เรียกว่ากำลังมาแรง กับ “รถยนต์ไฟฟ้า” ที่ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะใช้ไฟฟ้าแทนการเติมน้ำมัน ซึ่งมีราคาสูงมากขึ้นทุกวัน ทั้งยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และมลพิษจากท่อไอเสีย ช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อนและมลพิษทางอากาศ มาพร้อมการขับเคลื่อนที่เงียบกว่า ที่สำคัญสามารถติดตั้งจุดชาร์จรถไฟฟ้าไว้ที่บ้านได้ด้วย ทำให้สะดวกสบายยิ่งขึ้นไปอีก แต่จะมีข้อควรรู้อย่างไรบ้าง ไปดูกัน
ติด EV Charger เตรียมไฟบ้านยังไง ต้องติดตั้งอะไรบ้าง
อยากติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้า หรือ EV Charger ที่บ้านไม่ใช่เรื่องยาก แต่ก่อนที่จะนัดช่างเข้ามาติดตั้ง อาจจะต้องเตรียมสถานที่ และตรวจเช็กรายละเอียดให้พร้อม ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
- ตรวจมิเตอร์ไฟที่ใช้ในบ้าน สิ่งสำคัญอันดับแรกคือเช็กปริมาณการใช้ไฟฟ้าในบ้านทั้งหมด ถ้าหากว่ามีมิเตอร์ที่น้อยกว่า 30 แอมป์ ให้ดำเนินการขอมิเตอร์ไฟใหม่ให้มีขนาด 30 แอมป์ขึ้นไป และอย่าลืมดูเฟสไฟฟ้า หรือแรงดันไฟฟ้า ว่าควรใช้ 1 เฟส หรือว่า 3 เฟส ถ้าเป็น 3 เฟส ให้ใช้มิเตอร์ไฟขนาด 45 แอมป์ขึ้นไป ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับรุ่นรถที่คุณเลือก
- เช็กสายไฟเมน สำหรับสายไฟเมนก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญ ซึ่งสายไฟเมนก็คือสายไฟฟ้าที่เดินตรงจากมิเตอร์ไฟฟ้ามาเข้าที่แผงเมนสวิตช์ ให้ใช้สายไฟเมนที่มีขนาด 25 มิลลิเมตร และอย่าลืมเช็กตู้ Main Circuit Breaker (MCB) ต้องรองรับกระแสไฟได้สูงสุดไม่เกิน 100 แอมป์
- ตรวจเช็กเครื่องตัดไฟรั่ว หรือ Residual Current Devices (RDC) เพราะการที่ไฟฟ้ารั่ว หรือไฟฟ้าลัดวงจรนั้นอาจจะเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ แนะนำให้เช็กเครื่องตัดไฟรั่ว ว่าใช้งานได้หรือไม่ และต้องมีพิกัดขนาดกระแสไฟฟ้ารั่วไม่เกิน 30 mA ตัดไฟได้ในระยะเวลา 0.04 วินาทีเท่านั้น อย่างน้อยควรมีระบบตัดไฟ RCD Type B หรือว่าเทียบเท่า
- เช็กเต้ารับสำหรับชาร์จ เนื่องจากเต้ารับของที่ชาร์จรถไฟฟ้าจะไม่เหมือนกับเต้ารับของเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ซึ่งการเสียบชาร์จของ EV Charger ควรใช้แบบสามรู ใช้สายดินที่แยกออกจากสายดินของไฟบ้าน และสายต่อหลักดินต้องเป็นสายหุ้มฉนวน มีขนาดไม่ต่ำกว่า 10 ตารางมิลลิเมตร
- จุดติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้า ไม่ควรอยู่ห่างจากที่จอดรถเกินกว่า 5 เมตร และควรอยู่ใกล้กับตู้ควบคุมไฟฟ้าระบบหลัก ที่สำคัญคือต้องมีหลังคากันแดดกันฝนในจุดที่ชาร์จรถ ถึงแม้ว่าทางแบรนด์จะเคลมว่าตู้ EV Charger กันน้ำได้ก็ตาม
จุดติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้าไม่ควรอยู่ห่างจากที่จอดรถเกินกว่า 5 เมตร
ติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน มีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่
ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้านจะถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน คือ
- ค่า EV Charger โดยค่า EV Charger จะขึ้นอยู่กับยี่ห้อ ฟังก์ชัน และสเปคที่คุณเลือก ราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 35,000 - 80,000 บาท แต่ถ้าออกรถไฟฟ้าป้ายแดง ทางผู้ขายมักจะมีโปรโมชั่นแถมที่ชาร์จพร้อมค่าติดตั้งฟรีถึงบ้าน
- ค่าเปลี่ยนมิเตอร์ ติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน การไฟฟ้านครหลวง (MEA) นั้นจะมีค่าตรวจสอบ และขอเพิ่มมิเตอร์ในราคา 700-2,500 บาท และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) จะมีค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบประมาณ 700-1,500 บาท แต่ถ้าหากไม่สามารถปรับปรุงระบบไฟฟ้าเพิ่มเติมได้ ก็จะต้องขอเพิ่มมิเตอร์ลูกที่ 2 ขึ้นมาแทน ส่วนใครที่อยากได้ค่าไฟแบบอัตรา TOU (หรือ Time of Use Tariff คือ อัตราค่าไฟฟ้า ที่คิดตามช่วงเวลาการใช้งานของผู้ใช้ไฟฟ้า) จะต้องเสียเงินเพิ่ม สำหรับการไฟฟ้านครหลวง (MEA) อยู่ที่ 6,640-7,350 บาท และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) ราคาอยู่ที่ 3,740-5,340 บาท ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับมิเตอร์ที่ขอไป
- ค่าเดินสายเมน วางระบบไฟใหม่ และติดตั้งอุปกรณ์ สามารถเลือกผู้ให้บริการติดตั้งการวางระบบไฟใหม่สำหรับการชาร์จรถไฟฟ้าได้ โดยค่าใช้จ่ายจะอยู่ที่ประมาณ 10,000-20,000 ขึ้นไป แล้วแต่ว่าต้องมีจุดไหนบ้างที่ต้องติดตั้งเพิ่ม
ติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน โดยการไฟฟ้านครหลวง (MEA)
สำหรับผู้ที่อยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ ต้องการติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน การไฟฟ้านครหลวง (MEA) จะมีแพ็กเกจหลักให้เลือกสองแบบด้วยกัน
รายการติดตั้ง |
แพ็กเกจที่ 1 7.4 kw 1 Phase EV Charger |
แพ็กเกจที่ 2 22 kw 3 Phase EV Charger |
ติดตั้งสายเมนที่ 2 สำหรับระยะ 20 เมตร |
✓ |
✓ |
อุปกรณ์ป้องกันกระแสเกินหลัก Main CB 40A |
✓ |
✓ |
อุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟรั่ว RCD Type B 40A |
✓ |
✓ |
ระบบสายดิน |
✓ |
✓ |
ราคาเริ่มต้น |
29,000 บาท |
46,000 บาท |
หมายเหตุ :
- หากระยะติดตั้งเกิน 20 เมตร จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มดังนี้ แพ็กเกจที่ 1 เมตรละ 400 บาท และแพ็กเกจที่ 2 เมตรละ 800 บาท
- ฟรี ค่าบริการขอเพิ่มขนาดมิเตอร์
- ราคาข้างต้นไม่รวมค่าเครื่อง EV Charger
- ราคาข้างต้นรวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว
หากสนใจติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน สามารถติดต่อไปที่การไฟฟ้านครหลวงได้เลย สำหรับกรณีที่ต้องเพิ่มขนาดมิเตอร์ไฟฟ้า โดยเลือกคิดเป็นอัตรา TOU ขนาดเครื่องวัดเป็นแรงต่ำ ราคาจะอยู่ที่ 6,640 บาท และขนาดเครื่องวัดเป็นแรงสูง ราคาจะอยู่ที่ 7,350 บาท
ติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน โดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA)
หากไม่ได้อยู่อาศัยในพื้นที่กรุงเทพฯ นนทบุรี และสมุทรปราการ จะต้องติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) ซึ่งจะสามารถขอมิเตอร์ลูกที่ 2 แยกมาสำหรับการชาร์จรถไฟฟ้าโดยเฉพาะได้ โดยจะมีค่าบริการดังนี้
ค่าตรวจสอบการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าภายใน |
ราคา |
มิเตอร์ขนาด 15(45)A 1-Phase, 30(100)A 1-Phase, 15(45)A 3-Phase |
700 บาท |
มิเตอร์ขนาด 30(100)A 3-Phase |
1,500 บาท |
หมายเหตุ : สำหรับผู้ที่สนใจติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน ต้องดำเนินเรื่องขอติดตั้งมิเตอร์เพิ่มเติม ซึ่งจะต้องยื่นเอกสารและทำเรื่อง โดยสามารถติดต่อที่สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้โดยตรง และค่าใช้จ่ายทางการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจะเป็นผู้พิจารณา
สำหรับกรณีที่ต้องเพิ่มขนาดมิเตอร์ไฟฟ้า โดยเลือกคิดเป็นอัตรา TOU สำหรับมิเตอร์ขนาด 15(45)A 1-Phase, 30(100)A 1-Phase ราคาจะอยู่ที่ 3,740 บาท และสำหรับมิเตอร์ขนาด 15(45)A 3-Phase, 30(100)A 3-Phase ราคาจะอยู่ที่ 5,340 บาท
ติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน จากพลังงานโซล่าเซลล์ ช่วยประหยัดค่าไฟได้มากขึ้น
ติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน จากโซล่าเซลล์
ถ้าบ้านใครติดโซล่าเซลล์อยู่แล้ว สามารถใช้โซล่าเซลล์กับเครื่องชาร์จรถไฟฟ้าได้เลย เมื่อโซล่าเซลล์ได้รับพลังงานแสงอาทิตย์ จะเปลี่ยนพลังงานนั้นให้กลายเป็นพลังงานไฟฟ้า และส่งต่อพลังงานนั้นมายังตู้ควบคุมไฟฟ้าภายในบ้าน และส่งไปยังเครื่อง EV Charger อีกทอดหนึ่ง ข้อดีก็คือจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายจากที่อาจจะต้องจ่ายค่าชาร์จรถไฟฟ้าด้วยไฟบ้านธรรมดา 3,000-4,000 บาทต่อเดือน ก็อาจลดลงมาประมาณ 1,000-2,000 บาทต่อเดือน ทำให้การติดตั้ง EV Charger ที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์จากโซล่าเซลล์เป็นที่นิยมมากขึ้น สำหรับโซล่าเซลล์ให้ติดตั้งที่ประมาณ 1,000-1,500 วัตต์เป็นต้นไป
การใช้รถไฟฟ้านั้นประหยัดกว่ารถเติมน้ำมันอย่างแน่นอน ซึ่งถ้าหากอยากควบคุมค่าใช้จ่ายให้ถูกลงอีก ใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต KTC มีโปรโมชั่นรับส่วนลด เครดิตเงินคืน และผ่อน 0% นานสูงสุดถึง 10 เดือน ณ ร้านค้าที่ร่วมรายการ สามารถสมัครบัตรเครดิต KTC ผ่านช่องทางออนไลน์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ใช้จ่าย คุ้มค่า นึกถึงบัตรเครดิต KTC