คนมีรถต้องรู้ เรื่องภาษีรถยนต์ฉบับเข้าใจง่าย
สำหรับคนที่มีรถยนต์คงทราบกันดีว่าไม่ใช่เพียงการซื้อรถหนึ่งคันไว้ขับขี่แล้วจบไป เพื่อให้รถยนต์สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและป้องกันการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ทำให้ผู้ขับขี่ต้องคอยดูแลรถยนต์อย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจเช็กสภาพรถยนต์ การเช็กระยะรถยนต์ การเปลี่ยนยางรถยนต์ การทำประกันรถยนต์ อีกหนึ่งสิ่งสำคัญคือการต่อภาษีรถยนต์หรือต่อทะเบียนรถยนต์ โดยการต่อภาษีรถยนต์ถือเป็นหน้าที่ของเจ้าของรถที่ต้องนำรถยนต์ไปต่อภาษีและดำเนินการเช็คภาษีรถ และชำระค่าภาษีในทุก ๆ หากไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด อาทิ ไม่ต่อภาษีหรือภาษีรถยนต์หมดอายุ ดำเนินการต่อภาษีล่าช้า อาจต้องเสียค่าปรับ ถูกระงับการใช้รถยนต์คันดังกล่าวหรือป้ายทะเบียนถูกยกเลิกได้อีกด้วย
เลือกอ่านตามหัวข้อ
ประเภทรถยนต์ที่ต้องยื่นต่อภาษี
แม้ทราบกันดีว่า รถยนต์ทุกคันที่วิ่งอยู่บนท้องถนนนจะมีอายุทะเบียนที่อนุญาตเพียง 1 ปีเท่านั้น เมื่อครบรอบจะต้องไปยื่นชำระค่าภาษีเป็นประจำปีทุก ๆ ปี แต่เชื่อว่ายังมีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่ไม่รู้ว่า ยานพาหนะที่อยู่ภายในครอบครองต้องต่อภาษีรถยนต์ประจำปีหรือไม่ มาดูคำตอบกัน
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน
- รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล
- รถจักรยานยนต์
- รถแทรกเตอร์
- รถบดถนน
- รถพ่วง
ต่อภาษีรถยนต์ ราคาเท่าไหร่?
สำหรับรถยนต์ที่จะนำไปต่อภาษีประจำปี สิ่งสำคัญที่ต้องมีก่อนดำเนินการในขั้นตอนต่อไปคือรถยนต์คันดังกล่าวต้องมี พ.ร.บ.รถยนต์ ถ้าพบว่า พ.ร.บ. รถยนต์ใกล้หมดอายุจำเป็นต้องไปยื่นต่อพ.ร.บ. ให้เรียบร้อย โดยสำหรับรถยนต์ที่มีอายุไม่เกิน 7 ปี สามารถนำเอกสาร อาทิ สำเนาทะเบียนรถ หรือเล่มทะเบียนรถยนต์ สำเนาบัตรประชาชน เช็กหมายเลขทะเบียนรถ เพื่อนำไปซื้อ พ.ร.บ.รถยนต์กับบริษัทประกันภัยรถยนต์ แต่หากกรณีที่รถมีอายุเกิน 7 ปีขึ้นไป ต้องนำรถไปทำการตรวจสภาพรถก่อนทำการต่อภาษีรถยนต์ โดยสามารถตรวจได้ที่สถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) ทุกแห่ง หรือที่กรมการขนส่งทางบกทุกแห่ง สำหรับอัตราต่อภาษีรถยนต์ของรถแต่ละประเภทมีราคาดังนี้
ต่อภาษีรถยนต์ประจำปี
รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง (การคำนวณภาษีรถจะขึ้นอยู่กับขนาดของเครื่องยนต์)
- เครื่องยนต์ขนาด 1-600 CC อัตราภาษีอยู่ที่ CC ละ 50 สตางค์
- เครื่องยนต์ขนาด 601-1,800 CC อัตราภาษีอยู่ที่ CC ละ 1.50 บาท
- เครื่องยนต์ขนาด 1,801 CC ขึ้นไป อัตราภาษีอยู่ที่ CC ละ 4 บาท
รถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง (การคำนวณภาษีขึ้นอยู่กับน้ำหนักของรถ)
- น้ำหนักรถไม่เกิน 1800 กิโลกรัม อัตราภาษีอยู่ที่ 1,300 บาท
- น้ำหนักรถเกิน 1800 กิโลกรัม อัตราภาษีอยู่ที่ 1,600 บาท
รถบรรทุกส่วนบุคคลทเกิน 7 ที่นั่ง (การคำนวณภาษีจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักรถ)
- น้ำหนักรถ 50 - 750 กิโลกรัม อัตราภาษีอยู่ที่ 450 บาท
- น้ำหนักรถ 751 –1,000 กิโลกรัม อัตราภาษีอยู่ที่ 600 บาท
- น้ำหนักรถ 1,001 – 1,250 กิโลกรัม อัตราภาษีอยู่ที่ 750 บาท
- น้ำหนักรถ 1,251 – 1,500 กิโลกรัม อัตราภาษีอยู่ที่ 900 บาท
- น้ำหนักรถ 1,501 – 1,750 กิโลกรัม อัตราภาษีอยู่ที่ 1,050 บาท
- น้ำหนักรถ 1,751 – 2,000 กิโลกรัม อัตราภาษีอยู่ที่ 1,350 บาท
- น้ำหนักรถ 2,001 – 2,500 กิโลกรัม อัตราภาษีอยู่ที่ 1,650 บาท
รถกี่ปีต้องตรวจสภาพก่อนต่อภาษี?
สำหรับรถยนต์ที่ต้องทำการเข้ารับการตรวจสภาพรถยนต์ก่อนทำการยื่นต่อภาษี คือ รถที่มีอายุการใช้งานครบ 5 ปี และ 7 ปี ตามประเภทรถที่กำหนด นับแต่วันที่จัดทะเบียนครั้งแรก ดังนี้
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (อายุใช้งานครบ 7 ปี)
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (อายุใช้งานครบ 7 ปี)
- รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักรถไม่เกิน 2,200 กิโลกรัม
- รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล (อายุใช้งานครบ 5 ปี)
โดยนำรถเข้ารับการตรวจสภาพรถจากสถานตรวจสภาพรถ (ตรอ.) หรือกรมการขนส่งทางบก เพื่อนำผลการตรวจสภาพรถยนต์มายื่นต่อภาษีรถยนต์ โดยเจ้าของสามารถนำรถไปตรวจสภาพล่วงหน้าได้ 90 วัน หรือไม่เกิน 3 เดือน ก่อนถึงวันหมดอายุภาษีประจำปี มีอัตราค่าตรวจสภาพรถ ดังนี้
- รถยนต์ที่มีน้ำหนักรถไม่เกิน 2,000 กิโลกรัม คันละ 200 บาท
- รถยนต์ที่มีน้ำหนักเกิน 2,000 กิโลกรัม คันละ 300 บาท
เอกสารต่อทะเบียนรถยนต์ ต้องเตรียมอะไรบ้าง
สำหรับเอกสาารในการต่อภาษีรถยนต์ต้องเตรียมเอกสาร ดังนี้
- สมุดคู่มือจดทะเบียนรถ ตัวจริงหรือสำเนา
- เอกสาร พ.ร.บ.รถยนต์ ที่ยังไม่หมดอายุ
- ใบรับรองการตรวจสภาพรถ ในกรณีที่รถเข้าเกณฑ์ที่ต้องตรวจ
- เงินสำหรับอัตราภาษีรถยนต์ตามที่กำหนด
เมื่อเตรียมเอกสารครบเรียบร้อยแล้วก็สามารถยื่นชำระภาษีรถยนต์ได้ดังนี้
- กรมการขนส่งทางบก
- สำนักงานขนส่งทั่วไทย สามารถยื่นเอกสารเพื่อต่อภาษีได้ทุกพื้นที่ (ไม่จำเป็นต้องเป็นพื้นที่ตามป้ายทะเบียน) นอกจากนี้ยังมีบริการชำระภาษีรถยนต์ให้เลือก 2 แบบ คือ เลื่อนล้อต่อภาษี (Drive Thru for Tax) และตู้รับชำระภาษีรถประจำปีอัตโนมัติ (Kiosk)
- ที่ทำการไปรษณีย์ มีค่าธรรมเนียมการชำระ 40 บาท ซึ่งตัวป้ายสี่เหลี่ยมจะถูกส่งไปยังที่อยู่จัดส่งที่เจ้าของรถระบุไว้
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
- ห้างสรรพสินค้าที่เข้าร่วมโครงการ โดยให้บริการอยู่ในบริเวณพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล เฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์
- เคาน์เตอร์เซอร์วิสทั่วประเทศ โดยต่อได้เฉพาะรถยนต์ที่อายุไม่เกิน 7 ปี และรถจักรยานยนต์ที่อายุไม่เกิน 5 ปี ตัวป้ายสี่เหลี่ยมจะส่งตามชื่อที่อยู่ที่ระบุไว้ มีค่าธรรมเนียมการให้บริการ 20 บาท และค่าจัดส่งเอกสารทางไปรษณีย์ 40 บาท
- แอปพลิเคชัน mPay และ TrueMoney Wallet
- ต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์บนเว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก https://eservice.dlt.go.th/ หรือแอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax
ตรวจสภาพรถก่อนต่อภาษีรถยนต์
การต่อทะเบียนรถหรือต่อภาษีรถยนต์ ในกรณีที่ต่อภาษีรถยนต์ล่าช้าจะโดนค่าปรับ 1% ของภาษีรถยนต์ต่อเดือน และจำนวนค่าปรับจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ขาดการติดต่อกันเกิน 3 ปี ส่งผลให้ทะเบียนรถถูกระงับและหากไม่มีการเสียภาษีประจำปีรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์คันดังกล่าวจะถือว่าผิดกฎหมาย เมื่อมีการนำรถคคันดังกล่าวมาใช้งานบนท้องถนนจะต้องเสียค่าปรับทันที นอกจากนี้ถ้านำรถคันดังกล่าวมาวิ่งใช้งานบนท้องถนนแล้วเจ้าหน้าที่ตรวจพบ จะต้องโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
จากที่กล่าวมาข้างต้นเห็นได้ว่าการยื่นต่อภาษีรถยนต์ประจำปีถือเป็นเรื่องสำคัญที่รถทุกคันจำเป็นต้องทำเป็นประจำ ทั้งยังสามารถเลือกต่อล่วงหน้าได้มีหลากหลายวิธีให้เลือกต่อภาษีตามความถนัด ใช้เวลาไม่นาน เพียงเตรียมเอกสารต่าง ๆ ให้ครบถ้วน นอกจากนี้รถยนต์ยังเป็นตัวช่วยสำคัญในยามต้องการเงินฉุกเฉินไว้สำรองค่าใช้จ่ายจำเป็น อาทิ ค่ารักษาพยาบาล เงินลงทุน เงินซ่อมแซมที่อยู่อาศัย หรือเสริมสภาพคล่องต่าง ๆ โดยเฉพาะสำหรับคนมีรถปลอดภาระที่มีเล่มทะเบียนรถ ขอแนะนำสินเชื่อ KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน ช่วยเสริมสภาพคล่องในยามต้องการค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน สินเชื่อรถแลกเงินแบบไม่โอนเล่มที่มีความน่าเชื่อถือ ปลอดภัย ยื่นเรื่องด้วยตัวเองง่าย ๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ พร้อมมีบริการพี่เบิ้ม Delivery เดินทางไปตรวจเช็กสภาพรถให้ถึงหน้าบ้าน เมื่อผ่านการอนุมัติรับเงินโอนเข้าบัญชีทันที และรับบัตรกดเงินสด KTC พี่เบิ้มฟรี ไว้กดเงินสดยามฉุกเฉิน สามารถกดเงินสดได้แบบไม่มีค่าธรรมเนียมตลอด 24 ชั่วโมง ทุกเรื่องการเงินพี่เบิ้มช่วยได้
KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน ตัวช่วยด้านการเงินต่อเติมบ้านสำหรับคนมีรถ
บทความ
สรุปเรื่องต้องรู้ ก่อนต่อภาษีรถยนต์ประจำปีออนไลน์
การต่อภาษีรถยนต์สิ่งสำคัญที่คนมีรถไม่ควรละเลย ตามข้อกฎหมายกำหนดหากไม่ปฏิบัติตามจะมีโทษตามมาได้ ในปัจจุบันสามารถดำเนินการต่อภาษีรถผ่านช่องทางออนไลน์ได้แล้ว
ชวนนักขับตรวจสภาพรถ ตรอ. ราคามาตรฐาน เช็คความพร้อมก่อนเดินทาง
ก่อนยื่นต่อภาษีรถประจำปี ผู้ใช้รถยนต์ต้องนำรถเข้ารับการตรวจสภาพที่ ตรอ. เพื่อเช็คความพร้อมก่อนใช้งาน และก่อนเดินทางไกลการเช็คสภาพรถก็ช่วยให้คุณอุ่นใจมากขึ้น
รถกี่ปีต้องตรวจสภาพก่อนต่อภาษี เรื่องที่คนมีรถควรรู้
เมื่อใช้งานรถไประยะหนึ่งก่อนต่อภาษีประจำปี ต้องนำรถไปตรวจสภาพที่ศูนย์ ตรอ. ใกล้บ้าน เพื่อนำเอกสารไปยื่นประกอบการต่อภาษีรถประจำปี หรือใช้ตอนขอสินเชื่อรถแลกเงิน