ทำความเข้าใจ จำนำ VS จำนอง ให้กระจ่างก่อนทำสัญญา
หลายคนคงคุ้นหูหรือเคยเห็นคำว่า จำนำ จำนอง ผ่านตามาทั้งจากสื่อที่นำเสนอข่าวสารของทั้ง 2 คำผ่านช่องทางต่าง ๆ หรือตามป้ายโฆษณาเชิญชวนให้คนร้อนเงินนำทรัพย์สินมีค่ามาเปลี่ยนเป็นเงินผ่านการจำนำหรือจำนอง แต่เชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่ยังสับสนว่า การจำนำและการจำนองคืออะไร มีความเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร แล้วมีทรัพย์ประเภทใดบ้างที่สามารถนำไปค้ำประกันได้ วันนี้พี่เบิ้มขออาสาพาทุกคนไปหาคำตอบกันครับ
ไขคำตอบ การจำนำและการจำนอง คืออะไร
ตามปกติเวลาทำสัญญากู้ยืมเงิน นอกจากมีหนังสือสัญญาแล้วบางครั้งจำเป็นต้องมีทรัพย์สินมาวางเพื่อเป็นหลักประกันการกู้ยืม ทั้งยังเป็นการแสดงให้ผู้ให้กู้เห็นว่าผู้กู้มีความสามารถในการชำระหนี้ หรือถ้าไม่สามารถชำระหนี้ได้ทางผู้ให้กู้ยังมีทางที่จะได้เงินคืนผ่านการยึดหลักประกันมาขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ที่ค้างอยู่ โดยปัจจุบันมีการทำสัญญากู้ยืมเงินแบบนำทรัพย์มาเป็นหลักประกันสามารถแบ่งได้เป็นการจำนำและการจำนอง ซึ่งทั้งสองแบบมีความหมายดังนี้
จำนำ คืออะไร
เป็นการที่บุคคลหนึ่งหรือเรียกว่า ผู้จำนำได้มอบสังหาริมทรัพย์ให้แก่อีกบุคคลหนึ่งที่เรียกว่า ผู้รับจำนำ เพื่อเป็นประกันในการชำระเงินกู้ยืม โดยสังหาริมทรัพย์ หมายถึง ทรัพย์สินที่สามารถเคลื่อนที่ได้อย่างวิทยุ สมาร์ททีวี สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต โน้ตบุ๊ก แหวนเพชร ทองคำ รถยนต์ ไปจนถึงสิ่งมีชีวิต เช่น ช้าง ม้า โค หรือกระบือ เป็นต้น
แม้ระหว่างผ่อนชำระเงินคืนตามสัญญาผู้รับจำนำมีสิทธิในการครอบครองทรัพย์สินที่จำนำ ขณะเดียวกันก็มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลทรัพย์สินจนกว่าผู้จำนำจะมาชำระหนี้ไถ่ถอนคืน ทั้งนี้มีข้อควรระวังอีกอย่างนั่นคือ ในการจำนำบุคคลที่เข้าทำสัญญากู้ยืมเงินด้วยวิธีนี้ต้องเป็นเจ้าของทรัพย์ชิ้นดังกล่าว บุคคลอื่นไม่สามารถนำทรัพย์ของผู้จำนำไปทำการจำนำแทนได้ มิฉะนั้นเข้าข่ายเป็นการกระทำความผิดฐานยักยอกทรัพย์หรือลักทรัพย์
ทรัพย์สินที่ใช้เป็นหลักประกันการชำระหนี้ แตกต่างตามประเภทของสัญญากู้ยืมเงิน
จำนอง คืออะไร
จำนองเป็นการทำสัญญากู้ยืมเงินที่มีความคล้ายคลึงกับการจำนำ นั่นคือการมอบทรัพย์เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ ทั้งนี้บุคคลที่สามารถจำนองได้ต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สินในขณะที่จำนองเท่านั้น และหลักประกันกรณีจำนองต้องเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์สินที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ เช่น โฉนดที่ดิน บ้าน คอนโด ทาวน์โฮม ไม้ยืนต้น สำนักงาน หรือโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
นอกจากนี้ในการจำนองผู้กู้หรือที่เรียกว่า ผู้จำนองต้องนำทรัพย์สินดังกล่าวไปทำหนังสือจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงาน เพื่อเป็นหลักประกันการชำระหนี้โดยไม่ต้องส่งมอบทรัพย์ที่จำนองให้แก่ผู้รับจำนอง ทำให้ผู้จำนองยังคงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์และสามารถใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินที่จำนองต่อไปได้ แต่หากมีการผิดนัดชำระหนี้ที่มีการจำนองเป็นประกันแล้ว ผู้รับจำนองมีสิทธิฟ้องบังคับชำระหนี้และบังคับคดีกับทรัพย์สินที่จำนองได้ตามกฎหมาย
คลายข้อสงสัย จำนำกับจำนอง เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
จำนำกับจำนองเป็นสัญญากู้ยืมเงินที่ใช้ทรัพย์สินเป็นหลักประกันการชำระหนี้
แม้การจำนำและการจำนองมีลักษณะใกล้เคียงกันอยู่อย่างหนึ่ง คือเป็นการทำสัญญาเพื่อความเชื่อมั่นและเป็นหลักประกันในการชำระหนี้ เพียงแต่ทรัพย์สินที่ใช้มีความแตกต่างกัน โดยการจำนำต้องใช้สังหาริมทรัพย์และไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ เพราะมีการส่งมอบทรัพย์สินให้แก่ผู้รับจำนำ ขณะที่การจำนองเป็นอสังหาริมทรัพย์และต้องทำเป็นหนังสือพร้อมจดทะเบียนต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่เท่านั้น
แต่อย่างไรก็ดี ในทางกฎหมายการจำนำและการจำนองมีรายละเอียดเกี่ยวกับข้อกำหนด สภาพบังคับ เงื่อนไขต่าง ๆ ที่แตกต่างกันตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2535 ฉะนั้นผู้ที่สนใจนำทรัพย์สินไปแปลงเป็นเงินสดด้วยวิธีจำนำหรือจำนอง ควรศึกษารายละเอียดของสัญญา ตลอดจนดูความน่าเชื่อถือของผู้รับจำนำหรือรับจำนอง เพราะนี่เป็นการกู้ยืมเงินที่มีผลผูกพันตลอดอายุสัญญา
อยากเปลี่ยนรถยนต์เป็นเงิน ควรเลือกจํานองหรือจำนำ
สำหรับใครที่สงสัยว่า รถยนต์ จำนองได้ไหม ? อันดับแรกต้องมาทำความเข้าใจก่อนว่า การจำนำและการจำนองต่างเป็นสัญญาที่ทำขึ้นเพื่อประกันการชำระหนี้ตามสัญญา โดยมีทรัพย์สินเป็นหลักประกันการกู้ยืมเงิน เพียงแต่สิ่งที่นำมาเป็นหลักประกันของการจำนำคือสังหาริมทรัพย์ ขณะที่การจำนองใช้อสังหาริมทรัพย์ แต่หลายคนอาจไม่รู้ว่าในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 703 (4) ได้กล่าวถึงสังหาริมทรัพย์อื่น ๆ ซึ่งกฎหมายบัญญัติไว้ให้จดทะเบียนเฉพาะการ เช่น เครื่องจักรและรถยนต์ เมื่อนำมาพิจารณาประกอบกับพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 17/1 ระบุว่า รถยนต์ที่จดทะเบียนแล้ว รถพ่วง รถบดถนน และรถแทรคเตอร์ที่จดทะเบียนแล้ว ให้เป็นทรัพย์สินประเภทที่จำนองเป็นประกันหนี้ได้ตามกฎหมาย นั่นเท่ากับ สามารถจำนองรถยนต์ได้ แต่ใช่ว่าจะจำนองรถได้ทุกประเภท
จำนำรถเพื่อนำเงินก้อนมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวันตอบโจทย์กว่า
แต่ถ้าถามว่า ควรเปลี่ยนรถเป็นเงินก้อน ด้วยวิธีจำนองหรือจำนำดี ? ขอตอบว่า ปัจจุบันการจำนำรถได้รับความนิยมมากกว่า นอกจากมีให้เลือกใช้บริการจำนำรถแบบไม่โอนเล่มและแบบโอนเล่ม ไม่ว่าจะเป็นธนาคารหรือผู้ให้บริการที่ไม่ใช่สถาบันการเงินรับจำนำเล่มทะเบียนทุกประเภททั้งรถเก๋ง รถกระบะ รถบรรทุก รถตู้ หรือรถมอเตอร์ไซค์ ด้วยเหตุนี้ถ้าต้องการเงินก้อนมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ต่อยอดธุรกิจ หรือเป็นทุนสำรองยามฉุกเฉิน แนะนำให้เลือกจำนำทะเบียนรถหรือสินเชื่อรถแลกเงินดีกว่า
จำนำทะเบียนรถที่ไหนดี รู้ผลเร็ว ไม่ต้องโอนเล่ม
สินเชื่อ KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน เป็นบริการที่ตอบโจทย์คนกำลังมองหาช่องทางแก้ปัญหาด้านการเงิน โดย KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน เป็นสินเชื่อที่มีจุดเด่นด้านความรวดเร็วในการอนุมัติ เพราะรู้ผลภายใน 1 ชั่วโมง หลังทำการสมัครและส่งเอกสารประกอบการสมัครครบถ้วน ทั้งเปิดโอกาสให้คุณเป็นเจ้าของเงินก้อนใหญ่ถึง 1 ล้านบาทโดยไม่จำเป็นต้องมีการโอนเล่มทะเบียน และมาพร้อมการคิดอัตราดอกเบี้ยเริ่มต้นที่ 0.98% ต่อเดือน ทั้งสามารถเลือกผ่อนชำระได้ยาวนานสูงสุด 84 งวด นอกจากนี้ยังมีช่องทางสมัครสินเชื่อจำนำทะเบียนรถให้เลือกหลายช่องทาง เช่น 2 ช่องทาง ดังนี้
(1) เตรียมเอกสารให้พร้อมแล้วเดินทางไปสมัครด้วยตนเองที่จุดบริการ KTC TOUCH สาขาใกล้บ้าน
(2) กรอกแพลตฟอร์มสมัคร KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน ที่ด้านล่างแล้วรอทีมงานพี่เบิ้ม Deliveryติดต่อกลับ เพื่อนัดหมายวันเวลาไปรับสมัครและตรวจสภาพรถถึงบ้าน
เมื่อทราบผลอนุมัติได้รับเงินโอนเข้าบัญชีเพื่อนำไปใช้จ่ายได้ความต้องการทันที พร้อมรับบัตรกดเงินสด KTC พี่เบิ้ม ไปใช้ต่อเผื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน โดยสามารถกดเงินจากตู้ ATM ได้ตลอด 24 ชั่วโมงแบบไม่มีค่าธรรมเนียม รวมถึงรูดซื้อสินค้าที่ร้านค้าที่ร่วมรายการ และโอนเงินสดเข้าบัญชีได้อีกด้วย เมื่อเรื่องเงินเป็นเรื่องใกล้ตัวมากกว่าที่คิด หากมองหาวงเงินสำรองพี่เบิ้มพร้อมช่วยคุณเสมอ
อ้างอิงข้อมูลจาก : ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2535, พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522
KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน ตัวช่วยด้านการเงิน สำหรับคนมีรถปลอดภาระ