‘โบนัส’ หนึ่งในแรงจูงใจสำคัญที่ทำให้การทำงานในองค์กรมีความน่าสนใจมากขึ้น โบนัสไม่เพียงแต่เป็นรางวัลที่มอบให้กับความทุ่มเทในการทำงาน หรือความสำเร็จของบุคคลในองค์กร แต่ยังสะท้อนถึงผลประกอบการของบริษัทในแต่ละปีอีกด้วย ซึ่งพนักงานหลายคนอาจมีข้อสงสัยว่า โบนัสมาจากไหน แล้วโบนัสคิดยังไง วิธีการจ่ายโบนัส วิธีคิดโบนัสเป็นเปอร์เซ็นต์ และอื่นๆ อีกมากมาย บทความนี้จะพาคุณไปทำความเข้าใจทุกเรื่องเกี่ยวกับโบนัส พร้อมพาไปดูกันว่าในปี 2567 นี้ บริษัทไหนที่จ่ายโบนัสมากที่สุด
โบนัส คืออะไร ?
โบนัส (Bonus) คือ การจ่ายเงินหรือผลประโยชน์พิเศษที่นายจ้างมอบให้แก่พนักงาน เพื่อเป็นการให้รางวัลหรือแรงจูงใจในการทำงาน โดยปกติแล้วโบนัสจะไม่เป็นเงินเดือนประจำหรือค่าจ้างปกติ แต่จะจ่ายเพิ่มเติมตามเงื่อนไขที่บริษัทกำหนด เช่น การทำงานที่มีผลงานดี หรือการทำงานในช่วงเวลาพิเศษ ซึ่งโบนัสอาจจะแบ่งออกเป็นหลายประเภท เช่น โบนัสประจำปี โบนัสตามผลงาน โบนัสจากกำไรของบริษัท หรือโบนัสตามความสามารถส่วนบุคคลของพนักงาน ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละบริษัท
โบนัสคิดยังไง ?
หากคุณสงสัยว่าโบนัสคิดยังไง ? วันนี้เรามีคำตอบมาให้แล้ว ซึ่งการคิดโบนัสสามารถคำนวณได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดและนโยบายของบริษัทส่วนใหญ่ โดยวิธีที่นิยมมากที่สุดในการคำนวณโบนัส คือ การคิดจากฐานเงินเดือนของพนักงาน โดยการคิดคำนวณจะเป็นไปตามผลการดำเนินงานของบริษัทในปีนั้นๆ และผลงานของพนักงานเอง โดยมีรายละเอียดดังนี้
- ผลประกอบการของบริษัท : หากบริษัทมีกำไรสูง โบนัสรวมที่จ่ายจะเพิ่มขึ้น เช่น กำไรสุทธิ 100 ล้านบาท กำหนดโบนัส 10% = โบนัสรวม 10 ล้านบาท แบ่งให้พนักงานตามเกณฑ์
- ผลการทำงานของพนักงาน : ใช้การประเมิน KPI หรือคะแนนผลงาน เช่น พนักงานที่ทำผลงานได้ 80% จะได้รับโบนัส 80% ของอัตราเต็ม
- ตำแหน่งงานและระยะเวลาทำงาน : พนักงานระดับบริหารหรือผู้ที่ทำงานมานานมักได้รับโบนัสในอัตราที่สูงกว่า
ตัวอย่างการคำนวณโบนัส
- เงินเดือน x อัตราโบนัส (%) = โบนัสที่ได้รับ
เช่น 30,000 x 200% = 60,000 บาท (เงินเดือน 30,000 บาท / รับโบนัส 200%) - เงินเดือน x จำนวนเดือนโบนัสที่ได้ = โบนัสที่ได้รับ
เช่น 30,000 x 1.5 = 45,000 บาท (เงินเดือน 30,000 บาท / รับโบนัส 1.5 เดือน)
โบนัส จ่ายยังไง ?
การจ่ายโบนัสมีหลากหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับนโยบายและความเหมาะสมของแต่ละองค์กร โดยสามารถแบ่งได้ดังนี้
- การจ่ายเป็นเงินสด
รูปแบบที่พบได้บ่อยที่สุด คือ จ่ายโบนัสเป็นเงินก้อนเข้าบัญชีพร้อมเงินเดือน หรือแยกจ่ายต่างหาก เช่น ในช่วงสิ้นปี - การจ่ายเป็นของขวัญหรือสวัสดิการพิเศษ
บางองค์กรเลือกจ่ายโบนัสเป็นของขวัญ เช่น บัตรของขวัญ สินค้าพิเศษ หรือแพ็กเกจท่องเที่ยว เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีแก่พนักงาน - การจ่ายเป็นหุ้นบริษัท
บริษัทขนาดใหญ่ เช่น ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีหรือการเงิน อาจจ่ายโบนัสในรูปของหุ้นบริษัท เพื่อสร้างแรงจูงใจและผูกพันกับองค์กรในระยะยาว - การแบ่งจ่ายเป็นงวด
บางบริษัทเลือกแบ่งจ่ายโบนัสเป็นงวด เช่น 50% ในสิ้นปี และอีก 50% ในกลางปีถัดไป เพื่อกระตุ้นให้พนักงานทำงานต่อในองค์กร
บริษัทจ่ายโบนัสตอนไหน ?
ช่วงเวลาการจ่ายโบนัสขึ้นอยู่กับผลประกอบการและนโยบายของแต่ละองค์กร โดยทั่วไปมีช่วงเวลาที่นิยมดังนี้
- ช่วงสิ้นปี (ธันวาคม)
เป็นช่วงที่พบบ่อยที่สุด เนื่องจากบริษัทสรุปผลประกอบการสิ้นปีแล้ว โบนัสจึงถูกจ่ายเป็นของขวัญหรือรางวัลสำหรับการทำงานในปีที่ผ่านมา
- ช่วงต้นปี (มกราคม - กุมภาพันธ์)
บางบริษัทเลือกจ่ายโบนัสต้นปี เพื่อให้มีเวลาสรุปผลกำไรสุทธิอย่างละเอียดในปีที่สิ้นสุดแล้ว
- หลังการประเมินผลงานประจำปี
หากบริษัทใช้ระบบประเมินผลงานรายบุคคล (Performance Review) โบนัสอาจถูกจ่ายหลังจากกระบวนการประเมินเสร็จสิ้น เช่น ในไตรมาสแรกของปี
- จ่ายตามรอบปีบัญชีของบริษัท
บริษัทที่มีรอบบัญชีไม่ตรงกับปีปฏิทิน เช่น รอบบัญชีเริ่มในเดือนกรกฎาคม อาจจ่ายโบนัสในเดือนกรกฎาคมหรือหลังจากนั้น
- ช่วงกลางปี (โบนัสพิเศษ)
ในบางองค์กร เช่น กลุ่มธุรกิจที่ทำกำไรได้สูง อาจมีโบนัสพิเศษ (Mid-Year Bonus) เพื่อขอบคุณพนักงานระหว่างปี
การคิดโบนัสสำหรับพนักงานขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละบริษัท และเงื่อนไข
วิธีคิดโบนัสเป็นเปอร์เซ็นต์
การคำนวณโบนัสเป็นเปอร์เซ็นต์ช่วยให้ทั้งพนักงาน และบริษัทสามารถมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างโบนัสที่จ่ายและเงินเดือนที่ได้รับได้ง่ายและชัดเจน อีกทั้งยังเป็นตัวชี้วัดในการประเมินการทำงานและกำหนดนโยบายของบริษัทในอนาคต
สูตรการคำนวณโบนัสเป็นเปอร์เซ็นต์ของเงินเดือน
เปอร์เซ็นต์โบนัส = (เงินเดือน/จำนวนโบนัส) × 100
ตัวอย่างการคำนวณ
สมมติว่าคุณได้รับโบนัสจำนวน 10,000 บาท และเงินเดือนของคุณคือ 40,000 บาท
เปอร์เซ็นต์โบนัส : (10,000/40,000) × 100 = 25%
ดังนั้น โบนัสที่คุณได้รับคิดเป็น 25% ของเงินเดือน
ตัวอย่างตารางให้/จ่ายโบนัสของบริษัท
ตารางให้/จ่ายโบนัส คือ ตารางที่ใช้ในการอธิบายและกำหนดอัตราโบนัสที่บริษัทจะจ่ายให้กับพนักงานตามเกณฑ์ต่างๆ เช่น ระดับตำแหน่งผลงาน หรือระยะเวลาการทำงาน เพื่อให้พนักงานทราบว่าพวกเขาจะได้รับโบนัสในอัตราเท่าไหร่หรือจำนวนเงินเท่าใดในแต่ละกรณี
โดยตัวอย่างตารางอาจจะมีลักษณะดังนี้
ตัวอย่างที่ 1 : ตารางโบนัสตามผลงาน (Performance-Based Bonus)
ตำแหน่ง |
ผลงาน (คะแนน) |
โบนัส (%) |
จำนวนโบนัส (บาท) |
พนักงานทั่วไป |
75 คะแนน |
50% |
10,000 |
หัวหน้างาน |
80 คะแนน |
75% |
22,500 |
ผู้จัดการ |
90 คะแนน |
100% |
50,000 |
ผู้อำนวยการ |
95 คะแนน |
150% |
120,000 |
ตัวอย่างที่ 2 : ตารางโบนัสตามผลงาน (Performance-Based Bonus)
ยอดขาย |
โบนัส (%) |
จำนวนโบนัส (บาท) |
ยอดขาย 10 ล้านบาท |
2% |
20,000 บาท |
ยอดขาย 20 ล้านบาท |
5% |
50,000 บาท |
ยอดขาย 30 ล้านบาท |
7% |
70,000 บาท |
ยอดขาย 50 ล้านบาท |
10% |
10,000 บาท |
หลายคนอาจสงสัยว่าควรทำงานที่บริษัทใดจึงจะได้รับโบนัสที่คุ้มค่าและเงื่อนไขที่ดี วันนี้เรามีตัวอย่าง 5 บริษัทที่มอบโบนัสประจำปี 2567 ในอัตราสูง พร้อมเงินพิเศษให้พนักงาน มีดังนี้
- บริษัท มิตซูบิชิ อิเลคทริค ไทย ออโต้-พาร์ท จำกัด = 7.5 เดือน + 10,000
- บริษัท ไอซิน พาวเวอร์เทรน (ประเทศไทย) จำกัด = 7.4 เดือน + 41,000
- Hino Motors = 7.3 เดือน + 40,000
- บริษัท สยามไอซิน จำกัด = 7.2 เดือน + 25,000
- บริษัท เจเทคโตะ ออโตโมทีฟ(ไทยแลนด์) จำกัด = 6.5 เดือน + 34,000
อ้างอิงจาก : https://www.tnews.co.th/social/social-news/617478
ทั้งนี้ โบนัสไม่ใช่แค่รางวัลจากการทำงานหนักตลอดทั้งปี แต่ยังเป็นโอกาสในการต่อยอดความฝันและตอบโจทย์เป้าหมายของชีวิต ไม่ว่าคุณจะใช้เพื่อการลงทุน ออมเงิน หรือเติมเต็มความสุขส่วนตัว การวางแผนใช้โบนัสอย่างชาญฉลาดคือกุญแจสำคัญสู่อนาคตที่มั่นคง
นอกเหนือจากโบนัสที่ช่วยเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินแล้ว การมีบัตรเครดิต KTC ติดตัวก็เป็นอีกเครื่องมือที่ช่วยจัดการการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันหรือการสะสมคะแนนเพื่อแลกรับสิทธิประโยชน์ที่หลากหลาย รวมถึงเครดิตเงินคืน ส่วนลดที่ร้านอาหาร โรงแรม ร้านค้า ฯลฯ สำหรับท่านใดที่สนใจสมัคร สามารถสมัครบัตรเครดิต KTC ผ่านทางออนไลน์ได้ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง
ใช้จ่าย คุ้มค่า นึกถึงบัตรเครดิต KTC