งานบวช พิธีกรรมเคียงคู่คนไทยพุทธศาสนา
งานบวช ประเพณี และพิธีกรรมที่อยู่คู่กับชาวไทยมาเนิ่นนาน ซึ่งมักจะใช้เวลาเตรียมการล่วงหน้า เนื่องจากมีขั้นตอน และสิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากมายก่อนจัดพิธีกรรมงานบวช เช่น การดูฤกษ์, ดูช่วงเวลาการบวช รวมถึงรูปแบบของการจัดงานบวชเพื่อที่จะคำนวณค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ให้เรียบร้อยล่วงหน้า
ในบทความนี้ KTC ได้รวบรวมข้อมูลในการจัดพิธีงานบวช ต้องเตรียมอะไรบ้าง มีขั้นตอนอย่างไร ช่วงเวลาที่นิยมในการบวช ความแตกต่างของการบวชในแต่ละช่วงอายุหรือโอกาส รวมถึงช่วยคำนวณงบประมาณอย่างคร่าว ๆ เพื่อเป็นประโยชน์ให้กับครอบครัวที่กำลังเตรียมบวชลูกชาย หรือบอกต่อญาติและคนรู้จักที่กำลังตระเตรียมประเพณีงานบวชให้เป็นไปอย่างราบรื่น
เลือกอ่านตามหัวข้อ
งานบวชคืออะไร ทำไมถึงนิยมจัดงาน
“งานบวช” พิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นที่คุ้นเคยสำหรับชาวไทยพุทธ มีคำกล่าวว่าหากบ้านไหนมีลูกชายอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป จะต้องมีการบวช โดยเชื่อว่าเป็นการทดแทนบุญคุณบุพการี และมีการเปรียบเปรยว่าพ่อแม่จะได้เกาะชายผ้าเหลืองขึ้นสวรรค์ ทั้งนี้ก็เป็นการได้เรียนรู้ในรสพระธรรม รวมถึงการอุทิศส่วนกุศลให้แก่เจ้ากรรมนายเวรเพื่อความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต เมื่อครอบครัวไหนบวชลูกชาย จึงนิยมจัดงานบวชแบบยิ่งใหญ่ คล้ายกับการเฉลิมฉลองให้แก่สิริมงคลที่จะเข้ามาในชีวิต ด้วยเหตุนี้ งานบวชจึงเป็นพิธีกรรมประเพณีที่เราได้เห็นจนชินตา
ขั้นตอนงานบวช
งานบวชมีขั้นตอนที่หลากหลายและมีรายละเอียดค่อนข้างมาก เราได้รวบรวมขั้นตอนของการเตรียมงานบวชมาให้เรียบร้อยแล้วว่ามีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ดังนี้
1. กำหนดวัน เวลา และฤกษ์ในการบวช
การกำหนดวันและเวลางานบวชเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะนอกจากจะเป็นกำหนดการสำหรับผู้ที่ทำการบวชเตรียมตัว และแจ้งแก่เครือญาติแล้ว ครอบครัวส่วนใหญ่ก็มักจะดูฤกษ์ในการบวช โดยถือว่าเป็นยามดีในการจัดพิธีมงคล เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างราบรื่นและเหมาะสม
แต่หากใครที่ไม่รู้ว่าควรใช้วันหรือเวลาไหนเป็นฤกษ์งานบวชดี KTC ก็ขอแนะนำเลข 7 ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่ดีในทางพระพุทธศาสนา เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับพระพุทธเจ้าซึ่งประสูติและเดินบนดอกบัวครบ 7 ก้าว แทนการตรัสรู้โปรดสัตว์ถึง 7 ดินแดน หรือการใช้เลขนําโชควันเกิด มาตั้งเป็นฤกษ์งานบวชได้เช่นกัน
2. ติดต่อวัดที่จะทำการบวช
หลังจากได้กำหนดการ และฤกษ์ที่จะจัดงานบวชแล้ว ถัดมาคือการติดต่อกับวัดและพระที่จะทำการอุปสมบท โดยสอบถามทางวัดว่าสามารถจัดงานบวชได้หรือไม่ รวมถึงพูดคุยกับพระอุปัชฌาย์เกี่ยวกับขั้นตอนและข้อตกลงเงื่อนไขในการบวช เนื่องจากในแต่ละวัดอาจมีประเพณีที่แตกต่างกันไป
3. การเตรียมตัวก่อนบวช
ก่อนที่จะเข้าพิธีงานบวชพระนั้น จะมีการบวชนาคก่อน โดยผู้ที่จะบวชต้องเตรียมตัวในการท่องบทสวดมนต์บาลีต่าง ๆ ให้คล่อง สำคัญคือ คำกล่าวขอบรรพชาอุปสมบทในพิธีเป็นข้อ ๆ หรือที่เรียกว่า “การขานนาค” กับพระอุปัชฌาย์ และคำอนุโมทนา
4. จัดเตรียมสถานที่ให้เรียบร้อย
ในกรณีที่จัดงานบวชอย่างเป็นกิจจะลักษณะ จะต้องมีการจัดเตรียมอาหารให้กับพระลำดับงานบวช และแขกเหรื่อที่มาร่วมงานบวช รวมถึงเตรียมพื้นที่รองรับแขก ดังนั้นจะต้องมีการเตรียมสถานที่ให้เพียงพอกับจำนวนแขก จัดพื้นที่ที่เหมาะสมในการนิมนต์พระสงฆ์มาร่วมอนุโมทนาบุญงานบวช และจัดวางของที่จะใช้ในงานบวชให้เป็นหลักแหล่ง เพื่อที่ในวันงานจะได้มีความคล่องตัว หลีกเลี่ยงการหาของไม่เจอซึ่งอาจจะทำให้ล่าช้าจนเสียฤกษ์ได้ เป็นต้น
5. เตรียมอาหาร เหรียญโปรยทาน และปัจจัยต่าง ๆ
สิ่งที่สำคัญในการทำบุญงานบวชอีกอย่าง นั่นคือ การเตรียมอาหารเลี้ยงพระ, แขกเหรื่อที่มาร่วมงานอุปสมบท, ซองปัจจัยที่จะถวาย รวมถึงเหรียญโปรยทานซึ่งมักจะเป็นลำดับพิธีการที่ขาดไม่ได้ และเป็นสีสันของงานบวช โดยเหรียญโปรยทานนั้น ส่วนใหญ่มักจะมีการห่อริบบิ้นหรือกระดาษแก้วเพื่อความสวยงาม ในส่วนนี้ครอบครัวสามารถทำด้วยตัวเอง หรือว่าจ้างร้านที่รับเตรียมของงานบวชได้เช่นกัน
6. เข้าสู่พิธีงานบวช
เมื่อตระเตรียมสิ่งที่จำเป็นเรียบร้อยแล้ว สถานที่พร้อม รวมถึงฤกษ์งามยามดีเหมาะสม ก็จะเป็นการเริ่มพิธีงานบวช ซึ่งก็จะมีลำดับแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับวัดและภูมิภาค แต่โดยหลัก ๆ แล้วก็มักจะเริ่มด้วยการปลงผมนาค โดยครอบครัวจะทำการตัดปอยผมก่อน ตามด้วยพี่เลี้ยงที่จะทำการโกนศีรษะ จากนั้นก็จะเป็นการขอขมาลาอุปสมบทตามลำดับพิธีการ
งานบวชใช้งบประมาณและค่าใช้จ่ายเท่าไหร่?
งานบวช ใช้เงินเท่าไหร่? อาจเป็นคำถามที่หลากหลายคนสงสัย เนื่องจากงานบุญงานบวชเป็นพิธีการที่ดูเรียบง่าย แต่มีการเตรียมงานมากกว่าที่คิด ซึ่งงบประมาณการจัดงานบวชนั้นขึ้นอยู่กับรูปแบบและขนาดของงานบวช โดยในแต่ละส่วนของงานบวชนั้น มีค่าใช้จ่ายแบบคร่าว ๆ ดังนี้
ค่าใช้จ่ายพิธีปลงผม และพิธีกราบลาอุปสมบท ขอขมาบุพการี ประมาณ 1,000-2,000 บาท พิธีอาบน้ำนาค ประมาณ 500-2,000 บาท ค่าใช้จ่ายพิธีอุปสมบท และเลี้ยงเพลพระ ประมาณ 5,000-10,000 บาท มีรายละเอียดแยกย่อย ดังนี้
- ค่าซองปัจจัยพระอุปัชฌาย์ 1 รูป
- ค่าซองปัจจัยพระคู่สวด
- ค่าซองปัจจัยพระอันดับ
- ค่าเลี้ยงเพลพระ
ค่าใช้จ่ายพิธีวันทาเสมา และแห่รอบอุปสมบท ประมาณ 8,000-27,000 บาท โดยมีรายละเอียดแยกย่อย ดังนี้
- ค่าเหรียญโปรยทาน 500-1,000 บาท อาจมากหรือน้อยกว่า ขึ้นอยู่กับความต้องการ
- ค่านางรำและแตรวง 5,000-10,000 บาท
- ชุดเครื่องบวช 3,000-15,000 บาท ในชุดนี้บางส่วนอาจสามารถยืมกับทางวัดได้
พิธีทำขวัญนาคและฉลองไตร ประมาณ 21,000-58,000 บาท โดยมีรายละเอียดแยกย่อย ดังนี้
- ค่านิมนต์และปัจจัยพระสงฆ์
- ค่าดอกไม้ ธูป และเทียน
- ค่าการ์ดสำหรับเชิญแขก
- ค่าอาหาร ค่าพัดลม เต็นท์ หรือสามารถยืมกับทางวัดได้
- ค่าชุดเครื่องเสียงและการแสดง อาจมีหรือไม่มีก็ได้
ช่วงเวลาที่นิยมจัดงานบวช
งานบวชจะมีช่วงเวลาที่นิยมจัดโดยเฉพาะ นั่นคือช่วงเวลาก่อนเข้าพรรษา เนื่องจากจะเป็นการได้เรียนรู้ในพระธรรมในตลอดระยะเวลาเข้าพรรษา และเมื่อครบ 3 เดือน ได้ฤกษ์สึก ก็จะเป็นช่วงออกพรรษาพอดี ในช่วงนี้จึงเป็นที่นิยมในการบวชพระใหม่นั่นเอง
ความแตกต่างระหว่างสามเณรและงานบวช
บวชพระ
การบวชพระนั้น เป็นการบวชเมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์หรือมากกว่า และใช้คำเรียกว่าการอุปสมบท โดยการบวชพระในประเทศไทยแบ่งเป็น 2 แบบตามความเชื่อของศาสนาสองนิกาย ได้แก่ ฝ่ายมหานิกาย ซึ่งเรียกการบวชพระแบบอุกาสะ มีความหมายว่าการขอโอกาสในภาษาบาลี โดยการบวชอุกาสะนั้น เป็นการบวชพระแบบเดิมที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ
อีกฝ่ายได้แก่ ธรรมยุติ การบวชแบบธรรมยุตินั้นจะใช้รูปแบบจากพระสงฆ์ในประเทศเพื่อนบ้าน มีขั้นตอนที่น้อยลง เริ่มใช้ในสมัยรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระปรมาธิวรเสรฐมหาเจษฎาบดินทรฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือรัชกาลที่ 3
บวชสามเณร
การบวชสามเณร เป็นการบวชของเด็กผู้ชายที่มีอายุไม่เกิน 20 ปี โดยจะใช้คำเรียกว่า การบรรพชา ซึ่งมีความหมายถึงการละเว้นความชั่วทั้งปวง
สรุปงานบวช เตรียมงานอย่างไรให้ราบรื่น
งานบวช เป็นพิธีกรรมที่มีขั้นตอนละเอียดและหลากหลาย โดยเริ่มตั้งแต่การกำหนดฤกษ์ วัน เวลา ประสานงานกับวัดที่จะบวช รวมถึงพูดคุยกับพระอุปัชฌาย์ให้เรียบร้อย จากนั้นก็จะต้องมีการจัดเตรียมสถานที่ อาหาร พร้อมเชิญแขกเหรื่อเครือญาติ และนิมนต์พระ โดยในขั้นตอนเหล่านี้จะอยู่ในช่วงของนาคบวช ซึ่งเป็นคำใช้เรียกผู้ชายที่จะขออุปสมบท โดยจะต้องนุ่งขาว ห่มขาว มีการถือศีลก่อนที่จะมีพิธีการแห่นาค และปลงผมเพื่อเข้าสู่พิธีงานบวชในเวลาถัดไป
โดยปกติแล้ว ขั้นตอนที่ต้องเตรียมงานบวชนาคจนจบกระบวนการบวชพระ จะมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างมาก เนื่องจากจะต้องมีการจ้างคนจากหลายฝ่าย และเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อมาร่วมทำพิธี ไม่ว่าจะเป็นค่าดอกไม้, ดอกบัวงานบวช, ธูป, เทียน, เงินเหรียญโปรยทาน, ค่าจ้างจัดโต๊ะจีนหรือจ้างร้านอาหาร, ค่าเต็นท์และพัดลม รวมถึงค่าจ้างนางรำหรือเครื่องเสียงต่าง ๆ
ดังนั้น เพื่อให้การจัดงานบวชเป็นไปอย่างราบรื่นและคล่องตัว สามารถพกบัตรกดเงินสดเตรียมไว้เพื่อช่วยเหลือค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมได้ หรือหากใครที่ไม่ต้องการพกเงินสดเป็นจำนวนมาก ๆ บัตรกดเงินสดก็สามารถใช้จ่ายได้สะดวก ไม่ต้องพะวงเรื่องการดูแลเงิน พร้อมดำเนินการจัดงานบวชแบบสบายใจ
หากจำเป็นต้องการใช้เงินล่วงหน้าก่อนพร้อมชำระคืน สมัครบัตรกดเงินสด KTC PROUD สะดวกด้วยบริการรับเงินโอนก้อนแรกเข้าบัญชีทันที เมื่อได้รับอนุมัติ อัตราดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอกไม่เกิน 25% ต่อปี
จัดงานบวชต้องการเงินด่วน ใช้บัตรกดเงินสด KTC PROUD
รูด โอน กด ผ่อน ฟังก์ชันครบ จบในบัตรเดียว