เคยสงสัยไหมว่าทำไมการกู้เงินถึงไม่ง่ายอย่างที่คิด หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่สถาบันการเงินพิจารณาคือ NPL หรือหนี้เสียนั่นเอง หนี้สินที่ค้างชำระเกินกำหนดจากสินเชื่อ บัตรเครดิต หรือบัตรกดเงินสด ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อตัวลูกหนี้เท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมอีกด้วย มาทำความเข้าใจให้ลึกซึ้งกันว่า NPL คืออะไร เกิดจากอะไร และมีผลกระทบอย่างไรบ้าง
เลือกอ่านตามหัวข้อ
หนี้เสีย (NPL) คืออะไร
NPL คือ หนี้เสีย ย่อมาจาก Non-performing Loan เกิดขึ้นเมื่อลูกหนี้ค้างชำระเกิน 90 วัน หรือไม่ได้ชำระคืนตามข้อกำหนดตกลงกันตามสัญญา
ในมุมของลูกหนี้ หากเรามีหนี้เสียก็จะส่งผลต่อประวัติเครดิตบูโร อนาคตหากต้องการขอสินเชื่อก็จะส่งผลให้การขอกู้เป็นเรื่องยาก เพราะสถาบันการเงินผู้ปล่อยสินเชื่ออาจมองว่าเรามีความเสี่ยงสูงในการไม่ชำระหนี้และอาจปฏิเสธการให้สินเชื่อได้ หรือสถาบันการเงินอาจให้สินเชื่อ แต่เสนออัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าปกติ ทำให้การปลดหนี้ยากขึ้นไปอีก
หนี้เสีย (NPL) เกิดจากอะไร
สาเหตุที่ทำให้เกิดหนี้เสียที่พบบ่อยนั้น มีตั้งแต่การหมุนเงินไม่ทัน การขาดรายได้ การบริหารการเงินไม่รัดกุมมากพอ เจ็บป่วยหรือพบเจอกับสถานการณ์ที่จำเป็นต้องใช้เงินก้อน ไม่มีตัวช่วยทางการเงินจำเป็นต้องกู้ เมื่อกู้แล้วหมุนเงินไม่ทัน จ่ายหนี้ไม่ไหว ซึ่งเป็นปัญหาที่สามารถเกิดได้กับสินเชื่อทุกประเภททั้งบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อรถยนต์ รวมถึงสินเชื่อบ้าน
หนี้เสียกับเครดิตบูโรคืออย่างเดียวกันไหม
สำหรับใครที่เป็นมือใหม่ทางการเงินอาจสับสนว่า NPL กับเครดิตบูโรมีความหมายเหมือนกันหรือไม่ ทั้งสองคำนี้มีความหมายแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพราะเครดิตบูโรเป็นรายงานประวัติการชำระหนี้ของเราที่สถาบันการเงินจะใช้ในการพิจารณาปล่อยสินเชื่อ เมื่อเรามีการกู้ยืมเงิน ผ่อนชำระผ่านบัตรเครดิตหรือบัตรกดเงินสด ประวัติการกู้ยืมและการชำระหนี้จะถูกบันทึกเอาไว้ในเครดิตบูโร
ส่วนหนี้ NPL คืออะไร มันคือสถานะของหนี้สินที่เป็นหนี้เสีย เนื่องจากผู้กู้ไม่มีการชำระหนี้ค้างชำระเกิน 90 วัน ดังนั้นหนี้เสียจึงส่งผลต่อประวัติเครดิตบูโรของเรา และสามารถส่งผลต่อการขอสินเชื่อในอนาคตได้ด้วย เพราะหากเรามีประวัติหนี้เสียในเครดิตบูโร โอกาสที่สถาบันการเงินจะพิจารณาอนุมัติสินเชื่อก็จะน้อยลงกว่าเดิม
หนี้เสียส่งผลต่อการกู้ธนาคารไหม
แน่นอนว่า NPL ส่งผลอย่างมากต่อการขอสินเชื่อทุกประเภท หากเรามีประวัติ NPL สถาบันการเงินก็จะมองว่าเรามีความเสี่ยงสูงที่จะไม่ชำระหนี้ในอนาคต โอกาสที่ธนาคารจะปฏิเสธให้สินเชื่อหรือคำนวณดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าปกติจึงเกิดขึ้นได้เมื่อเรามีหนี้เสียบนเครดิตบูโรนั่นเอง การแก้ไขปัญหาหนี้เสียจึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราควรรีบจัดการให้ไว
5 วิธีปิดหนี้เสีย จบปัญหา NPL ให้เร็วที่สุด
สำหรับใครที่กำลังประสบปัญหา NPL ต้องยอมรับว่าการแก้ไขหนี้ NPL ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ได้ยากเกินกว่าที่เราจะทำให้สำเร็จเช่นกัน ใครที่ประสบปัญหานี้อยู่จึงควรเร่งแก้ไขโดยเร็วก่อนที่มันจะส่งผลต่อการกู้ยืมเงินในอนาคต โดยวิธีการจัดการปัญหาหนี้เสียมีดังนี้
รวมหนี้
วิธีการที่ได้รับความนิยมมากที่สุดสำหรับการจัดการปัญหาหนี้เสียคือการรวมหนี้เป็นก้อนเดียว หากเรามีหนี้เสียอยู่หลายที่ การจะปิดหนี้ให้สำเร็จพร้อมกันก็คงเป็นเรื่องยาก การรวมหนี้ NPL ของแต่ละธนาคารเอาไว้เป็นหนี้ก้อนเดียวจึงจัดการง่ายกว่า ในปัจจุบันมีสินเชื่อรวมหนี้ที่อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าดอกเบี้ยบัตรเครดิตหรือสินเชื่ออื่นๆ ช่วยให้การจัดการและการผ่อนชำระเป็นเรื่องง่ายขึ้น นอกจากนี้ ยังมีวิธีขอรีไฟแนนซ์สินเชื่อด้วย ช่วยให้การผ่อนชำระไม่หนักจนเกินไป
เจรจากับธนาคารเพื่อหาทางออก
เดี๋ยวนี้การขอสินเชื่อออนไลน์เป็นเรื่องง่าย แต่เมื่อเจอปัญหาขึ้นมาก็ต้องเร่งแก้ไขเหมือนกัน หนึ่งในหนทางที่เราอยากแนะนำก็คือการไปพูดคุยกับสถาบันการเงินที่เราขอสินเชื่ออยู่ จะเป็นการเจรจาประนอมหนี้หรือปรึกษาเพื่อหาข้อตกลงในการชำระหนี้ร่วมกันก็ได้ สถาบันการเงินอาจพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ย ขยายเวลาการผ่อนชำระ หรือหยุดคิดดอกเบี้ยชั่วคราว ทำให้เราจัดการหนี้ได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม
หยุดสร้างหนี้เพิ่ม
สิ่งสำคัญที่สุดในการจัดการหนี้เสียคือเราต้องไม่สร้างหนี้เพิ่ม อย่างเช่น ถ้าเราติดหนี้บัตรเครดิตอยู่แล้วต้องการกู้ซื้อที่ดิน เราอาจต้องเลื่อนโครงการซื้อที่ดินไปก่อน แต่ถ้าเป็นการขอสินเชื่อที่ช่วยให้การจัดการหนี้เสียเป็นเรื่องง่าย อย่างการขอสินเชื่อที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าเพื่อนำเอามาปิดหนี้เก่าก็จะช่วยให้เราสามารถจัดการหนี้สินได้ง่ายขึ้นกว่าเดิมเช่นกัน
จัดอันดับการชำระหนี้ให้ดี
สำหรับคนที่มีปัญหาหนี้เสีย แต่ไม่อยากกู้เงินปิดหนี้ เราจำเป็นต้องจัดลำดับการจ่ายหนี้ให้ดี โดยเฉพาะคนที่มีหนี้สินหลายทาง ควรเริ่มชำระหนี้ก็ที่มีดอกเบี้ยสูงสุดก่อนอย่างหนี้บัตรเครดิต หากสามารถจ่ายมากกว่ายอดขั้นต่ำได้จะยิ่งดี เพราะช่วยลดทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยได้ในระยะยาว และอย่าละเลยหนี้สินอื่นๆ ให้ชำระเงินไว้ อย่างน้อยชำระขั้นต่ำเพื่อรักษาประวัติเครดิตบูโรเอาไว้ก็ได้เช่นกัน
ปรับโครงสร้างหนี้
ลูกหนี้ NPL ที่ต้องการจัดการปัญหาหนี้สิน เราสามารถใช้วิธีปรับโครงสร้างหนี้เพื่อเปลี่ยนเงื่อนไขการชำระหนี้ให้เรายังสามารถชำระต่อไปได้โดยที่ไม่มีการผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งมีให้เลือกหลายวิธี ทั้งการขอลดอัตราดอกเบี้ย การพักชำระเงินต้น การขยายระยะเวลาชำระหนี้ รวมไปถึงการเปลี่ยนประเภทหนี้ ซึ่งแต่ละวิธีก็จะเหมาะกับสถานการณ์ที่แตกต่างกันออกไป และส่งผลที่แตกต่างกันกับประวัติเครดิตบูโรของเราด้วย เราจึงอยากแนะนำให้ปรึกษากับธนาคารก่อนการตัดสินใจ
บริการเงินให้ดี ลดการเกิดหนี้เสีย (NPL) แบบไม่รู้ตัว
NPL (Non-Performing Loan) หรือหนี้เสียคือหนี้ที่ลูกหนี้ไม่สามารถชำระคืนตามที่ตกลงไว้กับสถาบันการเงิน โดยปกติจะหมายถึงการค้างชำระเกิน 90 วัน หนี้ NPL เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ บางคนอาจตกงาน หรือบางคนเงินหมด ผลกระทบของหนี้เสียมีทั้งต่อลูกหนี้เองและต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม โดยลูกหนี้จะเสียประวัติเครดิตและอาจมีปัญหาในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในอนาคต ขณะที่ระบบเศรษฐกิจโดยรวมอาจได้รับผลกระทบจากการที่เงินทุนไหลเวียนลดลง
หากคุณกำลังมองหาวิธีจัดการหนี้ที่มีอยู่และไม่ให้กลายเป็นหนี้เสียในอนาคต เราขอแนะนำบัตรกดเงินสด KTC PROUD ที่จะช่วยให้คุณสามารถจัดการหนี้ได้อย่างเป็นระบบ ให้คุณผ่านพ้นวิกฤตในยามฉุกเฉินได้อย่างสบายใจ สามารถเบิกถอนเงินสดออนไลน์ แบบแบ่งชำระรายเดือนผ่านแอปพลิเคชัน KTC Mobile ตลอด 24 ชั่วโมง และสามารถใช้ผ่อนสินค้า 0% นานสูงสุด 24 เดือน ณ ร้านค้าที่ร่วมรายการได้
*กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนได้ตามกำหนด จะได้ไม่เสียดอกเบี้ย 25% ต่อปี
อัตราดอกเบี้ย 0% เมื่อชำระยอดผ่อนตามที่เรียกเก็บรายเดือน ภายในวันครบกำหนดชำระ
จัดการค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพด้วยบัตรกดเงินสด KTC PROUD ผู้ช่วยทางการเงินของทุกคน