สิทธิประกันสังคม (Social Security Rights) และบัตรทอง (Universal Coverage Scheme: UCS) เป็นสิทธิการรักษาพยาบาลที่คนไทยทุกคนควรรู้ เพราะนอกจากจะครอบคลุมการรักษาโรคร้ายแรงหลายโรค ยังช่วยลดความกังวลเรื่องค่ารักษาพยาบาล เพียงทำความเข้าใจกับข้อควรรู้ต่างๆ รวมถึงรายละเอียด และความแตกต่างระหว่างสิทธิประกันสังคม และบัตรทอง เพื่อใช้สิทธิประโยชน์ของตนได้อย่างเต็มที่ ดังนี้
ประกันสังคมคืออะไร
“ประกันสังคม” คือ การจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมสำหรับผู้ที่มีรายได้ เพื่อให้ได้รับการรักษาพยาบาลในยามเจ็บป่วย และได้รับเงินทดแทนเวลาคลอดบุตร ทุพพลภาพ ชราภาพ หรือเสียชีวิต รวมไปถึงกรณีว่างงาน
สิทธิประกันสังคมแบ่งออกเป็น 3 มาตรา ซึ่งมีความแตกต่างกัน ทั้งคุณสมบัติผู้สมัคร อัตราเงินสะสมและเงินสมทบ รวมไปถึงสิทธิประโยชน์ที่ได้รับความคุ้มครอง ได้แก่
- มาตรา 33 สำหรับลูกจ้าง
- มาตรา 39 สำหรับลูกจ้างที่ออกจากงาน และต้องการคงสิทธิประโยชน์ไว้
- มาตรา 40 สำหรับอาชีพอิสระ
ขอบคุณรูปภาพจาก https://www.facebook.com/NHSO.Thailand/
บัตรทองคืออะไร
“บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า” หรือที่เรียกกันติดปากว่า “บัตรทอง” หรือ “บัตร 30 บาท” คือบัตรที่ออกให้แก่ผู้มีสัญชาติไทย มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก และไม่มีสิทธิรักษาพยาบาลอื่นๆ ที่รัฐจัดให้ เช่น ประกันสังคม หรือสิทธิข้าราชการ โดยสิทธิบัตรทองสามารถใช้รักษาอาการเจ็บป่วยและโรคทั่วไป
ยกเลิกประกันสังคม กี่วันใช้บัตรทองได้
การยกเลิกประกันสังคม เพื่อเปลี่ยนมาใช้บัตรทองจะขึ้นอยู่กับมาตรา โดยมีเงื่อนไข และรายละเอียดที่แตกต่างกัน คือ
- มาตรา 33 หลังจากที่หยุดส่งเงินสมทบในกรณีลาออก หรือว่างงานเกิน 6 เดือน
- มาตรา 39 หยุดส่งเงินสมทบประกันสังคม จะได้สิทธิบัตรทองทันที
- มาตรา 40 ได้สิทธิบัตรทอง เพราะสิทธิการรักษาของประกันสังคมไม่ครอบคลุม เนื่องจากได้รับแค่เงินทดแทนการขาดรายได้
ออกจากประกันสังคมแล้ว ใช้บัตรทองได้เลยไหม
สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่ลาออก หรือว่างงาน หลังจากนายจ้างได้แจ้งยกเลิกประกันสังคม มาตรา 33 ออนไลน์ จะต้องรอให้พ้นระยะคุ้มครองของประกันสังคม 6 เดือน จึงจะสามารถใช้สิทธิบัตรทอง ส่วนผู้ประกันตนมาตรา 39 สามารถใช้สิทธิบัตรทองได้เลยทันที เมื่อลาออกจากสิทธิประกันสังคม สามารถเช็กสิทธิประกันสังคมในที่เว็บไซต์ประกันสังคมได้ที่นี่
มีประกันสังคม ม.33 ใช้สิทธิบัตรทองได้ไหม
ผู้ที่มีสิทธิประกันสังคมมาตรา 33 ไม่สามารถใช้สิทธิบัตรทองได้
สิทธิบัตรทอง สามารถเลือกโรงพยาบาลได้ไหม
ผู้ใช้สิทธิบัตรทองสามารถเลือกโรงพยาบาลที่อยู่ในเขตใกล้บ้านได้เพียง 1 โรงพยาบาลเท่านั้น แต่สามารถเปลี่ยนสถานพยาบาลได้ไม่เกิน 4 ครั้งต่อปี ซึ่งสามารถเริ่มใช้บริการโรงพยาบาลใหม่ได้หลังแจ้งเปลี่ยน 1 เดือน
บัตรทองทําที่ไหน
สำหรับผู้ที่ต้องการยกเลิกสิทธิประกันสังคมมาเป็นสิทธิบัตรทอง สามารถลงทะเบียนสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือสิทธิบัตรทอง 30 บาท ได้ดังนี้
ติดต่อสมัครบัตรทองด้วยตนเองได้ที่
- สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ชั้น 2 อาคารบี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ
- สำนักงานหลักสุขภาพแห่งชาติ เขต 1-12 ตามเขตที่อยู่อาศัย
- โรงพยาบาลของรัฐที่อยู่ในเขตใกล้บ้าน
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ศูนย์บริการสาธารณสุข คลินิกชุมชนอบอุ่น ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง
สมัครบัตรทองออนไลน์
- ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ สปสช. เลือกหัวข้อเมนูประชาชน เลือกแบบคำร้องการลงทะเบียนผู้มีสิทธิ
- ลงทะเบียนผ่าน Line @nhso คลิกเลือกเมนูสิทธิบัตรทอง จากนั้นทำตามขั้นตอนที่กำหนด
- ลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชัน สปสช. เปิดหน้าแอป กดปุ่ม “ลงทะเบียน” อ่านเงื่อนไขและกด “ยอมรับ” กรอกเลขบัตรประชาชน สแกนลายนิ้วมือหรือตั้งรหัสผ่าน จากนั้นกดลงทะเบียน
ถึงแม้ว่าสิทธิประกันสังคม และสิทธิบัตรทอง จะใช้ในการรักษาพยาบาลได้ฟรี แต่ในบางครั้งก็อาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เช่น รายการยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ไม่ร่วมรายการ หรือค่าเดินทาง ค่าอาหารเพื่อสุขภาพ ที่เป็นค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมระหว่างการพักรักษาตัว เพิ่มความอุ่นใจเมื่อต้องมีค่าใช้จ่ายไม่คาดคิดด้วยบัตรเครดิต KTC ให้สามารถใช้จ่ายได้อย่างคล่องตัว เปลี่ยนยอดชำระรายการซื้อสินค้า/บริการของเดือนถัดไปเป็นยอดผ่อนชำระได้ ด้วยอัตราดอกเบี้ย 0.74% สูงสุด 10 เดือน ง่ายๆ ผ่านแอป KTC Mobile เพราะสุขภาพเป็นเรื่องที่คาดเดาไม่ได้ หากเกิดเหตุฉุกเฉิน ต้องสำรองค่ารักษาพยาบาล บัตรเครดิต KTC ช่วยเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินได้อย่างแน่นอน สมัครบัตรเครดิต KTC ออนไลน์ เตรียมพร้อมไว้ก่อนได้เลย
ใช้จ่าย คุ้มค่า นึกถึงบัตรเครดิต KTC