หาคำตอบ ไม่มีเงินดาวน์ ซื้อบ้านได้ไหม ?
ไม่ว่าสภาพเศรษฐกิจอยู่ในช่วงขาขึ้นหรือขาลง ทุกคนล้วนใฝ่ฝันอยากซื้อบ้านสักหลัง คอนโดสักห้องเพื่อเป็นที่พักกาย พักใจหลังเหนื่อยล้าจากการทำงานมาตลอดทั้งวัน เมื่อมีโอกาสเลือกดูแบบบ้านในโครงการบ้านจัดสรรที่อยู่บนทำเลซึ่งตอบรับไลฟ์สไตล์ของคุณ การเดินหน้าสานฝันเป็นสิ่งที่หลายคนเลือกทำ แน่นอนว่าใครที่เก็บเงินก้อนไว้พร้อมการซื้อบ้านเป็นของตัวเองก็ไม่ใช่เรื่องยาก แต่หากมีเงินไม่พอและมั่นใจว่ามีคุณสมบัติและรายได้เป็นตามเกณฑ์ขั้นต่ำที่ธนาคารกำหนดสำหรับผู้ขอสินเชื่อบ้าน ถึงอย่างนั้นอาจยังกู้ซื้อบ้านไม่ได้ทันที เพราะยังมีรายจ่ายที่ผู้ซื้อบ้านหลงลืมไปนั่นก็คือ เงินดาวน์ที่ต้องจ่ายให้กับผู้ขาย มาถึงตรงนี้ทำให้เกิดคำถามตามมาว่า หากไม่มีเงินดาวน์หรือเงินดาวน์ไม่พอ ควรทำอย่างไร ? สามารถยื่นรูดบัตรเครดิตแล้วผ่อนดาวน์บ้านหรือคอนโดกับโครงการได้หรือไม่ มาดูคำตอบกัน
เรื่องควรรู้ ก่อนซื้อบ้านต้องเสียค่าอะไรบ้าง
หากไม่อยากในการซื้อบ้านหรือคอนโดมากระทบกับเงินในกระเป๋าและความสุขในภายภาคหน้า ก่อนตัดสินใจจรดปากกาเซ็นสัญญาซื้อบ้านจัดสรร บ้านเดี่ยว หรือคอนโดเป็นของตัวเอง มาดูกันว่าต้องเตรียมเงินค่าอะไรบ้าง หรือมีค่าใช้จ่ายแฝงอะไรที่ต้องคำนึงถึงก่อนตัดสินใจซื้อ เพื่อจะได้ไม่เสียเงินจองฟรี ๆ หรือเป็นภาระเพราะผ่อนไม่ไหวทีหลัง
(1) ค่าจองและทำสัญญา
นี่เป็นค่าใช้จ่ายแรกที่ต้องเตรียมให้พร้อมหากคุณกำลังวางแผนซื้อบ้านหรือคอนโด เนื่องจากผู้ขายจะให้ผู้ซื้อจ่ายค่าจองเอาไว้ก่อน เพื่อเป็นการรับประกันว่าคุณต้องการซื้อบ้านหลังนั้นจริง โดยค่าใช้จ่ายตรงส่วนนี้มีตั้งแต่หลักพันไปจนถึงหลักหมื่นขึ้นอยู่กับโปรโมชั่นของทางโครงการในช่วงเวลานั้น ซึ่งหลังจ่ายค่าจองทางผู้ขายจะนัดคุณให้เข้ามาทำสัญญาซื้อบ้านพร้อมจ่ายเงินค่าทำสัญญาอีกครั้ง แต่บางโครงการอาจให้ผู้ซื้อจ่ายค่าจองและค่าทำสัญญาภายในครั้งเดียว ทั้งนี้ถ้าผู้ซื้อผิดสัญญาส่วนใหญ่จะไม่สามารถขอคืนค่าจองได้ แต่บางกรณีก็สามารถขอคืนได้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของผู้ขาย ดังนั้นควรสอบถามรายละเอียดตรงส่วนนี้ไว้ด้วย
การทำสัญญาและวางเงินมัดจำ เป็นขั้นตอนอันดับต้น ๆ ของการซื้อบ้าน
(2) ค่าดาวน์
เงินดาวน์ เป็นส่วนของเงินต้นที่ผู้ซื้อต้องจ่ายให้กับผู้ขาย โดยปกติแล้วเงินดาวน์อยู่ที่ประมาณ 5-20% ของราคาบ้าน เช่น ซื้อบ้านราคา 1,250,000 บาท ต้องวางเงินดาวน์ 10% เท่ากับว่าคุณต้องมีเงินดาวน์ 125,000 บาท นับว่าเป็นเงินก้อนใหญ่ทีเดียว ด้วยเหตุนี้หลายโครงการจึงเปิดช่องให้ผู้ซื้อแบ่งจ่ายเป็นงวด ๆ ในจำนวนเงินที่เท่ากัน หรือที่เรียกว่า "ผ่อนดาวน์" นั่นเอง สำหรับใครที่คิดว่าระยะเวลาผ่อนดาวน์น้อยไป เกรงว่าจะจ่ายในส่วนนี้ไม่ไหว แนะนำให้ลองติดต่อผู้ขายว่าสามารถขยายระยะเวลาในการผ่อนดาวน์ได้อีกหรือไม่
(3) ค่าใช้จ่ายขอสินเชื่อ
ในการยื่นขอสินเชื่อทางธนาคารหรือสถาบันการเงินจะเข้ามาประเมินมูลค่าบ้านก่อนพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ โดยขั้นตอนนี้มีค่าจ่ายที่ผู้ซื้อต้องเตรียมเพิ่ม คือ ค่าธรรมเนียมยื่นกู้ ส่วนใหญ่ธนาคารจะยกเว้นการเก็บค่าธรรมเนียมในส่วนนี้หรือเก็บไม่เกิน 1% วงเงินกู้ และค่าประเมินราคาหลักประกัน อยู่ที่ประมาณ 1,000-3,000 บาท แต่บางกรณีคุณอาจได้รับการยกเว้นค่าประเมินราคาขึ้นอยู่กับโปรโมชั่นของแต่ละธนาคาร
สมัครบัตรเครดิต เตรียมไว้ใช้จ่ายทุกเรื่องที่เกี่ยวกับบ้าน...กรอกข้อมูลที่นี่
(4) ค่าจดจำนองและค่าโอนกรรมสิทธิ์
ค่าจดจำนอง เป็นค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนกับกรมที่ดิน คิดเป็น 1% ของเงินกู้ แต่สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท และมีค่าอากรแสตมป์ราคา 0.50% ของราคาซื้อขาย ดังนั้นก่อนทำสัญญาควรเจรจากับผู้ขาย พร้อมระบุในสัญญาให้ชัดเจนว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบค่าโอนส่วนนี้ นอกจากนี้ค่าจดจำนองยังมีค่าธรรมเนียมการโอนที่ต้องจ่ายให้กับกรมที่ดิน อยู่ที่ 2% จากราคาประเมิน บางแห่งอาจให้ผู้ซื้อ-ผู้ขายแบ่งกันรับผิดชอบฝ่ายละ 1%
(5) ค่าส่วนกลาง
ตามปกติแล้วโครงการบ้านจัดสรรมีการเรียกเก็บค่าส่วนกลางตามขนาดพื้นที่ เพื่อนำเงินส่วนนี้ไปบริหาร ปรับปรุง หรือพัฒนาโครงการให้น่าอยู่มากขึ้น เช่น ค่าระบบรักษาความปลอดภัย หรือค่าบำรุงรักษาสินทรัพย์ในโครงการให้พร้อมใช้งานเสมอ เป็นต้น แต่ในช่วงปีแรกบางโครงการอาจมีโปรโมชั่นฟรีค่าส่วนกลาง ทำให้ผู้ซื้อมีเวลาเตรียมค่าใช้จ่ายส่วนนี้อยู่
(6) ค่าผ่อนบ้าน
เมื่อทำสัญญาต่าง ๆ เรียบร้อย สิ่งที่ผู้ซื้อต้องวางแผนให้ดีคือ ค่าผ่อนบ้านในแต่ละเดือน ซึ่งค่าใช้จ่ายตรงส่วนนี้จะมากหรือน้อยคิดอยู่กับราคาบ้าน ระยะเวลาผ่อนชำระ และอัตราดอกเบี้ย เพื่อไม่ให้การซื้อบ้านเป็นภาระหนักในระยะยาว ก่อนซื้อบ้านคุณควรวางแผนการเงินเอาไว้ให้ดี
ค่าผ่อนบ้าน รายจ่ายระยะยาวที่คนซื้อบ้านควรวางแผนการเงินให้ดี
ไขข้อสงสัย ผ่อนดาวน์บ้านกับโครงการ ด้วยบัตรเครดิตได้หรือไม่
ปัจจุบันการซื้อบ้านหรือคอนโดไม่ได้จำกัดว่าต้องซื้อจากโครงการที่สร้างเสร็จ คุณสามารถซื้อบ้านหรือคอนโดที่อยู่ในช่วง Pre-sale หรือกำลังก่อสร้างได้เช่นกัน โดยค่าใช้จ่ายที่ต้องเตรียมให้พร้อมก่อนซื้อบ้านก็เหมือนกัน และในส่วนของเงินดาวน์ซึ่งถือเป็นค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ที่สุดในการซื้อบ้าน เพราะอยู่ที่ประมาณ 5-20% ของมูลค่าบ้าน ดังนั้นถ้าคุณซื้อบ้านราคา 3,000,000 บาท วางเงินดาวน์ 10% ทำให้ต้องผ่อนดาวน์บ้านงวดละ 300,000 บาท ตามระยะเวลาที่ผู้ขายกำหนด เพื่อแบ่งเบาภาระของผู้ซื้อหลาย ๆ โครงการเปิดให้ชำระเงินดาวน์บ้านผ่านบัตรเครดิตได้ แต่ควรเช็คให้ดีว่ารับบัตรเครดิตของธนาคารใด นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการซื้อบ้านก็สามารถรูดบัตรเครดิตได้เช่นกัน เช่น ค่าส่วนกลาง ค่าเฟอร์นิเจอร์ ค่าน้ำประปา ค่าไฟ หรือค่าประกันอัคคีภัย เป็นต้น
สมัครบัตรเครดิตใบไหนดี ตอบโจทย์ทุกความต้องการใช้จ่าย
ทุกวันนี้มีผลิตภัณฑ์บัตรเครดิตให้เลือกหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นบัตร Visa และ Mastercard ที่ได้รับความนิยมในวงกว้าง หรือบัตร JCB และ UnionPay ซึ่งเหมาะกับผู้ที่ต้องเดินทางไปต่างประเทศบ่อย ๆ เพราะบัตรทั้งสองแบบนี้ มีสิทธิประโยชน์เกี่ยวกับการใช้จ่ายที่ต่างประเทศให้เลือกรับความคุ้มค่ามากทีเดียว ด้วยเหตุนี้ธนาคารหรือสถาบันการเงินแต่ละแห่งต่างก็แข่งกันออกบัตรเครดิตมาให้เลือก โดยมีความแตกต่างในเรื่องของสิทธิประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นเครดิตเงินคืน สะสมคะแนน ไมล์สะสม หรือผ่อนชำระ 0% ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของผู้ถือบัตร
สำหรับใครที่กำลังมองหาบัตรเครดิตใบแรกหรือใบที่สอง ไม่ว่าคุณจะมีฐานเงินเดือน 15,000 บาท 30,000 บาท หรือ 50,000 บาท ทาง KTC มีผลิตภัณฑ์บัตรเครดิตที่ตอบโจทย์ทั้งฐานเงินเดือนและไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของคุณให้เลือกสมัครครบ ถ้าไม่สะดวกเดินทางไปยื่นเอกสารที่ธนาคารใกล้บ้าน เพียงกดลิงก์ด้านล่างแล้วกรอกข้อมูลให้เรียบร้อย จากนั้นรอเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ เพื่อนัดหมายแมสเซ็นเจอร์มารับเอกสารในช่วงเวลาหรือสถานที่ที่คุณสะดวก เรียกว่าการสมัครบัตรเครดิตในปัจจุบันไม่ใช่เรื่องยาก แค่มีคุณสมบัติครบตามเงื่อนไข คุณก็มีบัตรมาไว้ใช้จ่ายในชีวิตประจำวันได้ง่าย ๆ
รูดจ่ายเรื่องบ้านด้วยบัตรเครดิต ช่วยแบ่งเบาภาระทางการเงิน...สมัครที่นี่
ไม่มีค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปี