พ.ร.บ. ต้องต่อภายในกี่วัน หากขาดต่อผิดกฎหมายไหม?
รถยนต์ถือเป็นยานพาหนะที่จำเป็นเพื่อใช้สำหรับการเดินทาง และคนมีรถยนต์ต่างทราบกันดีว่านอกเหนือจากประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ อย่างประกันภัยรถยนต์ ชั้น 1 ประกันภัยรถยนต์ ชั้น 2 หรือ 2+ หรือประกันภัยรถยนต์ ชั้น 3 หรือ 3+ นั้น เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนมีรถยนต์เพื่อช่วยบริหารความเสี่ยงเมื่อเกิดจากความเสียหายจากอุบัติเหตุรถชนกัน หรือจากเหตุไม่คาดฝัน เช่น ไฟไหม้รถ น้ำท่วมรถ หรือถูกโจรกรรม แต่ถ้าเอ่ยถึงประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับหลายคนย่อมนึกถึงพ.ร.บ.รถยนต์ ทั้งกฎหมายกำหนดให้รถยนต์ทุกคันที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกต้องมีประกัน พ.ร.บ. เพื่อรับความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบุคคลทั่วไปรวมถึงเจ้าของรถและบุคคลภายนอก หากได้รับความเสียหายแก่ชีวิตร่างกายเนื่องจากการเกิดอุบัติเหตุรถยนต์
ประเภทรถที่ต้องทํา พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
กฏหมายบังคับให้รถทุกคันต้องทำประกันพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 หรือ พ.ร.บ.รถยนต์ เพื่อคุ้มครองผู้บาดเจ็บจากการเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ในรูปแบบของเงินชดเชยและค่ารักษาพยาบาลตามที่กฎหมายกำหนด และอีกหนึ่งคำถามคาใจของคนมีรถนั่นคือ รถประเภทไหนบ้างที่กฎหมายกำหนดให้ทำประกันภัยตาม พ.ร.บ. เรื่องนี้พี่เบิ้มขอตอบว่า รถทุกชนิดทุกประเภทตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ กฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก กฎหมายว่าด้วยรถยนต์ทหาร เป็นรถที่เจ้าของมีไว้ใช้ ไม่ว่ารถดังกล่าวจะเดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ กำลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถสามล้อเครื่อง รถยนต์โดยสาร รถบรรทุก หัวรถลากจูง รถพ่วง รถบดถนน รถอีแต๋น ฯลฯ ขณะเดียวกันรถบางประเภทที่กรมการขนส่งทางบกไม่รับจดทะเบียน แต่หากเข้าข่ายว่ารถนั้นเดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ กำลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่นแล้วก็จัดเป็นรถที่ต้องทำประกันภัยตาม พ.ร.บ. ด้วยเช่นกันครับ
เหตุผลที่ พ.ร.บ. ต้องกำหนดให้เป็นกฎหมาย
การต่อ พ.ร.บ รถยนต์
การทำประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
- เพื่อคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต เพราะเหตุประสบภัยจากรถ โดยจะได้รับในส่วนของการรักษาพยาบาลอย่างทันท่วงที กรณีบาดเจ็บ หรือช่วยเป็นค่าปลงศพ กรณีเสียชีวิต
- เป็นหลักประกันให้โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลว่าจะได้รับค่ารักษาพยาบาลในการรักษาพยาบาลผู้ประสบภัยจากรถยนต?อย่างแน่นอน
- เป็นสวัสดิสงเคราะห์ที่ทางรัฐมอบให้แก่ประชาชนผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากประสบภัยจากรถ
- ส่งเสริมให้การประกันภัยเข้ามีส่วนร่วมในการบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบภัยและครอบครัว
พ.ร.บ. รถยนต์ขาดได้กี่วัน
เนื่องจากเป็นประกันภัยภาคบังคับที่กฎหมายกำหนดว่ารถยนต์ทุกคันต้องทำ พ.ร.บ. ดังนั้น พ.ร.บ. จึงไม่สามารถปล่อยให้ขาดหรือหมดอายุได้เลยแม้แต่วันเดียว เพราะจะถือว่ากระทำผิดกฎหมายทันทีหากนำรถคันนั้นไปใช้งาน โดยผู้ที่มีหน้าในการทำประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับหรือ พ.ร.บ. คือเจ้าของรถยนต์หรือผู้ที่ครอบครองรถในฐานะผู้เช่าซื้อรถ หากฝ่าฝืนหรือมีการใช้รถยนต์ที่ไม่มี พ.ร.บ. ตามที่กฎหมายกำหนดมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท สำหรับอัตราเบี้ยประกันภัยภาคบังคับ พ.ร.บ. รถยนต์จะเป็นการกำหนดอัตราเบี้ยคงที่อัตราเดียว ซึ่งแยกตามประเภทของรถยนต์และลักษณะการใช้รถ อย่างรถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง อัตรา พ.ร.บ.รถยนต์ อยู่ที่ 600 บาทต่อปี
อ่านมาถึงตรงนี้พี่เบิ้มว่าทุกคนคงเข้าใจถึงความสำคัญของ พ.ร.บ. รถยนต์ กันแล้วว่า มีเพื่อให้ความคุ้มครองกับตัวบุคคลที่ได้รับผลจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ นอกจากนี้ยังถือเป็นการดูแลใส่ใจรถยนต์หลักประกันที่สามารถนำไปเพิ่มสภาพคล่องยามเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินที่จำเป็นต้องใช้เงินก้อนได้อีกด้วย หากใครมีความจำเป็นต้องใช้เงินด่วนและมีรถยนต์เป็นของตัวเองสามารถนำรถยนต์ของคุณมาขอสินเชื่อทะเบียนรถยนต์ KTC พี่เบิ้มได้เลย ทั้งอนุมัติไวภายใน 2 ชั่วโมง ให้วงเงินใหญ่เบิ้มแถมรถยังมีใช้ เพียงเตรียมเอกสารให้ครบถ้วนพี่เบิ้ม Delivery ก็พร้อมเดินทางไปรับสมัครและตรวจสอบสภาพรถถึงหน้าบ้าน
อ้างอิงข้อมูล : สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)
สมัครสินเชื่อทะเบียนรถยนต์ KTC พี่เบิ้ม มีวงเงิฉุกเฉินไว้ใช้ยามจำเป็น…ที่นี่