เงินบำนาญชราภาพจากประกันสังคมเป็นหนึ่งในสิทธิประโยชน์สำคัญสำหรับผู้ประกันตนทุกคน ที่ส่งเงินสมทบเข้าระบบประกันสังคม โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในมาตรา 33, 39 และ 40 อย่างไรก็ดี แต่ละมาตราอาจมีเงื่อนไขที่แตกต่างกันในการคำนวณสิทธิประโยชน์เงินบำนาญเมื่อถึงวัยเกษียณ แน่นอนว่าหลายคนอาจสงสัยว่าจะส่งเงินสมทบได้ถึงอายุเท่าไหร่? และจะได้รับเงินคืนในรูปแบบบำนาญหรือบำเหน็จ อย่างไร? KTC ขอมาอธิบายทุกเรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับบำนาญชราภาพประกันสังคม เพื่อให้คุณเตรียมตัววางแผนการเงินได้อย่างมั่นใจเมื่อถึงวัยเกษียณ
เงินเกษียณ เงินชราภาพ บำเหน็จบำนาญ ประกันสังคมคืออะไร?
เงินชราภาพคือเงินที่ประกันสังคมจ่ายให้แก่ผู้ประกันตนเมื่อถึงอายุที่กำหนด โดยเงินเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ประกันตนมีใช้จ่ายในยามเกษียณ การได้รับสิทธิประโยชน์จะขึ้นอยู่กับจำนวนเงินสมทบและระยะเวลาที่ส่งเงินเข้าระบบประกันสังคม ซึ่งเงินชราภาพแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่
- บำนาญชราภาพ: เป็นเงินที่จ่ายเป็นรายเดือนให้แก่ผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบครบตามเงื่อนไข และมีอายุครบ 55 ปี
- บำเหน็จชราภาพ: เป็นเงินก้อนที่จ่ายเพียงครั้งเดียวให้แก่ผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบไม่ครบเงื่อนไขสำหรับการรับบำนาญ
ขอบคุณรูปภาพจาก https://www.facebook.com/ssofanpage
เงินบำนาญชราภาพประกันสังคมมาตรา 33
มาตรา 33 เป็นกลุ่มผู้ประกันตนที่เป็นลูกจ้างในบริษัท โดยการส่งเงินสมทบจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่
- ลูกจ้าง
- นายจ้าง
- รัฐบาล
เงื่อนไขการรับเงินชราภาพมาตรา 33
- มีอายุครบ 55 ปี
- หยุดการเป็นผู้ประกันตน
- ส่งเงินสมทบเข้าระบบประกันสังคมมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 เดือน (15 ปี)
ตัวอย่างการคำนวณเงินบำนาญชราภาพมาตรา 33
หากส่งเงินสมทบมาแล้ว 20 ปี และค่าจ้างเฉลี่ย 5 ปีสุดท้าย (60 เดือน) อยู่ที่ 15,000 บาท จะได้รับบำนาญชราภาพต่อเดือน ดังนี้
บำนาญชราภาพ = (จำนวนปีที่ส่งสมทบ ÷ 15) × 20% × เงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย
= [(20 ÷ 15) × 20%] × 15,000
ดังนั้น เมื่อเกษียณจะได้รับเงินเดือนละ 4,000 บาท
กรณีส่งเงินสมทบไม่ครบ 15 ปี จะได้รับเป็นบำเหน็จ แทนบำนาญ
เงินบำนาญชราภาพประกันสังคมมาตรา 39
มาตรา 39 คือกลุ่มผู้ที่เคยเป็นลูกจ้างตามมาตรา 33 แต่ลาออกจากงาน และยังส่งเงินสมทบด้วยตนเอง โดยการส่งเงินสมทบในมาตรา 39 มีเกณฑ์ที่แตกต่างจากมาตรา 33 ได้แก่
- เงินสมทบคงที่เดือนละ 432 บาท ไม่มีขั้นบันได
- ส่งได้จนถึงอายุ 55 ปี
เงื่อนไขการรับเงินบำนาญชราภาพมาตรา 39
- มีอายุครบ 55 ปี
- ส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 180 เดือน
- หากส่งไม่ครบ 180 เดือน จะได้รับเป็นบำเหน็จ
ตัวอย่างการคำนวณเงินบำนาญชราภาพมาตรา 39
หากส่งเงินสมทบในมาตรา 39 ครบ 15 ปี
บำนาญชราภาพ = (จำนวนปีที่ส่งสมทบ ÷ 15) × 20% × ฐานรายได้ 4,800 บาท
= [(15 ÷ 15) × 20%] × 4,800
ดังนั้น เมื่อเกษียณจะได้รับเงินเดือนละ 960 บาท
เงินบำนาญชราภาพประกันสังคมมาตรา 40
มาตรา 40 คือกลุ่มผู้ประกันตนที่ไม่มีนายจ้าง เช่น ฟรีแลนซ์ หรือเจ้าของกิจการ โดยสามารถสมัครและส่งเงินสมทบเองได้ ซึ่งมี 3 ทางเลือก ได้แก่
- ทางเลือก 1: ส่งเงิน 70 บาท/เดือน (ไม่มีเงินชราภาพ)
- ทางเลือก 2: ส่งเงิน 100 บาท/เดือน
- ทางเลือก 3: ส่งเงิน 300 บาท/เดือน
เงื่อนไขการรับเงินบำนาญชราภาพมาตรา 40
- สมัครและส่งเงินสมทบต่อเนื่องครบ 180 เดือน
- มีอายุครบ 60 ปี
เงินชราภาพประกันสังคม ได้คืนเมื่อไหร่?
ผู้ประกันตนจะได้รับเงินคืนในรูปแบบบำนาญหรือบำเหน็จเมื่อ
- มีอายุครบ 55 ปี (มาตรา 33 และ 39) หรือ 60 ปี (มาตรา 40)
- หยุดการส่งเงินสมทบและยกเลิกสถานะผู้ประกันตน
เงินชราภาพประกันสังคม จะได้คืนเป็นบำเหน็จหรือบำนาญ?
- บำนาญชราภาพ: ได้รับเป็นรายเดือนหากส่งเงินสมทบครบ 180 เดือนขึ้นไป
- บำเหน็จชราภาพ: ได้รับเป็นเงินก้อนครั้งเดียว หากส่งเงินสมทบไม่ถึง 180 เดือน
เงินบำนาญชราภาพจากประกันสังคมเป็นสิทธิประโยชน์สำคัญที่ช่วยให้ผู้ประกันตนมีความมั่นคงในวัยเกษียณ ผู้ประกันตนจึงควรวางแผนการส่งเงินสมทบให้ครบตามเงื่อนไขที่กำหนด ไม่ว่าจะเป็นมาตรา 33, 39 หรือ 40 เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์สูงสุด
อย่างไรก็ดี ความมั่นคงทางการเงินในวัยเกษียณเริ่มได้ตั้งแต่วันนี้ด้วยการมีแผนทางการเงินที่ชัดเจน หนึ่งในตัวช่วยที่จะทำให้สามารถควบคุมการใช้จ่าย ตรวจสอบรายการใช้จ่าย ไปจนถึงส่วนลดและโปรโมชั่น พร้อมสิทธิประโยชน์ที่จะทำให้ประหยัดได้ คือบัตรเครดิต KTC ที่ให้คุณควบคุมวงเงินและตรวจสอบยอดได้ด้วยตัวเองผ่านแอป KTC Mobile คุ้มค่าด้วยส่วนลดจากพาร์ทเนอร์ชั้นนำ และคะแนนสะสม KTC FOREVER ที่สามารถใช้แลกคะแนนรับเป็นส่วนได้
การวางแผนการใช้จ่ายที่ดีช่วยให้คุณประหยัดได้มาก และการบริหารจัดการเงินที่ดี ย่อมส่งผลถึงความมั่นคงทางการเงินเมื่อถึงวัยเกษียณ สมัครบัตรเครดิต KTC วันนี้ สะดวกสบาย เพราะสมัครผ่านออนไลน์ได้ด้วยตนเอง ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกวัน
ใช้จ่าย คุ้มค่า นึกถึงบัตรเครดิต KTC