดิต
    • คะแนน
    • ผ่อนชำระ
    • บริจาค
    • บริการหักค่าใช้จ่ายอัตโนมัติ
    • อัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม
    • KTC Device Pay
  • สินเชื่อบุคคล
    • ผลิตภัณฑ์สินเชื่อ
    • บัตรกดเงินสด KTC PROUD
    • สินเชื่ออเนกประสงค์ KTC CASH
    • สินเชื่อ KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน
    • ผ่อนชำระ
    • อัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม
  • โปรโมชั่น
  • ธุรกิจร้านค้า
    • บริการธุรกิจร้านค้า
    • บริการเครื่องรูดบัตร EDC 
    • บริการ QR Code Payment
    • บริการรับชำระเงินออนไลน์
    • บริการเรียกเก็บเงินอัตโนมัติ
    • บริการรับชำระเงินผ่านลิงก์
    • บริการรับชำระด้วย ALIPAY & ALIPAY+
  • บริการท่องเที่ยว
  • ช้อปสินค้าออนไลน์
  • บริการลูกค้า
    • ติดต่อ KTC
    • แอป KTC Mobile
    • ช่องทางการชำระเงิน
    • บริการ KTC E-Book
    • ดาวน์โหลดแบบฟอร์มและคู่มือ
    • คำถามที่พบบ่อย
บัตรเครดิต
บัตรเครดิต
  • ผลิตภัณฑ์บัตรเครดิต
  • คะแนน
  • ผ่อนชำระ
  • บริจาค
  • บริการหักค่าใช้จ่ายอัตโนมัติ
  • อัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม
  • KTC Device Pay
สินเชื่อบุคคล
สินเชื่อบุคคล
  • ผลิตภัณฑ์สินเชื่อ
  • บัตรกดเงินสด KTC PROUD
  • สินเชื่ออเนกประสงค์ KTC CASH
  • สินเชื่อ KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน
  • ผ่อนชำระ
  • อัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม
โปรโมชั่น โปรโมชั่น
ธุรกิจร้านค้า
ธุรกิจร้านค้า
  • บริการธุรกิจร้านค้า
  • บริการเครื่องรูดบัตร EDC
  • บริการ QR Code Payment
  • บริการรับชำระเงินออนไลน์
  • บริการเรียกเก็บเงินอัตโนมัติ
  • บริการรับชำระเงินผ่านลิงก์
  • บริการรับชำระด้วย ALIPAY & ALIPAY+
บริการท่องเที่ยวบริการท่องเที่ยว ช้อปสินค้าออนไลน์ช้อปสินค้าออนไลน์
บริการลูกค้า
บริการลูกค้า
  • ติดต่อ KTC
  • แอป KTC Mobile
  • ช่องทางการชำระเงิน
  • บริการ KTC E-Book
  • ดาวน์โหลดแบบฟอร์มและคู่มือ
  • คำถามที่พบบ่อย
เปลี่ยนภาษา

EN

TH

KTC Search Icon KTC Search Icon
สมัครบัตร
KTC Login Icon KTC Login Icon เข้าสู่ระบบ KTC Mobile Login
KTC Profile

บัญชีของฉัน

  • KTC Online

    บัตร KTC ของฉัน

  • KTC Promotions

    โปรโมชั่นของฉัน

  • KTC Logout

    ออกจากระบบ

KTC Online Profile
  1. หน้าหลัก
  2. /
  3. บทความ
  4. /
  5. Knowledge
  6. /
  7. ติดหนี้บัตรเครดิต จ่ายไม่ไหว ทำยังไงดี ก่อนจะเป็นหนี้เสีย
  1. หน้าหลัก
  2. /
  3. บทความ
  4. /
  5. Knowledge
  6. /
  7. ติดหนี้บัตรเครดิต จ่ายไม่ไหว ทำยังไงดี ก่อนจะเป็นหนี้เสีย
ติดหนี้บัตรเครดิต

ติดหนี้บัตรเครดิต จ่ายไม่ไหว ทำยังไงดี ก่อนจะเป็นหนี้เสีย

หมวดหมู่ : Knowledge

บัตรเครดิตเป็นผลิตภัณฑ์สินเชื่อทางการเงินรูปแบบหนึ่งที่ออกโดยธนาคารหรือสถาบันทางการเงิน บัตรเครดิตใช้ในการรูดซื้อสินค้าและบริการ แล้วค่อยจ่ายคืนในภายหลัง ไม่ว่าเป็นการจ่ายเต็มจำนวน หรือการจ่ายขั้นต่ำ ตามเงื่อนไขและวิธีการที่ธนาคารหรือสถาบันการเงินแต่ละแห่งกำหนดไว้ วงเงินบัตรเครดิตที่สามารถใช้ได้จะขึ้นอยู่กับการประเมินของธนาคารหรือสถาบันการเงินผู้ออกบัตร ซึ่งอ้างอิงตามคุณสมบัติและรายได้ของผู้สมัครบัตรเครดิต ถือเป็นตัวช่วยทางการเงินที่มีประโยชน์มากหากใช้อย่างถูกวิธี แต่บางครั้งผู้ถือบัตรก็ใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตจนเกินตัว เกิดเป็นหนี้บัตรเครดิตสะสมจนกลายเป็นหนี้เสียได้ในท้ายที่สุด

สาเหตุของการเป็นหนี้บัตรเครดิต

การเกิดหนี้บัตรเครดิตมาจากสาเหตุหลัก คือ ไม่ได้ชำระหนี้ตามกำหนดเวลา รวมถึงการมีพฤติกรรมการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต ดังนี้

  • แบ่งจ่ายขั้นต่ำไปเรื่อย ๆ จนดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมเพิ่มพูน และมีการรูดซื้อใหม่อย่างต่อเนื่องจนจ่ายไม่ไหว
  • ใช้บัตรเครดิตหลายใบในเวลาเดียวกัน เมื่อยอดชำระมาพร้อมกันจึงจ่ายคืนไม่ไหว
  • กดเงินสดออกมาจากบัตรเครดิต เพื่อนำไปใช้จ่าย โดยไม่ได้คำนึงถึงดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมที่เกิดขึ้นตั้งแต่กดเงินสดออกมา

สาเหตุเหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ทำให้คนติดหนี้บัตรเครดิต ซึ่งการจ่ายค่าบัตรเครดิตไม่ไหว หรือผิดนัดชำระหนี้บัตรเครดิตส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ถือบัตร โดยก่อให้เกิดหนี้ระยะยาวจนนำไปสู่การถูกเจ้าหนี้ใช้สิทธิทางศาลเพื่อเรียกหนี้คืนได้

ติดหนี้บัตรเครดิต

ผลกระทบของการเป็นหนี้บัตรเครดิต

  • สุขภาพกายและใจย่ำแย่

การเป็นหนี้สร้างความเครียดและกดดันเป็นอย่างมาก ทั้งกังวลว่าจะถูกยึดทรัพย์ กังวลเรื่องคดีความ รวมถึงกังวล เรื่องภาพลักษณ์ในสายตาคนนอกที่มองไม่ดี ดังนั้น เมื่อมีหนี้บัตรเครดิตจึงควรหาทางออกโดยเร็ว หนึ่งในวิธีแนะนำ คือ การขอประนอมหนี้กับเจ้าหนี้

  • ประวัติทางการเงินไม่ดี

โดยปกติเมื่อได้รับอนุมัติสินเชื่อ ธนาคารหรือสถาบันการเงินจะส่งข้อมูลสินเชื่อของผู้ขอสินเชื่อรวมถึงประวัติการชำระหนี้ หรือธุรกรรมทางการเงินไปเก็บไว้ที่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) เพื่อให้ธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่นที่เป็นสมาชิกเครดิตบูโรสามารถเข้ามาตรวจสอบประวัติสินเชื่อ และข้อมูลการชำระหนี้ของผู้ขอสินเชื่อได้ ดังนั้น เมื่อมีการสมัครหรือขอสินเชื่อผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ กับธนาคารหรือสถาบันทางการเงิน หากปรากฏข้อมูลการผิดนัดชำระหนี้ อาจทำให้การสมัครหรือการขอสินเชื่อให้ผ่านนั้นเป็นไปได้ยากยิ่งขึ้น

  • เจ้าหนี้อาจใช้สิทธิทางศาลเพื่อเรียกหนี้คืน

การติดหนี้บัตรเครดิต อาจส่งผลให้ผู้ถือบัตรถูกธนาคารหรือสถาบันการเงินผู้ออกบัตรใช้สิทธิทางศาลเพื่อเรียกหนี้คืน เพราะในการสมัครบัตรเครดิตมีการทำสัญญาที่ระบุให้ผู้ถือบัตรเครดิตมีหน้าที่ชำระหนี้บัตรเครดิตตามเวลาที่กำหนด เมื่อผู้ถือบัตรผิดนัดชำระหนี้ หรือไม่สามารถชำระหนี้ได้ ธนาคารหรือสถาบันการเงินผู้ออกบัตรย่อมมีสิทธิดำเนินการทางกฎหมายต่อไป ส่วนติดหนี้บัตรเครดิตมีอายุความกี่ปี เนื่องจากคดีบัตรเครดิตตามกฎหมายเป็นคดีแพ่ง มีอายุความ 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ เมื่อคดีขึ้นสู่ศาลแล้ว จะมีขั้นตอนการไกล่เกลี่ยระหว่างลูกหนี้บัตรเครดิตและธนาคารหรือสถาบันการเงินผู้ออกบัตร ขอแนะนำให้ลูกหนี้บัตรเครดิตไปตามนัดเพื่อเจรจาประนอมหนี้ เนื่องจากการติดหนี้บัตรเครดิตแล้วไม่มีจ่ายส่งผลกระทบมากกว่าที่คิด ซึ่งธนาคารหรือสถาบันทางการเงินหลายแห่งก็มีมาตรการที่ช่วยให้เกิดการชำระหนี้ หรือการประนอมหนี้ ที่ช่วยให้ทั้งลูกหนี้และเจ้าหนี้สามารถทำความตกลงการชำระหนี้ได้อย่างเหมาะสม

ติดหนี้บัตรเครดิต เริ่มต้นจัดการยังไงดี ?

1. ตรวจสอบยอดหนี้ทั้งหมด

เริ่มต้นด้วยการรวบรวมข้อมูลยอดหนี้บัตรเครดิตทั้งหมดที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นบัตรหลักหรือบัตรเสริม ให้จดรายละเอียด ยอดคงค้าง, ดอกเบี้ย, และ วันครบกำหนดชำระเงิน เพื่อให้เห็นภาพรวมของสถานการณ์ปัจจุบัน

2. ประเมินรายรับ-รายจ่าย

นำรายรับที่ได้รับในแต่ละเดือนมาเปรียบเทียบกับรายจ่ายที่เกิดขึ้น แยกรายจ่ายจำเป็น เช่น ค่าที่พัก, ค่ากินอยู่, ค่าเดินทาง และรายจ่ายไม่จำเป็น เช่น ช้อปปิ้ง, ของฟุ่มเฟือย ก็จะช่วยให้รู้ว่ามีส่วนไหนที่สามารถลดหรือปรับได้

3. จัดลำดับความสำคัญของหนี้

หนี้บัตรเครดิตมักมีอัตราดอกเบี้ยสูงที่สุด ควรจัดให้อยู่ในลำดับต้นๆ ที่ต้องรีบจัดการก่อนหนี้อื่นๆ เช่น สินเชื่อบ้าน หรือสินเชื่อรถยนต์ ที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่า

แนวทางการจัดการหนี้บัตรเครดิต

  • การจ่ายขั้นต่ำ vs. การจ่ายเต็มจำนวน

หากเลือกจ่ายขั้นต่ำ จะทำให้ดอกเบี้ยทบต้นสูงขึ้นเรื่อยๆ หากเป็นไปได้ควร จ่ายเต็มจำนวน หรือจ่ายให้ได้มากที่สุดในแต่ละเดือนเพื่อลดเงินต้นและดอกเบี้ยสะสม

  • การรวมหนี้บัตรเครดิต

หากมีบัตรเครดิตหลายใบ อาจพิจารณา รวมหนี้ (Debt Consolidation) ผ่านสินเชื่อส่วนบุคคลที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่า หรือผ่านโครงการรีไฟแนนซ์ เพื่อลดภาระดอกเบี้ยและบริหารจัดการหนี้ได้ง่ายขึ้น

  • การปรับโครงสร้างหนี้กับสถาบันการเงิน

หากเริ่มจ่ายไม่ไหวจริงๆ ควรรีบ ติดต่อธนาคาร เพื่อขอปรับโครงสร้างหนี้ เช่น การขอลดอัตราดอกเบี้ย การขยายระยะเวลาการผ่อนชำระ หรือเข้าโครงการช่วยเหลือลูกหนี้ ซึ่งจะช่วยลดภาระรายเดือนและป้องกันไม่ให้กลายเป็นหนี้เสีย

  • การประนอมหนี้

สำหรับคนที่มองหาทางออกว่าติดหนี้บัตรเครดิต ทำยังไงดี? การประนอมหนี้คือคำตอบ โดยการประนอมหนี้จะแบ่งออกเป็น 2 กรณี ดังนี้

1.) การประนอมหนี้ที่บัตรเครดิตยังไม่ถูกยกเลิก

กรณีแรกเป็นหนี้บัตรเครดิต ที่ลูกหนี้ยังคงเป็นสมาชิกบัตรเครดิตอยู่ การเข้ามาเจรจากับธนาคารหรือสถาบันการเงินจะหาทางออกในการผ่อนชำระของลูกหนี้ตามมาตรการและเงื่อนไขที่ธนาคารหรือสถาบันการเงินกำหนด ซึ่งข้อดี คือ ผู้ถือบัตรยังคงผ่อนชำระบัตรเครดิตได้โดยไม่มีหนี้เสีย หรือหนี้ NPL (Non-Performing Loan) ซึ่งธนาคารหรือสถาบันการเงินแต่ละแห่งจะมีเงื่อนไขแตกต่างกัน

การเจรจาประนอมหนี้เบื้องต้นของ KTC:

เป็นการเจรจาเพื่อหาทางออกกับผู้ถือบัตร โดยมีการกำหนดเงื่อนไขอย่างแน่นอน อาจจะเป็นการจ่ายหนี้บัตรเครดิตในครั้งเดียว หรือแบ่งชำระเป็นงวด ๆ แต่อยู่ภายใต้จำนวนเงินและระยะเวลาที่กำหนดอย่างเคร่งครัด

2.) การประนอมหนี้ภายหลังจากที่ถูกยกเลิกบัตรเครดิตแล้ว

การเจรจาประนอมหนี้ในขั้นตอนนี้มักจะเกิดขึ้นหลังจากมีการปรับโครงสร้างหนี้ หรือมีการประนอมหนี้แล้ว ลูกหนี้ยังคงเพิกเฉย จนเกิดการฟ้องร้อง การเจรจาครั้งนี้จึงเป็นการเจรจาที่มีเงื่อนไขที่มากขึ้น เช่น การได้ยกเว้นดอกเบี้ยในช่วงที่ทำการผ่อนชำระตามเวลาที่กำหนด การได้ส่วนลดหนี้ การได้ระยะเวลาผ่อนชำระนานขึ้น เงื่อนไขการประนอมหนี้กรณีนี้ก็ขึ้นอยู่กับมาตรการของธนาคารหรือสถาบันการเงินแต่ละแห่งเช่นกัน
ฉะนั้นหากเป็นหนี้บัตรเครดิต ควรเจรจาประนอมหนี้ตั้งแต่บัตรเครดิตยังไม่ถูกยกเลิกและไม่ควรปล่อยให้เกิดการฟ้องร้อง เพราะหากเพิกเฉยจนถึงขั้นถูกยกเลิกบัตรเครดิตแล้ว จะส่งผลเสียต่อประวัติการชำระหนี้ได้
การเจรจาประนอมหนี้ ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง KTC กับหน่วยงานรัฐ:
เป็นการประนอมหนี้ที่มีหน่วยงานของภาครัฐที่เกี่ยวข้องเข้ามาเป็นตัวกลาง เช่น ศาล กรมบังคับคดี ธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นต้น เพื่อหาทางออกร่วมกันที่สอดคล้องกับนโยบาย KTC มีนโยบายเกี่ยวกับการประนอมหนี้ออกมาสำหรับสมาชิกบัตรเครดิตของ KTC ที่มีหนี้บัตรเครดิตและไม่สามารถจ่ายยอดได้ตามกำหนด เพื่อให้ผู้ถือบัตรมีทางออกในการชำระหนี้บัตรเครดิตได้

เคล็ดลับการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตป้องกันไม่ให้เป็นหนี้เสีย

  • การวางแผนการใช้จ่าย

การวางแผนการใช้จ่ายถือเป็นพื้นฐานสำคัญในการป้องกันไม่ให้ตกเป็นหนี้เสีย เริ่มจากการจัดทำ งบประมาณรายรับ-รายจ่าย อย่างละเอียด แบ่งสัดส่วนรายจ่ายที่จำเป็นและรายจ่ายที่สามารถลดได้ให้ชัดเจน กำหนดวงเงินลิมิตการใช้จ่ายต่อเดือน โดยเฉพาะการใช้บัตรเครดิต ควรกำหนดวงเงินที่สามารถชำระคืนได้เต็มจำนวนในแต่ละเดือน

  • การควบคุมพฤติกรรมการใช้บัตรเครดิต

การควบคุมพฤติกรรมการใช้บัตรเครดิตเป็นอีกหนึ่งกุญแจสำคัญที่จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดหนี้เสีย ควรใช้บัตรเครดิตด้วยความระมัดระวังและมีวินัย เช่น ใช้เพื่อการจับจ่ายที่มีความจำเป็นหรือเพื่อรับสิทธิประโยชน์ที่คุ้มค่า และตั้งเป้าชำระคืนเต็มจำนวนทุกเดือน

  • ติดตามยอดใช้จ่ายเป็นประจำ

การติดตามยอดใช้หรือควบคุมวงเงินใช้จ่ายผ่านแอปพลิเคชันของบัตรเครดิตหรือแจ้งเตือนแบบเรียลไทม์ จะช่วยให้คุณรู้ตัวและควบคุมพฤติกรรมการใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงในการเกิดหนี้สะสมในระยะยาว

  • ใช้บัตรเครดิตอย่างมีเป้าหมาย

ใช้บัตรเครดิตเพื่อสิทธิประโยชน์ เช่น ส่วนลด คะแนนสะสม หรือโปรโมชั่น เช่น มองหาโปรโมชั่นผ่อน 0% เมื่อต้องซื้อสินค้าที่มีมูลค่าสูง ใช้คะแนนบัตรเครดิตแลกรับส่วนลดบ้าง เพื่อลดค่าใช้จ่ายเล็กๆน้อยๆ

  • รู้วันครบกำหนดชำระเงิน

ตั้งการแจ้งเตือน,บันทึกวันครบกำหนดชำระเงิน หรือใช้แอปพลิเคชันของบัตรเครดิตเพื่อความสะดวกในการชำระเงินในแต่ละรอบบิลและเพื่อไม่ให้ลืม ที่จะเสี่ยงต่อการถูกคิดดอกเบี้ยหรือค่าปรับ

  • การสร้างนิสัยการออม

สร้างนิสัยการออมเงินอย่างสม่ำเสมอ เช่น ออม 10-20% ของรายได้ก่อนใช้จ่าย เพื่อให้มีเงินสำรองยามฉุกเฉิน

การติดหนี้บัตรเครดิตไม่ใช่เรื่องไกลตัว และหากเริ่มรู้ตัวว่าจ่ายไม่ไหว สิ่งสำคัญคือต้องรีบประเมินสถานการณ์ วางแผนจัดการหนี้อย่างมีระบบ ไม่ว่าจะเป็นการปรับพฤติกรรมการใช้จ่าย การเจรจากับสถาบันการเงิน หรือการสร้างวินัยทางการเงินใหม่ เพื่อป้องกันไม่ให้หนี้ลุกลามเป็นหนี้เสีย ซึ่งจะส่งผลต่อประวัติทางการเงินในอนาคต และหากคุณกำลังมองหาบัตรเครดิตที่ตอบโจทย์การใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน พร้อมสิทธิประโยชน์ดี ๆ ที่ช่วยให้บริหารจัดการค่าใช้จ่ายได้อย่างคุ้มค่า เลือกสมัครบัตรเครดิต KTC ที่มีหลายทางเลือกเหมาะกับหลากหลายไลฟ์สไตล์ของคุณ สมัครง่าย ใช้สะดวก พร้อมโปรโมชั่นและสิทธิพิเศษมากมายที่ช่วยให้การใช้บัตรเครดิตเป็นเรื่องที่บริหารจัดการได้อย่างมีวินัยและปลอดภัยทางการเงิน

ใช้จ่าย คุ้มค่า นึกถึงบัตรเครดิต KTC

สมัครออนไลน์ด้วยตนเอง

ผลิตภัณฑ์บัตรเครดิต
และบัตรกดเงินสด KTC PROUD

QR Code สมัครออนไลน์ด้วยตนเอง
สแกนเพื่อสมัครบัตร
ศึกษาเพิ่มเติม

สมัครออนไลน์
ด้วยตนเอง

ผลิตภัณฑ์บัตรเครดิต
และบัตรกดเงินสด
KTC PROUD

เริ่มสมัครเลย ศึกษาเพิ่มเติม

ลงชื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ

ให้คำปรึกษา และอำนวยความสะดวก
ในการสมัครผลิตภัณฑ์ของ KTC

บัตรเครดิต KTC บัตรเครดิต KTC สินเชื่ออเนกประสงค์ KTC CASH สินเชื่ออเนกประสงค์ KTC CASH KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน บิ๊กไบค์ KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน บิ๊กไบค์
บัตรกดเงินสด KTC PROUD บัตรกดเงินสด KTC PROUD สินเชื่อทะเบียนรถยนต์ KTC พี่เบิ้ม KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน รถยนต์ KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน มอเตอร์ไซค์ KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน มอเตอร์ไซค์
บัตรเครดิต KTC บัตรเครดิต KTC บัตรกดเงินสด KTC PROUD บัตรกดเงินสด KTC PROUD สินเชื่ออเนกประสงค์ KTC CASH สินเชื่ออเนกประสงค์ KTC CASH สินเชื่อทะเบียนรถยนต์ KTC พี่เบิ้ม KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน รถยนต์ KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน บิ๊กไบค์ KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน บิ๊กไบค์ KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน มอเตอร์ไซค์ KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน มอเตอร์ไซค์

เกี่ยวกับเรา

  • วิสัยทัศน์ / พันธกิจ
  • ข้อมูลทั่วไป
  • โครงสร้างการถือหุ้นกลุ่มบริษัท
  • โครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการ
  • คณะผู้บริหาร
  • เลขานุการบริษัท
  • หัวหน้างานกำกับดูแล และหัวหน้างานตรวจสอบภายใน
  • ผู้ควบคุมดูแลการทำบัญชี
  • นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
  • ข่าวประชาสัมพันธ์
  • บทความ
  • สมัครงาน / ฝึกงาน

บริการลูกค้า

  • บริการออนไลน์
  • อัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม
  • คำนวณดอกเบี้ย / ค่าธรรมเนียม
  • ช่องทางการชำระเงิน
  • บริการหักค่าใช้จ่ายรายเดือนอัตโนมัติ
  • ดาวน์โหลด
  • ประกาศบริษัท
  • คำถามที่พบบ่อย
  • แผนผังเว็บไซต์

การพัฒนาเพื่อความยั่งยืน

  • มิติเศรษฐกิจ
  • มิติสังคม
  • มิติสิ่งแวดล้อม
  • การควบคุมภายในและการบริหารจัดการความเสี่ยง
  • การรับรองมาตรฐานระบบบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสําหรับสารสนเทศ (ISO/IEC 27001:2013)

นักลงทุนสัมพันธ์

  • ข้อมูลสำคัญทางการเงิน
  • ข้อมูลนำเสนอ
  • ข้อมูลสำหรับผู้ถือหุ้น
  • ข้อมูลและกิจกรรมหุ้นกู้
  • นโยบาย
  • ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์

KTC PHONE

02 123 5000
CAC Certified

ดาวน์โหลดแอป

KTC Mobile
KTC Mobile KTC Mobile KTC Mobile
KTC Facebook KTC Twitter KTC Instagram KTC LINE
© 2563 บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
ติดตามข่าวสารได้ที่
KTC LINE KTC LINE KTC Facebook KTC Facebook KTC instagram KTC instagram KTC Youtube KTC Youtube KTC TikTok KTC TikTok KTC twitter KTC twitter

EN

TH

KTC LIVE CHAT

Live Chat

KTC LIVE CHAT
สมัครบัตรเครดิต KTC
สมัครกดเงินสด KTC PROUD
ทั้งหมด
โปรโมชั่น
ผลิตภัณฑ์
บทความ
ข่าวประชาสัมพันธ์
0 ผลลัพธ์
คุณกำลังหมายถึง?
    ดูเพิ่มเติม

    ไม่พบผลลัพธ์ที่ค้นหา

    ตรวจสอบคำค้นหาของคุณแล้วลองอีกครั้ง
    ลองค้นหาด้วยคำหลักที่น้อยลง
    ประวัตการค้นหา
    ไม่มีประวัตการค้นหา
    ลบทั้งหมด
    KTC
    ตัวกรองโปรโมชั่น
    หมวดหมู่โปรโมชั่น
    • เลือกทั้งหมด
    • ล้างทั้งหมด
    ประเภทบัตรทั้งหมด
    • เลือกทั้งหมด
    • ล้างทั้งหมด
    เลือกผลิตภัณฑ์

    บัตรเครดิต KTC

    บัตรกดเงินสด KTC PROUD

    สินเชื่ออเนกประสงค์ KTC CASH

    สินเชื่อทะเบียนรถยนต์ <span>KTC พี่เบิ้ม</span>

    สินเชื่อทะเบียนรถยนต์ KTC พี่เบิ้ม

    Filter

    ตัวกรอง

    Search
    www.ktc.co.th ไม่รองรับเบราว์เซอร์ Internet Explorer
    หากดำเนินการต่อ การใช้งานในบางเมนู/รายการอาจไม่สมบูรณ์

    สงวนสิทธิ์ © 2563 บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

    EN

    TH

    Live Chat