วันลาพักร้อน วันลาป่วย หรือวันลากิจ ล้วนเป็นวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามกฎหมายที่คุ้มครอง ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นสวัสดิการพนักงานของเหล่ามนุษย์เงินเดือนที่หลายคนเฝ้ารอ ซึ่งแต่ละบริษัทก็จะมีเงื่อนไขในการลาพักร้อนที่แตกต่างกันออกไปตามรูปแบบของบริษัท แต่คุณรู้หรือไม่ว่า การลาพักร้อนนั้นมีรูปแบบเฉพาะตามกฎหมายแรงงานโดยที่ทุกบริษัทจะต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ไม่เช่นนั้นอาจจะเกิดผลกระทบต่อบริษัทของตัวเองได้
วันนี้เราจะมาหาคำตอบกันว่า การลาพักร้อนมีความสำคัญและข้อบังคับอย่างไรบ้าง พร้อมทั้งมาดูวิธีการคำนวณสิทธิวันลาพักร้อนว่าจะเป็นอย่างไร ให้คุณได้เตรียมตัวก่อนถึงช่วงวันหยุดยาวนี้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
ความสำคัญของสิทธิลาพักร้อนตามกฎหมาย
วันลาพักร้อน หรือ วันหยุดพักร้อนกฎหมายแรงงาน เป็นสิ่งที่ทุกบริษัทต้องมีการบริหารและจัดการวันลาพักร้อนให้กับพนักงาน เนื่องจากกฎหมายแรงงานวันลาพักร้อนมีความสำคัญเป็นอย่างมาก มีไว้เพื่อให้พนักงานเงินเดือนอย่างเราได้มีโอกาสในการพักผ่อนระยะสั้น, ลดความเครียดจากการทำงาน, ให้เวลากับคนในครอบครัว หรือเติมเต็มความสุขแก่ตัวเอง ให้พร้อมกลับมาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
โดยเราไม่จำเป็นต้องขอพรเรื่องงานเพื่อให้ได้วันหยุดหรือสิทธิลาพักร้อน เพราะวันลาพักร้อนเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของพนักงานที่มีพ.ร.บ. คุ้มครอง โดยมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 บัญญัติไว้ว่า1. ลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันมาแล้วครบ 1 ปี มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ไม่น้อยกว่า 6 วันทำงาน/ปี โดยนายจ้างจะเป็นผู้กำหนดวันพักร้อนตามกฎหมายให้แก่ลูกจ้างล่วงหน้า หรือกำหนดวันให้ตามนายจ้างและลูกจ้างเห็นพ้องต้องกัน
2. ในการทำงานปีต่อมา นายจ้างสามารถกำหนดวันลาพักร้อนประจำปีให้แก่ลูกจ้างได้มากกว่า 6 วันทำงานได้ แล้วแต่ระเบียบการลาพักร้อนบริษัท
3. นายจ้างและลูกจ้างสามารถตกลงกันล่วงหน้าได้ ในการสะสมหรือเลื่อนวันพักร้อนตามกฎหมายแรงงานที่ยังไม่ได้หยุดในปีนั้น ให้สามารถทบกับวันลาพักร้อนประจำปีต่อมาได้
4. ลูกจ้างที่ยังทำงานไม่ครบ 1 ปี นายจ้างสามารถกำหนดวันลาพักร้อนประจำปีให้แก่ลูกจ้างโดยคำนวณตามส่วนได้
นอกจากวันลาพักร้อนแล้ว สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ก็ยังมีสิทธิ์ลาคลอดตามกฎหมายเช่นกัน อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องน่ารู้ก่อนลาคลอดได้ที่บทความ “ลาคลอดได้กี่วัน?”
สิทธิลาพักร้อนสามารถใช้ได้เมื่อไหร่?
อย่างที่ทราบกันข้างต้นว่า พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานมีการกำหนดไว้ให้ลูกจ้างจะต้องได้วันหยุดประจำปี หรือวันลาพักร้อนกฎหมายแรงงาน 6 วันทันที เมื่อทำงานครบ 1 ปี โดยไม่ต้องคำนวณตามส่วน และผู้ที่ต้องการลาพักร้อนสามารถใช้สิทธิลาพักร้อนตามกฎหมายได้ทันทีที่ต้องการ
ซึ่งคุณสามารถนำวันหยุดที่ได้ไปสมัครเรียนต่อปริญญาโท หรือ ลาพักร้อนเพื่อแต่งตัวไปสัมภาษณ์งานที่ใหม่ก็สามารถทำได้ แต่สำหรับใครที่กำลังวางแผนไปเที่ยวในวันหยุดราชการ 2567 อย่าลืมมองหาบัตรกดเงินสด KTC PROUD ไว้ เป็นตัวช่วยในยามฉุกเฉินที่เสริมสภาพคล่องทางการเงิน เพียงแค่คุณมีเงินเดือนเริ่มต้น 12,000 บาท ก็สามารถสมัครได้ หมดปัญหาหมุนเงินไม่ทันให้คุณได้อุ่นใจในการใช้เงินมากยิ่งขึ้น
วิธีการคำนวณสิทธิลาพักร้อน
เรามาดูกันต่อว่า การคำนวณสิทธิลาพักร้อนจะมีวิธีไหนบ้างสำหรับพนักงานเงินเดือนอย่างเราที่ควรรู้ไว้ก่อนการทำงาน
คำนวณสิทธิวันลาพักร้อน แบบได้รับสิทธิทันทีที่เริ่มงาน
ตัวอย่างสถานการณ์ : นายจ้างจะให้วันลาพักร้อนกับลูกจ้างตั้งแต่เริ่มงาน โดยจะมีการเฉลี่ยให้ตามเดือน เช่น ลูกจ้างเริ่มงานวันที่ 1 มีนาคม 2567 แต่โดยปกติบริษัทจะให้วันลาพนักงานคนละ 6 วัน/ปี
- กรณีที่ 1 : ลูกจ้างมีการทำงานครบ 1 เดือน เมื่อถึงวันที่ 1 เมษายน 2567 ลูกจ้างจะได้วันลาพักร้อน 0.5 วัน
- กรณีที่ 2 : ลูกจ้างมีการทำงานครบ 4 เดือน เมื่อถึงวันที่ 1 กรกฎาคม 2567 ลูกจ้างจะได้วันลาพักร้อน 2 วัน
- กรณีที่ 3 : ลูกจ้างมีการทำงานครบ 1 ปี เมื่อถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 ลูกจ้างจะได้วันลาพักร้อน 6 วัน
คำนวณสิทธิวันลาพักร้อน แบบได้รับสิทธิหลังผ่านช่วงทดลองงาน
ตัวอย่างสถานการณ์ : นายจ้างจะให้วันลาพักร้อนก็ต่อเมื่อลูกจ้างผ่านช่วงทดลองงาน โดยนับตั้งแต่เดือนแรกที่มาทำงาน เช่น ลูกจ้างเริ่มงานวันที่ 1 มิถุนายน 2567 จะผ่านทดลองงานในวันที่ 1 ตุลาคม 2567 แต่โดยปกติบริษัทจะให้วันลาพนักงานคนละ 6 วัน/ปี
- กรณีที่ 1 ลูกจ้างทำงานครบ 1 เดือน (1 กรกฎาคม 2567) ลูกจ้างจะยังไม่ได้รับสิทธิการลาพักร้อนเพราะยังไม่ผ่านช่วงทดลองงาน
- กรณีที่ 2 ลูกจ้างทำงานครบ 2 เดือน (1 สิงหาคม 2567) ลูกจ้างจะยังไม่ได้รับสิทธิวันลาพักร้อน เพราะยังไม่ผ่านช่วงทดลองงาน
- กรณีที่ 3 ลูกจ้างทำงานครบ 4 เดือน (1 ตุลาคม 2567) ลูกจ้างจะยังไม่ได้รับสิทธิวันลาพักร้อน เพราะยังไม่ครบช่วงทดลองงาน จะต้องนับจากเดือนที่ 1 หลังจากพ้นช่วงทดลองงาน
- กรณีที่ 4 ลูกจ้างทำงานครบ 5 เดือน (1 พฤศจิกายน 2567) ลูกจ้างจะได้รับวันลาพักร้อน 2.5 วัน
- กรณีที่ 5 ลูกจ้างทำงานครบ 8 เดือน (1 กุมภาพันธ์ 2568) ลูกจ้างจะได้รับวันลาพักร้อน 4 วัน
- กรณีที่ 6 ลูกจ้างทำงานครบ 1 ปี (30 มิถุนายน 2568) ลูกจ้างจะได้รับวันลาพักร้อน 6 วัน
ทั้งนี้ ในแต่ละบริษัทอาจมีนโยบายในการให้วันลาพักร้อนแก่พนักงานไม่เหมือนกัน แต่ทุกบริษัทยังต้องทำตามสิทธิลาพักร้อนตามกฎหมายแรงงาน กล่าวคือ เมื่อพนักงานทำงานครบ 1 ปีแล้วจะต้องได้รับสิทธิวันลาพักร้อนไม่น้อยกว่า 6 วัน/ปี มิเช่นนั้นบริษัทอาจถูกฟ้องร้องต่อศาลได้ เพราะเป็นการกระทำที่ขัดต่อ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน
คำถามที่ถามบ่อยเกี่ยวกับลาพักร้อน
เราสามารถเก็บสิทธิวันลาพักร้อนได้หรือไม่?
เงื่อนไขการเก็บสิทธิ์วันลาพักร้อนขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัท ทั้งนี้หลายบริษัทอนุญาตให้พนักงานเก็บสะสมวันลาพักร้อนที่ยังเหลือในปีนี้ไว้ใช้ข้ามปีได้ ซึ่งในกรณีดังกล่าวไม่ได้มีระบุไว้ใน พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน แต่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้ชี้แจงเพิ่มเติมไว้ว่า สามารถทบและสะสมวันลาพักร้อนตามกฎหมายแรงงานได้ตามนโยบายของแต่ละบริษัท โดยไม่ขัดต่อข้อกฎหมาย
ลาพักร้อนกับลากิจต่างกันอย่างไร?
การลาพักร้อนกับการลากิจมีความแตกต่างกัน นายจ้างจะต้องอนุญาตให้ลูกจ้างลากิจได้อย่างน้อยปีละ 3 วัน โดยจะไม่มีการหักค่าจ้างหรือเงินเดือน ซึ่งการลากิจมีไว้สำหรับการทำธุระที่จำเป็น อย่างเช่น กิจธุระทางราชการ หรือ ธุระเร่งด่วนเป็นหลัก แตกต่างจากการลาพักร้อนที่คนส่วนใหญ่มักใช้ลาในเหตุผลส่วนตัวที่อาจจะไม่เกี่ยวข้องกับทางราชการหรืองานเร่งด่วน เป็นต้น
สรุปเกี่ยวกับการลาพักร้อน
จบกันไปแล้วกับข้อมูลเกี่ยวกับการลาพักร้อนที่เราได้นำเอามาฝาก ซึ่งการที่บริษัททำตามระเบียบการลาพักร้อนเป็นสิ่งสำคัญต่อพนักงานเงินเดือน เพราะการได้รับวันพักร้อนตามกฎหมายแรงงานเป็นสิ่งที่หลายคนเฝ้าคอยจะได้รับ หลังจากที่ทำงานมาอย่างเหน็ดเหนื่อย หากใครกำลังวางแผนจัดทริปท่องเที่ยวต้อนรับวันหยุดพักร้อนที่จะมาถึง แต่กังวลปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายจะไม่เพียงพอ การมีบัตรกดเงินสดสักใบเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยคุณได้
สำหรับผู้ที่กำลังมองหาบัตรกดเงินสดใบแรก สมัครง่าย อนุมัติผลไว เราขอแนะนำบัตรกดเงินสด KTC PROUD ที่ต้องถูกใจมนุษย์เงินเดือน ให้คุณได้ชำระค่าสินค้า หรือรูดใช้จ่ายจองทริปท่องเที่ยวในช่วงวันหยุดพักผ่อนได้อย่างสะดวก อีกทั้งยังสามารถกดเงินสดจากตู้ ATM หรือกดโอนผ่านแอปเข้าบัญชีธนาคาร ได้ตามวงเงิน ตลอด 24 ชั่วโมง มีบัตรกดเงินสดของ KTC ติดกระเป๋าไว้สักใบ แล้วการพักผ่อนในวันลาพักร้อนของคุณจะสะดวกสบายมากขึ้น
สมัครบัตรกดเงินสด KTC PROUD สมัครง่าย อนุมัติไว
ไม่มีค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปี
*กู้เท่าที่จําเป็นและชําระคืนได้ตามกําหนด จะได้ไม่เสียดอกเบี้ย 20% - 25% ต่อปี