อาชีพอิสระก็มีประกันสังคมได้! หนึ่งในมาตรการที่เกิดขึ้นเพื่ออุดช่องว่าง ลดความเหลื่อมล้ำด้านสิทธิประโยชน์ และช่วยให้ทุกคนเข้าถึงสวัสดิการของรัฐอย่างเท่าเทียม พร้อมมอบทางเลือกให้ผู้ประกันตนส่งเงินเข้ากองทุนตามสัดส่วนของสิทธิประโยชน์ แต่ก็มาพร้อมเงื่อนไขบางอย่าง เพื่อคลายความสงสัยทุกเรื่องราวเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางประกันสังคม มาดูกันว่า ประกันสังคมมาตรา 40 ขาดส่งได้ไหม ไม่ส่งกี่เดือนถึงขาด เช็กยังไง ?
ประกันสังคม มาตรา 40 คืออะไร
ประกันสังคม มาตรา 40 คือผู้ประกันตนที่ประกอบอาชีพอิสระ หรือแรงงานนอกระบบ ไม่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 หรือผู้ประกันตนมาตรา 39 หรือจำง่ายๆ ว่าเป็นกลุ่มผู้คนที่ไม่ได้อยู่ในระบบการจ้างงานแรงงาน ไม่เคยมีนายจ้าง เช่น ฟรีแลนซ์ พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ เกษตรกร และอื่นๆ โดยคุณสมบัติของผู้สมัครประกันสังคม มาตรา 40 มีดังนี้
- เป็นผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ หรือแรงงานนอกระบบ
- มีสัญชาติไทย หรือเป็นผู้ถือบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยที่มีเลขประจำตัวหลักแรกเป็น 0 หรือ 6 หรือ 7
- อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์
- ไม่เป็นผู้ประกันตน มาตรา 33 และ 39 และไม่เป็นข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรืออาชีพที่ยกเว้นตามสิทธิประกันสังคม
- เป็นผู้พิการทางร่างกายที่รับรู้สิทธิ์ที่พึงได้รับจากการเป็นผู้ประกันตน
ประกันสังคม มาตรา 40 สมัครได้ที่ไหน
เราสามารถสมัครประกันสังคม มาตรา 40 ผ่านสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครในพื้นที่ที่อยู่อาศัย หรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสาขาทุกแห่งทั่วประเทศ หรือช่องทางออนไลน์ที่ sso.go.th/section40_regist หรือ
สมัครผ่านบริการเคาน์เตอร์เซอร์วิส 7-11
ประกันสังคม มาตรา 40 ได้รับสิทธิประโยชน์ตามที่จ่ายเงินสมทบ
ประกันสังคม มาตรา 40 มีเงื่อนไขอะไรบ้าง ?
สำหรับเงื่อนไขประกันสังคม มาตรา 40 จะขึ้นอยู่กับจำนวนเงินที่สมทบที่เลือกจ่าย โดยจะมีทั้งหมด 3 ทางเลือกสำหรับการจ่ายเงินสมทบและรับสิทธิประโยชน์ ตามนี้
ทางเลือกที่1 ประกันสังคมมาตรา40จ่าย 70 บาทต่อเดือน
สิทธิประโยชน์พื้นฐาน สำหรับประกันสังคมมาตรา40จ่าย 70 บาทต่อเดือน จะได้เงินสนับสนุนจากรัฐบาล 30 บาท คุ้มครองใน 3 กรณีหลักคือ
- กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
- กรณีนอนโรงพยาบาล จะได้รับเงินชดเชยรายได้เมื่อประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย 300 บาทต่อวัน สูงสุดไม่เกิน 30 วัน
- กรณีไม่ได้นอนโรงพยาบาล ได้รับเงินชดเชย 200 บาทต่อวัน สูงสุดไม่เกิน 30 วัน เมื่อแพทย์สั่งหยุดงานให้พักฟื้นที่บ้านเป็นเวลา 3 วันขึ้นไป หากแพทย์สั่งหยุดงานแค่ 1-2 วัน และมีใบรับรองแพทย์ จะได้รับเงินชดเชย 50 บาทต่อวัน (ใช้สิทธิ์ได้ไม่เกิน 3 ครั้งต่อปี)
- กรณีทุพพลภาพ
จะได้รับเงินชดเชยรายได้ 500-1,000 บาทต่อเดือน ไม่เกิน 15 ปี (ขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการจ่ายเงินสมทบ) หากเสียชีวิตระหว่างทุพพลภาพ จะได้รับค่าทำศพ 25,000 บาท
- กรณีเสียชีวิต
จะได้รับเงินค่าทำศพ 25,000 บาท และรับเพิ่ม 8,000 บาท หากจ่ายเงินสมทบครบ 60 เดือนก่อนเสียชีวิต
ทางเลือกที่2 ประกันสังคม มาตรา40จ่าย 100 บาทต่อเดือน
ประกันสังคมมาตรา40จ่าย 100 บาทต่อเดือน จะได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาล 50 บาท ให้ความคุ้มครองใน 3 กรณีหลัก เพิ่มกรณีชราภาพ ดังนี้
- กรณีประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ และเสียชีวิต จะได้รับความคุ้มครองเหมือนกับการสมัครทางเลือกที่ 1 ทั้งหมด และเพิ่มเติม
- กรณีชราภาพ
ได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ 50 บาทต่อเดือน พร้อมดอกเบี้ย (ออมเพิ่มได้ไม่เกินเดือนละ 1,000 บาท)
ทางเลือกที่3 ประกันสังคม มาตรา40จ่าย 300 บาทต่อเดือน
ประกันสังคมมาตรา40จ่าย 300 บาทต่อเดือน จะได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาล 150 บาท ครอบคลุมสิทธิประโยชน์สูงสุด โดยให้ความคุ้มครองใน 3 กรณีหลัก เพิ่มกรณีชราภาพ และสงเคราะห์บุตรดังนี้
- กรณีประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ และเสียชีวิต จะได้รับความคุ้มครองเหมือนกับการสมัครทางเลือกที่ 1 และ 2 กรณีเสียชีวิต จะได้รับเงินค่าทำศพ 50,000 บาท
- กรณีชราภาพ
ได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ 150 บาทต่อเดือน พร้อมดอกเบี้ย จ่ายครบ 180 เดือนรับเพิ่ม 10,000 บาท (ออมเพิ่มได้ไม่เกินเดือนละ 1,000 บาท)
- เงินสงเคราะห์บุตร
ผู้ประกันตนมาตรา40จ่าย 300 บาทต่อเดือน จะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรแรกเกิด-6 ปีบริบูรณ์ คนละ 200 บาทต่อเดือน (คราวละไม่เกิน 2 คน)
ประกันสังคมมาตรา 40 ไม่ได้ส่งเงินสมทบ อยากส่งต่อสามารถจ่ายเงินสมทบในเดือนปัจจุบันและรับสิทธิ์ต่อเนื่องได้เลย
ผู้ประกันตนมาตรา 40 ขาดส่งเงินสมทบกี่เดือน กี่ครั้งถึงขาด
คำถามยอดฮิตของเรื่องนี้คือ ประกันสังคมมาตรา 40 ไม่ส่งกี่เดือนถึงขาด คำตอบง่ายๆ คือ กรณีผู้ประกันตนมาตรา 40 ขาดส่งเงินสมทบ หรือไม่ได้ส่งเงินสมทบ จะไม่สิ้นสภาพความเป็นผู้ประกันตน แต่การใช้สิทธิประโยชน์กรณีต่างๆ จะเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข
ฉะนั้น เมื่อไม่ได้ส่งเงินสมทบแล้วอยากจะส่งต่อ ผู้ประกันตนมาตรา 40 ก็สามารถจ่ายเงินสมทบในเดือนปัจจุบันและรับสิทธิ์ต่อเนื่อง ซึ่งหากใครกลัวลืมขาดส่ง ก็สามารถจ่ายล่วงหน้าได้ถึง 12 เดือน (แต่ไม่สามารถชำระเงินสมทบย้อนหลังได้)
วิธีเช็กสถานะส่งเงินสมทบประกันสังคมได้อย่างไรบ้าง ?
เราสามารถเช็กสิทธิประกันสังคมได้ง่ายๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ เพียงใช้เลขบัตรประชาชน ผ่าน 2 ช่องทาง คือเว็บไซต์ประกันสังคม www.sso.go.th และแอปพลิเคชัน SSO Connect
โดยสามารถเช็กสิทธิประกันสังคมออนไลน์ ได้ดังนี้
- ข้อมูลการส่งเงินสมทบ
- การยื่นแบบขอเปลี่ยนสถานพยาบาล
- เช็กประวัติการเปลี่ยนแปลงสถานพยาบาล
- การใช้สิทธิประโยชน์ทดแทน
- การคำนวณเงินสงเคราะห์ชราภาพ
- การขอเบิกสิทธิประโยชน์ กรณีคลอดบุตร
- การขอเบิกสิทธิประโยชน์ กรณีสงเคราะห์บุตร
- การขอเบิกสิทธิประโยชน์ กรณีว่างงาน
- การขอเบิกสิทธิประโยชน์ กรณีชราภาพ
- การเลือกบัญชีธนาคารเพื่อรับเงิน
- เช็กประวัติการทำรายการ
- ตรวจสอบระบบทันตกรรม
วิธีส่งเงินสมทบประกันสังคม และส่งเงินสมทบล่วงหน้า
วิธีการชําระเงินประกันสังคม มาตรา 40 มีตัวเลือกทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์ ได้แก่
- เคาน์เตอร์บริการ จุดรับชำระ เช่น Lotus's, เคาน์เตอร์เซอร์วิส, Big C, ตู้บุญเติม เป็นต้น
- หักผ่านบัญชีเงินฝากธนาคาร โดยชำระงวดปัจจุบันผ่านบัญชีออมทรัพย์ของ
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
- ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (มหาชน)
- ธนาคารออมสิน
- ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
- ช่องทางออนไลน์ ชําระเงินประกันสังคมมาตรา 40 ผ่านช่องทางออนไลน์ ผ่านแอปพลิเคชันที่รองรับ เช่น ชําระเงินประกันสังคมมาตรา 40 ผ่านแอปพลิเคชัน Shopee และ การชำระประกันสังคมมาตรา 40 ผ่านช่องทางแอปพลิเคชัน AirPay
ส่งเงินสมทบล่วงหน้า
สำหรับคนที่กลัวลืมจ่ายเงินสมทบ มาตรา 40 สามารถส่งเงินสมทบล่วงหน้าได้นานสูงสุดถึง 12 เดือน ได้ที่
- สำนักงานประกันสังคมทั่วประเทศ ยกเว้นสำนักงานใหญ่กระทรวงสาธารณสุข
- ดำเนินการขอหักบัญชีธนาคารที่เข้าร่วมโครงการ
- เคาน์เตอร์ธนาคารที่กำหนด
- เคาน์เตอร์เซอร์วิส 7-11 โลตัส บิ๊กซี และที่ตู้บุญเติมทั่วประเทศ
- ธนาณัติที่ทำการไปรษณีย์
- แอปพลิเคชัน ShopeePay
- เคาน์เตอร์ CenPay
ตอบทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับประกันสังคมมาตรา 40 ขาดส่งได้ไหม ไม่ส่งกี่เดือนถึงขาด เช็กยังไง ? กันไปแล้ว ใครยังไม่ได้สมัครประกันสังคม ก็สามารถสมัครเพื่อใช้สิทธิ์ได้ตามกฎหมาย สำหรับคนที่ขาดส่งประกันสังคม ก็สามารถเช็กช่องทาง ตรวจสอบสิทธิ์ และส่งเงินสมทบต่อไป หรือจะจ่ายเงินสมทบล่วงหน้าผ่านบัตรเครดิตก็ได้
สำหรับสมาชิกบัตรเครดิต KTC เปลี่ยนรายการใช้จ่ายเป็นรายการผ่อน นาน 3 - 10 เดือน ด้วยอัตราดอกเบี้ยพิเศษ 0.74% ต่อเดือน ได้ง่ายๆ ผ่านแอป KTC Mobile หรือ KTC PHONE ติดต่อขอผ่อนชำระได้ที่ 02 123 5000 กด 4 หรือเว็บไซต์ KTC Online ที่ www.ktc.co.th/online ล็อกอินเข้าเมนูผ่อนชำระ เลือกรายการใช้จ่าย และระยะเวลาที่ต้องการผ่อนชำระ นอกจากนี้ใช้จ่ายผ่านบัตรฯ ทุก 25 บาท รับคะแนน KTC FOREVER 1 คะแนน สามารถนำไปแลกส่วนลด และสิทธิประโยชน์มากมาย สมัครเครดิต KTC สมัครออนไลน์ได้ สะดวก สบาย ได้ทุกวันตลอด 24 ชม.
ใช้จ่าย คุ้มค่า นึกถึงบัตรเครดิต KTC