การเงินเป็นเรื่องที่เราไม่สามารถคาดการณ์ได้เสมอไป ต่อให้เราวางแผนค่าใช้จ่ายแต่ละเดือนไว้เป็นอย่างดีแล้ว แต่สิ่งที่ไม่คาดคิดก็สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุ การเจ็บป่วย หรือการตกงาน การมีเงินสำรองฉุกเฉินจึงเป็นการเตรียมพร้อมที่สำคัญเพื่อป้องกันสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดเหล่านี้ ดังนั้นการรู้จักวางแผนการเงินและมีเงินฉุกเฉินจัดเก็บเงินสำรองไว้อย่างเพียงพอ จะช่วยให้คุณผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากได้
เงินสํารองฉุกเฉิน คืออะไร ?
เงินสำรองฉุกเฉิน คือ เงินที่เราเก็บไว้สำหรับใช้จ่ายในยามฉุกเฉินหรือจำเป็น เช่น ค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ ค่าซ่อมแซมบ้าน หรือหากคุณตกงานชั่วคราว รายได้หลักหยุดชะงักไป
เงินก้อนนี้จะช่วยให้คุณยังคงดำเนินชีวิตได้อย่างปกติในช่วงเวลาที่ยากลำบาก โดยเงินฉุกเฉินนี้ ต้องเป็นเงินที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายและรวดเร็ว เช่น อยู่ในบัญชีออมทรัพย์ เพราะวัตถุประสงค์หลักของเงินสำรองฉุกเฉิน คือเพื่อรองรับค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้คาดการณ์ไว้ล่วงหน้า โดยไม่ต้องพึ่งพาคนอื่น
เงินสำรองฉุกเฉิน สำคัญอย่างไร?
- ช่วยสร้างความมั่นคงทางการเงิน ทำให้เรามีหลักประกันในยามที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน
- ช่วยลดความเครียดและความกังวล เพราะเมื่อมีเงินสำรอง เราจะรู้สึกอุ่นใจและพร้อมรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ได้
- หลีกเลี่ยงการก่อหนี้สิน ช่วยให้เราไม่ต้องกู้ยืมเงินที่อาจเป็นภาระในระยะยาว
- รักษาคุณภาพชีวิต ทำให้เราสามารถรักษามาตรฐานการดำรงชีวิตได้แม้ในยามวิกฤต
เงินฉุกเฉิน ควรเก็บเงินสำรองไว้อย่างน้อย 3 - 6 เดือนของค่าใช้จ่ายทั้งหมด
เงินสํารองฉุกเฉิน ควรมีเท่าไหร่ดี พร้อมวิธีคำนวณ?
เงินฉุกเฉิน ควรมีเท่าไหร่? จำนวนเงินสำรองฉุกเฉินที่ควรมีขึ้นอยู่กับรายจ่ายประจำเดือนของคุณ โดยเราแนะนำให้เก็บเงินสำรองที่เพียงพอสำหรับการใช้ชีวิตได้อย่างน้อย 3 - 6 เดือนของค่าใช้จ่ายทั้งหมด เช่น หากคุณมีรายจ่ายเดือนละ 20,000 บาท คุณก็ควรเก็บเงินสำรองฉุกเฉินไว้ประมาณ 60,000 - 120,000 บาท
วิธีการเก็บเงินสำรองฉุกเฉิน
- กำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน : ตั้งจำนวนเงินที่ต้องการเก็บและระยะเวลาที่จะใช้ในการเก็บ
- จัดสรรเงินออมเป็นประจำ : กันเงินส่วนหนึ่งจากรายได้ทุกเดือนเพื่อเก็บเป็นเงินสำรอง
- ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น : สำรวจรายจ่ายและตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออก
- หารายได้เสริม : พิจารณาหางานพาร์ทไทม์หรือทำงานเสริมเพื่อเพิ่มรายได้
หากต้องการเงินฉุกเฉิน มีช่องทางไหนบ้าง ?
การเก็บเงินฉุกเฉินสำรองไว้ควรทำอย่างต่อเนื่องและจัดเก็บในบัญชีที่มีความคล่องตัวในการถอนเงิน เช่น บัญชีออมทรัพย์ที่ไม่มีค่าธรรมเนียมการถอน หรือกองทุนรวมที่มีสภาพคล่องสูง
นอกจากนี้บัตรเครดิตก็นับเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยในสถานการณ์ฉุกเฉินได้ โดยบัตรเครดิต KTC นับว่าเป็นตัวเลือกที่ดี เพราะมาพร้อมโปรโมชั่นมากมาย ทั้งส่วนลดการซื้อสินค้าและบริการ การผ่อนชำระ 0% ได้รับคะแนนสะสม ที่สามารถนำมาใช้แลกสินค้า/บริการ ณ ร้านค้าที่ร่วมรายการได้ นอกจากนี้ กรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน เงินสำรองไม่เพียงพอยังสามารถเบิกถอนเงินสดด้วยบัตรเครดิตได้เต็มวงเงินของยอดคงเหลือในขณะนั้นด้วย สำหรับใครที่ต้องการเพิ่มความมั่นคงทางการเงิน สามารถสมัครบัตรเครดิต KTC ทางออนไลน์ได้เลย ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง
ใช้จ่าย คุ้มค่า นึกถึงบัตรเครดิต KTC