การตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนในการทำงาน และสามารถวัดผลได้จริง คือหัวใจสำคัญของความสำเร็จในทุกองค์กร หนึ่งในเครื่องมือที่ได้รับความนิยมและถูกพูดถึงอย่างแพร่หลายก็คือ OKR ระบบที่ช่วยให้ทีมและองค์กรสามารถกำหนดเป้าหมายใหญ่ พร้อมตัวชี้วัดความสำเร็จที่จับต้องได้ ในบทความนี้ เราจะพาคุณไปรู้จักกับคำว่า OKR คืออะไร OKR มีกี่ประเภท รวมไปถึงข้อดี-ข้อเสีย และตัวอย่างการเขียน OKR เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานในองค์กรของคุณ
OKR คืออะไร ?
OKR ย่อมาจาก Objectives and Key Results ซึ่ง OKR คือเครื่องมือในการตั้งเป้าหมายและวัดผลการทำงานที่ช่วยให้ทีมและองค์กรสามารถดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกันได้อย่างชัดเจน
โดย Objective หมายถึง เป้าหมายหลักที่ต้องการไปให้ถึง เช่น ต้องการเพิ่มยอดขายสินค้าใหม่ 20% หรือ ต้องการปรับปรุงประสบการณ์ลูกค้าให้ดีขึ้น
ส่วน Key Results คือ ผลลัพธ์ที่สามารถวัดผลได้ เพื่อตรวจสอบว่าเป้าหมายหลักสำเร็จหรือไม่ เช่น สามารถเพิ่มยอดขายสินค้าใหม่ได้ 10 ล้านบาทภายในสิ้นปี หรือ ลดเวลาตอบกลับลูกค้าเหลือไม่เกิน 2 ชั่วโมง
ซึ่ง OKR ถูกใช้โดยองค์กรระดับโลกหลายแห่ง เช่น Google, Spotify, Intel, LinkedIn เนื่องจากเป็นระบบที่โปร่งใสและมีความยืดหยุ่นในการปรับตัว
OKR มีกี่ประเภท ?
การใช้งาน OKR สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก ซึ่งแต่ละประเภทถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองเป้าหมายที่แตกต่างกันในองค์กร ดังนี้
1.Committed OKRs
คือ เป้าหมายที่ทีมหรือองค์กรต้องทำให้สำเร็จอย่างแน่นอน และคาดหวังว่าจะได้ตาม Key Results 100% เพราะมีความสำคัญต่อความก้าวหน้าขององค์กร โดยเป้าหมายในประเภทนี้ มักตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นไปได้จริง และสามารถวัดผลได้ชัดเจน เช่น เพิ่มยอดขายให้ได้ 10% ภายในไตรมาส หรือพัฒนาระบบบริการลูกค้าใหม่ให้พร้อมใช้งานภายในกำหนดเวลา
2.Aspirational OKRs
เป้าหมายประเภทนี้มุ่งเน้นที่ความสร้างแรงผลักดันให้ทีมงานพยายามก้าวข้ามขีดจำกัดของตนเอง ซึ่ง Aspirational OKRs ไม่จำเป็นต้องสำเร็จ 100% ก็ได้ แต่เป็นเป้าหมายที่ออกแบบมาเพราะอยากทำ และเพื่อกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงนวัตกรรมใหม่ๆ ในการทำงาน เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ตอบโจทย์ตลาดในระยะเวลา 6 เดือน หรือการเพิ่มฐานลูกค้ากลุ่มใหม่ในตลาดต่างประเทศ เป้าหมายประเภทนี้จะช่วยเปิดโอกาสให้ทีมได้ทดลองทำสิ่งใหม่ๆ และยกระดับความสามารถ แม้ว่าผลลัพธ์จะไม่สมบูรณ์แบบ 100% ก็ตาม
OKR มีข้อดี-ข้อเสียอะไรบ้าง ?
การใช้ OKR มีทั้งข้อดีและข้อเสียที่องค์กรต้องพิจารณา เพื่อให้สามารถนำไปปรับใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับลักษณะการทำงานของทีม ดังนี้
ข้อดีของ OKR
1.ช่วยเพิ่มความชัดเจนและการโฟกัส
OKR คือตัวช่วยในการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนและวัดผลได้ ทำให้ทีมสามารถมุ่งเน้นไปที่สิ่งที่สำคัญที่สุดในระยะเวลาที่กำหนด เช่น หากองค์กรมีเป้าหมายในการเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า OKR จะช่วยระบุว่าทีมควรทำอะไร เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่จับต้องได้
2.สร้างความโปร่งใส
สมาชิกทุกคนในองค์กรสามารถติดตามความคืบหน้าได้ เห็นความคืบหน้าของทีมและเป้าหมายโดยรวมได้อย่างชัดเจน ซึ่งการเปิดเผยข้อมูลนี้จะช่วยสร้างความโปร่งใสในองค์กร ลดปัญหาการทำงานซ้ำซ้อน และส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจตรงกันในทุกระดับ
3.ช่วยกระตุ้นการมีส่วนร่วม
การตั้ง OKR เป็นการเปิดโอกาสให้สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมาย ทั้งระดับบุคคล ทีม และองค์กร เมื่อพนักงานรู้สึกว่าตนเองมีบทบาทสำคัญในความสำเร็จขององค์กร ก็จะช่วยเพิ่มแรงจูงใจในการทำให้ถึงเป้าหมาย
4.ปรับเปลี่ยนได้ง่าย
OKR มีความยืดหยุ่นสูง สามารถปรับเปลี่ยนเป้าหมายหรือผลลัพธ์ได้ตามสถานการณ์ เช่น หากพบว่าเป้าหมายเดิมไม่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในตลาด ทีมสามารถแก้ไข OKR ได้โดยไม่กระทบต่อประสิทธิภาพโดยรวม
5.สนับสนุนการเรียนรู้และพัฒนา
การใช้ OKR มีส่วนช่วยสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เน้นการเรียนรู้จากการทำงาน แม้เป้าหมายบางอย่างอาจไม่สำเร็จตามแผนที่วางไว้ แต่กระบวนการทำงานที่โปร่งใสจะช่วยให้ทีมสามารถปรับปรุงและพัฒนาต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง
ข้อเสียของ OKR
1.ต้องการการสื่อสารที่ดี
การใช้งาน OKR ให้ได้ผล จำเป็นต้องอาศัยการสื่อสารที่ชัดเจนและเข้าใจง่าย หากทีมงานไม่เข้าใจว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้มีความสำคัญอย่างไร อาจทำให้การดำเนินงานสะดุดหรือเกิดการผิดพลาดได้
2.อาจใช้เวลานานในการตั้งเป้าหมาย
ในช่วงเริ่มต้นของการกำหนด OKR อาจใช้เวลานาน โดยเฉพาะในองค์กรที่ยังไม่คุ้นเคยกับระบบนี้ ทีมงานอาจต้องผ่านการประชุมหรือปรึกษากันหลายรอบเพื่อให้ได้ OKR ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ขององค์กร
3.อาจทำให้สูญเสียโฟกัสและกระจายความสนใจไปหลายทิศทาง
หากกำหนด Key Results มากเกินไป อาจทำให้ทีมงานสูญเสียโฟกัสและกระจายความสนใจไปในหลายทิศทาง แทนที่จะมุ่งเน้นที่เป้าหมายหลัก การตั้งเป้าหมายที่เยอะเกินความจำเป็น อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพโดยรวม ดังนั้นจำเป็นต้องระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง
4.อาจเกิดความกดดันในการทำงาน
ในบางกรณี OKR ที่ท้าทายเกินไป อาจสร้างความกดดันให้กับทีมงาน ทำให้พนักงานรู้สึกเหนื่อยล้าหรือหมดไฟหากไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ตามที่คาดหวัง
5.ต้องติดตามผลอย่างต่อเนื่อง
แม้ OKR จะช่วยให้การตั้งเป้าหมายมีโครงสร้าง แต่การติดตามผลลัพธ์จำเป็นต้องทำอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจเพิ่มภาระงานให้กับทีมงานบางกลุ่ม โดยเฉพาะในองค์กรที่ไม่มีระบบติดตามผลที่ดีพอ
OKR คือ Objectives and Key Results พนักงานในบริษัทได้มีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมาย และทำงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
OKR ต่างกับ KPI อย่างไร ?
แม้ว่า OKR (Objectives and Key Results) และ KPI (Key Performance Indicator) จะเป็นเครื่องมือสำหรับการวัดผลและตั้งเป้าหมายในการทำงาน แต่ทั้งสองมีจุดประสงค์และวิธีการใช้งานที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน ดังนี้
- OKR : เน้นเปิดโอกาสให้พนักงานทุกระดับได้มีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายหลักและตัวชี้วัดผลกรทำงาน ทำให้ทีมงานรู้สึกมีส่วนร่วมและเข้าใจเป้าหมายขององค์กร ซึ่งการมีส่วนร่วมนี้จะช่วยกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ เป็นการเปิดโอกาสให้เกิดแนวทางใหม่ๆ ในการทำงาน อีกทั้ง OKR ยังมีความยืดหยุ่น สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ ทำให้องค์กรสามารถปรับกลยุทธ์ได้ทันเวลาเมื่อต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างที่ไม่ทันตั้งตัว โดย OKR ไม่เพียงแค่วัดผลสำเร็จของเป้าหมายได้ แต่ยังสนับสนุนการทดลองและการเรียนรู้ใหม่ๆ ซึ่งไม่จำเป็นต้องบรรลุผล 100% ก็ได้
- KPI : เน้นการวัดผลตามตัวชี้วัดที่กำหนดล่วงหน้า ถูกใช้เพื่อประเมินผลการดำเนินงานตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ เช่น ยอดขายประจำเดือน จำนวนลูกค้าใหม่ หรือระยะเวลาการส่งมอบสินค้า ซึ่งตัวชี้วัดเหล่านี้มักกำหนดโดยผู้บริหารระดับสูงและมุ่งเน้นไปที่ผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม เพื่อใช้สำหรับการติดตามความก้าวหน้าของงานและเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ ทำให้ทีมงานสามารถวิเคราะห์ผลลัพธ์และปรับปรุงกระบวนการทำงานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น
หัวข้อ |
OKR |
KPI |
เป้าหมาย |
เน้นการสร้างสรรค์และผลักดันให้ทีมพัฒนาตัวเอง |
วัดผลตามตัวชี้วัดที่กำหนดล่วงหน้า |
กระบวนการตั้งค่า |
เปิดโอกาสให้พนักงานทุกระดับมีส่วนร่วม |
มักกำหนดโดยผู้บริหารระดับสูง |
ความยืดหยุ่น |
มีความยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ |
มุ่งเน้นความเสถียรและความแม่นยำ |
การใช้งาน |
กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์และการเรียนรู้ |
เน้นการติดตามผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม |
ตัวอย่างการเขียน OKR ให้ได้ผล
Objective : เพิ่มยอดขายสินค้าใหม่ 20%
- Key Result 1 : เพิ่มยอดขายสินค้าใหม่ได้ 10 ล้านบาทภายในสิ้นปี
- Key Result 2 : เพิ่มจำนวนลูกค้าใหม่ที่ซื้อสินค้าใหม่ 5,000 ราย
- Key Result 3 : เพิ่มจำนวนช่องทางการขายใหม่ 3 ช่องทาง
Objective : เพิ่มการรับรู้แบรนด์ในกลุ่มเป้าหมาย
- Key Result 1 : เพิ่มจำนวนผู้ติดตามบนโซเชียลมีเดีย 20% ภายใน 3 เดือน
- Key Result 2 : เพิ่มจำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ 30% ภายใน 6 เดือน
- Key Result 3 : จัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย 3 ครั้ง และได้รับการตอบรับจากลูกค้า 1,000 คน
Objective : พัฒนาทักษะของทีมงาน
- Key Result 1 : สมาชิกทีมทุกคนผ่านการอบรม 3 หลักสูตรในไตรมาส
- Key Result 2 : คะแนนประเมินทักษะเพิ่มขึ้น 20%
- Key Result 3 : ทีมงานสามารถประยุกต์ใช้ทักษะใหม่ในการทำงานอย่างน้อย 3 โครงการ
OKR คือเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้ทีมและองค์กรมีความชัดเจนและสามารถมุ่งสู่เป้าหมายร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ต้องอาศัยความเข้าใจและการสื่อสารที่ดีเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุด การตั้ง OKR ที่เหมาะสมและท้าทายจะช่วยผลักดันองค์กรให้ไปสู่ความสำเร็จได้ในระยะยาว
เพื่อสนับสนุนการพัฒนาทักษะของทีมงานอย่างต่อเนื่องไปพร้อมกับการเติบโตขององค์ KTC มีบัตรเครดิตและสิทธิพิเศษส่วนลดเพื่อองค์กร เพื่อช่วยให้คุณบริหารจัดการค่าใช้จ่ายในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพิ่มความคล่องตัวทั้งทางการเงินและธุรกิจได้
สำหรับองค์ใดที่สนใจสมัคร สามารถสมัครบัตรเครดิต KTC ผ่านทางออนไลน์ได้ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง
ใช้จ่าย คุ้มค่า นึกถึงบัตรเครดิต KTC