รวมวิธีเก็บอาหารแห้ง ถนอมอาหารสดที่ควรรู้ในช่วงกักตัวโควิด
ช่วงนี้หลายคนยังต้องกักตัวอยู่บ้านและทำงานในรูปแบบ Work From Home ดังนั้นการเตรียมความพร้อมเรื่องอาหารการกินจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะการจัดเก็บและถนอมอาหารให้สามารถเก็บไว้รับประทานได้ยาวนานขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงการออกจากบ้านไปซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคซึ่งเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อโควิด-19 แบบไม่รู้ตัว แต่อาหารบางชนิดก็มีข้อจำกัด เช่น ความสดใหม่ หรือระยะเวลาในการเน่าเสีย โดยวันนี้ KTC ได้รวบรวมวิธีเก็บรักษาและถนอมอาหาร ไม่ว่าจะเป็นวิธีเก็บอาหารแห้งหรือวิธีการถนอมอาหารสด ซึ่งช่วยยืดระยะเวลาเก็บรักษาอาหารช่วงกักตัวอยู่บ้าน ส่วนจะมีวิธีไหนบ้างไปดูกัน
การถนอมอาหารคืออะไร
การถนอมอาหาร คือ การยืดอายุของอาหารเพื่อทำการเก็บรักษาอาหารให้ยังคงคุณภาพและคุณค่าทางโภชนาการ รวมถึงชะลอการเน่าเสียของอาหาร ซึ่งการถนอมอาหารที่เห็นในปัจจุบันคือกระบวนการแปรรูปอาหารเพื่อยับยั้งการเติบโตของแบคทีเรีย จุลินทรีย์ หรือเชื้อรา ที่ทำปฏิกิริยากับไขมัน น้ำ และออกซิเจนในอากาศจนกลายเป็นสาเหตุให้อาหารเน่าเสีย โดยกระบวนการถนอมอาหารที่พบเห็นได้บ่อย คือ
- ใช้ความร้อน เช่น การต้ม เพื่อกำจัดจุลินทรีย์
- ใช้สารเคมี เช่น การใช้ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ที่มีคุณสมบัติในการยับยั้งการเปลี่ยนสีของอาหารไม่ให้เป็นสีน้ำตาลเมื่ออาหารถูกความร้อนในกระบวนการผลิตและสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของยีสต์ รา และบักเตรี
- ยับยั้งการเกิดสารพิษ เช่น การรมควัน การใช้คาร์บอนไดออกไซด์ การใช้น้ำส้มสายชู การใช้แอลกอฮอล์ ในการถนอมอาหาร เป็นต้น
- การนำน้ำออกจากอาหาร เช่น การตากแห้ง การอบแห้ง เป็นต้น
- ยับยั้งการดูดซึมสารอาหารของจุลินทรีย์ เช่น การเชื่อม การดอง การหมัก การกวน เป็นต้น
- เก็บรักษาอาหารในอุณหภูมิต่ำ เช่น การแช่แข็ง เป็นต้น
การถนอมอาหาร
วิธีเก็บอาหารแห้ง
อาหารแห้งคืออาหารที่ผ่านกระบวนการลดปริมาณน้ำในอาหาร เพื่อยับยั้งการทำงานของเอนไซม์และการเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ชนิดต่าง ๆ ที่ส่งผลต่ออาหาร เช่น การตากแห้ง หรือการอบแห้ง เมื่อซื้ออาหารแห้งมาแล้วควรรู้วิธีการเก็บรักษาเพื่อให้เก็บได้นานยิ่งขึ้นและป้องกันการเกิดเชื้อรา
- เก็บใส่ภาชนะที่มีฝาปิดสนิท ขวดโหลที่มีฝาปิดมิดชิด เพื่อป้องกันความชื้นและการเกิดเชื้อรา รวมถึงการเน่าเสีย
- ควรเก็บในที่แห้ง ไม่อับชื้น และมีอากาศถ่ายเทสะดวก
- สามารถเก็บไว้ได้ในอุณภูมิห้องแต่ควรมีฝาปิดที่มิดชิด หรืออาหารแห้งบางชนิดสามารถเก็บเข้าตู้เย็นได้
*ก่อนนำออกมาใช้ควรสังเกตกลิ่นและสี หากพบความผิดปกติไม่ควรนำมาปรุงอาหาร
สมัครบัตรเครดิต พร้อมเลือกซื้ออาหารสดส่งตรงถึงบ้านสุดคุ้ม…ที่นี่
วิธีเก็บอาหาร
วิธีเก็บอาหารสด
อาหารสดถือเป็นประเภทอาหารที่มีระยะเวลาเก็บน้อยกว่าอาหารแห้งอย่างมาก โดยอาหารสดบางชนิดเมื่อซื้อมาเก็บได้ 5-7 วัน อาจสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงเรื่องสีของอาหารหรือเริ่มมีกลิ่น ดังนั้นการเก็บอาหารสดให้ถูกวิธีจะช่วยยืดเวลาในการเก็บรักษาให้ได้นานยิ่งขึ้น ดังนี้
- แบ่งใส่ถุงซิปล็อคจัดให้เนื้อสัตว์กระจายให้เต็มถุง แล้วนำเข้าช่องแช่แข็งหรือช่องฟรีซเพื่อให้ได้รับความเย็นอย่างทั่วถึง
- หากเป็นเนื้อบดหรือเนื้อที่หั่นชิ้นพร้อมปรุงให้แบ่งใส่ถุงสำหรับปรุงอาหารเป็นมื้อ ๆ กดให้แบนและนำเข้าช่องฟรีซแช่แข็ง
- ทำการหมักปรุงรสเนื้อสดก่อนนำไปแช่ฟรีซเพื่อยืดระยะเวลาในการเก็บรักษา
- สำหรับอาหารทะเลสามารถนำไปล้างหั่นเก็บใส่ถุง หรือกล่องที่มีฝาปิดมิดชิดและแช่ฟรีซเพื่อคงคุณภาพของอาหาร
- การเก็บอาหารสดด้วยวิธีสุญญากาศ เป็นอีกหนึ่งวิธีที่หลายคนเลือกใช้เก็บรักษาอาหารชนิดเนื้อสดคือการไล่อากาศออกจากถุงพลาสติกที่ใส่เนื้อ
- การนำเนื้อสัตว์ไปตากแห้ง เพื่อแปรรูปเป็นอาหารแห้งจะช่วยทำให้เก็บได้นานยิ่งขึ้น เช่น หมูแดดเดียว เนื้อแดดเดียว เป็นต้น
ประโยชน์ของการเก็บรักษาอาหารแห้ง อาหารสดให้อยู่นาน
การเก็บถนอมอาหาร นอกเหนือจากการช่วยยืดระยะเวลาในการเก็บรักษาอาหารประเภทต่าง ๆ แล้ว ยังมีประโยชน์อีกมากมายที่ไม่ควรมองข้าม อาทิ
- มีอาหารนอกฤดูกาลให้รับประทาน
- มีอาหารเก็บไว้รับประทานหรือปรุงในยามขาดแคลน
- เพิ่มมูลค่าผลผลิตจากวัตถุดิบต่าง ๆ ผ่านการแปรรูปอาหาร
ช่วงวิกฤตโควิด-19 เห็นได้ว่าผู้คนมีการกักตุนอาหารมากยิ่งขึ้น เนื่องจากมาตรการล็อกดาวน์และการลดความเสี่ยงของการแพร่ระบาดของเชื้อ ทำให้หลายคนไม่อยากออกไปซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบในการทำอาหารด้วยตนเอง จึงเลือกใช้บริการสั่งอาหารสดออนไลน์ให้ส่งตรงถึงบ้านหรืออุปกรณ์เครื่องครัวต่าง ๆ พร้อมใช้จ่ายด้วยบัตรเครดิตเพื่อรับโปรโมชั่นส่วนลดสินค้า การสะสมคะแนน หรือโปรโมชั่นผ่อน 0% หากยังไม่มีบัตรเครดิต KTC มีผลิตภัณฑ์บัตรเครดิตหลากหลายให้เลือกสมัครผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อรับสิทธิประโยชน์อย่างคุ้มค่าในทุกการใช้จ่าย แถมเป็นวิธีลดการสัมผัสเงินสดอีกด้วย
ช้อปอาหารสดหรือเครื่องครัวสุดคุ้ม เพียงสมัครบัตรเครดิต…ที่นี่
ไม่มีค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปี