เมื่อก้าวสู่โลกการทำงานเป็นครั้งแรก หลายคนอาจสงสัยว่าเงินเดือนเริ่มต้นของเด็กจบใหม่ในปี 2568 อยู่ที่เท่าไหร่ และจะสามารถต่อรองเงินเดือนให้เหมาะสมได้อย่างไร ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงาน เทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว และความต้องการทักษะที่หลากหลาย ดังนั้น การเข้าใจภาพรวมของเงินเดือนในแต่ละสาขาอาชีพ รวมถึงการเตรียมตัวสำหรับการเจรจาเงินเดือนจึงเป็นเรื่องสำคัญ
โดยหลายๆ คนอาจจะรู้กันอยู่แล้วว่าเงินเดือนเด็กจบใหม่นั้นมักขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น สายงาน ความต้องการของตลาด ทักษะเฉพาะทาง และระดับความเชี่ยวชาญ บางสายอาชีพ เช่น IT, Data Science และ Software Engineer เป็นต้น ที่มีแนวโน้มที่จะได้รับเงินเดือนเริ่มต้นสูงกว่าสายงานอื่นๆ ในขณะที่อาชีพในภาครัฐหรือบางสายงานในอุตสาหกรรมดั้งเดิมอาจเริ่มต้นที่อัตราเงินเดือนใกล้เคียงค่าเฉลี่ย
การพิจารณาเงินเดือนนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย เช่น สายงาน ความต้องการของตลาด ทักษะเฉพาะทาง และประสบการณ์
เด็กจบใหม่ควรเรียก เงินเดือนเท่าไหร่
การเรียกเงินเดือนสำหรับเด็กจบใหม่เป็นหนึ่งสิ่งที่หลายคนอาจไม่แน่ใจว่าควรตั้งตัวเลขเงินเดือนที่เท่าไหร่ให้เหมาะสมกับทักษะและตลาดแรงงานในปัจจุบัน ซึ่งการตั้งเงินเดือนที่เหมาะสมไม่เพียงช่วยสร้างความมั่นใจ แต่ยังแสดงให้เห็นว่าคุณมีการวางแผนและเข้าใจคุณค่าของตัวเองอีกด้วย โดยเฉพาะเด็กจบใหม่ที่ยังไม่มีประสบการณ์ในการทำงานมากนัก ฉะนั้น นี่คือ 5 ปัจจัยต่างๆ ที่ควรพิจารณา ก่อนเรียกเงินเดือนเพื่อความเหมาะสม
1.เช็กฐานเงินเดือนแต่ละสายอาชีพ
โดยสามารถเริ่มต้นจากการค้นหาข้อมูลเงินเดือนเริ่มต้นของสายงานที่สนใจ บนเว็บไซต์จัดหางานต่างๆ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว บนโพสต์ตำแหน่งงานนั้นๆ จะมีข้อมูลเงินเดือนที่บริษัทระบุไว้แล้วเช่นกัน โดยสำหรับเงินเดือนเด็กจบใหม่ตามมาตรฐานทั่วไปแล้ว ส่วนใหญ่จะเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 15,000 บาท ไต่ไปสูงสุดอยู่ที่ 40,000 บาท
2.เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับองค์กรที่ต้องการทำงานด้วย
เพราะแต่ละองค์กรหรือบริษัทต่างๆ ก็จะมีการกำหนดอัตราเงินเดือนขั้นต่ำในแต่ละตำแหน่งเอาไว้แล้วเช่นกัน ซึ่งก็จะเป็นไปตามโครงสร้างขององค์กรนั้นๆ ในส่วนของเด็กจบใหม่ก็จะมีระบุไว้ในแบบที่แตกต่างกัน เช่น บางบริษัทอาจเริ่มต้นที่ 15,000 บาท หรือบางบริษัทอาจเริ่มต้นให้มากกว่านั้นถึง 25,000 บาท ทั้งนี้ มักจะขึ้นอยู่กับประเภทธุรกิจ ขนาดขององค์กร ผลประกอบการ และปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วยเช่นกัน
3.เรียกเงินเดือนให้เหมาะกับความสามารถ
โดยอย่าลืมที่จะประเมินคุณสมบัติและทักษะของตัวเอง เช่น หากคุณมีทักษะเฉพาะทาง ความเชี่ยวชาญด้านภาษา โปรแกรมมิ่ง หรือการใช้ซอฟต์แวร์ที่ตลาดต้องการ ก็อาจสามารถเรียกเงินเดือนได้สูงกว่าค่าเฉลี่ยได้เช่นกัน
4.พิจารณาจากสวัสดิการอื่นๆ
นอกจากตัวเลขเงินเดือนที่ได้รับแล้ว การพิจารณาสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นๆ ที่บริษัทมีให้ก็เป็นอีกปัจจัยที่ควรนำมาคิดประกอบในการตัดสินใจเรียกเงินเดือนเช่นกัน ด้วยสวัสดิการเหล่านี้สามารถช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน และเพิ่มมูลค่ารวมของรายได้ในภาพรวมได้ อาทิเช่น โบนัสและค่าคอมมิชชั่น ค่าเดินทาง ประกันสุขภาพ และโอกาสในการพัฒนาทักษะ เป็นต้น
5.คำนวณค่าครองชีพ
นับเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ควรนำมาพิจารณาในการเรียกเงินเดือนก็คือ การคำนวณค่าครองชีพกับเงินเดือนที่ได้ จะทำให้คุณสามารถใช้ชีวิตและมีเงินเหลือเก็บหรือไม่ เช่น ถ้าเราได้ทำงานที่บริษัทนี้ เราต้องมีค่าใช้จ่ายในส่วนไหนบ้าง ค่าเดินทาง หรือค่าครองชีพในย่านที่บริษัทตั้งอยู่ สูงขนาดไหน เป็นต้น
การศึกษาข้อมูลก่อนเรียกเงินเดือนเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เราประเมินและตั้งเงินเดือนเด็กจบใหม่ได้อย่างเหมาะสม เริ่มจากการเปรียบเทียบฐานเงินเดือนของบริษัทที่สมัครงานกับบริษัทอื่นๆ และพิจารณาความต้องการของตำแหน่งในตลาด หากตำแหน่งนั้นมีความต้องการสูงหรือขาดแคลนบุคลากร คุณก็อาจมีโอกาสเรียกเงินเดือนเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ การสอบถามข้อมูลจาก HR หรือบริษัทจัดหางานก็เป็นอีกทางเลือกที่ช่วยให้ตัดสินใจได้แม่นยำขึ้นเช่นกัน
เทคนิคดีๆ สำหรับการเรียกเงินเดือนของเด็กจบใหม่
นอกจากปัจจัยที่ควรพิจารณาในการเรียกเงินเดือนเด็กจบใหม่ตามข้างต้นแล้วนั้น อาจพบได้ว่าจริงแล้วๆ การเรียกเงินเดือนของเด็กจบใหม่ไม่ได้มีมาตรฐานตายตัว เด็กจบใหม่แต่ละสายงานอาจไม่ได้รับเงินเดือนเท่ากัน เพราะทุกอย่างล้วนมีปัจจัยที่แตกต่างกัน ทั้งในเรื่องของโครงสร้างบริษัท ทักษะ และประสบการณ์ที่ตลาดต้องการ ทั้งนี้หากมีโอกาสได้สร้างความประทับใจตั้งแต่วันสัมภาษณ์ จนมีโอกาสสูงที่ทางบริษัทจะรับเข้าทำงาน นี่คือเทคนิคดีๆ ในการเรียกเงินเดือนของเด็กจบใหม่
- เน้นจุดแข็งและความสามารถของตัวเอง อาทิ เมื่อเจรจาในเรื่องของเงินเดือนหรือระหว่างการสัมภาษณ์งาน ควรแสดงให้เห็นว่าคุณมีทักษะที่ตอบโจทย์ตำแหน่งงานนั้นๆ เช่น ความสามารถทางภาษา ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน รวมไปถึงความกระตือรือร้นในการพัฒนาตนเอง
- มีความยืดหยุ่น โดยควรตั้งช่วงเงินเดือนที่เหมาะสม เช่น “25,000–28,000 บาท” เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ว่าจ้างได้เจรจาและรับรู้ว่าคุณเปิดกว้างในการต่อรอง แต่อย่าลืมอธิบายเหตุผลของตัวเลขที่ตั้ง เช่น การมีทักษะเพิ่มเติม หรือประสบการณ์จากการฝึกงาน เป็นต้น
- มั่นใจในตัวเอง เพราะความมั่นใจในการสื่อสารจะแสดงให้เห็นว่าคุณให้คุณค่าในทักษะและศักยภาพของตัวเอง ซึ่งช่วยให้การเจรจาประสบผลสำเร็จได้มากขึ้น
อย่างไรก็ดี การมุ่งเน้นการพัฒนาตนเองในช่วงเริ่มต้นของการทำงานถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า แม้เงินเดือนเริ่มต้นอาจไม่สูง แต่การเก็บเกี่ยวประสบการณ์ ฝึกฝนทักษะใหม่ๆ และเรียนรู้จากเพื่อนร่วมงานหรือผู้เชี่ยวชาญในองค์กร จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับตัวคุณในระยะยาวได้
ฉะนั้น สำหรับเด็กจบใหม่ การเรียกเงินเดือนควรตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเหมาะสม ทั้งในแง่ของตลาดแรงงาน ค่าครองชีพ และความสามารถของตัวเอง แต่ที่สำคัญไม่แพ้กันคือการใช้โอกาสในช่วงเริ่มต้นอาชีพเพื่อพัฒนาทักษะและสร้างคุณค่าให้กับตัวเอง เพราะสิ่งเหล่านี้คือกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้เติบโตในสายอาชีพและได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่าในอนาคตอย่างแน่นอน
แม้เงินเดือนเริ่มต้นของเด็กจบใหม่อาจไม่ได้สูงมาก แต่ก็สามารถเริ่มต้นสร้างโอกาสในการจัดการการเงินได้ง่ายๆ ด้วย บัตรเครดิต KTC ที่สมัครได้เพียงมีรายได้ 15,000 บาท ไม่ว่าจะใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน หรือสะสมคะแนน KTC FOREVER เพื่อสิทธิประโยชน์ต่างๆ บอกเลยว่าคุ้มค่า เพราะบัตรเครดิต KTC เป็นตัวช่วยที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการ ทั้งยังสมัครง่ายได้ด้วยตัวเองผ่านช่องทางออนไลน์ โดยกรอกข้อมูลและยื่นเอกสารออนไลน์ได้ทันที บอกเลยว่าเด็กจบใหม่ก็มีโอกาสเข้าถึงสิทธิประโยชน์ที่คุ้มค่าได้ไม่ยาก
ขอบคุณข้อมูลจาก : https://th.jobsdb.com/th/career-advice/article/เงินเดือนของเด็กจบใหม่
ใช้จ่าย คุ้มค่า นึกถึงบัตรเครดิต KTC