รู้ไว้ก่อนยื่นภาษี รวมรายการลดหย่อนภาษีที่ผู้เสียภาษีสามารถใช้ยื่นได้
ภาษี ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ทางรัฐจะมีการจัดเก็บจากประชาชนและผู้ประกอบการ เพื่อนำเงินที่เรียกเก็บภาษีส่วนนั้นมาพัฒนาประเทศ เศรษฐกิจ และสังคม ให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมให้ได้มากที่สุด รวมถึงการจ่ายภาษีเป็นอีกหนึ่งหน้าที่ ของประชาชนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย เงินได้เท่าไหร่ต้องเสียภาษี? สำหรับการเสียภาษีคนไทยทุกคนที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้แก่ทางด้านกรมสรรพากรเป็นประจำทุกปี โดยสามารถยื่นได้ทั้งที่กรมสรรพากรหรือยื่นผ่านเว็บไซต์และแอปพลิเคชันของกรมสรรพากร ตามช่วงระยะเวลาที่กำหนด
ใครบ้างที่ต้องเสียภาษี ต้องมีเงินได้เท่าไหร่บ้าง
สำหรับผู้ที่มีเงินได้ในระหว่างปีภาษีถึงเกณฑ์ขั้นต่ำ ตามที่กฏหมายกำหนดนั้นต้องมีการเสียภาษี ถึงแม้เมื่อคำนวณภาษีแล้วจะมีภาษีต้องชำระเพิ่มเติมหรือไม่ก็ตาม ซึ่งมีเกณฑ์เงินได้ขั้นต่ำดังนี้
คำนวณภาษีที่ต้องจ่าย
1.บุคคลธรรมดา
- เงินเดือนเพียงอย่างเดียว สำหรับผู้ที่โสดต้องมีเงินได้ 120,000 บาท และผู้ที่สมรสแล้วต้องมีเงินได้ 220,000 บาท
- เงินได้ประเภทอื่น สำหรับผู้ที่โสดต้องมีเงินได้ 60,000 บาท และผู้ที่สมรสแล้วต้องมีเงินได้ 120,000 บาท
2.ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล หรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล ที่มีเงินได้เกิน 60,000 บาท
3.กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง ที่มีเงินได้เกิน 60,000 บาท
การคำนวณเงินได้สุทธิและเงินได้เท่าไหร่ที่ต้องจ่ายภาษี
สำหรับผู้มีเงินได้ที่อยากรู้ว่าต้องจ่ายภาษีในปีนั้น ๆ หรือไม่สามารถคำนวณเงินได้สุทธิ เพื่อเทียบอัตราภาษีก่อนได้ด้วยการนำ เงินได้ - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ ซึ่งเงินสุทธินี้จะเป็นการแสดงตัวเลขรายได้จริง ๆ ในอัตราที่ต้องจ่ายภาษี ว่าคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ที่จะแตกต่างกันออกไป ตามระดับที่จะคิดในรูปแบบขั้นบันได ดังนี้
- เงินได้สุทธิ ต่ำกว่า 150,000 บาท จะได้รับการยกเว้นภาษี
- เงินได้สุทธิตั้งแต่ 150,001 บาทขึ้นไป อัตราภาษี 5% ภาษีสูงสุดแต่ละขั้น 7,500 บาท
- เงินได้สุทธิตั้งแต่ 300,001 บาทขึ้นไป อัตราภาษี 10% ภาษีสูงสุดแต่ละขั้น 20,000 บาท
- เงินได้สุทธิตั้งแต่ 500,001 บาทขึ้นไป อัตราภาษี 15% ภาษีสูงสุดแต่ละขั้น 37,500 บาท
- เงินได้สุทธิตั้งแต่ 750,001 บาทขึ้นไป อัตราภาษี 20% ภาษีสูงสุดแต่ละขั้น 50,000 บาท
- เงินได้สุทธิตั้งแต่ 1,000,001 บาทขึ้นไป อัตราภาษี 25% ภาษีสูงสุดแต่ละขั้น 250,000 บาท
- เงินได้สุทธิตั้งแต่ 2,000,001 บาทขึ้นไป อัตราภาษี 30% ภาษีสูงสุดแต่ละขั้น 600,000 บาท
- เงินได้สุทธิตั้งแต่ 5,000,001 บาทขึ้นไป อัตราภาษี 35% ภาษีสูงสุดแต่ละขั้นขึ้นอยู่กับจำนวนเงินได้สุทธิ
รายการลดหย่อนภาษี มีอะไรบ้าง ยื่นลดหย่อนภาษีได้เท่าไหร่
ถึงแม้จะมีการกำหนดให้เสียภาษี แต่รู้หรือไม่ว่าในการใช้จ่ายบางอย่าง อาจใช้ยื่นเป็นสิทธิลดหย่อนภาษีได้เพื่อให้ได้เงินภาษีคืน มีทั้งการใช้จ่ายส่วนตัวหรือการใช้จ่ายสำหรับพ่อแม่ จะมีรายการลดหย่อนภาษีอะไรบ้าง ที่ยื่นลดหย่อนภาษีในปี 2565 ได้บ้างและใช้ลดหย่อนได้เท่าไหร่ KTC รวบรวมข้อมูลมาฝากกัน
รายการลดหย่อนภาษี
1. สิทธิลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว
- ผู้มีเงินได้หักลดหย่อน 60,000 บาท
- คู่สมรส (ไม่มีเงินได้) หักลดหย่อน 60,000 บาท สำหรับคู่สมรสที่จดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมาย
- ผู้มีเงินได้หรือคู่สมรสที่มีเงินได้ สามารถนำมาลดหย่อนภาษีรวมกันได้ไม่เกิน 120,000 บาท
- ค่าลดหย่อนการฝากครรภ์และคลอดบุตร ตามที่จ่ายจริงให้กับสถานพยาบาลนำมาลดหย่อนได้ไม่เกิน 60,000 บาท ในกรณีที่สามีเป็นผู้ที่ใช้สิทธิลดหย่อนภาษี เมื่อภรรยาไม่มีเงินได้ในปีภาษีนั้นสามารถลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 60,000 บาทเช่นเดียวกัน และต้องใช้เอกสารควบคู่ในการยื่นลดหย่อนภาษี อาทิ ใบรับรองแพทย์และใบเสร็จ
- ค่าลดหย่อนภาษีสำหรับการเลี้ยงดูบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายและบุตรบุญธรรม สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้คนละ 30,000 บาท ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขดังนี้
- ต้องเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย คือ บุตรที่เกิดจากบิดามารดที่จดทะเบียนสมรสกันสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ไม่จำกัดจำนวน
- ในกรณีบุตรบุญธรรม สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ แต่ต้องไม่เกิน 3 คน
- ในกรณีมีบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่มีจำนวนบัตรไม่ถึงมี 3 คน สามารถนำบุตรบุญธรรมมารวมเพื่อยื่นขอลดหย่อนภาษีได้ แต่ต้องรวมกันแล้วไม่เกิน 3 คน
- กรณีดูแลบุตรที่สามารถนำยื่นลดหย่อนภาษีได้ ตัวบุตรต้องไม่มีเงินได้ตั้งแต่ 30,000 บาทขึ้นไป เป็นผู้เยาว์ที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี และกำลังศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยหรืออุดมศึกษา อีกหนึ่งกรณีหากคือบุตรเป็นผู้ที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
- ค่าลดหย่อนสำหรับเลี้ยงดูบิดามารดาของตนเองและคู่สมรส บิดามารต้องต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไป และอยู่ในการเลี้ยงดูของผู้ยื่นลดหย่อนภาษี และบิดามารดาต้องมีเงินได้ภายในปียื่นภาษีไม่เกิน 30,000 บาท จะสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้คนละ 30,000 บาท สำหรับบิดามารดาของคู่สมรถก็ใช้เงื่อนไขในแบบเดียวกัน
- ค่าลดหย่อนภาษีกรณีอุปการะผู้พิการหรือบุคคลทุพพลภาพ ต้องมีบัตรประจำตัวผู้พิการและหนังสือรับรองการเป็นผู้อุปการะชัดเจน จึงจะสามารถยื่นลดหย่อนภาษีได้ โดนจะใช้ลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท
- เงินประกันสังคม สามารถลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 7,200 บาท จากปกติ 9,000 บาท (เนื่องจากในปี พ.ศ. 2565 มีการปรับลดอัตราเงินสะสมการจ่ายประกันสังคม)
2. สิทธิลดหย่อนจากเบี้ยประกัน
- เบี้ยประกันชีวิต แบบมีเงินฝาก ทั้งแบบมีประกันชีวิตและประกันแบบสะสมทรัพย์ สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท และลดหย่อนค่าเบี้ยประกันของคู่สมรสได้สูงสุด 10,000 บาท หากคู่สมรสไม่มีรายได้ โดยประกันชีวิตต้องมีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป และต้องทำประกันกับบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทยเท่านั้น
- เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
- เบี้ยประกันภัยสุขภาพของตนเอง และเบี้ยประกันอุบัติเหตุที่คุ้มครองสุขภาพ ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท เมื่อรวมกับประกันชีวิตและประกันแบบสะสมทรัพย์ ต้องไม่เกิน 100,000 บาท
- เบี้ยประกันภัยสุขภาพของบิดามารดา ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท โดยบิดามารดาต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี และไม่จำเป็นต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไป
3. สิทธิลดหย่อนจากเงินบริจาค
- เงินบริจาคทั่วไป ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้
- เงินบริจาคพรรคการเมือง ลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท
- เงินบริจาคเพื่อการศึกษา กีฬา พัฒนาสังคม ประโยชน์สาธารณะและสถานพยาบาลของรัฐ ลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินบริจาคจริง สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้
4. สิทธิลดหย่อนจากกลุ่มเงินออมและการลงทุน
- กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF : Retirement Mutual Fund) ลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
- กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF : Super Saving Funds) ลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท แต่เมื่อรวมกับสิทธิลดหย่อนเพื่อการเกษียณอายุอื่น ๆ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ให้สิทธิประโยชน์สำหรับลดหย่อนภาษี 5 ปี
- กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) / กองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ (กบข.) / กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน ลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี แต่เมื่อรวมกับสิทธิลดหย่อนเพื่อการเกษียณอายุ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
- กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 13,200 บาท
- เงินลงทุนธุรกิจ Social Enterprise (วิสาหกิจเพื่อสังคม) ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
- กลุ่มค่าลดหย่อนประกันชีวิตและการลงทุนในการวางแผนเกษียณ ได้แก่ กองทุน RMF กองทุน SSF กบข. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน กองทุนการออมแห่งชาติ และประกันชีวิตแบบบำนาญ เมื่อรวมกันทั้งหมด ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
เรื่องการเสียภาษีถือเป็นหน้าที่ของพลเมืองชาวไทย และยังเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม เพราะคุณมีหน้าที่ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ให้แก่กรมสรรพากรในทุก ๆ ปี ทั้งนี้ทุกการใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นการเลือกทำประกันภัย การดูแลพ่อแม่ การเลี้ยงดูบุตร การบริจาค หรือแม้แต่การลงทุน ก็ถือเป็นสิ่งที่สามารถนำมาใช้ยื่นลดหย่อนภาษีได้ทั้งสิ้น สำหรับสมาชิกบัตรเครดิต KTC ที่กำลังมองหาช่องทางในการลดหย่อนภาษี ทั้งการเลือกทำประกันลดหย่อนภาษี หรือบริจาคเงิน คุณสามารถรับความคุ้มค่าได้มากยิ่งขึ้นเมื่อชำระค่าเบี้ยประกันภัยผ่านบัตรเครดิต KTC เพราะคุณจะได้รับสิทธิประโยชน์และโปรโมชั่นที่หลากหลายจากพาร์ทเนอร์บริษัทประกันภัย เช่น การแลกรับเครดิตเงินคืน การสะสมคะแนน หรือการเลือกผ่อนค่าเบี้ยประกัน 0% รวมถึงสามารถเลือกบริจาคให้แก่องค์กรต่าง ๆ ผ่านบัตรเครดิต KTC ก็เป็นเรื่องง่ายให้ทุกการใช้จ่ายเป็นเรื่องที่สะดวกสบายสำหรับคุณ พร้อมทั้งสามารถใช้ยื่นลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย
อ้างอิงข้อมูลจาก : กรมสรรพากร