สถานการณ์ที่อาจเคยเกิดขึ้นกับใครหลายคนก็คือการถูก “ยืมเงิน” ที่พบได้บ่อยในช่วงสิ้นเดือน หรือวันที่หวยออก ซึ่งส่วนมากการยืมเงินมักเกิดขึ้นได้กับคนในครอบครัว คนใกล้ตัว รวมถึงเพื่อนสนิท แต่จะทำอย่างไรถ้าหากคุณอยากรักษาทั้งความสัมพันธ์และเงินไว้ โดยหลีกเลี่ยงโอกาสที่จะเกิดปัญหา ซึ่งจะนำมาสู่การทะเลาะเบาะแว้ง การผิดใจกัน หรือแย่ที่สุดก็คือการสูญเสียความสัมพันธ์ โดยที่ราคาของความสัมพันธ์ที่สูญเสียไปส่วนมากแล้วมักจะมากกว่าราคาหนี้ที่ต้องจ่าย แต่ถ้าหากคุณกำลังประสบปัญหาด้านการเงิน ต้องการยืมเงินคนรู้จัก แนะนำให้ลองศึกษาจิตวิทยาการยืมเงินดังต่อไปนี้ รวมถึงวิธีพูดขอยืมเงิน และมีข้อควรระวังอะไรบ้างก่อนการยืมเงิน
ก่อนยืมเงินควรพิจารณาความสามารถในการชำระคืนด้วยเสมอ
วิธีพูดให้ได้เงิน
ตามหลักจิตวิทยาแล้วการให้เหตุผลในการยืมเงิน เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ผู้ยืมตกลงให้คุณกู้ยืม หากเป็นเหตุผลที่จำเป็น หรือเหตุผลที่น่าเห็นใจ อาทิ ต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้คนในครอบครัว เป็นโรคร้ายแรง ต้องจ่ายค่าเทอมลูก และอื่นๆ อีกมากมาย ส่วนใหญ่แล้วถ้าหากยืมเงินพร้อมบอกเหตุผลที่น่าเห็นใจ มักจะมีโอกาสได้เงินมากกว่าการยืมโดยไม่มีเหตุผล
ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจยืมเงิน
ก่อนจะตัดสินใจยืมเงิน ไม่ว่าจะเป็นคนสนิท หรือคนรู้จัก คุณควรที่จะคิดคำนึงถึงผลกระทบที่จะตามมา ถ้าหากว่ายืมเงินแล้วไม่คืน เพราะไม่ใช่แค่ปัญหาเรื่องการผิดใจกันเท่านั้น แต่การยืมเงินยังส่งผลกระทบต่อเรื่องอื่นๆ มากมาย และคุณควรพิจารณาสิ่งเหล่านี้ก่อนจะตัดสินใจยืมเงินใครสักคน
- หากยืมเงินแล้วไม่คืน สามารถถูกฟ้องร้องได้ แม้ว่าก่อนยืมเงินคุณจะไม่ได้เซ็นเอกสารสัญญากู้ยืม หรือเป็นการยืมเงินเพื่อนสนิท แต่ผู้ให้ยืมสามารถฟ้องร้องคุณได้ ถ้าหากคุณไม่คืนเงิน แม้จะไม่มีสัญญาการกู้ยืมก็ตาม เพราะสามารถใช้หลักฐานการขอกู้ยืมจากข้อความ อาทิ ประวัติการแชท ข้อความใน LINE แชทใน Facebook หรือแม้แต่สลิปการโอนเงิน ผู้ยื่นฟ้องร้องสามารถนำไปเป็นหลักฐานทางคดีได้ แต่จะต้องมีการยืมเงินมากกว่า 2,000 บาทขึ้นไป
- ยืมเงินแล้วไม่คืน มีอายุความสูงถึง 10 ปี เชื่อว่าหลายคนมักจะไม่ทราบ ถ้าหากคุณถูกฟ้องร้องเรื่องการยืมเงินแล้วไม่คืน ในกรณีที่มีการระบุว่าจะชำระคืนเป็นงวดจะมีอายุความ 5 ปี และกรณีที่ไม่ได้ถูกระบุว่าจะคืนเป็นงวด หรือข้อกำหนดการชำระนี้อายุความจะอยู่ที่ 10 ปี
- เสียค่าดอกเบี้ย ผู้ให้ยืม หรือผู้ให้กู้ สามารถคิดค่าดอกเบี้ยได้ โดยถ้ามีการคิดค่าดอกเบี้ยเกิน 15% ต่อปีจะถือว่าผิดกฎหมาย แต่อย่างไรก็ตามในกรณีที่จ่ายค่าดอกเบี้ยเกินไปแล้ว ตามหลักกฎหมายจะหักลบกับเงินต้น และเงินที่จ่าย เหลือส่วนต่างเท่าไหร่ก็ต้องชำระหนี้คืนเท่านั้น
- จ่ายคืนด้วยสิ่งของอย่างอื่นไม่ได้ ในกรณีที่คุณไม่มีเงินจ่ายจะไม่สามารถจ่ายคืนด้วยสิ่งของอย่างอื่น เพราะตามกฎหมายแล้วเป็นการชำระหนี้ไม่ถูกต้อง และเจ้าหนี้สามารถเลือกได้ว่าจะไม่รับ ต้องคืนด้วยเงินสดเท่านั้น แต่ก็สามารถยื่นขอเจรจาไกล่เกลี่ยได้ ถ้าหากว่าไม่มีเงินสดจริงๆ
ประเภทของสัญญายืม
การยืมเงินนั้นถือเป็น “สัญญา” ชนิดหนึ่ง โดยจะแบ่งคู่กรณีเป็นสองฝ่ายคือ “ผู้ให้ยืม” และ “ผู้ยืม” ซึ่งสัญญายืมจะเป็นการตกลงว่าจะยอมให้ยืมทรัพย์สินเพื่อใช้สอย และผู้ยืมจะต้องทำการคืน หรือส่งคืนทรัพย์สินเมื่อใช้สอยเสร็จแล้ว โดยสัญญายืมจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
- สัญญายืมใช้คงรูป ตามาตรา ๖๕๐ คือสัญญาระหว่างผู้ให้ยืม และผู้ยืม มีการใช้สอยทรัพย์สินโดยได้เปล่า และผู้ยืมสัญญาว่าคืนทรัพย์สินหลังจากใช้สอยเสร็จแล้ว
- สัญญายืมใช้สิ้นเปลือง คือการที่ผู้ให้ยืมได้ทำการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้กับผู้ยืม โดยมีการระบุชนิด ปริมาณ และกำหนดการคืน และผู้ยืมจะต้องทำการคืนทรัพย์สินที่มีชนิด ปริมาณ ให้ตรงกับกำหนดการคืนแก่ผู้ให้ยืม โดยการยืมเงินถือว่าเป็นสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง
ยืมเงินไม่คืน สามารถฟ้องได้ไหม
ถ้าหากคุณยืมเงินแล้วไม่คืน สามารถถูกฟ้องร้องได้ เพราะถือว่าเป็น “คดีแพ่ง” ผู้ให้ยืมสามารถฟ้องร้องต่อศาล มาตรา ๒๑๓ ที่ระบุว่า “ถ้าลูกหนี้ละเลยเสียไม่ชำระหนี้ของตน เจ้าหนี้จะร้องขอต่อศาลให้สั่งบังคับชำระหนี้ก็ได้ เว้นแต่สภาพแห่งหนี้จะไม่เปิดช่องให้ทำเช่นนั้นได้” โดยมีข้อกำหนดดังนี้
- ยืมเงินไม่เกิน 2,000 บาท ตามกฎหมายแล้วการยืมเงินไม่เกิน 2,000 บาท ไม่ต้องทำหนังสือสัญญากู้ยืมเงิน เมื่อมีการผิดสัญญาการยืมเงิน แม้จะเป็นการยืมเงินด้วยวาจา ก็สามารถดำเนินคดีฟ้องร้องตามกฎหมายได้
- ยืมเงินเกิน 2,000 บาท จำเป็นจะต้องทำหนังสือสัญญากู้ยืม หรือมีหลักฐานการกู้ยืมเงิน ซึ่งหลักฐานการกู้ยืมจะอยู่ในรูปแบบใดก็ได้ แต่ต้องเป็นลายลักษณ์อักษร รวมถึงการพิมพ์ข้อความยืมเงินในแชท Facebook หรือ LINE แต่จะต้องมีรายละเอียดชัดเจนว่ายืมเงินไปเท่าใด จะคืนเมื่อไหร่ และหลักฐานอื่นๆ
ข้อแนะนำเมื่อต้องทำสัญญากู้ยืมเงิน
ในกรณีที่คุณต้องการยืมเงิน แล้วผู้ให้ยืมระบุว่าจะต้องทำหนังสือสัญญากู้ยืม แนะนำว่าควรตรวจสอบรายละเอียด และมีข้อควรระวังเหล่านี้ก่อนตัดสินใจเซ็นเอกสาร ดังนี้
- ไม่ควรเซ็นเอกสารที่เป็นกระดาษเปล่า หรือเอกสารที่ไม่ระบุข้อมูลการยืมที่ชัดเจน
- ควรตรวจสอบอัตราดอกเบี้ยว่าเกิน 15% ต่อปีหรือไม่ เพราะถ้าเกินจะผิดกฎหมาย
- ตรวจสอบรายละเอียด จำนวนเงินที่กู้ยืม และวันครบกำหนดชำระ รวมถึงกรณีที่ขอชำระเป็นงวด
- ต้องทำสัญญากู้ยืมอย่างน้อย 2 ฉบับ ให้ผู้ให้ยืม และผู้ยืมเก็บไว้อย่างละ 1 ฉบับ
- ควรมีพยานอย่างน้อย 2 คนขึ้นไป และควรเป็นพยานจากฝั่งผู้ให้ยืม และผู้ยืม
- หลังจากชำระหนี้ ไม่ว่าจะเป็นการชำระเป็นงวด หรือชำระทั้งหมด จะต้องขอเอกสารยืนยันการรับเงิน หรือให้ผู้ให้ยืมออกใบเสร็จรับเงิน
ทั้งนี้ถ้าไม่อยากให้การยืมเงินมาทำลายความสัมพันธ์ระหว่างคุณและผู้ให้ยืม มีอีกหนึ่งวิธีหาเงินเพื่อเพิ่มความคล่องตัวเมื่อถึงยามจำเป็น ให้คุณมีสภาพคล่องทางการเงินมากขึ้นด้วยการสมัครบัตรเครดิต KTC ออนไลน์ ที่สามารถเปลี่ยนวงเงินเป็นเงินสดโอนเข้าบัญชี ผ่านแอป KTC Moblie หรือจะเบิกถอนเงินสดที่ตู้ ATM ก็ได้ ทั้งยังสามารถใช้ชำระค่าสินค้าและบริการต่างๆ ได้อย่างคุ้มค่า และเลือกเปลี่ยนยอดชำระเต็มเป็นผ่อนชำระได้ ด้วยอัตราดอกเบี้ย 0.74% สูงสุด 10 เดือน นอกจากนี้ยังมีโปรโมชั่นผ่อน 0% กับพาร์ทเนอร์ชั้นนำมากมาย ให้คุณได้รับความคุ้มค่าและยังสามารถสะสมคะแนน KTC FOREVER จากทุกการใช้จ่าย 25 บาท = 1 คะแนน เพื่อนำไปใช้แลกรับเป็นส่วนลดหรือเครดิตเงินคืนได้
ก่อนจะยืมเงินใคร อยากให้ทุกคนเปลี่ยนความคิดว่าการยืมเงินไม่ใช่การแก้ปัญหาการขาดสภาพคล่องทางลัด เพราะการยืมแล้วไม่คืน สามารถฟ้องร้องได้ตามกฎหมาย และถือว่าเป็นคดีแพ่ง ผู้ให้ยืมสามารถยื่นหนังสือบอกกล่าวทวงถาม หรือโนติส (Notice) ได้เลย อีกทั้งถ้าเมื่อถึงที่สุดแล้วคุณก็ยังไม่มีเงินจ่าย แล้วศาลออกหนังสือบังคับคดี สิ่งที่ตามมาคือการโดนยึดทรัพย์ทั้งบ้าน รถ ที่ดิน เงินสดในบัญชี และอื่นๆ ตามที่กฎหมายได้ระบุไว้ ดังนั้นก่อนจะยืมเงินใครควรคิดให้ดี แต่ถ้ามีบัตรเครดิต KTC ยืมเงินตัวเองได้สบายใจกว่าเยอะ
ใช้จ่าย คุ้มค่า นึกถึงบัตรเครดิต KTC