หากธุรกิจของคุณกำลังเติบโต และคุณเองก็ต้องการพัฒนาธุรกิจ ขยับขยายให้กลายเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด มาทำความเข้าใจ พร้อมกับศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนได้ในบทความนี้ เพราะนอกจากข้อควรรู้ เรายังรวบรวมรายละเอียดเพื่อเตรียมตัวจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน เนื่องจากห้างหุ้นส่วนสามารถสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้ร่วมลงทุนรายใหม่ สามารถขอสินเชื่อเพื่อธุรกิจได้ง่ายกว่าในอนาคต และมีภาษียังต่ำกว่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และมีโอกาสเติบโตทางธุรกิจมากขึ้น โดยรายละเอียดของการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน มีดังนี้
ห้างหุ้นส่วนจํากัด คืออะไร
ห้างหุ้นส่วนจำกัด (หจก.) คือ นิติบุคคลที่เกิดจากการรวมตัวกันของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เพื่อประกอบธุรกิจและแสวงหากำไร โดยการลงทุนสามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น เงิน ทรัพย์สิน หรือ แรงงาน ซึ่งรูปแบบอื่นนอกจากเงินจะต้องตีราคาเป็นจำนวนเงิน
ห้างหุ้นส่วนจำกัด มีอะไรบ้าง
ห้างหุ้นส่วนจำกัดตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ หุ้นส่วนจำกัดความรับผิด และหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด
- หุ้นส่วนแบบจำกัดความรับผิด คือ หุ้นส่วนที่มีเพียงคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ รับผิดจำกัดเพียงจำนวนเงินที่ลงทุนไปในห้างหุ้นส่วนจำกัดเท่านั้น ไม่สามารถลงทุนเป็นแรงงานได้ และไม่มีสิทธิในการบริหารงานหรือตัดสินใจใดๆ มีสิทธิ์เพียงสอบถามการดำเนินงานของกิจการเท่านั้น
- หุ้นส่วนแบบไม่จำกัดความรับผิด ซึ่งต้องรับผิดในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนทั้งหมด ซึ่งอาจจะเท่ากับหรือมากกว่าเงินลงทุนในหุ้นส่วน อีกทั้งยังสามารถจัดการและตัดสินใจในกิจการของห้างหุ้นส่วนได้ ทั้งนี้ กฎหมายกำหนดว่า ต้องมีหุ้นส่วนแบบไม่จำกัดความรับผิดชอบอย่างน้อย 1 คน ในการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ
ห้างหุ้นส่วนจํากัด เป็นนิติบุคคลหรือไม่
ห้างหุ้นส่วนจำกัดมีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย ภาระหนี้สินของบริษัทจะแยกจากชื่อของเจ้าของกิจการอย่างชัดเจน นอกจากนี้ยังต้องจัดทำบัญชีรายเดือน งบการเงิน งบรายได้ การเสียภาษีต่างๆ ประกันสังคมของพนักงาน และยื่นส่งงบการเงิน
ห้างหุ้นส่วนจํากัด มีข้อดี-ข้อเสียอะไรบ้าง
การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัดมีข้อดี และข้อเสียที่แตกต่างกันไป แนะนำให้ศึกษาข้อดี ข้อเสียก่อนตัดสินใจ เพราะการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัดอาจจะไม่ตอบโจทย์ธุรกิจของคุณ
ข้อดี
- มีแหล่งเงินทุนมากกว่าเจ้าของคนเดียว ถ้าหากว่าคุณต้องการเงินทุนเพื่อต่อยอดธุรกิจ การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัดจะทำให้คุณมีแหล่งเงินทุนมากกว่าการลงทุนทำธุรกิจคนเดียว ซึ่งมีโอกาสในการพัฒนาธุรกิจได้ง่ายมากกว่า
- เพิ่มความน่าเชื่อถือ ในปัจจุบันนี้มีมิจฉาชีพมากมาย แต่ถ้าหากว่าคุณจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน จะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือ และเพิ่มความไว้วางใจแก่ผู้ที่ต้องการลงทุน
- แยกทรัพย์สินส่วนตัวออกจากธุรกิจ จุดเด่นคือการแยกบัญชีส่วนตัวออกจากธุรกิจ ในกรณีที่เกิดการขาดทุน หรือเป็นหนี้ จะสามารถบริหารจัดการทรัพย์สินได้ง่ายมากกว่า
- ได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ที่ไม่ควรมองข้าม เพราะการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัดมีอัตราที่ต่ำกว่าการเสียภาษีในรูปแบบบุคคลธรรมดา
- ขอสินเชื่อจากธนาคารได้ง่ายขึ้น ถ้าหากการขอสินเชื่อคือหนึ่งในแผนพัฒนาธุรกิจของคุณ การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดจะทำให้มีความน่าเชื่อถือ และทำให้ขอสินเชื่อได้ง่ายขึ้น
ข้อเสีย
- การตัดสินใจต้องผ่านความเห็นชอบของหุ้นส่วน อาจจะทำให้เกิดการล่าช้า ต้องรอการอนุมัติจากหลายฝ่าย อีกทั้งถ้าหากหุ้นส่วนมีความเห็นไม่ตรงกัน สามารถเกิดความขัดแย้งได้ง่าย
- ไม่มีการกำหนดแบ่งปันผลกำไร ด้วยเงื่อนไขข้อนี้ทำให้อาจจะส่งผลต่อความขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์ และมีความเสี่ยงต่อการโดนโกง หรือเสียเปรียบ
- เสี่ยงต่อการรับผิดชอบหนี้สินไม่จำกัดจำนวน ในกรณีที่คุณเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดชอบ จะต้องรับภาระหนี้สินไม่จำกัดจำนวน
ห้างหุ้นส่วนจํากัด มีข้อดี-ข้อเสียอะไรบ้าง การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัดมีข้อดี และข้อเสียที่แตกต่างกันไป แนะนำให้ศึกษาข้อดี ข้อเสียก่อนตัดสินใจ เพราะการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัดอาจจะไม่ตอบโจทย์ธุรกิจของคุณ ข้อดี มีแหล่งเงินทุนมากกว่าเจ้าของคนเดียว ถ้าหากว่าคุณต้องการเงินทุนเพื่อต่อยอดธุรกิจ การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัดจะทำให้คุณมีแหล่งเงินทุนมากกว่าการลงทุนทำธุรกิจคนเดียว ซึ่งมีโอกาสในการพัฒนาธุรกิจได้ง่ายมากกว่า เพิ่มความน่าเชื่อถือ ในปัจจุบันนี้มีมิจฉาชีพมากมาย แต่ถ้าหากว่าคุณจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน จะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือ และเพิ่มความไว้วางใจแก่ผู้ที่ต้องการลงทุน แยกทรัพย์สินส่วนตัวออกจากธุรกิจ จุดเด่นคือการแยกบัญชีส่วนตัวออกจากธุรกิจ ในกรณีที่เกิดการขาดทุน หรือเป็นหนี้ จะสามารถบริหารจัดการทรัพย์สินได้ง่ายมากกว่า ได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ที่ไม่ควรมองข้าม เพราะการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัดมีอัตราที่ต่ำกว่าการเสียภาษีในรูปแบบบุคคลธรรมดา ขอสินเชื่อจากธนาคารได้ง่ายขึ้น ถ้าหากการขอสินเชื่อคือหนึ่งในแผนพัฒนาธุรกิจของคุณ การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดจะทำให้มีความน่าเชื่อถือ และทำให้ขอสินเชื่อได้ง่ายขึ้น ข้อเสีย การตัดสินใจต้องผ่านความเห็นชอบของหุ้นส่วน อาจจะทำให้เกิดการล่าช้า ต้องรอการอนุมัติจากหลายฝ่าย อีกทั้งถ้าหากหุ้นส่วนมีความเห็นไม่ตรงกัน สามารถเกิดความขัดแย้งได้ง่าย ไม่มีการกำหนดแบ่งปันผลกำไร ด้วยเงื่อนไขข้อนี้ทำให้อาจจะส่งผลต่อความขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์ และมีความเสี่ยงต่อการโดนโกง หรือเสียเปรียบ เสี่ยงต่อการรับผิดชอบหนี้สินไม่จำกัดจำนวน ในกรณีที่คุณเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดชอบ จะต้องรับภาระหนี้สินไม่จำกัดจำนวน
ห้างหุ้นส่วนจำกัด คือ นิติบุคคลที่เกิดจากการรวมตัวกันของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เพื่อประกอบธุรกิจและแสวงหากำไร
ห้างหุ้นส่วน กับบริษัทต่างกันยังไง
ก่อนที่คุณจะตัดสินใจจดทะเบียนธุรกิจของคุณในรูปแบบของห้างหุ้นส่วน และบริษัท ควรเข้าใจความแตกต่างดังต่อไปนี้ เพื่อเลือกการจดทะเบียนที่เหมาะกับธุรกิจของคุณมากที่สุด เนื่องจากทั้งห้างหุ้นส่วน และบริษัทต่างมีรายละเอียดที่แตกต่างกันสิ้นเชิง ดังนี้
จำนวนผู้เริ่มจัดตั้ง
- ห้างหุ้นส่วน จะต้องมีผู้ร่วมจดทะเบียน 2 คนขึ้นไป ทั้งประเภทจำกัดและไม่จำกัด อย่างน้อยจำพวก ละ 1 คน และยังไม่สามารถจดทะเบียนคนเดียวได้
- บริษัทจำกัด ต้องใช้ผู้ร่วมจดทะเบียน 3 คนขึ้นไป
ค่าธรรมเนียม
- ห้างหุ้นส่วน มีค่าธรรมเนียมการจัดตั้ง 1,000 บาท
- บริษัทจำกัด มีค่าธรรมเนียมการจัดตั้ง 5,000 บาท
การลงทุนจดทะเบียน
- ห้างหุ้นส่วนจำกัด ไม่จำเป็นต้องแบ่งทุนเป็น “ทุนเรือนหุ้น (Capital Stock)” และไม่มีขั้นต่ำของทุนจดทะเบียนเหมือนบริษัทจำกัด โดยสามารถลงทุนด้วยเงิน ทรัพย์สิน หรือแรงงาน เป็นทุนจดทะเบียนได้ มีความหยืดหยุ่นมากกว่า
- บริษัทจำกัด การลงทุนจดทะเบียนจะอยู่ในรูปแบบของ “ทุนเรือนหุ้น (Capital Stock)” โดยจะต้องแบ่งทุนออกเป็นหุ้น แต่ละหุ้นต้องมีมูลค่าเท่ากัน และมูลค่าของหุ้นต้องไม่ต่ำกว่า 5 บาท ที่สำคัญจะต้องลงทุนหุ้นด้วยเงินเท่านั้น
ความรับผิดชอบในหนี้สิน
- ห้างหุ้นส่วนจำกัด แบ่งความรับผิดชอบออกเป็น 2 ประเภท คือ หุ้นส่วนความไม่รับผิดชอบ ต้องรับผิดชอบไม่จำกัดจำนวน และหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดชอบ รับผิดชอบแค่จำนวนหุ้นที่ลงไป
- บริษัทจำกัด ผู้ถือหุ้น หรือผู้ลงทุนรับผิดชอบแค่จำนวนเงินที่ลงทุนในหุ้น
การประชุมสามัญประจำปี
- ห้างหุ้นส่วนจำกัด ไม่จำเป็นต้องประชุมหุ้นส่วนประจำปี
- บริษัทจำกัด จะต้องเรียกประชุมผู้ถือหุ้นทุกปี
การปิดงบประจำปี
- ห้างหุ้นส่วนจำกัด อนุญาตให้ผู้เซ็นปิดงบ เป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA) หรือผู้ชอบบัญชีภาษีอากร (TA) เท่านั้น
- บริษัทจำกัด อนุญาตให้ผู้เซ็นปิดงบเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA) เท่านั้น
อัตราภาษีระหว่างห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัทจำกัด
ทั้งบริษัทและห้างหุ้นส่วนจำกัดที่จดทะเบียนแล้ว มีหน้าที่ต้องทำบัญชีตามมาตรฐานการบัญชีและเสียภาษีในอัตราเดียวกัน คือ เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตราก้าวหน้า 15-30% และต้องยื่นรายงานบัญชีต่อกรมสรรพากร
วิธีจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจํากัด
การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัดให้ถูกต้องตามกฎหมายจะต้องดำเนินการกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยสามารถทำได้ 2 วิธีคือ ยื่นขอจดทะเบียนด้วยตนเอง และยื่นผ่านออนไลน์ที่เว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. เตรียมข้อมูลและเอกสาร
- เตรียมชื่อสำหรับจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนไว้ 3 ชื่อ โดยไม่ซ้ำกับที่อื่น
- วัตถุประสงค์ของห้างหุ้นส่วน ว่าทำธุรกิจเกี่ยวกับอะไร
- ชื่อ ที่อยู่ของหุ้นส่วนทุกคน
- กำหนดจำนวนเงินลงทุนจดทะเบียน
- สิ่งที่ลงหุ้นว่าเป็นอะไร เงิน ทรัพย์สิน หรือแรงงาน
- จำนวนทุนที่หุ้นส่วนแต่ละคนนำมาลงทุน
- หากลงทุนด้วยแรงงาน ต้องระบุว่ามีค่าคิดเป็นเงินทุนเท่าไร
- ชื่อหุ้นส่วนผู้จัดการ
- ข้อจำกัดหุ้นส่วนผู้จัดการ
- ดวงตราหรือตรายางของห้างหุ้นส่วน
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของกรรมการ เซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง
- สำเนาทะเบียนบ้านของที่ตั้งสำนักงาน
2. แบบพิมพ์ที่ใช้ในการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน
- คำขอ แบบ หส.1
- หน้าหนังสือรับรอง
- รายการ หส.2
- เอกสารประกอบรายการ แบบ ว. ตามประเภทธุรกิจ
- ว.1 พาณิชยกรรม
- ว.2 บริการ
- ว.3 อุตสาหกรรมและหัตถกรรม
- ว.4 เกษตรกรรม
- ว.5 สำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค
- แบบ สสช.1 จำนวน 2 ฉบับ (ภูมิภาคใช้ 3 ฉบับ)
- ใบสำคัญรับชำระเงินลงหุ้น
- หนังสือมอบอำนาจ (กรณีผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการไม่ได้ไปยื่นด้วยตนเอง)
ขั้นตอนการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด
- ยื่นแบบขอจองชื่อห้างหุ้นส่วน เพื่อตรวจสอบไม่ให้ซ้ำกับที่อื่น โดยทำได้ 2 ทางคือ
- จองผ่านกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ทุกแห่ง
- จองผ่านเว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (www.dbd.go.th)
- กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ได้แก่ ชื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด วัตถุประสงค์ของกิจการ สิ่งที่นำมาลงทุน ชื่อหุ้นส่วนผู้จัดการ ส่วนผู้จัดการ (ถ้ามี) ข้อจำกัดอำนาจหุ้น สถานที่ตั้ง ชื่อ ที่อยู่ อายุ สัญชาติ ลายมือชื่อของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน และประทับตราของห้างหุ้นส่วนจำกัดในแบบพิมพ์คำขอจดทะเบียนจัดตั้ง
- ยื่นขอจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด ภายใน 30 วัน นับจากวันที่นายทะเบียนมีคำสั่งอนุญาตจองชื่อห้างหุ้นส่วนแล้ว โดยยื่นขอจดได้ 2 แบบ ได้แก่ ให้หุ้นส่วนผู้จัดการเป็นผู้ยื่นขอจดทะเบียน ซึ่งจะต้องลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียนต่อหน้านายทะเบียน หรือหุ้นส่วนผู้จัดการจะมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปยื่นจดทะเบียนแทนก็ได้
- ยื่นผ่านทางอินเทอร์เน็ตที่เว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (www.dbd.go.th)
- หากยื่นจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าด้วยตนเอง สามารถจดข้ามเขตได้ทุกแห่ง ยกเว้นจดเปลี่ยนแปลงต้องไปที่เขตพื้นที่เท่านั้น
- หลังจากเสร็จสิ้นการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องนำใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนมาสำเนาเก็บไว้ด้วย ได้แก่
- หนังสือรับรองห้างหุ้นส่วนจำกัด (ทุกหน้า)
- หส.2 (มี 3 หน้า)
ข้อควรรู้เมื่อจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจํากัด
การจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดยังมีข้อมูลอีกมากมายที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ หากคุณแพลนที่จะจดทะเบียนในอนาคต ควรรู้รายละเอียด ดังต่อไปนี้
- ค่าธรรมเนียม ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน จะนับจากจำนวนผู้เป็นหุ้นส่วน หากไม่เกิน 3 คน 1,000 บาท หากเกิน 3 คน เสียค่าธรรมเนียมเพิ่มอีกคนละ 200 บาท
- ส่วนลดค่าธรรมเนียม การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนทางออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะเสียค่าธรรมเนียมถูกลง 50%
- ระยะเวลาในการจดทะเบียน สำหรับห้างหุ้นส่วนจำกัดใช้เวลาจดทะเบียนเพียงแค่ 1 วัน เท่ากันกับการจดทะเบียนบริษัทจำกัด
- การยกเลิกกิจการ หากคุณต้องการยกเลิกกิจการ ต้องชำระบัญชี และจัดการตามกฎระเบียบการยกเลิกให้ตรงตามกฎหมาย
เพื่อสร้างความอุ่นใจให้กับธุรกิจ หากเกิดเหตุสะดุดไม่คาดฝัน ให้บัตรเครดิต KTC เป็นตัวช่วยเพิ่มความยืดหยุ่น และเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน นอกจากสิทธิประโยชน์ที่มาพร้อมกับบัตรฯ แล้ว ยังสามารถเปลี่ยนยอดใช้จ่ายเป็นรายการผ่อนชำระ สูงสุด 10 เดือน ด้วยอัตราดอกเบี้ย
พิเศษ หรือเปลี่ยนวงเงินคงเหลือในบัตรฯ เป็นเงินสด เพิ่มโอกาสในการพัฒนาธุรกิจได้ กดสมัครบัตรเครดิต KTC ได้ออนไลน์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ใช้จ่าย คุ้มค่า นึกถึงบัตรเครดิต KTC