การเตรียมความพร้อมด้านการเงินเป็นการวางแผนสำหรับอนาคตที่ดี แต่ในบางครั้งก็อาจมีเหตุให้ต้องใช้เงินด่วนเงินสดก้อนใหญ่แบบกะทันหัน ซึ่งอาจทำให้แผนการทางการเงินต้องสะดุด เช่น การเจ็บป่วยกะทันหัน อุบัติเหตุต่างๆ หรือ การตกงานโดยไม่ได้วางแผนล่วงหน้า จึงจำเป็นต้องรู้จักวิธีการหาเงินด่วนทันใจ เมื่อเวลาต้องการเงินก้อนฉุกเฉินจะได้รู้ว่าจะต้องหาเงินก้อนจากไหนได้บ้าง ที่เป็นแหล่งเงินด่วนถูกกฎหมาย เพื่อความปลอดภัย โดยไม่ต้องกู้เงินนอกระบบโดยเด็ดขาด
การได้เงินสดที่รวดเร็ว ภายใน 1 ชั่วโมงแบบไม่ต้องยืมใครคือ กดเงินสดจากบัตรกดเงินสดหรือบัตรเครดิต
วิธีหาเงินด่วนภายใน 1 ชั่วโมง
การหาเงินด่วนภายใน 1 ชั่วโมง เป็นวิธีการหาเงินที่ค่อนข้างจำกัด อย่างไรก็ดี ควรเลือกช่องทางถูกกฎหมายและปลอดภัยกับตนเองเสมอ โดยปกติแล้วเราอาจจะนึกถึงการหยิบยืม เพราะเป็นวิธีหนึ่งที่เร็วที่สุด แต่ก็อาจทำให้ทั้งผู้หยิบยืมและผู้ให้ยืมรู้สึกลำบากใจได้ การหาเงินฉุกเฉินด้วยตนเองจึงเป็นทางเลือกที่ทำให้รู้สึกสบายใจกว่า อาทิ
ใช้เงินสำรองของตนเอง
หากมีเงินสำรองฉุกเฉิน แน่นอนว่าถือเป็นตัวช่วยที่ดีที่สุด โดยสามารถนำมาใช้ในกรณีที่จำเป็นได้อย่างทันท่วงที โดยทั่วไปแนะนำว่าควรมีเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินเท่าค่าใช้จ่ายรายเดือน 3-6 เดือน เป็นอย่างน้อย เผื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ที่ทำให้ต้องนำเงินสำรองนี้ออกมาใช้ ซึ่งจะทำให้เราไม่ลำบาก พอมีเงินในการใช้จ่ายในระยะเวลาหนึ่ง โดยไม่ต้องหยิบยืมใคร
จำนำสิ่งของมีค่า
การจำนำทรัพย์สินหรือสิ่งของมีค่าต่างๆ ของตนเอง ก็เป็นอีกแนวทางการหาเงินก้อนฉุกเฉินที่ไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่น เพียงตรวจสอบทรัพย์สินที่มีที่สามารถจำนำได้ โดยอาจต้องเสียค่าดอกเบี้ยในระหว่างการจำนำ เพื่อไม่ให้ของที่จำนำนั้นหลุดไป
ขายสินทรัพย์ที่มี
การขายสินทรัพย์ที่มีเพื่อหาเงินก้อนฉุกเฉินเป็นวิธีหนึ่งในการจัดการปัญหาทางการเงินระยะสั้น เมื่อต้องการใช้เงินสดอย่างเร่งด่วน โดยจัดเตรียมทรัพย์สินที่ต้องการขาย อาทิ อสังหาริมทรัพย์ รถยนต์ เครื่องประดับ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือของสะสมต่างๆ ประเมินมูลค่าเพื่อให้ได้ราคาที่เหมาะสม และเลือกช่องทางการขาย เช่น ขายออนไลน์ ขายผ่านตัวแทน ขายเองโดยตรง เมื่อมีผู้สนใจควรมีการเจรจาต่อรองราคาและควรทำสัญญาซื้อขายอย่างชัดเจน เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในภายหลัง อย่างไรก็ดี ก่อนการขายทรัพย์สินใดๆ ควรพิจารณาให้รอบคอบถึงความจำเป็นและผลกระทบในระยะยาว เพื่อให้การตัดสินใจเป็นไปอย่างรอบคอบและถี่ถ้วน
กดเงินสดจากบัตรกดเงินสด หรือบัตรเครดิต
อีกวิธีในการหาเงินด่วนฉุกเฉินด้วยตนเองคือการกดเงินจากบัตรกดเงินสด หรือบัตรเครดิตที่มี โดยเลือกบัตรที่ให้สิทธิประโยชน์สูงสุด เช่น ค่าธรรมเนียมน้อยกว่า หรือมีวงเงินสูงกว่า โดยคำนึงถึงดอกเบี้ยของบัตรกดเงินสดและบัตรเครดิตที่ควรรู้ ดังนี้
คุณสมบัติของบัตร |
บัตรกดเงินสด KTC PROUD |
บัตรเครดิต KTC |
อัตราดอกเบี้ย |
ไม่เกิน 25% ต่อปี |
ไม่เกิน 16% ต่อปี |
ค่าธรรมเนียมการเบิกถอนเงินสด |
ไม่มี |
มี (1.) 3% จากเงินที่เบิกถอน โดยเบิกถอนไม่ต่ำกว่า 500 บาทต่อครั้ง และ (2.) ภาษีมูลค่าเพิ่ม (vat) 7% จากค่าธรรมเนียมเบิกถอนเงินสด |
จำนวนเงินที่เบิกถอนได้ |
ตามวงเงินในบัตร |
ตามวงเงินในบัตร หรือสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท/วัน ผ่านเครื่อง ATM และสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท/วัน ผ่านแอป KTC Mobile |
การเพิ่มวงเงินชั่วคราว |
ได้ ผ่าน KTC PHONE และแอป KTC Mobile |
ได้ ผ่าน KTC PHONE และแอป KTC Mobile |
การผ่อนชำระ |
ขั้นต่ำ 3% ของยอดคงค้าง แต่ไม่ต่ำกว่า 300 บาท |
- ขั้นต่ำ 8% (1 ม.ค. 67 - 31 ธ.ค. 67) - ขั้นต่ำ 10% (1 ม.ค. 68 เป็นต้นไป) ของเงินที่เรียกเก็บในแต่ละเดือน แต่ไม่ต่ำกว่า 500 บาท |
กดเงินจากตู้ ATM |
ได้ 24 ชั่วโมง |
ได้ 24 ชั่วโมง |
บัตรเครดิตและบัตรกดเงินสด นอกจากจะเป็นตัวช่วยทางการเงินในชีวิตประจำวันแล้ว ยังเป็นตัวช่วยในช่วงเวลาที่จำเป็นมากๆ ช่วยให้มีเงินด่วนเพื่อใช้ในยามฉุกเฉินได้ในเวลาอันสั้น และนอกจากแนวทางดังกล่าวแล้ว ยังมีการหาเงินด่วนผ่านการขอสินเชื่อ เช่น สินเชื่อรถแลกเงิน หรือบ้านแลกเงิน ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่มีรถยนต์หรือบ้านแบบปลอดภาระเป็นชื่อตนเอง
เพื่อลดปัญหาเงินใช้ไม่พอ ควรทำบัญชีรายรับรายจ่าย และมีตัวช่วยเงินด่วนที่สามารถนำมาใช้ได้ทันที เช่น บัตรเครดิต และบัตรกดเงินสด
แนวทางวางแผนการเงิน ลดปัญหาเงินขาดมือในอนาคต
หลังจากบริหารจัดการทางการเงินจนสภาพคล่องกลับมาเป็นปกติแล้ว ควรมีแนวทางเก็บเงินที่ช่วยให้มีทางออกเมื่อต้องการเงินด่วนฉุกเฉินอีกครั้งสำหรับผู้ที่ไม่มีเงินเก็บสำรองมาก่อน โดยอาจเริ่มต้นเก็บประมาณ 3-6 เท่าของเงินเดือน และสำหรับผู้ที่มีเงินเก็บสำรองอยู่แล้ว เมื่อมีการนำออกมาใช้เมื่อจำเป็นแล้ว ก็ควรรีบเก็บสะสมเพิ่มเติมเข้าไปใหม่ให้เท่าจำนวนที่ควรมีดังเดิม และควรมีตัวช่วยเงินด่วนใกล้มือที่สามารถนำมาใช้ได้ทันที เช่น บัตรเครดิต และบัตรกดเงินสด ซึ่งเป็นอีกช่องทางหากเกิดเหตุไม่คาดฝัน เช่นเงินสำรองไม่พอใช้
เคล็ด(ไม่)ลับ วางแผนการเงินยามฉุกเฉิน
การวางแผนการเงินไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ ช่วยให้มีทางออกเวลาต้องการเงินด่วน โดยมีวิธีวางแผนการเงินฉุกเฉิน ดังนี้
ซื้อประกันภัยให้ครอบคลุม
การทำประกันภัย ไม่ว่าจะเป็นประกันอุบัติเหตุ ประกันภัยรถยนต์ และประกันสุขภาพ ที่ครอบคลุมทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน ช่วยให้เวลาเกิดอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย จะได้มีประกันมาช่วยดูแลเรื่องค่าใช้จ่าย ลดปัญหาค่าใช้จ่ายสูง ต้องใช้เงินก้อนยามฉุกเฉิน ซึ่งปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ประกันให้เลือกหลายแบบที่ครอบคลุมหลากหลายความต้องการ สามารถตัดจ่ายค่าเบี้ยประกันง่ายผ่านบัตรเครดิต หมดกังวลเรื่องลืมจ่าย สามารถผ่อนชำระได้ และยังมีโปรโมชั่นที่ช่วยให้การจ่ายค่าเบี้ยประกันประหยัดกว่าเดิมอีกด้วย
ทำบัญชีรายรับรายจ่าย
การทำบัญชีรายรับรายจ่ายช่วยให้เห็นภาพรวมค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน ทำให้ตัดค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยออกได้ และนำเงินส่วนนั้นมาออมเป็นเงินสำรองฉุกเฉิน สำหรับผู้ที่มีบัตรเครดิตในมือยิ่งสะดวก เพราะสามารถตรวจสอบยอดใช้จ่ายย้อนหลังได้ง่าย และยังสามารถกำหนดวงเงินใช้จ่ายได้ จึงช่วยในการวางแผนค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนได้ดี
ทำบัตรเครดิตและบัตรกดเงินสด
การมีบัตรเครดิตและบัตรกดเงินสดเป็นตัวช่วยในการใช้จ่ายได้จริง ทั้งการกดเงินสดฉุกเฉินออกมาใช้ และการชำระค่าสินค้าและบริการ ที่สามารถเลือกผ่อนชำระได้ พร้อมรับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่ให้ความคุ้มค่าเพิ่มเติม อาทิ การแลกคะแนนรับส่วนลดเพิ่ม หรือแลกรับเครดิตเงินคืน พร้อมการแจ้งเตือนทุกการทำธุรกรรม ช่วยให้สามารถตรวจสอบได้
การมีบัตรเครดิตและบัตรกดเงินสดถือเป็นตัวช่วยที่มีประสิทธิภาพในช่วงเวลาที่ต้องการเงินด่วนแล้วไม่รู้จะทำอย่างไร เพียงมีรายได้ 12,000 บาท/เดือน สำหรับการสมัครบัตรกดเงินสด KTC PROUD หรือ 15,000 บาท/เดือน สำหรับการสมัครบัตรเครดิต KTC ตัวช่วยเงินสำรองฉุกเฉิน ให้ทุกการใช้จ่ายคุ้มค่า พร้อมโปรโมชั่นจากร้านค้าและร้านอาหารชั้นนำทั่วไทย ไม่มีค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปี รับเงินก้อนไว อุ่นใจทุกการใช้จ่าย เบิกถอนเงินสดได้ แบ่งผ่อนชำระได้ ทุกที่ทุกเวลา
ใช้จ่าย คุ้มค่า นึกถึงบัตรเครดิต KTC